ศิลปการขึ้นรถเมล์ สำหรับคนที่ไม่ค่อยจะได้ขึ้นรถเมล์ มี 5 ข้อ คือ ....
ข้อหนึ่ง
ออกจากบ้านเช้าๆ หรือไม่ก็สายไปเลย
ช่วงเวลารถเมล์แน่นที่สุด คือ ระหว่าง 6.30-8.30 น. และ 16.45-17.30 นอกจากนี้แล้วค่อยยังชั่ว ในบางช่วงนั่งกันแค่ 7-8 คนเท่านั้น
ข้อสอง
มีความรู้เรื่องรถสายไหนที่ผ่านที่ไหนบ้าง จำไม่ได้ก็ถามเขา
ดีกว่าขึ้นไปได้สองป้าย พอรถเลี้ยวซ้ายขอลง บอกว่าเราจะตรงไป ติดนิสัยมาจากขึ้นรถแท็กซี่
ข้อสาม
เตรียมสตางค์ไว้ให้พอดีกับค่ารถเมล์อย่างมากที่สุดก็เหรียญห้าบาท
หรือแบงค์สิบ ไม่ควรยื่นแบงค์ยี่สิบหรือแบงค์ร้อยให้กระเป๋ารถเมล์ เพราะการทอนสตางค์รุ่มร่ามหรือบางทีก็ยังไม่มีทอน พอถึงที่หมายแล้วกระโดด
ลงลืมรับสตางค์ทอนก็มี กระเป๋าเลยสบายไป ได้ทั้ง "ขี่ช้าง" และ "ลูกหลง"
(ขี่ช้างเป็นศัพท์ของกระเป๋ารถเมล์ แปลว่า การที่กระเป๋ารถเมล์เก็บตั๋วรถเมล์ที่ใช้แล้วแต่ยังใหม่ๆ และยังไม่หมดระยะ ที่ผู้โดยสารทิ้วไว้ก่อนลงจาก
รถ เอาขึ้นมาขายใหม่ ซึ่งทำให้ ขสมก. ขาดรายได้ประมาณวันละ 2 แสนบาท)
ข้อสี่
ควรมีหนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์หรือพ็อคเก็ตบุ๊ค อะไรก็ได้สัก 1 ฉบับ
ติดมือไปด้วย เวลานั่งว่างๆ จะได้อ่านฆ่าเวลา ได้าความรู้และเยาะเย้ยคนขี่รถเก๋งได้ เพราะคนที่ขี่รถเก๋งไม่มีสิทธิ์ที่จะทำสิ่งนี้ ก็มีน้อยกว่าเรา นอกจาก
นั้นการอ่านหนังสือพิมพ์ในรถเมล์ยังทำให้เรามีเหตุผลพอที่จะทำไม่รู้ไม่ชี้ เวลามีคนมายืนให้เราลุกให้เขานั่ง
ข้อห้า
จะลงป้ายไหนต้องเตรียมลุกขึ้นและเดินมาใกล้ๆ ประตู
คอยสบตาหรือพยักหน้ากับกระเป๋า อย่าชะล่าใจไปลุกขึ้นเอาตอนใกล้ๆ จะถึง และอย่าไว้ใจกริ่งออดที่เขาติดไว้ที่ขอบหน้าต่าง ร้อยทั้งร้อย
มีแต่กริ่งไม่มีสายกด กดให้ตายก็ไม่ดัง แล้วจะมาเจ็บใจที่ต้องเดินย้อนกลับมาอีกสองป้าย ต่อว่าเขาก็ไม่ได้ จะปวดใจหนักขึ้น เพราะเขาจะ
ตอบกลับมาว่า "แถมให้ตั้งสองป้าย ไม่ดีอีกเรอะ !"