การชุมนุมรอบกองไฟ ชนกพรรณ วรรณภีร์ ALT.
hello

                 วัตถุประสงค์
เมื่อจบบทเรียนนี้แล้วผู้เข้ารับการฝึกอบรมควรจะสามารถ
           1. อธิบายความมุ่งหมายและประวัติของการชุมนุมรอบกองไฟได้
           2. อธิบายรู้ระบบแนวทางและขั้นตอนในการชุมนุมรอบกองไฟได้
           ความมุ่งหมายของการชุมนุมรอบกองไฟ
การชุมนุมรอบกองไฟมีความมุ่งหมายสำคัญ 5ประการ เพื่อ
           1. เป็นการฝึกอบรมตอนกลางคืนดังที่ลอร์ด เบเดน- โพเอลส์ (บีพี) ในการฝึกอบรมเด็กที่ไปอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี
           2. ให้ลูกเสือได้ร้องเพลงร่วมกัน หรือแสดงกิริยาอาการอย่างเดียวกันเป็นการปลุกใจหรือให้สนุกสนานเบิกบานใจ ผ่อนคลายความเคร่งเครียดให้บรรเทาเบาบางลง
           3. ให้ลูกเสือแต่ละคนมีโอกาสแสดงออกในที่ชุมนุมโดยไม่เก้อเขินกระดากอายเป็นการส่งเสริมความสามัคคีของหมู่ให้ทุกคน รู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่นและทำให้รู้ความสามารถของแต่ละคน
           4. ใช้เป็นโอกาสสำหรับประกอบพิธีสำคัญบางกรณี เช่นแนะนำบุคคลสำคัญในกิจการลูกเสือ แนะนำผู้มีเกียรติสำคัญที่มาเยี่ยม การมอบเครื่องหมายเข็มสมนาคุณหรือประกาศนียบัตรต่างๆเป็นต้น
           5. เชิญบุคคลสำคัญในท้องถิ่นตลอดจนประชาชนทั่วไป เป็นการ ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกิจการลูกเสือได้อีกทางหนึ่ง
                 การเตรียมก่อนเริ่มชุมนุมรอบกองไฟ
1. คณะผู้ให้การฝึกอบรมจะต้องปรึกษาหารือเพื่อกำหนดว่า ในการชุมนุมรอบกองไฟนั้นมีกิจกรรมอะไรบ้าง จะให้หมู่ใดทำหน้าที่หมู่บริการ ให้ผู้ใดเป็นพิธีการ จะเชิญผู้ใดเป็นประธาน
2. พิธีกรคือผู้นำชุมนุมรอบกองไฟ มีหน้าที่
2.1 นัดหมาย
                 ประธาน
                 ผู้ร่วมแสดง
                 การแต่งเพลงประจำหมู่
                 การส่งเรื่องที่จะแสดง
                 เวลาที่มาพร้อม
                 เวลาที่ใช้ในการแสดง การแต่งกายตาม เนื้อเรื่อง
                 การรายงานเมื่อเริ่มแสดง
                 การกล่าวชมเชย การตอบรับคำชมเชย
                 ข้อห้ามในเนื้อเรื่องที่จะแสดง
                 หมู่บริการจัดสถานที่ กองไฟ จัดทำพวงมาลัย ทำพุ่มฉลาก และคนถือขบวนแห่ การช่วยเหลือพิธีกร การทำความสะอาดสถานที่เมื่อเลิกการแสดง
2.2 ชี้แจงลำดับการชุมนุม ซักซ้อม ข้อปฏิบัติ ข้อห้าม
2.3 ประกาศชื่อผู้ที่จะมาเป็นประธานและผู้ติดตาม
2.4 เชิญประธานและผู้ติดตามเข้าสู่ที่ประชุม
2.5 ควบคุมและดำเนินการให้ถูกต้องโดยให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมได้รับความสนุกสนาน
2.6 เลือกเพลงที่จะนำมาใช้ให้เหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
2.7 รักษาเวลาอย่างเคร่งครัด
การจัดที่นั่งรอบกองไฟให้จัดเป็นรูปวงกลมหรือเกือกม้า การจัดที่นั่งจัดเป็นรูปวงกลมหรือรูปเกือกม้า ให้กองไฟอยู่ตรงกลางมีที่นั่งพิเศษสำหรับประธานและผู้รับเชิญตั้งอยู่ทิศทางเหนือลม ที่นั่งประธานเป็นที่นั่งเดี่ยวให้ตั้งล้ำหน้ากว่าแถวของผู้ติดตามและผู้ร่วมชมการแสดงและให้มีโต๊ะวางพุ่มฉลากไว้ตรงหน้า ส่วนลูกเสือปรกติให้นั่งตามหมู่ ณ สถานที่ที่ได้กำหนดให้ไว้
           พิธีเปิดการชุมนุมรอบกองไฟ
           เมื่อพิธีกรเห็นว่าผู้ร่วมชุมนุมเข้าประจำที่เรียบร้อยแล้ว กองไฟเรียบร้อย ทุกอย่างพร้อม พิธีกรออกไปเชิญประธานให้เข้ามาในบริเวรสถานที่ชุมนุมเมื่อประธานเดินเข้ามาในที่ชุมนุม พิธีกรสั่ง"ทั้งหมดตรง"ประธานจะเดินตรงไปยังกองไฟ แล้วหยุดยืนหันหน้าเข้าหากองไฟระยะห่างพอสมควร แล้วยกมือขวาแสดงรหัสของสูกเสือยื่นแขนไปข้างหน้าเฉียงขึ้นเล็กน้อยและกล่าวข้อความที่เป็นมงคลส่วนตอนท้ายกล่าวว่า "……..ข้าพเจ้าขอเปิดการชุมนุมรอบกองไฟ ณ บัดนี้" เสร็จแล้วเอามือลงแล้วอยู่ที่นั้น เมื่อประธานประโยคสุดท้ายจบ พิธีกรอาจบอกให้ทุกคนร้องเป็นเสียงไฟลุกว่า "ฟู่ๆ" 3 ครั้ง<แต่การเปล่งเสียงฟู่ๆ 3ครั้ง นี้จะงดเสียก็ได้ โดยเฉพาะกรณีที่ใช้ไฟเทียม และเท่าที่ทราบไม่ปรากฏว่ามีประเทศใดที่ให้ลูกเสือร้องฟู่ๆเช่นนี้ นอกจากประเทศไทย> ถ้าไม่มีการบอกให้ร้องฟู้ๆ 3 ครั้ง พิธีกรจะนำร้องเพลงเปิดการชุมนุมรอบกองไฟ 1 ถึง 2 เพลง (ควรจะเป็นเพลงเดียว) เช่น เพลงสยามมานุสติ เพลงสดุดีมหาราชา เมื่อจบแล้วประธานเดินกลับมานั่งยังที่ แล้วทุกคนจึงนั่งลง ครั้นแล้วหมู่บริการจะนำพวงมาลัยไปให้ประธาน แต่ก่อนจะมอบเพื่อความสนุกสนาน อาจจัดให้มีแห่ พร้อมทั้งแจกันดอกไม้ที่เสียบฉลากการแสดงของแต่ละหมู่ เมื่อครบ 3 รอบแล้ว ให้มอบพวงมาลัยก่อน แล้วจึงมอบแจกัน และต้องทำความเคารพประธานทั้งก่อนมอบ และมอบแล้วจึงกลับเข้าที่ การมอบแจกันดอกไม้ที่เสียบฉลากการแสดงของแต่ละหมู่ ก็เพื่อจะได้จับฉลากว่าจะให้หมู่ใดแสดงก่อนหลัง แต่รายการมอบพวงมาลัยในตอนนี้จะตัดออกเสียทั้งหมด
           กำหนดการชุมนุมรอบกองไฟ พิธีกรเป็นผู้ประกาศกำหนดการชุมนุมรอบกองไฟตามลำดับ ในชั้นแรกก่อนมีการแสดงของหมู่ พิธีกรอาจนำหรือให้ผู้อื่นนำร้องเพลงอีก 1 หรือ 2 เพลง เช่น เพลงรักเมืองไทย หรือ เพลงความฝันอันสูงสุด เป็นต้น แล้วจึงไปขอให้ประธานจับฉลากหมู่ใดจะได้แสดงก่อน (การเข้าไปจับฉลากจากประธานนั้นพิธีกรควรทำความเคารพประธานทั้งก่อนรับและรับแล้ว) การให้ประธานจับฉลากนั้นมีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย ส่วนดีคือเป็นการยุติธรรมและแต่ละหมู่จะต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอ ส่วนเสียคือ โปรแกรมอาจจะซ้ำกัน และไม่สนุกสนานเท่าที่ควร ดังนั้นจะตกลงกันให้พิธีกรเป็นคนจัดรายการแสดง โดยไม่ต้องให้ประธานจับฉลากลำดับการแสดงก็ได้ หมู่ใดจะแสดงให้นายหมู่บอกหมู่ยืนขึ้น "ยืนอยู่กับที่ไม่ต้องยืนตรงหน้าประธาน" โดยนายหมู่สั่งว่า "หมู่…ตรง" นายหมู่ทำวันทยาวุธคนเดียว จากนั้นก็เริ่มแสดง พอแสดงจบให้กลับมากยืนที่เดิม และนายหมู่สั่งว่า "หมู่…ตรง" นายหมู่ทำวันทยาวุธคนเดียวเช่นเดิม ทุกคนในที่นั้นปรบมือให้แล้วนั่งลง            เมื่อการแสดงของหมู่จบแล้ว พิธีกรจะขอใครคนหนึ่งนำกล่าวคำชมเชยแบบลูกเสือ ให้แก่หมู่ที่แสดงเพื่อแสดงความพอใจและขอบคุณผู้แสดง ในการกล่าวคำชมเชยนั้นผู้นำกล่าวจะยืนขึ้นและกล่าวว่า "ขอให้ทุกคนยืนขึ้นและกล่าวคำชมเชยหมู่…ตามข้าพเจ้า 3 ครั้ง" ด้วยคำว่า "แสดงได้ดีจริงๆ" เมื่อผู้นำกล่าวจบให้ทุกคนกล่าวตามว่า "แสดงได้ดีจริงๆ" 3 ครั้งแล้วนั่งลง (คำกล่าวอาจจะใช้คำอื่นก็ได้ตามความเหมาะสม) ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับท่าทางประกอบการกล่าวคำชมเชยนั้น เมื่อทุกคนยืนขึ้นแล้วให้ก้าวเท้าซ้ายเฉียงออกไปทางด้านซ้าย 1 ก้าว กำมือขวาระดับอก แล้วกล่าวคำชมเชยตามที่ได้นักหมายไว้ พร้อมกับเหยียดแขนขวา และผายมือไปยังหมู่ที่แสดง ทำเช่นนี้ 3 ครั้งแล้วนั่งลง หลังจากนั้นหมู่ที่แสดงจะยืนขึ้นตัวตรงแล้วกอดอกเอามือขวาทับมือซ้าย และกล่าวตอบสั้นๆเช่น "ขอบคุณครับ" พร้อมทั้งโค้งกายเล็กน้อยแล้วนั่งลง พิธีกรก็จะดำเนินการต่อไป ก่อนจะเริ่มการแสดงของหมู่ต่อไปนั้น พิธีกรอาจจะนำร้องเพลง หรือการเปลี่ยนอิริยาบถมาสลับเป็นตอนๆ จะรำวงสนุกสนาน หรือเห็นตามสมควร หรือจะให้ผู้ใดนำแทนก็ได้ โดยตกลงกันไว้ก่อน
           การนำเสนอเนื้อหานี้ ได้จากประสบการ และการศึกษาค้นคว้าจากตำราต่างๆ ซึ่งเป็นเพียงแนวทางหนึ่งเท่านั้น หากมีการผิดพลาดประการใดขอน้อมรับและขออภัยมา ณ โอกาสนี้ หากท่านต้องการให้คำแนะนำเพิ่มเติม กรุณาติดต่อมาที่ Hs5kki@hotmail.com

see you
1