คนไทยทุกคน มีหน้าที่ต้องรู้กฏหมายไทย
หมวดนี้ จะนำเสนอบทความเกี่ยวกับ กฏกหมายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน
ที่คุณต้องรู้ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข
[ hey.to/yimyam ]

[ คัดลอกจาก คลินิกกฏหมาย หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2541 ]
law clinic

ฟ้องหย่าภริยาที่หายไป


ดิฉันอยู่กินกับสามีมานาน 4 ปี โดยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสเพราะสามีเลิกกับภริยาคนเก่า โดยไม่ได้จดทะเบียนหย่า ต่อมาเมื่อดิฉันรับราชการ ดิฉันจึงอยากจะจดทะเบียนสมรสกับสามี แต่ทำไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นทะเบียนสมรสซ้อน สามีได้พยายามติดต่อหาข่าวคราวของภริยา ว่าย้ายไปอยู่ที่ใด เพื่อจะได้ทำการจดทะเบียนหย่า ให้เป็นที่เรียบร้อย แต่ไม่สามารถติดต่อเธอได้เลย ดิฉันจึงอยากจะปรึกษาว่า ดิฉันควรต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถจดทะเบียนสมรสกับสามีได้ โดยไม่มีปัญหาเรื่องทะเบียนสมรสซ้อน

ปรางทอง กรุงเทพฯ

ตอบ
การจดทะเบียนสมรสกับชายที่เคยมีภริยามาแล้วจะไม่มีปัญหาเรื่องสมรสซ้อนก็ต่อเมื่อผู้นั้นได้สิ้นสุด การสมรสเดิมแล้ว การสมรสสามารถสิ้นสุดลงได้ตามกฎหมายมี 3 วิธี คือ

ดังนั้นถ้าขณะนี้สามีคุณไม่ทราบว่าจะไปติดตามภริยาได้ที่ไหน อาจจะใช้วิธีการ ตรวจสอบจาก "กองบัตร" กระทรวงมหาดไทย (แถวสนามม้านางเลิ้ง) เพื่อขอทราบว่าบุคคลชื่อนี้- นามสกุลนี้ เลขประจำตัว ประชาชนหมายเลขใด ขณะนี้แจ้งชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านหลังไหน (จะตรวจสอบรายละเอียดบุคคล ที่กองนี้ได้ บุคคลนั้นจะต้องมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกันถึงจะทำได้ เช่น จะดำเนินการฟ้องร้อง หรือฟ้องร้องคดีแล้ว) ซึ่งกองบัตรจะเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรทั่วประเทศ

สามีคุณอาจจะทราบสถานที่อยู่ของเธอได้ หรือหากเสียชีวิตไปแล้วก็จะทำให้การสมรสสิ้นสุดไป โดยไม่ต้องดำเนินการใดเพียงแต่มีใบมรณบัตรของภริยา (ซึ่งขอคัดได้) ไปแสดงกับเจ้าหน้าที่ สามีก็สามารถจดทะเบียนสมรสกับคุณได้ไม่เป็นสมรสซ้อน เคยแนะนำไปเช่นนี้หลายคนสำหรับสามี หรือภริยาหายไป ปรากฎว่าคู่สมรสฝ่ายที่หายไปเสียชีวิต โดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ทราบ ก็โชคดี ที่ไม่ต้องนำคดี ไปฟ้องศาลเพราะการสมรสเดิมสิ้นสุดไปด้วยความตายของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง

กรณีที่ทราบสำเนาทะเบียนบ้านของภริยาว่าอยู่ที่ใดแต่ไม่สามารถติดต่อได้ หรือชื่อของภริยายังมีชีวิตอยู่ แต่ยังไม่ได้ย้ายเข้าที่ใด ก็สามารถนำคดีมาฟ้องหย่าต่อศาลได้ แต่ควรที่จะมีการแจ้งความ ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานว่าไม่สามารถติดต่อภริยาได้ ภริยาหายไป ตั้งแต่เมื่อไหร่ เพราะบันทึกประจำวัน จะมีประโยชน์ในการนับวันเริ่มต้น เช่น ละทิ้งร้างไป 1 ปี หรือสมัครใจแยกกันอยู่ เกิน 3 ปี หรือหายไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไรตั้งแต่เมื่อไหร่เป็นต้น ใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงให้เห็นเจตนาสุจริตของผู้นำคดีมาฟ้องได้อย่างหนึ่ง

เมื่อได้มีการฟ้องคดีแล้ว ศาลจะให้โจทก์ส่งหมายศาลและคำฟ้องให้แก่คู่สมรสฝ่ายที่ถูกฟ้องหย่าซึ่งเรียกว่า จำเลย ณ ภูมิลำเนาที่ปรากฎตามสำเนาทะเบียนบ้านที่ได้คัดรับรองมาแสดง ซึ่งถ้าหากว่าไม่มีผู้ใดยอมรับ ไว้แทน โจทก์ก็อาจร้องขอให้ศาลอนุญาตให้โจทก์ปิดหมายไว้ที่ภูมิลำเนาดังกล่าวได้หรือสำเนาในบ้าน ตามสำเนาทะเบียนบ้านนั้นหลังจากจำเลยไม่ได้อยู่ที่นั้นแล้วหรือย้ายไปแล้วหรือในข้อมูลแบบรับรอง รายการทะเบียนราษฎร์แสดงว่าไม่ปรากฎว่าได้ย้ายไปอยู่ที่ใด ศาลอาจอนุญาตให้โจทก์ส่งหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทราบโดยวิธีประกาศทางหนังสือพิมพ์ได้

และเมื่อคดีถึงวันพิจารณา จำเลยไม่ไปศาลหากได้มีการส่งหมายให้จำเลยตามวิธีการต่างๆ โดยชอบ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ศาลอาจอนุญาตให้สืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวได้ แม้ว่าความจริง อาจจะไม่ทราบว่าถูกฟ้องเป็นคดีหรือทราบแต่ไม่ยอมมาศาลก็ตาม และถ้ามีเหตุหย่าตามกฎหมาย ซึ่งศาลมีคำพิพากษาให้หย่า หากจำเลยไม่ปฎิบัติตามคำพิพากษานั้นเพราะจำเลยไม่ทราบว่าถูกฟ้อง หรือไม่ยอมปฏิบัติโจทก์สามารถนำคำพิพากษาของศาลที่รับรองสำเนาถูกต้องและสำเนารับรองว่าคดีนั้น ถึงที่สุดไปแสดงเจตนาแทนจำเลยให้โจทก์จดทะเบียนหย่ากับจำเลยได้ เมื่อได้ทะเบียนหย่า สามีจะได้ ไม่มีปัญหาเรื่องการจดทะเบียนสมรสกับคุณ ดีกว่าจะกลายเป็นทะเบียนซ้อน

อย่างไรก็ตาม เคยมีคดีหนึ่งที่นายทหารฟ้องหย่าภริยาคนแรก โดยใช้ภูมิลำเนาที่บ้านพักทหาร เป็นภูมิลำเนาจำเลยทั้ง ๆ ที่นายทหารคนนั้นซื้อบ้านใหม่ให้ภริยาอยู่กับลูกและตนก็อยู่รวมกัน ปรากฏว่าส่งหมายไม่ได้และคดีนั้นศาลอนุญาตให้ส่งหมายโดยวิธีการประกาศหนังสือพิมพ์ ภริยาคนแรกจึงไม่ทราบเรื่องที่ตนถูกสามีฟ้องหย่าเลย ปรากฏว่าสามีอ้างเหตุผลต่อศาล ไม่สามารถติดต่อ ได้ว่าไปอยู่ที่ไหนเป็นเหตุให้ศาลพิพากษาให้หย่า นายทหารคนนั้นจึงนำคำพิพากษาไปจดทะเบียนหย่า เมื่อมีใบทะเบียนหย่าจึงสามารถจดทะเบียนสมรสกับภริยาที่สองได้ โดยที่ไม่มีใครทราบ

จนวันหนึ่งภริยาคนแรกจะไปจำนองที่ดิน ตรวจสอบพบว่าตนถูกจดทะเบียนหย่าไปแล้ว ขณะนี้เธอกำลังดำเนินคดีกับสามีในข้อหาแจ้งความเท็จ เบิกความเท็จและแสดงพยานหลักฐานเท็จ ซึงเป็นคดีอาญา

ฉะนั้นควรมาศาลด้วยมือสุจริตด้วยเพราะความลับย่อมไม่มีในโลกเพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น

สุกัญญา รัตนนาคินทร์


[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด
ห้องสมุด E-LIB[ hey.to/yimyam ][ pantip.com/ELIB ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]
1