ปัญหากฎหมายวันนี้ถามโดยผู้ใช้ชื่อว่า แทนเจ้าหนี้
การฟ้องคดีล้มละลายแตกต่างจากการฟ้องคดีแพ่งในข้อสำคัญอยู่ข้อหนึ่งคือ การฟ้องคดีแพ่ง เจ้าหนี้ ซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีเพื่อประโยชน์ของตนเองโดยเฉพาะ หากศาลตัดสินให้โจกท์ชนะคดี เจ้าหนี้ผู้เป็น โจทก์เท่านั้นที่จะได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้น ส่วนเจ้าหนี้คนอื่น ๆ ของลูกหนี้ซึ่งเป็นจำเลย จะไม่ได้รับ ประโยชน์จากผลของคำตัดสินนั้นแต่อย่างใด ส่วนการฟ้องคดีล้มละลายนั้น ไม่ว่าเจ้าหนี้คนใด ของลูกหนี้ จะเป็นโจทก์ฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลาย หากศาลตัดสินให้โจทก์ชนะคดีโดยสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของ ลูกหนี้โดยเด็ดขาด เจ้าหนี้ซึ่งมีมูลหนี้เป็นหนี้เงินและมูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ทุกราย จะได้รับประโยชน์ จากผลของคำตัดสินดังกล่าว โดยมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
อย่างไรก็ดีการที่ลูกหนี้เพียงแต่ถูกเจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งฟ้องคดีล้มละลายเท่านั้น ไม่ได้ทำให้เจ้าหนี้รายอื่น ๆ เสียสิทธิในการฟ้องร้องลูกหนี้คนเดียวนั้นเป็นคดีแพ่งหรือคดีล้มละลายอีก แต่ถ้าศาลได้มีคำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้เด็ดขาดในคดีหนึ่งแล้ว เจ้าหนี้รายอื่น ๆ ซึ่งมีมูลหนี้เป็นหนี้เงินและมูลแห่งหนี้ เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาล มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จะฟ้องลูกหนี้คนเดียวกันนั้นเป็นคดีแพ่งหรือคดีล้มละลายอีก ไม่ได้ หากมีการฟ้องคดีล้มละลายลูกหนี้คนเดียวกันหลายคดี เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด ในคดีหนึ่งแล้ว ศาลต้องจำหน่ายคดีอื่นออกจากสารบบความ หรือหากมีการฟ้องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับ ทรัพย์สินของลูกหนี้ คนเดียวกันค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะต้องเข้าว่าคดีแพ่งนั้นแทนลูกหนี้
ในกรณีที่เจ้าหนี้รายอื่น ๆ ซึ่งมีมูลหนี้เป็นหนี้เงินและมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งและคดีล้มละลายอีกไม่ได้ เพราะลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วนั้น เจ้าหนี้รายอื่น ๆ ดังกล่าวย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถ้าเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ มีอำนาจขยายทรัพย์เด็ดขาด ถ้าเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจ ขยายกำหนดเวลาให้อีกได้ไม่เกิน 2 เดือน
อนึ่ง แม้จะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ในคดีล้มละลายนั้นเองก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ตากำหนดเวลาข้างต้นเช่นกัน ถ้าหากเจ้าหนี้รายใดไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระต่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เจ้าหนี้รายนั้นเป็นอันหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้นั้น การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเจ้าหนี้ทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับเจ้าหนี้มีประกันสิทธิที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่ก็ได้ เพราะเจ้าหนี้ มีประกันมีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ซึ่งลูกหนี้ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ต้อง ชำระหนี้ แต่ก็ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินนั้น
ข้อความที่ควรระมัดระวังก็คือ ความหมายของเจ้าหนี้มีประกันตามกฎหมายล้มละลายต่างกับเจ้าหนี้ ประกัน ตามความหมายทั่ว ๆ ไป เพราะเจ้าหนี้มีประกันตามกฎหมายในกฎหมายล้มละลาย หมายถึง เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มี บุริมสิทธิ ที่จะบังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ ฉะนั้น เจ้าหนี้จำนองอาจจะไม่เป็นเจ้าหนี้มีประกันตามความหมาย ในกฎหมายล้มละลายก็ได้ ถ้าทรัพย์สินที่จำเลยไม่ใช่ของลูกหนี้ เจ้าหนี้จำนองจะเป็นเจ้าหนี้มีประกัน ตามความหมายในกฎหมายล้มละลายก็ต่อเมื่อทรัพย์สินที่จำนองเป็นของลูกหนี้
ถ้าเจ้าหนี้มีประกันจะใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้มีประกันจะต้องเป็นเจ้าหนี้มีประกันที่มีสิทธิบังคับ เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกว่าราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน และขอรับภายในเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ด้วยคือ
1. ขอรับชำระหนี้โดยยินยอมสละทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายแล้ว ขอรับชำระหนี้ได้เต็มจำนวน
2. ขอรับชำระหนี้โดยบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันก่อนแล้ว ขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวน ที่ยังขาดอยู่
3. ขอรับชำระหนี้โดยขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่
4. ขอรับชำระหนี้โดยตีตราราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชำระหนี้จำนวนที่ยังขาดอยู่ การขอรับชำระหนี้กรณีนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไถ่ถอนทรัพย์สินตามราคาที่ตีมาได้ ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าราคาที่ตีมานั้นไม่สมควร เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขาย ทรัพย์สินนั้นตามวิธีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าหนี้ตกลงกัน ถ้าไม่ตกลงกัน กฎหมายให้ใช้วิธี ขายทอดตลาด แต่จะต้องไม่ให้เสียหายแก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจ เข้าสู้ราคา ในการขายทอดตลาดได้ เมื่อได้เงินสุทธิเท่าใดให้ถือว่าเป็นราคาที่เจ้าหนี้ได้ตีมา ในคำขอรับ ชำระหนี้ ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่แจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าหนี้ทราบว่าจะใช้สิทธิไถ่ถอน หรือตกลง ให้ขายทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันภายใน 4 เดือน นับแต่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ กฎหมายให้ถือว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยินยอมให้ทรัพย์สินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าหนี้ตามราคาที่เจ้าหนี้ได้ตีมา และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมดสิทธิไถ่ถอนหรือขายทรัพย์สินนั้น
ครับ การดำเนินคดีล้มละลายทุกขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน แต่เชื่อว่า กรมบังคับคดีได้เตรียมเจ้าหน้าที่ ไว้ทำความเข้าใจแก่เจ้าหนี้ลูกหนี้ทุกคนอยู่แล้ว
คนข้างศาล
main |