ร่าง พ.ร.บ. อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา

(พ.ร.บ. ฆราวาสปกครองพระ)

เปิดเผยขบวนการผู้อยู่เบื้องหลัง และผลกระทบต่อพระพุทธศาสนา

ขณะนี้ได้มีการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ฉบับใหม่ และ พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครอง พระพุทธศาสนา ซึ่งเสร็จ เรียบร้อยแล้ว และเตรียมจะนำเข้าเสนอ ในสภาผู้แทนราษฎร ในสมัยประชุม ปีพ.ศ.2542 นี้ ซึ่งในขณะนี้ พระภิกษุสงฆ์ และสาธารณชนทั่วไป ยังไม่ค่อยทราบรายละเอียด และผลกระทบของร่างพ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับนี้ ที่มีต่อพระพุทธศาสนามากนัก แต่ขอเรียนให้ทราบว่า หากศึกษาเนื้อหาโดยละเอียด จะพบว่า ถ้าพ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับนี้ ผ่านสภาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อใด จะส่งผลกระทบต่อคณะสงฆ์ไทย อย่างใหญ่หลวง และมีความเป็นไปได้ที่ พระพุทธศาสนาอาจถูกบีบคั้น จนกลายเป็น ศาสนาของชนส่วนน้อย ใน ประเทศไทย ภายใน 1 ชั่วอายุคนเท่านั้น

บทความชิ้นนี้ จะเปิดเผยให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของผู้ผลักดันร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ และเงื่อนงำสำคัญที่แฝงแทรกอยู่ในร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับนี้

พ.ร.บ. อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา

พ.ร.บ. นี้ ตั้งชื่อเสียเพราะพริ้ง ชวนให้เคลิบเคลิ้มว่า อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา แต่เมื่อดูโดยเนื้อหาจริงๆ แล้ว น่าจะตั้งชื่อใหม่ว่า พ.ร.บ.ฆราวาสปกครองพระ หรือ พ.ร.บ. สูบเลือดวัด มากกว่า

ประเด็นสำคัญของ พ.ร.บ.ฆราวาสปกครองพระ มีดังนี้

ตั้ง “คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา” ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับวัดขึ้น โดยมีฆราวาสเป็นหลัก และมีอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการแต่ละระดับที่สำคัญคือ

คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองฯ ระดับวัด

    1. คุมพระภิกษุสามเณร แม่ชี และศิษย์วัดทั้งหมด คณะกรรมการฯ ระดับวัดนี้มีอำนาจออกระเบียบให้พระภิกษุ สามเณร แม่ชี และศิษย์วัด ปฏิบัติตาม สามารถไล่พระภิกษุ สามเณร แม่ชี และศิษย์วัด ออกจากวัดได้ แม้ในร่าง พ.ร.บ. จะเขียนว่า ไล่ผู้ที่ไม่อยู่ในพระธรรมวินัย โอวาทของ เจ้าอาวาส หรือระเบียบ ให้ออกไปจากวัด แต่ในความเป็นจริง ระเบียบนั้น ตนก็เป็นคนร่างเอง เวลาต้องการจะไล่ใครออก ก็อ้างระเบียบอะไร ก็ได้ แต่อำนาจในการไล่มีอยู่เต็มมือ เพราะฉะนั้น อนาคตหากคณะกรรมการฯ นี้มีการทุจริต ใครมาทักท้วง ก็มีสิทธิ์ถูกไล่ออกจากวัดได้ง่ายๆ ทุกคนต้องยอมตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของคณะ กรรมการฯ นี้หมด เพราะคุมทั้งการเงิน คุมทั้งคน แผนงานทั้งหมด (ดูมาตรา 62 ข้อ 4, 7, 8,)
    2. คุมการเงินของวัด คณะกรรมการฯ ระดับวัดนี้ มีอำนาจทั้งการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน และสามารถสั่งเอาเงินของวัด ไปใช้จ่ายในกิจการ ที่ตนเอง เห็นสมควร (ดูมาตรา 62 ข้อ 6, 10)

คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองฯ ระดับจังหวัด

    1. คุมการทำงานด้านพระพุทธศาสนาของฆราวาส ในจังหวัดทั้งหมด มาตรา 18 ข้อ 7 ของพ.ร.บ.นี้ระบุว่า คณะกรรมการฯ ระดับจังหวัดนี้ มีอำนาจ “อนุญาต รวมและยุบเลิกชมรมพระพุทธศาสนา สำหรับกลุ่มบุคคล ชุมชน และเอกชนในจังหวัด” พูดง่ายๆ ว่า ถ้ามีใครกลุ่มใด ประสงค์จะตั้งชมรม หรือองค์กรทาง พระพุทธศาสนาขึ้นมา ต้องผ่านความเห็นชอบ ของคณะกรรมการฯ ชุดนี้ก่อน และหากไม่พอใจ ชมรม หรือองค์กรใด คณะกรรมการฯ ชุดนี้ก็สามารถสั่งยุบได้ทันที จะอ้างเหตุผลอะไรก็ได้ ดังนั้น องค์กรทางพระพุทธศาสนา ที่เป็นคนละพวก จะถูกกลั่นแกล้งได้ง่าย เรียกว่า จะเผด็จการผูกขาดอำนาจกันถาวร แบบพรรคคอมมิวนิสต์กันเลย
    2. คุมการบริจาคทรัพย์สินและการเรี่ยไร เพื่อดำเนินงานพระพุทธศาสนาในจังหวัด มาตรา 18 ข้อ 9 ของพ.ร.บ.นี้ระบุว่า “ควบคุมดูแล การบริจาค ทรัพย์สินและการ เรี่ยไร เพื่อดำเนินงานพระพุทธศาสนาในจังหวัด” ถ้าวัดไหนจะบอกบุญเรี่ยไร ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน คณะกรรมการฯ ระดับ จังหวัดนี้ก็คุมหมด ต้องขออนุญาตก่อน จะเป็นช่องทางให้มีการทุจริต เรียกเปอร์เซ็นต์ประเภท วัดครึ่งหนึ่ง กรรมการครึ่งหนึ่ง หรือไม่
    3. มีอำนาจจับพระสึกได้ในจังหวัดของตน โดยไม่ต้องรอการพิพากษา สั่งสึกไม่ยอมสึก จับติดคุกได้ทันที (ดูมาตรา 76)
    4. คุมการแต่งตั้งคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองฯ ระดับวัด เมื่อคุมคณะกรรมการฯ ระดับวัดได้ทั้งหมด ก็เท่ากับว่า วัดทุกวัดในจังหวัด จะอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการฯ ระดับจังหวัดนี้หมด เพราะฉะนั้น คณะกรรมการฯ ระดับจังหวัดนี้ ถ้าหากไม่สุจริตแล้ว ก็สามารถสูบ ทรัพย์สิน ของวัด ต่างๆ ในจังหวัดมาใช้ได้โดยสะดวก ผ่านเครือข่ายคณะกรรมการฯ ระดับวัด ที่ตนมีอำนาจตั้งขึ้น (ดูมาตรา 61)

คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองฯ ระดับชาติ

    1. คุมการทำงานพระพุทธศาสนาของชมรมพุทธ ตลอดจนองค์กรเอกชนทั้งหมด มาตรา 14 ข้อ 8 ของพ.ร.บ.นี้ระบุว่า คณะกรรมการฯ ระดับชาติ มีอำนาจ “จัดตั้ง รวม ยุบเลิก ชมรมพระพุทธศาสนา และพุทธธรรมสถาน เพื่อศาสนศึกษา ในส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และสถานศึกษา” น่าคิดว่าข้อนี้เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 38 ที่ให้การรับรองว่า
    2. “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรม ตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อ ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรม อันดีของประชาชน"

      ในการใช้เสรีภาพดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง มิให้รัฐกระทำการใดๆ อันเป็นการรอนสิทธิ หรือเสียประโยชน์ อันควรมีควรได้ เพราะเหตุที่ถือศาสนา นิกายของศาสนา ลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรม ตามความเชื่อถือ แตกต่างจากบุคคลอื่น”

    3. คุมการบริจาคทรัพย์สินและการเรี่ยไรเพื่อดำเนินงานพระพุทธศาสนา ทั้งวัด ทั้งองค์กรพุทธ ถ้าใครจะเรี่ยไร บอกบุญอะไร ในขอบเขต กว้างขวางกว่า 1 จังหวัด คณะกรรมการฯ ระดับชาติชุดนี้จะคุมหมด ถ้าไม่อนุญาตก็บอกบุญไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าใครต้องการจะบอกบุญ หรือเรี่ยไรอะไร ก็อาจจะต้องติดสินบน คณะกรรมการฯ ก่อนก็เป็นได้
    4. มีอำนาจจับพระสึกได้ทั่วประเทศ ในพระราชบัญญัติมาตรา 76 ระบุไว้ว่า “ผู้ใดไม่รับโทษทางการปกครอง ถึงขั้นให้สึกหรือ สละ สมณเพศ ก็ดี พระสังฆาธิการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอ ให้สึกและยังฝ่าฝืนอยู่อีกก็ดี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน หนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
    5. อ่านแล้วแทบไม่เชื่อสายตาตัวเองว่า นี่คือร่างกฎหมายในยุค พ.ศ. 2542 นี้ เพราะเนื้อหายิ่งกว่ากฎหมายในยุคเผด็จการอีก พระไม่มีความผิด ถึงขั้นให้สึก ถ้าเจ้าหน้าที่ สั่งให้สึกต้องสึกทันที ถ้าไม่ยอมสึกต้องถูกจับติดคุก โดยเนื้อแท้แล้ว พ.ร.บ.นี้ประสงค์ จะ “อุปถัมภ์ คุ้มครอง” หรือ “คุม” กันแน่

    6. คุมการเงินทรัพย์สินของวัดและควบคุมพระทั่วประเทศ ผ่านคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองฯ ระดับจังหวัด และระดับวัด ดังนั้น ใครสามารถ คุมกลไก คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองฯ ระดับชาตินี้ได้ ก็เท่ากับคุมทรัพยากรของ พระพุทธศาสนาในประเทศไทย ทั้งหมด ไว้ในอุ้งมือ สามารถนำ ทรัพยากร ของพระพุทธศาสนา มาใช้เพื่อประโยชน์ของตน หรือใช้เป็นฐานทางการเมือง ได้อย่างสะดวกสบาย

ผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาโดยรวมทั้งประเทศ

    1. การทำงานของพระภิกษุสงฆ์และวัดทั่วประเทศ จะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของ คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนานี้ เกือบจะโดย สิ้นเชิง การทำงานของวัดทุกอย่าง จะต้องถูกควบคุมสอดส่องอย่างใกล้ชิด เสมือนหนึ่งว่า พระภิกษุสงฆ์เป็นบุคคลที่ไม่น่า ไว้วางใจ ต้องให้ ฆราวาสมาคุม จะบอกบุญ เรี่ยไร ก็ต้องขออนุญาตก่อน ถ้าไม่ได้รับอนุญาต ก็ทำไม่ได้ เรี่ยไรมาแล้ว จะใช้จ่ายอะไร ก็ต้องให้ ฆราวาสมาดูแล และเขาสามารถเอาเงิน ไปใช้ อย่างอื่น นอกเหนือจากงานวัดได้ จะสร้างพระพุทธรูปหรือ พระเครื่อง ก็ต้องขออนุญาตก่อน จะทำงานเผยแผ่ พระพุทธศาสนาอะไร แผนงานก็ต้องให้เขา อนุมัติก่อน แนวโน้มก็คือ พระคงจะเลิกทำงานเผยแผ่ พระพุทธศาสนา เพราะ เต็มไปด้วย ขั้นตอนข้อจำกัดมากมาย ขณะที่ผู้ควบคุม กลไกนี้ได้ในทุกระดับ   อาจเพลิดเพลินกับอำนาจ และผลประโยชน์ ที่ตนได้รับ แต่พระพุทธศาสนาจะค่อยๆ เรียวลง และอาจเสื่อมสูญไปในที่สุด
    2. พระและวัดทั่วประเทศจะระส่ำระสาย เพราะอำนาจทั้งหมด รวมศูนย์อยู่ที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการเพียงคนเดียว เป็นผู้มีอำนาจ แต่งตั้ง คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งระดับชาติและระดับจังหวัด จากนั้นคณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด ก็ตั้ง คณะกรรมการฯ ระดับวัด ขึ้นมาอีกต่อหนึ่ง เรียกได้ว่าคุมหมดทุกวัด คุมพระทุกรูปทั่วประเทศ ต่อไป คนจะแย่งกันมาเป็น รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ หรือรัฐมนตรีช่วย ว่าการ ที่คุมงานการศาสนา ถ้ารัฐมนตรีเปลี่ยนคน นโยบายเปลี่ยน คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองฯ ซึ่งรัฐมนตรีคุมอยู่ ก็ต้องเปลี่ยนแผนงานตาม และสั่ง ให้วัดทั่วประเทศทำตาม การทำงานของสงฆ์ทั่วประเทศ ก็ต้องเปลี่ยนตามเพื่อเอาใจ รัฐมนตรี ถ้าเจอรัฐมนตรี ที่มีความรู้ไม่พอ หรือตกอยู่ใต้อิทธิพลของ คนศาสนาอื่น ก็สามารถทำลาย พระพุทธศาสนา ในประเทศไทยได้ไม่ยาก
    3. โปรดสังเกตการหมกเม็ดการแต่งตั้งคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองฯ ระดับวัด ซึ่งไม่มีการระบุวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เท่ากับว่าแต่งตั้ง ทีเดียวเป็นได้ตลอดชีพ ถ้าเร่งให้พระราชบัญญัตินี้ผ่าน มีผลบังคับ ใช้ได้โดยเร็ว ผู้ที่กุมอำนาจรัฐในขณะนี้ มีอำนาจในการแต่งตั้ง ก็สามารถรีบตั้งคนของตนเอง เข้าไปเป็นกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ในทุกระดับ โดยเฉพาะ กรรมการในระดับวัดซึ่งเป็นตลอดชีพ อีกหน่อยแม้กลุ่มอื่นขึ้นมากุมอำนาจรัฐ ฐานทางการเมืองของตน ในทุกวัดของ ประเทศไทยก็ยังอยู่

ใครอยู่เบื้องหลังการผลักดันร่างพระราชบัญญัตินี้

มีข้อน่าสังเกตบางประการ ซึ่งเมื่อต่อภาพเข้าด้วยกันแล้วอาจทำให้เราเข้าใจสถานการณ์กระแสข่าวเกี่ยวกับเรื่องราวในพระพุทธศาสนาปัจจุบันได้ดีขึ้นว่า มีเบื้องหลังที่มาที่ไป อย่างไร

    1. บุคคลกลุ่มหนึ่ง มีบทบาทสำคัญในการจุดประเด็นกระแสข่าวเกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย และต่อมากระแสข่าว ได้ขยายตัวไปถึงการโจมตี มหาเถรสมาคม ทำลายความน่าเชื่อถือของมหาเถรสมาคม ทำให้สถานการณ์สุกงอม จนประชาชนเห็นว่า มีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง การปกครองคณะสงฆ์ใหม่ และให้ฆราวาสมาปกครองพระและวัด ภายใต้ชื่อที่น่าเลื่อมใสว่ามาอุปถัมภ์คุ้มครอง
    2. บุคคลกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ดังนี้

    นายสมพร เทพสิทธา

    นายอำนวย สุวรรณคีรี

    นายวรเดช อมรวรพิพัฒน์

    ประธานสภายุวพุทธิก-

    สมาคมฯ

    รองประธานสภายุวพุทธิกสมาคมฯ ผู้ช่วยเลขาธิการสภายุวพุทธฯ
    อุปนายกพุทธสมาคมฯ กรรมการบริหารพุทธสมาคมฯ หัวหน้าแผนกในพุทธสมาคมฯ
    รองประธานสภาสังคม-

    สงเคราะห์ฯ

    กรรมการอำนวยการสภาสังคม-

    สงเคราะห์ฯ

    กรรมการด้านศาสนาสภาสังคม-

    สงเคราะห์ฯ

      ประธานที่ปรึกษา คณะกรรมาธิการ-ศาสนาฯ สภาผู้แทนราษฎร นักวิชาการประจำ คณะกรรมาธิการศาสนาฯ สภาผู้แทนราษฎร

    (นายวรเดช นี้ปัจจุบันอายุประมาณ 49 ปี เป็นผู้ที่นายอำนวย สุวรรณคีรี ดึงเข้าไปเป็นนักวิชาการ ประจำคณะกรรมาธิการศาสนาฯ สภาผู้แทนราษฎร และเป็นหลักในการเขียน รายงานสรุปของคณะกรรมาธิการศาสนาฯ เรื่องวัดพระธรรมกาย รวมทั้งเป็นผู้ป้อนข้อมูล จุดประเด็นต่างๆ แก่สื่อมวลชน ร่วมกับนายสมประสงค์ พระสุจันทร์ทิพย์

    ส่วนร่างพ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับนี้ นายประเทือง เครือหงส์ ผอ.กองการเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร และเป็นนักวิชาการ ประจำคณะกรรมาธิการการศาสนาฯ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีความคุ้นเคยมากกับ นายอำนวย สุวรรณคีรี เป็นผู้ร่าง)

  1. ในร่างพ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนานี้ ได้ระบุว่า ให้ประธานสภายุวพุทธิกสมาคมฯ และนายกพุทธสมาคมฯ เป็นกรรมการอุปถัมภ์ และคุ้มครองฯ ระดับชาติ โดยตำแหน่ง นอกจากนี้ยังได้ระบุให้ นายกพุทธสมาคมประจำจังหวัด และนายกยุวพุทธิกสมาคมประจำจังหวัด เป็น กรรมการโดยตำแหน่ง ของคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองฯ ระดับจังหวัด
  2. เป็นที่น่าสังเกตว่า หากพ.ร.บ.นี้มีผลบังคับใช้จริง องค์กรที่ได้รับประโยชน์จากร่างพ.ร.บ.นี้มากที่สุดก็คือ สภายุวพุทธิกสมาคมฯ และพุทธสมาคม ซึ่งมีตัวจักรสำคัญคือ นายสมพร เทพสิทธา และนายอำนวย สุวรรณคีรี ดังกล่าวแล้ว

  3. ในพ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ระบุให้คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองฯ ระดับชาติ มีกรรมการโดยตำแหน่ง 15 คน กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากพระภิกษุหรือคฤหัสถ์ จำนวน 12-15 รูป/คน
  4. กรรมการโดยตำแหน่งโดยทั่วไป เช่น ผบ.ตำรวจแห่งชาติ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงต่างประเทศ ฯลฯ มักมีภาระงานในหน้าที่ประจำของตนมากอยู่แล้ว คงจะไม่มีเวลามาให้งานของคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองฯ นี้มากนัก คงให้เพียงตัวแทนเข้าประชุม เพราะ ฉะนั้นกรรมการที่จะมีบทบาทมากที่สุดคือ กรรมการโดยตำแหน่ง 2 คน ได้แก่ ประธานสภา- ยุวพุทธิกสมาคม และนายกพุทธสมาคม ซึ่งอาจเป็นผู้ชี้นำในการเสนอชื่อพวกพ้องของตนเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้ง เช่น อาจจะเป็น พระพยอม พระ-มหาบุญถึง นายเสฐียรพงษ์ วรรณปก นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง พ.อ.ทองขาว พ่วงรอด-พันธุ์ นายกมล ศรีนอก นายวรเดช อมรวรพิพัฒน์ นายสมประสงค์ พระสุจันทร์ทิพย์ เป็นต้น อยู่ที่ว่า รัฐมนตรี ที่รับ ผิดชอบงานศาสนาปัจจุบันคือ นายอาคม เอ่งฉ้วน จะกล้าพอ ที่จะใช้ อำนาจตั้งคน ของตัวเองหรือไม่ ซึ่งถ้าทำก็อาจจะถูกบุคคลเหล่านี้ โจมตีอย่างหนัก และอาจเกิด กระแสผลักดันให้เปลี่ยนตั วรัฐมนตรีดูแลการศาสนา จากนายอาคม เป็นนายอำนวย สุวรรณคีรี หรือจะยอมตั้งคนเหล่านี้ เข้าเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามที่มีผู้ ตั้งแท่นเสนอ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น ผู้ได้รับการ แต่งตั้งเป็น คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองฯ เหล่านี้ ก็จะควบคุมพระพุทธศาสนา ในประเทศไทย ทั้งพระ วัด ชมรมพุทธ องค์กรเอกชน ทางพระพุทธศาสนาทั้งหมด อยู่ในอุ้งมือ

  5. สภายุวพุทธิกสมาคมฯ ได้จัดประชุมประจำปีขึ้น เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2542 ที่ห้องประชุมของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในการประชุมนี้ ได้มีการตั้งโครงการ ชมรมอาสาสมัครอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาขึ้น น่าสังเกตว่า ชื่อของชมรมนี้ สอดคล้อง ตรงกับ ชื่อร่าง พระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระ-พุทธศาสนา เนื้อหาคือ การสร้างเครือข่ายสมาชิกชมรมนี้ขึ้น ทั้งในระดับวัด สถาบันการศึกษา หน่วยราชการ และรัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชน และชุมชนหมู่บ้าน โดยมี หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย และสภายุว พุทธิกสมาคมแห่งชาติ ซึ่งก็คือ 3 องค์กร ที่ นายสมพร เทพสิทธา นายอำนวย สุวรรณคีรี และนายวรเดช อมรวรพิพัฒน์ มีบทบาทอยู่นั่นเอง

ลำดับเหตุการณ์ของเรื่องราวได้ดังนี้

    1. มีการจุดประเด็นปลุกกระแสการโจมตีวัดพระธรรมกาย ซึ่งเป็นวัดใหญ่ โจมตีง่าย ได้รับความสนใจจากสาธารณชนมาก เป็นตัวจุดชนวนของ การสร้างสถานการณ์ คณะกรรมาธิการศาสนาฯ สภาผู้แทนราษฎรนำเรื่องเข้าพิจารณา กระตุ้นทุกหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องให้เคลื่อนไหว ปลุกเร้าสถานการณ์ ทำรายงานสรุปของคณะกรรมาธิการฯ สร้าง น้ำหนักความน่าเชื่อถือของข้อกล่าวหา โดยมี นายอำนวย สุวรรณคีรี เป็นแกนนำ และนายวรเดช อมรวรพิพัฒน์ เป็นมือทำงานในคณะกรรมาธิการ
    2. สร้างแนวร่วมดึงพระที่มีอัธยาศัยชอบพูดหรือหวังมีชื่อเสียง เช่น พระพยอม พระมหาบุญถึง เข้าร่วมโจมตีวัดพระธรรมกาย และมหาเถรสมาคม โดยอาจมีผลประโยชน์การแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองฯ เป็นเครื่องล่อ
    3. ขยายผลการโจมตีสู่มหาเถรสมาคม ทำให้ประชาชนเกิดความสงสัยว่า พระมหาเถระ ในมหาเถรสมาคมอาจได้รับสินบน ไม่เป็นกลาง ไม่น่าไว้วางใจ หรือไร้ประสิทธิภาพ ทำงานช้า จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองสงฆ์ใหม่
    4. ยกร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับใหม่ และ พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา เตรียมเสนอเข้าสภา โดยอาศัยสถานการณ์ทางสังคม ที่ถูกจัด ทำให้สุกงอมเป็นเครื่องเอื้อ
    5. สภายุวพุทธิกสมาคมฯ ตั้งโครงการชมรมอาสาสมัครอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา เพื่อเตรียมเครือข่ายคนของตนไว้รอท่า พ.ร.บ.ใหม่ ทั่วประเทศ
    6. ขั้นตอนต่อไปคือ เสนอพ.ร.บ.เข้าสภา ถ้าพระภิกษุสามเณรและชาวพุทธเผลอตัวขัดขวางไม่ทัน ก็รีบผลักดันให้พ.ร.บ.ผ่านสภาประกาศใช้โดยเร็ว และส่งคนของตนที่ เตรียมไว้เข้าควบคุมวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะวัดใหญ่ที่มีรายได้มาก เช่น วัดโสธร วัดไร่ขิง ฯลฯ จะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะถูกส่งคนเข้าไปจัดการกับทรัพย์สินรายได้โดยเร็ว ที่สุด
    7. ขยายผล ปรับเปลี่ยนให้วัดทุกแห่ง กลายเป็นฐานที่มั่นทางการเมืองของตน

พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับใหม่

สำหรับพ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับใหม่นั้น เนื้อหายิ่งหนักหน่วงมากไปกว่านี้อีก การลดอำนาจหน้าที่มหาเถรสมาคม ให้กลายเป็นคล้ายสภาที่ปรึกษาเท่านั้น แล้วตั้งสังฆนายกและ คณะสังฆมนตรี มาปกครองคณะสงฆ์ไทย ทั้งหมด มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอน เจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด ยังไม่ต้องพูดถึง แค่มาตรา 76 ที่บอกว่า “ให้ผู้ที่จะเข้ามา บรรพชาอุปสมบท โอนหรือส่งมอบ ทรัพย์สินให้บุคคลอื่น กระทำการแทนในฐานะตัวแทน ก่อนที่จะดำรงสมณเพศ” แค่มาตรานี้มาตราเดียว ต่อไปคน ก็จะไม่อยากบวชพระแล้ว ลองคิดดู คนทำงานจะลางานบวชพระสัก 1 เดือน 3 เดือน ใครมีบ้าน มีที่ดิน มีรถ มีเงินใน ธนาคาร นาฬิกา สร้อย แหวน ฯลฯ ต้องโอนให้คนอื่นหมด ค่าโอนค่าภาษีเท่าไร เกิดสึกแล้วเ ขาไม่ยอมโอนกลับจะทำอย่างไร มิต้องฟ้องร้องกันอุตลุตหรือ จะบวชสักที มีขั้นตอนมากวุ่นวายเหลือเกิน ถ้าพ.ร.บ.นี้มีผลบังคับใช้จริง อีก หน่อย ประเพณีการบวชพระของชายไทย คงจะสาบสูญไปจากประเทศไทย

ตื่นเถิด….ชาวพุทธ

ขอให้พระภิกษุสามเณรและชาวพุทธทั้งหลาย จงได้ตระหนักว่า พระพุทธศาสนากำลังพบกับภัยคุกคาม ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เราจะต้อง ไม่ประมาท ต้องตื่นตัว ช่วยกันป้องกัน มิให้พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับนี้ ผ่านรัฐสภา ออกประกาศบังคับใช้ได้เป็นอันขาด ใครรู้จัก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ วุฒิสมาชิกท่านใด ขอให้ช่วยกัน บอกกล่าว เล่าเบื้องหน้าเบื้องหลัง รวมทั้งผลกระทบนี้ ให้ฟัง และขอให้ช่วยกันหยุดยั้งพ.ร.บ.นี้ให้ได้โดยเร็วที่สุด คณะสงฆ์ และชาวพุทธ ในจังหวัดสงขลา ขอให้ช่วย ตักเตือน นายอำนวย สุวรรณคีรี ให้รีบหยุดการกระทำนี้โดยทันที ใครรู้จักผู้มีอำนาจ มีบทบาทในสังคมไทย หรือสื่อมวลชนท่านใด ก็ขอให้ช่วยกันบอกเล่า ความจริงนี้ให้ทราบ จะโดย วาจา หรือจดหมายก็ตาม ช่วยกันขัดขวางพ.ร.บ.ทำลายพระพุทธศาสนานี้ด้วย และขอให้ชาวพุทธทุกคน ผนึกกำลังรวมใจกัน ทั้งประเทศ ปกป้อง พระพุทธศาสนา อันเป็น ที่รักยิ่ง ของเราด้วยเถิด อย่าให้ใคร มาหาผลประโยชน์ และทำลาย ลงไปได้เลย

**********************************************

[ยังมีต่อ]

1