เทคนิคการใช้
Seach Engine
ในการใช้
seach engine นั้นถ้าคีย์เวิร์ดที่เราต้องการนั้นไม่ใช่ชื่อเฉพาะจริงๆ เราควรคีย์เข้าไปอย่างน้อย
2 คำแต่ไม่ควรเกิน 5 คำ
เพราะ
seach engine อาจจะงงได้ และถ้าคำที่เราคีย์เข้าไปนั้นมีความสัมพันธ์กันทางใดทางหนึ่งด้วยก็จะยิ่งดีมาก
seach
engine ส่วนมากนั้นจะไม่สนใจคำเล็กๆ เช่น the, a, for ฯลฯ ยกเว้นคุณจะใส่เครื่องหมายคำพูด
เพื่อหาเป็นคำเฉพาะ
เช่น "The Stone Roses" ซึ่งเป็นชื่อวงดนตรีวงหนึ่ง
-
Yahoo! (http://www.yahoo.com)
-
ถึงแม้ว่าหน้าตาของ
homepage จะดูเหมือนเด็กที่เพิ่งหัดเขียน homepage ใหม่ๆแต่ yahoo! ก็ยังคงเป็น
seach engine ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในบรรดา seach engine ทั้งหลาย
yahoo! เป็นไซต์ที่ใช้การจัดเว็บเพจเป็นหมวดหมู่ต่างๆ เช่นพยากรณ์อากาศ, ภาพยนต์,
คอมพิวเตอร์ ฯลฯ และในปัจจุบัน yahoo! ยังจับมือกับ AltaVista เรียกได้ว่าถ้าหาไม่เจอจาก
yahoo! ก็ไปต่อกันที่ AltaVista ได้เลย
-
ควรใช้การค้นหาแบบกว้างๆก่อนแล้วค่อยๆบีบเข้ามาให้เล็กลง
-
สามารถใช้
+ เพื่อหาคำที่ต้องมี และใช้ - เพื่อหาคำที่ต้องไม่มีในเว็บเพจ
-
สามารถใช้ใช้คีเวิร์ด
t: เพื่อหาไตเติ้ลที่ต้องการ เช่น t:oasis
-
สามารถใช้ใช้คีเวิร์ด
u: เพื่อหาคำที่ต้องการภายใน url เช่น u:intel ผลที่ได้คือเว็บเพจที่มีคำว่า
intel ใน url เช่น http://www.intel.com และ http://www.somewhere.com/~intel
-
สามารถใช้ใช้เครื่องหมายคำพูดเพื่อหาคำเฉพาะที่ต้องการ
เช่น "Manic Street Preacher"
-
สามารถใช้ใช้คีเวิร์ด
* ได้ เช่น net* ผลที่ได้ก็จะมี netscape, netzip
-
ถ้าจะใช้คีเวิร์ดผสมกันต้องเรียงตามลำดับดังนี้
+, -, t:, u:, "", * เช่น (ถูก) +t:alternative -blur (ผิด) t:+alternative
-blur
-
-
Excite (http://www.excite.com)
-
seach engine
ของ excite สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างคำที่คุณคีย์เข้าไป แล้วเพิ่มเว็บเพจที่มีความสัมพันธ์ดังกล่าวให้คุณโดยอัตโนมัติ
เช่น ถ้าคุณพิมพ์คำว่า elderly people เข้าไป excite ก็จะไปเอาคำ senior citizens
เข้ามารวมไว้ให้ด้วย เรียกได้ว่าพัฒนากันได้ขนาดนี้เลย
-
seach โดยใช้คำหลายๆคำที่มีความสัมพันธ์กันไปในแนวความคิดใดความคิดหนึ่ง
-
ใช้ฟีเจอร์
More Like This เมื่อ excite ค้นหาให้เราแล้วมันจะคัดข้อความสั้นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บเพจนั้นๆมาให้เราด้วย
เราก็หาดูว่าข้อความที่ให้ มานั้นไซต์ไหนเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราหามากที่สุด
แล้วก็คลิ๊กที่ hypertext ในบรรทัด More Like This มันก็จะทำการ seach ให้เราใหม่อีกครั้ง
โดยใช้คีย์เวิร์ดเดิม และใช้แนวความคิดของไซต์ที่เราเลือกเป็นเกณฑ์ ทำให้ค้นหาได้ตรงประเด็นมากขึ้น
-
ควรใช้คำที่เฉพาะเจาะจงลงไปมากกว่าคำทั่วๆไป
เช่น ใช้คำว่า "Toyota" แทนที่จะใช้คำว่า "Car" โอกาสที่จะพบสิ่งที่ต้องการจะมีมากกว่า
-
ใช้เครื่องหมายคำพูดเพื่อหาคำเฉพาะที่ต้องการ
เช่น "Foo Fighters"
-
สามารถใช้
+ เพื่อหาคำที่ต้องมี และใช้ - เพื่อหาคำที่ต้องไม่มีในเว็บเพจ
-
สามารถใช้คีย์เวิร์ด
AND (ตัวพิมพ์ใหญ่เท่านั้น) ได้ เช่น ต้องการเอกสารที่มีคำว่า "wizard" "oz"
"movie" ก็คีย์ลงไปว่า
wizard
AND oz AND movie
-
สามารถใช้คีย์เวิร์ด
OR (ตัวพิมพ์ใหญ่เท่านั้น) ได้ เช่น ต้องการเอกสารที่มีคำว่า "cat" หรือ "kitten"
ก็คีย์ลงไปว่า cat OR kitten
-
สามารถใช้คีย์เวิร์ด
AND NOT (ตัวพิมพ์ใหญ่เท่านั้น) ได้ เช่น ต้องการเอกสารที่มีคำว่า "pets"
แต่ไม่มีคำว่า "dogs" ก็คีย์ลงไปว่า
pets
AND NOT dogs
-
สามารถใช้
( ) ได้สำหรับสิ่งที่อยู่ในกลุ่มนั้น เช่น ต้องการเอกสารที่มีคำว่า "fruits"
และมีคำว่า "banana" หรือ "apple" ก็คีย์ลงไปว่า
fruits
AND (banana OR apple)
-
excite มี
software แจกฟรีชื่อExciteDirect
ซึ่งเมื่อติดตั้งแล้วก็เสมือนมี seach engine ของ excite มาอยู่บนเครื่องของคุณ
ไม่ต้องเข้าไป seach ที่ homepage ของ excite
-
-
Lycos (http://www.lycos.com)
-
seach engine
ของ lycos ในปัจจุบันนี้นั้นเก็บ url ไว้เกิน 100ล้าน เข้าไปแล้วซึ่งถ้าป้อนคีย์เวิร์ดเข้าไปดุ่ยๆ
ก็ยากนักที่จะเจอสิ่งที่ต้องการ
-
ควรใช้คำที่เฉพาะเจาะจงลงไปมากกว่าคำทั่วๆไป
เช่น จะซื้อรถยนต์ก็ไม่ต้องใส่ car ลงไปให้ใส่ยี่ห้อลงไป เช่น Toyota, Lamborghini
-
ใช้เครื่องหมายคำพูดเพื่อหาคำเฉพาะที่ต้องการ
เช่น "Alanis Morissette"
-
สามารถใช้
+ เพื่อหาคำที่ต้องมี และใช้ - เพื่อหาคำที่ต้องไม่มีในเว็บเพจ
-
เมื่อต้องคีย์เวิร์ดที่สะกดได้หลายอย่างก็ให้นำมาใช้ให้หมด
เช่น ที่บรอดเวย์สะกดว่า "theater" แต่บางประเทศจะสะกดว่า "theatre"
-
ใช้ lycos
pro ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการค้นหาได้อีกระดับหนึ่ง
-
-
Infoseek (http://www.infoseek.com)
-
-
infoseek
นั้นจะเน้นข้อมูลทางกลุ่มธุรกิจเป็นหลักเพราะฉะนั้นถ้าต้องการข้อมูลธุรกิจที่สด
ใหม่เข้ามาที่นี่ไม่ผิดหวัง
-
ใช้เครื่องหมายคำพูดเพื่อหาคำเฉพาะที่ต้องการ
เช่น "Noel Gallagher"
-
ถ้าคุณพิมพ์คีย์เวิร์ดใหญ่บ้างเล็กบ้างมันจะหาแบบ
case sensitive เช่น ถ้าต้องการหาคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ NeXT ก็ให้พิมพ์คำว่า
NeXT ลงไปเลยมันก็จะหาให้ตรงตามคีย์ที่คุณพิมพ์เข้าไปเด๊ะ
-
สามารถใช้
+ เพื่อหาคำที่ต้องมี และใช้ - เพื่อหาคำที่ต้องไม่มีในเว็บเพจ
-
สามารถใช้ใช้เครื่องหมาย
, คั่น
-
สามารถใช้ใช้เครื่องหมาย
| เพื่อหาคำที่คุณใส่เข้าไปทุกคำโดยไม่จำเป็นต้องต่อเนื่องกัน เช่น alternative
| suede ผลที่ได้ก็คือเว็บเพจจะต้องมีทั้ง alternative และ suede อยู่ด้วยกัน
-
สามารถใช้คีย์เวิร์ด
link: เพื่อหา link ที่เชื่อมมายังไซต์ที่คุณต้องการ เช่น link:microsoft
ผลที่ได้คือ เว็บเพจที่มี link ถึง microsoft
-
สามารถใช้คีย์เวิร์ด
site: เพื่อหาเว็บเพจในโดเมนใดโดเมนหนึ่ง เช่น site:microsoft.com ผลที่ได้คือทุกเว็บเพจของบริษัท
microsoft
-
สามารถใช้คีย์เวิร์ด
title: เพื่อหาเฉพาะไตเติ้ลที่ต้องการ เช่น title:movies
-
สามารถใช้ใช้คีเวิร์ด
url: เพื่อหาคำที่ต้องการภายใน url เช่น url:microsoft ผลที่ได้คือเว็บเพจที่มีคำว่า
microsoft ใน url เช่น
http://www.microsoft.com
และ http://www.somewhere.com/~microsoft
|