ประวัติ internet ในประเทศไทย

ประวัติของ internet ในประเทศไทยนี้ผมรวบรวมจากข้อมูลที่เก็บสะสมมาได้ อาจจะมีที่ผิดบ้างก็ขออภัยด้วย เท่าที่รวบรวมได้ internet ในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นจากกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ต้องการติดต่อเพื่อนและนักวิจัยในต่างประเทศโดย
ปี
2530 ม.สงขลา (PSU) ได้ทำการใช้ e-mail เป็นครั้งแรก โดยเชื่อมต่อกับ มหาวิทยาลัย Melbourne ประเทศออสเตรเลีย ในช่วงเวลาเดียวกัน สถาบัน AIT (Asian Insitute of Technology) ได้ทดสอบ UUCP โดยเชื่อมต่อกับ มหาวิทยาลัย Melbourne และ มหาวิยาลัยในโตเกียว โดยผ่านเครือข่าย X.25 ที่ให้บริการโดยการสื่อสารแห่งประเทศไทย internet ในช่วงแรกส่วนมากจะใช้วิธี dial ไปที่มหาวิทยาลัยนั้น ๆ
ปี
2531 Thai Computer Science Network (TCSNet) ถือกำเนิดขึ้นด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาล ออสเตรเลีย ในโครงการ Australian International Development Plan (IDP) มหาวิทยาลัย 3 สถาบันในไทยเข้าในโครงการ TCSNet ด้วยได้แก่ PSU, AIT, CU (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ปี
2534 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU) ได้ติดตั้งโปรแกรม MHSNet โดยใช้ modem ความเร็ว 14.4 Kbps โดยได้รับความช่วยเหลือจาก Australian Academic and Research Network (AARN) และเป็นทางผ่านใหม่สำหรับการติดต่อระหว่างสถาบันการศึกษาและวิจัยในประเทศไทยกับมหาวิทยาลัย Melbourne การใช้ E-mail ผ่าน MHSNet และ UUCP เริ่มเข้ามามีส่วนสำคัญสำหรับสถาบันการศึกษาในสมัยนั้น
ปี
2535 The National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC) หลังจากที่ได้สร้างเครือข่ายของมหาวิยาลัยขึ้นมาอีกเครือข่ายนึง (Inter-University Network) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2530 ก็ได้สร้าง NEWgroup (NECTEC's Email Working Group) เพื่อใช้ในการรับส่ง Email กับ NECTEC เป็นผลให้เกิด Thai Social/Scientific, Academic and Research Network (ThaiSarn) โดยการรวมกันระหว่าง TCSNet และ Inter-University Network ในปีนั้นเอง เครือข่าย internet ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว MHSNet และ UUCP โดยใช้ dial-up หรือเครือข่าย X.25 ก็ถูกแทนโดย Internet Protocol (คือใช้ได้ทุก feature ของ Internet จากเดิมที่ใช้แค่ E-mail อย่างเดียว) โดยผ่านวงจรเช่า (leased lines) เริ่มด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชื่อมต่อกับ UUNET ด้วยความเร็ว 9.6 Kbps หลังจากนั้นไม่นาน NECTEC ก็เชื่อมต่อกับ UUNET ความเร็ว 64 Kbps เครือข่ายของ ThaiSarn ในขณะนั้นไม่ได้มีเพียงสถาบันการศึกษาเท่านั้นแต่มีองค์กรของรัฐร่วมอยู่ด้วย
ปี
2537 หลายโรงเรียนได้เริ่มทดสอบการใช้งาน internet
ปี
2538 เกิดโครงการ SchoolNet โดย NECTEC, Internet สำหรับเอกชนได้ถือกำเนิดในปีนี้เช่นเดียวกัน หลังจาก การสื่อสารแห่งประเทศไทย (CAT) และ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (TOT) ศึกษาเป็นเวลา 6 เดือน ก็ให้ลิขสิทธิ์ (licensed) ให้แก่ Internet Thailand ให้เป็น Internet Service Provider (ISP) รายแรก โดย Internet Thailand ได้เชื่อมต่อกับ UUNET ด้วยความเร็ว 512 Kbps ในช่วงเวลาเดียวกัน KSC Comnet ก็ได้รับลิขสิทธิ์เช่นกัน หลังจากนั้นไม่กี่เดือนก็มีอีก 3 บริษัทได้รับลิขสิทธิ์ ตั้งแต่นั้นมา Internet ในประเทศไทยก็เริ่มโตอย่างรวดเร็ว
ปี
2539 หลังจากเกิด ISP ขึ้นมากมายและแต่ละรายก็มี link เชื่อมไปต่างประเทศเป็นของตนเอง เดือนมิถุนายน CAT จึงเริ่มให้บริการ the International Internet Gateway (IIG) เพื่อให้บริการเชื่อมต่อ Internet สำหรับ ISP ที่ไม่สามารถมี link เชื่อมต่อไปต่างประเทศโดยตรง ISP เล็กหลายแห่งได้ใช้บริการของ IIG เพื่อลดต้นทุน แต่ ISP ส่วนใหญ่ยังคงมี link ของตนเองเพื่อความเสถียร (reliability) และใช้ในการแข่งขัน นอกจากนั้น CAT ยังให้บริการ local internet exchange ในชื่อ Thailand National Internet Exchange (TH-NIX) เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง ISP ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ
ปี
2540 ในเดือนพฤศจิกายน NECTEC เปิดให้บริการ local internet exchange ขึ้นในชื่อ The ThaiSarn Public Internet Exchange (PIE) เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง ISP ต่างๆเข้ากับ ThaiSarn Public access Network นอกจากนั้นคือเพิ่มทางเลือกให้แก่ ISP เนื่องจาก TH-NIX มีระเบียบข้อบังคับมาก
ปี
2541 ในเดือนพฤษภาคม TH-NIX และ PIE ได้เชื่อมต่อกันด้วยความเร็ว 2 Mbps

นอกจากนั้นยังมีเรื่องอื่นๆเกียวกับ internet ในประเทศไทยอีก เช่น THNIC (Thailand Network Information Center) ผู้ให้บริการ Domain Name Registration ภายใต้ domain .th อีกซึ่งรู้สึกว่าจะเริ่มให้บริการในเดือนตุลาคม 2536 (ไม่ค่อยแน่ใจเท่าไหร่ ใครรู้แจ้งเห็นจริงช่วยบอกด้วย) แล้วก็ยังมี โครงการเครือข่ายกาญจนภิเษก ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก และเป็นการเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดระยะเวลา ๕๐ ปี แห่งการครองราชย์ แล้วก็มีโครงการ SchoolNet@1509 (อันเดียวกับ SchoolNet นั่นแหละ) แล้ว ฯลฯ เช่น การเกิดของ homepage คนไทยเพื่อคนไทย เช่น www.siamweb.org หรือ www.sanook.com อะไรทำนองเนี้ย

1