หญ้าปักกิ่ง
(ข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยมหิดล / งานสมุนไพรฯ ครั้งที่ 3 กระทรวงสาธารณสุข)

         หญ้าปักกิ่ง -   มีคุณสมบัติต้านมะเร็ง
          ชื่ออื่น ๆ : หญ้าเทวดา, เล่งจือเฉ้า (จีน)
          รักษาโรคในระบบทางเดินหายใจ, มะเร็ง, เบาหวาน และแผลชนิดต่าง ๆ
                - มะเร็ง
                - มะเร็งเต้านม
                - มะเร็งกระเพาปัสสาวะ
          ใช้รักษาร่วมกับยาปัจจุบันได้  ช่วยลดอาการข้างเคียงจากการฉายแสงใน
ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องฉายแสง
   
วิธีเตรียมน้ำคั้นสำหรับรับประทานต่อวัน
          กำหนด 6 ต้น  ล้างน้ำให้สะอาด  หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ และโขลกในครกที่สะอาด
ให้ละเอียด  เพื่อคั้นน้ำได้ดีเติมน้ำสุก 4 ช้อนโต๊ะ (60 มิลิลิตร)  ผสมให้เข้ากัน
กรองผ่านผ้าขาวบาง   น้ำที่คั้นได้ เก็บเอาไว้ในตู้เย็น  ทั้งนี้อาจลดขนาดของหญ้าปักกิ่ง
และน้ำลงครึ่งหนึ่งเพื่อการรับประทานในครั้งเดียวก็ได้
   
วิธีรับประทาน
          รับประทานครั้งละ 30 มิลิลิตร (ครึ่งหนึ่ง)  ก่อนอาหารเช้า ครึ่งชั่วโมง  และ
ก่อนนอน    ขนาดที่แนะนำนี้สำหรับผู้ใหญ่น้ำหนักตัวเฉลี่ย 60 กิโลกรัม   หากเป็นเด็ก
(ต่ำกว่า 12 ปี)  ควรลดขนาดลงครึ่งหนึ่ง  
   
คำแนะนำการเตรียมยาและรับประทาน
          ให้ใช้น้ำสะอาดที่ต้มสุกแล้วเท่านั้น    ไม่ควรใช้น้ำร้อนหรือสุรา  หลักสำคัญ
ของการเตรียมคือ ความสะอาด  สามารถใช้ได้ทั้งต้น หรือใบ   หากใช้ทั้งต้น  ต้องล้าง
น้ำให้สะอาด
   
ผลข้างเคียง
          ในระยะ 7 วัน หรือ 10 วัน อาจมีอาการหงุดหงิด หรือเป็นไข้  อาจมี
น้ำเลือดปนหนอง ออกทางอุจจาระ   น้ำปัสสาวะอาจเหมือนน้ำล้างปลา  นอนไม่หลับ/
โมโหง่าย
   
อธิบายเพิ่มเติม
          1. การรับประทานยานี้  สามารถทำควบคู่ไปพร้อมกับการรักษาแผนปัจจุบันได้
          2. ถ้าผ่านการฉายแสงมาก่อนแล้ว  การรับประทานยานี้ จะทำให้ไม่แพ้แสง และถอนพิษไข้ได้
          3. ขณะรับประทานยานี้  ควรงดของแสลงเช่น ฟัก, แตกกวา, ผักกาดขาว,
หน่อไม้, ผักบุ้ง, หัวไช้เท้า
    
สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติม ได้ที่
หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร 447 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ถนนศรีอยุธยา  เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
ให้บริการฐานข้อมูลสมุนไพร โทร. (02) - 248-2143, 644-8677-91 ต่อ 4301-4
โทรสาร. 248-2143

   [กลับสู่หน้าสมุนไพรเพื่อสุขภาพ]
1