การปรุงยาจากสมุนไพร

ตำรับยาจากสมุนไพร ซึ่งเป็นยาแผนโบราณ มักมีส่วนประกอบหลายชนิด บางตำรับอาจมากถึง 30-40 ชนิด ซึ่งในจำนวนนี้แบ่งได้ 2 ประเทศ คือ ดัวยาสำคัญ หรือดัวยาตรง อาจจะมีหลายชนิ ซึ่งแบ่งประเทศไปได้ อีกว่าเป็นตัวยาหลัก และตัวยาช่วย
ตัวยาแต่งกลิ่ง รส หรือด้วยยาชูกลิ่ง ชูรส
   
การปรุงยาต้องมีสูตรตำรับที่แน่นอนชัดเจน และจะต้องเข้าใจสูตรตำรับในแง่ไปนี้
1. ชนิดแลลักษณะของสมุนไพร
สมุนไพรหลายชนิดมีชื่อฟ้องกันบางชนิดมีฤทธิ์เป็นยา บางชนิดไม่มีฤทธิ์ทางยา และบางชนิดอาจเป็นพิษ เช่น โคคลาน เมื่อทราบชนิดแล้วต้องทราบว่าใช้ส่วนไหน ของพืช หรือสัตว์ เช่น ส่วนราก ต้น ใบ ดอก ผลหรือทั้งต้น (ทั้งห้า) เพราะแต่ละส่วนของพืชอาจมีสารที่เป็นยามากน้อยหรือต่างบางชนิดจะหายไปเมื่อทิ้งให้แห้ง สุดท้ายต้องทราบว่าก่อนนำมาผสมเป็นยา ต้องผ่านวิธีการใดๆก่อนหรือไม่ เช่น การปิ้งใบชุมเห็ดเทศก่อนเอามาชงนํ้าดื่ม
2. ขนาดหรือนํ้าหนักของสมุนไพร
กำมือ ให้กำหลวมๆ โดยนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางจดกับหัวแมโป้งหยิบมือ ใช้ 4 นิ้วคือนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วโป้งหยิบกอบมือ ให้นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยของทั้ง 2 มือจดกัน
3.วิธีการปรุง มีการปรุงได้หลายแบบ เช่น ยาต้ม, ยาชง, ยาดองเหล้า, ยาลูกลอน, ยาเม็ดพิมพ์
4.นํ้ากระสายยา คือ นํ้าที่สะอาดปราศจากเชื้อโรคเจือน อาจได้มาจากพืชวัตถุ ธาตุวัตถุ โดยนำมาบีบ คั้น ฝน ต้ม โดยกรรมวิธีใดๆ ก็ดีเพื่อเอานั้านั้นมาทำเป็นกระสายยา ความสำคัญของนํ้ากระสายยา ก็เพื่อให้ยากลืนง่าย เพื่อเพิ่มฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มสรรพคุณของยาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นของเหลวที่ใช้ละลายหรือสกัดตัวยาจากสมุนไพรหรือใช้เพื่อเสริมตัวยาหลัก ให้ออกฤทธิ์แรงและเร็วยิ่งขึ้น หรือเพรียงใช้ในการเตรียมยาเพื่อความสะอาดในการกิน ตัวอย่างนํ้ากระสายยาเช่น นํ้าสะอาด เหล้า นํ้าปูนใส นํ้าซาวข้าว เป้นต้น
        
วิธีการปรุงยาสมุนไพร
ส่วนวิธีการปรุงยาที่กำหนดไว้ในตำราแผนโบราณ แลวิธีการที่พระราชบัญญัติยากำหนดให้ปรุงเป็นยาแผนโบราณได้
ในปัจจุบันนี้ 24 วิธี แต่ที่พบบ่อยๆ และประชาชนสามารถเตรียม ใช้ได้เองคือ ยาลูกกลอน ยาชง ยาต้ม ยาพอก
และยาดอง
  
เทคนิคการเตรียมยาสมุนไพร
การปรุงยาสมุนไพรขึ้นใช้เอง ผู้ใช้จะมั่นใจในคุณภาพความสะอาด ของยาเตรียม และบางครั้งสมุนไพรบางชนิดไม่มียาเตรียมสำเร็จรูขาย อาจเนื่องจากติขัดด้วยบังคับทางกฎหมายบางประการ ความจำเป็นทางด้านการตลาดหรือความไม่คงตัว ของของสารในพืชนั้น ดังนั้นการเรียนรู้วิธีปรุงยาเองอย่างง่าย ๆ จะ
ช่วยให้ผู้ใช้สะดวกในการใช้สมุนไพรขึ้น ยาเตรียมที่ปรุงได้เอง ได้แก่ ยาต้ม ยาชง ยาดองเหล้า ยาลูกกลอน เป็นต้น
  

ยาต้ม
วิธีนี้เหมาะสำหลับสมุนไพรที่มีสารสำคัญละลายออกมาในนํ้า เป็นวิธีที่เตรียมง่ายการดูค่อนข้างดี แต่รสชาดไม่ค่อยดี
ข้อควรระวัง
1. ควรต้มกินเฉพาะแต่ละวันไม่ควรเก็บค้างคืน
2. ภาชนะที่ใช้ต้มควรใช้หม้อดิน หม้อเคลือบหรือหม้อสแตนเลส ห้ามใช้หม้ออะลูมิเนียม หรืเหล็ก เพราะกรดหรือสารฝาดในสมุนไพร จะทำปฏิกิริยากับโลหะ จำพวกนี้ มีผลต่อยาต้มหรือบางครั้งโลหะจะละลายออกมา
เป็นผู้ใช้ในระยะยาวได้
การปรุงยาสมุนไพร
การเตรียมพืชสมุนไพร
นำมาล้างสะอาด หั่นให้ได้ชิ้นที่มีขนาดพอประมาณ ไม่หยาบหรือละเอียดเกินไป สมุนไพรชิ้นโต ตัวยาละลายออกมาน้อย ถ้าเป็นผงละเอียดรินเฉพาะนํ้าใสยาก แม้กรอง ด้วยผ้าขาวบางก็อาจมีผงยาหลุดปนมาทำให้ระคายเคืองคเวลาดื่ม
สมุนไพรที่เป็นเหง้าหรือหัวใต้ดิน ควรทุบหรือบุบพอแตกทำให้เซลล์แตก นํ้ามันหอมระเหยออกมาได้ดี
      พืชสด ให้นำสมุนไพรใส่หม้อ เติมนํ้าแล้วตั้งไฟทันที
      พืชแห้ง หลังเติมนํ้าแล้วแช่ทิ้งไว้ 10-20 นาที ก่อนยกตั้งไฟ
      นํ้าที่ใช้ เป็นสะอาด ใสตามปริมาณที่ระบุในข้อบ่งใช้ของสมุนไพร
ถ้าไม่ระบุปริมาณและเป็นการต้มธรรมดา ให้เติมนํ้าจนท่วมยา
ระยะเวลาที่ต้มยา ขึ้นอยู่กับชนิดของสมุนไพร ซึ่งสามารถแบ่งได้คร่าวๆ เป็น 3 จำพวก
       -ต้มพอเดือด การต้มแบบนี้ใช้ในการปรุงยารักาาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ส่วนของพืชที่ใช้มักจะเป็นเหง้า
หรือส่วนอื่นๆ ที่มีนํ้ามันหอมระเหยเช่นเหง้าขิง ดอกกานพลู ผลเร่ว เป็นต้น การต้มแบบนี้มักไม่ค่อยระบุจำนวนนํ้าที่ใช้
ฉะนั้นจึงควรกะปริมาณของนํ้าที่ใช้ต้มให้พอดื่มหมดภายในครั้งเดียว คือ ประมาณ 1-1 1/2 ถ้วยต้มนํ้าให้เดือดแล้วใส่สมุนไพรที่บุบแล้วลงไป
       -ต้มเดือดพอประมาณ กับสมุนไพรใช้ทั่วๆไป และบางชนิดที่ระบุว่าห้ามต้มที่เคี่ยว เติมนํ้าในสมุนไพร ตามริมาณที่กำหนดหรือท่วมตัวยา แล้วจึงยกภาชนะขึ้นตั้งไฟทิ้งให้เดือดนาน 10 นาที จึงยกลง ริมเฉพาะนํ้า
       -ต้มเคี่ยว โดยทั่วไปใช้นั้า 3 ถ้วย ต้มเคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วย หรือปริมาณที่กำหนดในพืชสมุนไพรบางชนิด
        ยาชง เหมาะสำหรับสมุนไพรที่มีสารสำคัญ ละลายนํ้าได้ มักมีกลิ่งหอม
วิธีเตรียง่ายและสะดวกกว่ายาต้ม แต่สกัดสารสำคัญได้น้อยกว่าวิธีต้ม
        วิธีการ
การเตรียมพืชสมุนไพร นำส่วนที่ใช้มาล้างให้สะอาด หั่นให้มีขนาดพอประมาณ ตากแดดหรืออบจนแห้ง เก็บในภาชนะปิดสนิท ชงโดยเติมนํ้าเดือดลงในแก้วที่มีผงยา ปิดฝาทิ้งไว้ 3-5 นาที
        ยาดองเหล้า
เหมาะสำหรับสมุนไพรที่มีสารสำคัญที่ไม่ละลายนํ้า ดังนั้นจึงไม่อาจเตรียมโดยการต้มหรือชงได้
ข้อควรระวัง
สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยความดังโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ที่แพ้เหล้า เด็กควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาเตรียมวิธีนี้ เพราะอาจเกิดอันตรายขึ้นได้
        วิธีการ
เตรียมพืชสมุนไพร มักใช้สมุนไพร จึงต้องเตรียมล่วงหน้าโดยการนำสมุนไพรมาล้างให้สะอาด หั่นให้มีขนาดพอระมาณ ตากแดดหรืออบจนแห้ง ชั่งยาตามนํ้าหนักที่ต้องการ ห่อด้วยผ้าขาวบางใส่ในขวดแก้วเติมเหล้าพอท่วมตัวยา (ใช้ได้ทั้งเหล้าโรง และเหล้าขาว ที่มีดีกรี ตั้งแต่ 28-40 ปิดฝาขวดให้สนิท เปิดคนทุกวันจนครบ 1-6 อาทิตย์
        สำหรับยาดองเหล้าที่กำหนดให้ดองนาน 4 อาทิตย์ขึ้นไป และสารที่ออกฤทธิ์นั้นไม่สลายตัวเมื่อถูความร้อน อาจใช้วิธีดองร้อนเพื่อช่วยย่นระยะเวลาในการอง ดังนี้ นำสมุนไพรแห้งห่อผ้าขาวบางใส่ภาชนะทนความร้อน เติมเหล้าพอท่วมตัวยา ยกภาชนะทีใ่ส่ยาดองวางในหม้อหรือกะทะที่มีนํ้าสะอาด ยกตั้งไฟจนนํ้าในหม้อเดือด ยกภาชนะใส่ยาดองขึ้นปิดฝาให้สนิทเปิดคนวันละ 1 ครั้งจนครบ 1-2 อาทิตย์ แบ่งดื่มตามขนาดที่กำหนด

        ยาลูกกลอน
       เหมาะสำหรับสมุนไพรที่มีสารสำคัญละลายในนํ้ายาก ทำให้ใช้วิธีต้มหรืชง ไม่ได้หรือใช้กับยาที่มีกลิ่น รสไม่ชวนรับประทาน การเตรียมยาลูกกลอน ต้องใช้สารเหนียว เช่น นํ้าผึ้ง หรือนํ้าเชื่อมช่วยให้ผงยาเกาะตัว        
ปั้นเป็นลูกกลอนได้ง่าย ยาลูกกลอนอาจเตรียมไว้ใช้ได้นานถึง 1 เดือน หรืนานกว่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ควรหมั่นตรวจ อยู่เสมอว่ายาลูกกลอนยังใช้ได้ ต้องเป็นลูกกลอนที่แห้งสนิท ไม่แตกร่วนหรือเยิ้มติดกันหรือ มีราขึ้น
วิธีการ
ผงยาต้องแห้งสนิท และละเอียด ชั่งผงยาตามขนาที่ต้องการ ใส่ถาชนะแห้งสนิท เติมนํ้าผึ้งที่ละน้อย คนจนเข้ากันดี จะสั่งเกตว่าปริมาณนํ้าผึ้งที่ใช้พอดี โดยหยิบผงยาปั้นเป็นลูกกลอนด้วยมือ ถ้าผงยาเละติดมือปั้นไม่ได้ แสดงว่านํ้าผึ้ง
มากไป ถ้าแห้งเกินไปผงยาไม่เกาะกันปั้นไม่ได้ หรือปั้นเป็นลูกกลอนได้ แต่เมื่อบีบเบาๆ จะแตกร่วนได้ง่ายแสดงว่า
นํ้าผึ้งน้อยไป การปั้นลูกกลอน ขนาดปลายนิ้วชี้ นำลูกกลอนตากแดด 1-2 วัน หรือ อบอุณหภูมิประมาณ 50ํ ซ นาน
3-4 ชั่วโมง เก็บในขวดสะอาดและแห้งสนิท ปิดฝาเก็บไว้ในที่โร่ง ไม่มีแดดส่องและความชื่นตํ่า
การทำยาลูกกลอน ทำได้ 2 วิธี คือ
1. การใช้มือคลึง แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ คลึงให้เป็นเส้นยาว หลังจานนั้น ตัดหรือเด็ดเป็นท่อนนำละท่อน มาคลึงด้วย
มือจนกลม ใส่ถาดหรือกระดังไปอบหหรือตากแดดจนแห้ง
ข้อควรระวัง
การผสมผงยา ควรทำทีละน้อยเพื่อจะปั้นให้หมดก่อนที่ผงยาจะแห้งลงซึ้งจะร่วนแตกและปั้นไม่ได้ เนื่องจากนํ้าผึ้งมี
ราคาแพง จึงควรพัฒนาสูตรนํ้าเชื่อมที่มีราคาถูกลง จากการทดลองในภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเถสัชศาสตร์
ม.มหดล พบว่าสูตรนํ้าเชื่อมที่ทำจากนํ้าตาลปิ๊บผสมนํ้าตาลทราย นำมาใช้แทนนํ้าผึ้งได้
วิธีการเตรียมนํ้าเชื่อม
ทำได้โดยใส่นํ้าตาลทราย 4 ขีด (400 กรัม) ในภาชนะเติมนํ้าจนท่ว ยาภาชนะตั้งไฟ คนจนนั้าตาลละลายหม เติมนํ้าปิ๊บ
2 ขีด (200 กรัม) เคี่ยวจนละลายหมดเคี่ยวต่อโดยใช้ไฟอ่อนๆประมาณ 1 ชั่วโมง จนข้นเหนียวได้ที่ ทดสอบโดยหยด
นั้าเชื่อมขณะร้อนลงบนภาชนะที่แห้งสนิทและสะอาด ถ้าหยดนํ้าเชื่อมใสเกาะกับที่ เมื่อเอียงภาชนะ หยกนํ้าเชื่อมไหลช้า
และทิ้งไว้จนเย็น หยนั้าเชื่อมยังใสอยู่ แสดงว่าใช้ได้ กรองนั้าเชื่อมผ่านผ้าขาวบางขณะร้อน แล้วทำใ้เย็นลงโดยเร็ว
ยาเม็ดพิมพ์
อุปกรณ์ที่ใช้คือ แบบพิมพ์ทำด้วยโลหะ ซึ่งสามารถหมุนปรับขนาดความหนาของเม็ดยาได้ และใช้ แผ่นกระจกหรือโหละ
หรือกระดานที่มีผิวหน้ามัน ใช้สำหรับวางผงยาที่ผสมกับนํ้านวดจนเข้ากันดีแล้ว ทำเป็นแผ่นยา ลากไปมา 2-3 ครั้ง เพื่อผิวหน้าของเม็ยาเรียบมัน จากนั้นจึงยกพิมพ์ขึ้นและกดครงแกนเพื่อให้เม็ดยาหลุลงบนภาชนะรองรับ
"สมุนไพร" ทางเลือกใหม่เพื่อสุขภาพของคนไทย
เมื่อพูดถึงความเจ็บป่วยแล้วคงไม่มีใครที่อยากจะเผชิญหน้ากับสิ่งนี้เป็นแต่ถ้าหลีกเลียงไม่ได้ "ยา" จึงเป็นทางออกที่คน
ส่วนใหญ่เลือกใช้บำบัด และรักษาความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น แล้วท่านทราบหรือไม่ว่า ในปีหนึ่งๆ ประเทศของเราเสียค่าใช้
จ่ายในการสั่งซื้อยาเป็นเงินจำนวนเท่าไร
กลุ่มยา
(ล้านบาท)
มูลค่ารวม
ตัวอย่างสมุนไพรที่มีศักยาพ
    ในการพัฒนาใช้ทดแทน
ยาลดกรดและขับลม
ยาระบายและยาถ่าย
ยารักษาอาการท้องเสีย
ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน
ยาแก้ปวด ลดไข้
ยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
ยารักษาโรคผิวหนัง
ยาแก้ไอ ขับเสมหะ
406.623
81.88
68.442
220.549
610.011
479.832
1262.68
469.97
ขมิ้นชัน กล้วย ว่านหางจระเข้ ข่าหอม ขิง
คูน ชุมเห็ดเทศ แมงลัก มะขามแขก
ฟ้าทะลาย ฝรั่ง มังคุด
บอระเพ็ด มะระขี้นก ช้าพลู
ฟ้าทะลาย บอระเพ็ด ตำรับจันทลีลา
กระเทียม คำฝอย ขลู่ หญ้าหนวดแมว
ขมิ้นชัน พลู สำมะงา มะกรูด มะคำดีควาย
มะนาว มะขามป้อม มะแว้งต้น มะเว้งเครือ
กระเทียม ขิง
จะเห็นได้ว่าในแต่ละปีประเทศไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากเพื่อซื้อยาจากต่างประเทศมาใช้ในการรักษาผู้ป่วย
และดูแลสุขภาพ ยาเหล่านี้หลายชนิดเป็นยาที่มีความจำเป็นต่ผู้ป่วยแลช่วยให้คนไทยมีภาวะสุขภาพดีและอายุยืนยาวขึ้น
ในขณะเดียวกันยาแผนปัจจุบันอีกหลายชนิดก็ทำให้เกิดปัญหากับผู้ใช้ยาโดยเฉพาะเมื่อซื้อยากินเองหรือแม้แต่การใช้ยาตาม
คำสั่งแพทย์ก็อาจเกิดัญหาอาการข้างเคียงจากการใช้ยา พิษของยา หรือปัญหาอื่นๆตามมาได้
การเจ็บป่วยมากว่าร้อยละ80 สามารถูแลรักษาให้หายขาดได้เองโดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล การเจ็บป่วยเหล่านี้จำนวนมาก
สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยสมุนไพร เช่น อาการท้องอื ท้องผูก ไอ เจ็บคอ รวมทั้งโรคผิวหนังต่างๆหากเราหันมา
ใช้สมุนไพรรักษาโรคเหล่านี้ มาขึ้นจะลดการสูญเสียเงินตราที่ต้องซื้อยาได้ปีละหลายร้อยล้านบาท
        การใช้สมุนไพรในการรักษาโรคนอกจากจะชช่วยลดค่าใข้จ่ายแล้วยังมีอัตรายและอาการข้างเคียงน้อยกว่ายาแผนปัจจุบัน
เนื่องจากสมุนไพรจำนวนมากใช้เ็นอาหารอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อตัดสินใจใช้สมุนไพรควรหาข้อเกี่ยวกับสมุนไพร วิธีการปรุงยา ขนาดรับประทานรวมทั้งอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจะทำให้ได้รับประโยชน์จากการใช้สมุนไพรอย่างเต็มที่
        โรคและอาการหลายอย่าง โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดังโลหิตสูง
ไขมันในเลือดสูง ฯลฯ
ยังไ่ม่มีสมุนไพรชนิดใดรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นควรไปพบแพทย์และรักษาด้วย
ยาแผนปัจจุบัน อย่างต่อเนื่องการใช้สมุนไพรกับผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังหลายๆชนิด
ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รับประทานยาแผนปัจจุบันลดลง แต่ทั้งนี้ควรต้องใช้ควบคู่ไปกับยาแผนปัจจุบัน การเพิ่มหรือลดปริมายาณแผนปัจจุบันที่ใช้อยูในดุลยพินิจของแพทย์
เป็นสำคัญ ผู้ป่วยไม่ควรลดหรือเพิ่มยาเองเพราะอาจเกิดผลเสียที่รุนแรงขึ้นได้
        นิทรรศการสมุนไพร:ทางเลือกในการดูแลสุขภาพของคนไทย จัดขึ้นเพื่อมุ่งเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่มี
ประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคพร้อมทั้งนำเสนอวิธีการเตรียมยาอย่างถูกต้องเพื่อการใช้ยาอย่างมี
ประสิทธิภาพอันจะเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งของคนไทยในสังคมไทยในการดูแลสุขภาพ
ในยุคเศรษฐกิจชะลอตัวในปัจจุบัน

ธาตุ เจ้าเรือน
การใช้สมุนไพรตามระบบแพทย์ของ ไทยนอกเหนือจากการตรวจโรค และอาการเจ็บป่วยแล้วการรักษาผู้ป่วยยังให้
ความสำคัญ กับสภาพความสมดุลของร่างกายของู้ป่วยและความสมดุลระหว่างร่างกายกับสิ่งแวดล้อมด้วยซึ่งการ
แพทย์ไทยอธิบายถึงความสมดุลนี้โดยใช้คำว่า
"อยากทราบไหมว่า...คุณเป็นคนธาตุอะไร
ในร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยธาตุต่างๆ ได้แก่ ดิน นํ้า ลม ไฟ องค์ประกอบของธาตุที่รวมกันอยู่อย่างปกตินั้น
จะมีธาตุอย่างใดอย่างหนึ่งเด่น หรือมากกว่าอย่างอื่นเรียกว่า เจ้าเรือน ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดย
แต่ละธาตัหลักทั้ง 4 จะมีลักษณะที่แสดงออกเป็นธาตุเจ้าเรือนดังนี้

ธาตุดินเจ้าเรือน
จะมีรูปร่างสูงใหญ่ผิวค่อนข้างคลํ้า ผมดกดำ เสียงดังฟังชัด ข้อกระดูกแข็งแรง กระดูกใหญ่ น้ำหนักตัวมาก ลํ่าสัน อวัยวะสมบูรณ์
อาหารสำหรับคนธาตุดิน
รสฝาด     ยอดจิก ยอดมะม่วงหินพานต์ ยอดฝรั่ง ผลมะตูมอ่อน
รสเต็ม     เกลือ
รสหวาน   แตง กะหลํ่าปลี ผักกาด ผักปลัง คะน้า ผักหวานบ้าน บวบ แค เห็ด มังคุด เงาะ
รสมัน      สะตอ เนียง ขนุนอ่อน ถั่วพู ฟักทอง ผักกระเฉด หัวปลี มัน กระถิน รากบัวหลวง ชะอมข้าว ข้าวโพด
            กล้วยขนุน ทุเรียน นํ้ามัน

ธาตุนํ้าเจ้าเรือน
จะมีรูปร่างสมบูรณ์ อวัยวะสมบูรณ์สมส่วน ผิวพรรณสดใสแต่งตึง ตาหวาน นํ้าในตามาก ท่าทานเดินมั่นคง ผมดกดำงาม กินช้าทำอะไรชักช้า ทนร้อน ทนเย็นได้ดี เสียงโปร่ง มีลูกดกหรือมีความรู้สึกทางเพศดี แต่มักเฉื่อย
และค่อนข้างขี้เกียจ
อาหารสำหรับคนธาตุนํ้า
รสขม       สะเดา ฝักเพกา มะระขี้นก ดอกขี้เหล็ก มะแว้งเครือ ใบยอ ผักโขม
รสเปรี้ยว   สัม มะนาว สับปะรด
รสเบื่อเมา  ดอกชุมเห็ดเทศ

ธาตุลมเจ้าเรือน
จะมีผิวหนังหยาบแห้ง รูปร่างโร่ง ผอม ผมบาง ข้อกระดูกมักลั่นเมื่อเคลื่อนไหว ขี้ิอิจฉา ขี้ขลาด รักง่ายหน่ายเร็ว
ทนหนาวไม่ค่อยได้ นอนไม่ค่อยหลับ ช่างพูด เสียงตํ่า ออกเสียงไม่ชัด มีลูกไม่่ดอ คือความรู้สึกทางเพศไม่ค่อยดี
อาหารสำหรับคนธาตุลม
รสสุขุม (หอมเย็น) เตยหอม บัว โกฐ เทียน
รสเผ็ดร้อน ขิง ข่า กระชาย พริกไทย ดีปลี พริก กระเทียม สะระแหน่ ชะพลู ผักชี ผักไผ่ ขมิ้นชัน

ธาตุไฟเจ้าเรือน
มักขี้ร้อง ทนร้อนไม่ค่อยได้ หิวบ่อย กินเก่ง ผมหงอกเร็ว มักหัวล้าน หนังย่น ผม ขน หนวดอ่อนนิ่น ใจร้อน
ข้อกระดูกหลวม มีกลิ่นปาก กลิ่นตัวแรง ความต้องการทางเพศปานกลาง
อาหารสำหรับคนธาตุไฟ
รสจืด แดงโมอ่อน นํ้าเต้า ฟัก ผักบุ้ง ตำลึงมะละกอ ผักปลั่ง คะน้า หัวไชเท้า
รสสุขุม (หอมเย็น) เตยหอม บัว โกฐ การรักษาโรคตามระบบการแพทย์แผนไทยแผนนั่นมิได้มองสาเหตุที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยจากเชื้อโรค
เพียงอย่างเดี่ยว แต่ยังมองถึงอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อธาตุทั้ง 4 ภายในร่างกาย คือเมื่อยามใดที่ร่างกาย
ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ ก็จะเกิดการเสียสมดุลขึ้น ก็ย่อมนำมาซึ่งความเจ็บป่ยว อย่างไรก็ดี
คนเราสามารถเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ โดยการปรับธาตุให้สมดุลด้วยการนำสมุนไพร
มาปรับเป็นอาหารหรือทำเป็นยาให้สอดคล้องกับธาตุของตน ซึ่งในที่นี้จะแนะนำอาหารที่เหมาะสมกับฤดูการต่าง ๆ

อาหารประจำฤดู
อาหารฤดูร้อน ก.พ. - พ.ค.
-ธาตุไฟกำเริบ ส่งผลต่อธาตุนํ้าและดิน
-อาการตัวร้อน ปวดหัว วิงเวียน อ่อนเพลีย คอแห้ง ร้อนใน กระหายนํ้า ท้องผูก ปัสสาวะน้อยผื่นขึ้นตามตัว
-อาหารที่แนะนำ รสขมเย็น เปรี้ยว จืด
-อาหารที่ควรงด รสร้อง เผ็ดจัด มัน
-เครื่องดื่มที่แนะนำ นํ้าดื่มผลไม้รสเปรี้ยว เหยาะเกลือ
สมุนไพรปรับธาตุ;ตรีผลา (สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม)
อาหารฤดูฝน มิ.ย. - ก.ย.
-ธาตุสมกำเริบ
-อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ครั่นเนื้อครั่นตัว ไข้หวัด
-อาการที่แนะนำ รสสุขุม เผ็กร้อน เปรี้ยว จืด
-เครื่องดื่มที่แนะนำ นํ้าขิง
สมุนไพรปรับธาตุ;ตรีกฏุก (พริกไทย ตีปลี ขิง)
อาหารฤดูหนาว ต.ค. - ม.ค.
-ธาตุนํ้ากำเริบ
-อาการผิวแห้ง มึนศรีษะ นํ้ามูกไหล ขัดยอก ขยับร่างกายไม่สะดวก ท้องจืด
-อาหารที่แนะนำ รสขมร้อน รสร้อน รสเปรี้ยว
-เครื่องดื่มที่แนะนำ นํ้าขิง นํ้ามะนาว นํ้าส้ม หรือ นํ้าผลไม้รสเปรี้ยว เหยาะเกลือ
-สมุนไพรรับธาตุ;พิกัดตรีสาร (สะค้าน เจตมูลเพลิงแดง ซะพลู)
"การมไม้มีโรคเป็นสาภอันประเสริฐ" ยังคงเป็นคำพูดที่ไม่มีวันเชยไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใด ดังนั้นการที่เรารู้จัดดูแลรักษาสุภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ โดยการรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์
หมั่นออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อม ที่จะนำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บ ตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำ รวมถึงทางจิตใจ
ให้สบายอยู่เสมอแล้วนั้น ไม่ว่าท่างจะมีลักษณะธาตุใด ดิน นํ้า หรือไฟ ก็ย่อมจะมีชีวิตที่เป็นปกติสุขได้
แต่ถึงกระนั้นถ้าเกิดการเจ็บป่วยขึ้นแม้เพรียงเล็กน้อย ก็อย่าได้นิ่งนอนใจ ควรรีบรักษาก่อนที่อาการจะลุกลามจนยาก
แก่การรักษา ซึ่งนอกจากยาแผนปัจจุบันที่ใช้ในการรักษาแล้วหลังจากชมนิทรรศการจบและกลับไปบ้านลองไปสำรวจดู
ต้นไม้ที่ปลูกไว้อาจพบว่ามีคุณค่ามากกว่าที่คิดและสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง
และคนรอบข้าง ถึงแม้จะไม่สามารถปลูกเอง ได้ก็คงจะได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นได้ด้วย "สมุนไพร"

   
[ กลับสู่หน้าสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ]
1