การที่ลูกค้ากู้เงินจากธนาคารโดยมีข้อสัญญาาให้ธนาคารนำเงินฝากของลูกค้าไปชำระหนี้ธนาคารได้ หากลูกค้าไม่ชำระหนี้นั้น อาจมีคนสงสัยว่าลูกค้ามีเงินฝากประจำอยู่ในธนาคารแล้ว ทำไมต้องไปกู้เงินธนาคาร อีก ทำไมไม่เอาเงินฝากประจำของลูกค้าเองมาลงทุนทำการค้าโดยไม่ต้องกู้ จะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย
เหตุที่ลูกค้าต้องกู้เงินจากธนาคารไปลงทุนทั้งๆ ที่ลูกค้ามีเงินฝากประจำอยู่ในธนาคารแล้ว น่าจะเป็นเพราะการกู้เงินไปทำการค้าของลูกค้ามักจะทำในรูปของสัญญาเบิกเงินเกินปัญชี สัญญาขายลดตั๋วเงิน หรือสัญญารูปแบบอื่น ๆ เช่น ให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันสัญญาที่ลูกค้า ทำกับบุคคลภายนอก เป็นต้น ซึ่งยอดหนี้ตามสัญญาต่าง ๆ เหล่านี้อาจขึ้น ๆ ลง ๆ หรือหมดไปเลย แล้วมีขึ้นมาใหม่อีก ภายในวงเงินและกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา แม้ลูกค้าจะต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่ธนาคารในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากที่ลูกค้าจะได้รับ จากธนาคาร แต่ลูกค้าก็เสียดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเสียเฉพาะเวลาที่มียอดหนี้เงินกู้เท่านั้น เวลาใดที่ไม่มียอดหนี้เงินกู้เลย ลูกค้าก็ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ให้แก่ธนาคารเลย ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ลูกค้ายังคงได้รับดอกเบี้ยเงินฝากประจำกับธนาคารอยู่ หรือแม้แต่ในช่วงระยะเวลาที่มียอดหนี้ แต่ยอดหนี้เงินกู้น้อยกว่าจำนวนเงินฝากประจำ ลูกค้าก็เสีย ดอกเบี้ยเงินกู้ในยอดหนี้ที่น้อยนั้นในขณะที่ลูกค้าได้รับดอกเบี้ยในจำนวนเงินฝากประจำที่มากกว่า หากลูกค้านำเงินฝากประจำของตนไปลงทุน ลูกค้าก็ไม่มีโอกาสจะได้รับดอกเบี้ยจากธนาคารอีกเลย แม้ในขณะที่ลูกค้าไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้เงินจำนวนนั้นก็ตาม
สำหรับปัญหาที่ว่า การที่ผู้จัดการธนาคารนำเงินฝากประจำของลูกค้าไปชำระหนี้เงินกู้ ผู้จัดการธนาคาร จะมีความผิดฐานยักยอกเงินฝากของลูกค้าหรือไม่นั้น เห็นว่าเงินฝากของใครก็ตามที่ฝากไว้กับธนาคารย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารผู้รับฝากในทันทีที่ฝาก ผู้ฝากเงินคงมีเพียงสิทธิเรียกให้ธนาคารคืนเงินเท่าจำนวนที่ฝากพร้อมด้วยดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนดเวลา ตามที่ตกลงกันไว้ โดยเหตุนี้ธนาคารจึงมีสิทธิที่จะนำเงินฝากจากลูกค้าไปให้ลูกค้าคนอื่นกู้หรือนำไปลงทุนในธุรกิจของ ธนาคารได้เสมอ การที่ผู้จัดการธนาคารนำเงินที่ลูกค้านำมาฝากไปชำระหนี้ของลูกค้านั้นเอง ไม่ว่าจะมีข้อตกลงกันเป็นพิเศษให้ธนาคารทำอย่างนั้นได้หรือไม่ก็ตาม ผู้จัดการธนาคารก็ไม่ความผิด ฐานยักยอกเงินฝากหรือความผิดอาญาฐานใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าผู้จัดการธนาคารนำเงินของลูกค้าไปใช้หนี้แก่ธนาคารโดยไม่มีข้อสัญญาให้ทำได้ ธนาคารอาจจะต้อง รับผิดต่อลูกค้าในทางแพ่งฐานผิดสัญญารับฝากเงิน แต่กรณีนี้ ลูกค้าได้ทำสัญญายินยอมให้ธนาคาร นำเงินฝากประจำของลูกค้าไปชำระหนี้ของลูกค้าที่มีต่อธนาคารได้โดยธนาคารไม่ต้องบอกกล่าวให้ลูกค้า ทราบล่วงหน้าก่อน ผู้จัดการธนาคารย่อมมีสิทธินำเงินฝากประจำของลูกค้าไปชำระหนี้ให้แก่ธนาคารได้ ตามข้อสัญญาที่ลูกค้าได้ทำไว้กับธนาคาร ผู้จัดการธนาคารและธนาคารจึงไม่มีความผิด ทั้งทางอาญา และทางแพ่ง
ส่วนลูกค้านั้นรู้อยู่แล้วว่าผู้จัดการธนาคารนำเงินฝากของตนไปชำระหนี้แก่ธนาคารตามข้อสัญญาที่ตน ให้ไว้กับธนาคาร ยังไปแจ้งความต่อตำรวจให้ดำเนินคดีกับผู้จัดการธนาคารอีก ลูกค้าน่าจะมีความผิด ฐานแจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาเพื่อจะแกล้งให้ผู้จัดการธนาคารต้องรับโทษ มีโทษจำคุก ไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 มาตรา 174 วรรคสอง และน่าจะมีความผิดฐานหมิ่นประมาท มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 อีกบทหนึ่งด้วย เพราะการแจ้งความเท็จต่อตำรวจเป็นการใส่ความผู้จัดการธนาคาร ทำให้ผู้จัดการธนาคารเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง
สำหรับหนังสือพิมพ์ที่นำข่าวการแจ้งความเท็จออกตีพิมพ์เผยแพร่พาดหัวข่าวว่าผู้จัดการธนาคารยักยอก เงินลูกค้า โดยหนังสือพิมพ์ดังกล่าวไม่ได้ตรวจสอบข่าวเสียก่อนว่าข่าวที่ออกโฆษณาเผยแพร่นั้น พอจะมีมูลความจริงหรือไม่นั้น ย่อมทำให้ผู้จัดการธนาคารได้รับความเสียหายต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชังมากยิ่งขึ้น หนังสือพิมพ์ก็น่าจะมีความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328
ครับ การทำอะไรโดยไม่คิดเสียก่อน ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นและตนเอง อย่างนี้เสมอ
คนข้างศาล
main |