ขั้นตอนการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
และการขอใบอนุญาต

ขั้นตอนการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น



คุณสมบัติของผู้สมัคร
    - มีสัญชาติไทย
    - มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบรูณ์ นับจนถึงวันสมัครสอบ
    - ไม่เป็นผู้ที่สอบหรืออบรมและสอบได้รับประกาศนียบัตร พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นมาแล้ว
       สำหรับภิกษุสามเณร กรมไปรษณีย์โทรเลขจะไม่รับสมัครสอบ และไม่อนุญาตให้เข้าสอบทั้งนี้ตามหนังสือ กรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ที่ นว 89/2501 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2501 และตามความใน ข้อ 5 ของคำสั่งมหาเถรสมาคม ลงวันที่ 22 กันยายน 2521

ซื้อใบสมัครสอบ
    1. ซื้อใบสมัครสอบด้วยตนเองได้ที่ ฝ่ายกิจการวิทยุ สมัครเล่น กองใบอนุญาตวิทยุคมนาคม กรมไปรษณีย์โทรเลข ถนน พหลโยธิน 8 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. 10400 โทร.(02) 271-0151-60 ต่อ 705-709 หรือ (02) 272-6948
    2. ซื้อใบสมัครสอบด้วยตนเองได้ที่ศูนย์หรือสถานีตรวจสอบ และเฝ้าฟังวิทยุที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่เปิดสอบ หรือชมรม/สมาคมวิทยุสมัครเล่นประจำจังหวัด ตลอดจนบริษัท ห้างร้าน ที่จำหน่ายวิทยุสื่อสาร
    3. สั่งซื้อใบสมัครทางไปรษณีย์ มีรายละเอียดดังนี้
    3.1 เขียน ชื่อ-นามสกุลและที่อยู่ของผู้สั่งซื้อในลักษณะจ่าหน้าถึงตัวเองอย่าง ชัดเจน ลงในแผ่นกระดาษ ขนาด 5x10 เซ็นติเมตร (เพื่อใช้ปิดหน้าซองที่จะส่งคู่มือแนะนำการสอบไปยังผู้ซื้อ) ตามรูปแบบดังนี้

  ชื่อ-นามสกุล...............................................................  
  ที่อยู่เลขที่........หมู่ที่..........ซอย...................................  
  ถนน.................................ตำบล/แขวง........................  
  อำเภอ/เขต...............................จังหวัด........................  
  รหัสไปรษณีย์..........................  

    3.2 ซื้อธนาณัติราคา 70.- บาท เป็นค่าคู่มือแนะนำการสอบฯ พร้อมใบสมัครสอบ (ไม่รับเงินสด ตั๋วแลกเงิน หรือเช็คธนาคาร) สั่งจ่ายปลายทาง ปท.สามเสนใน ในนาม ผู้อำนวยการสวัสดิการกรมไปรษณีย์โทรเลข
    3.3 ถ้าต้องการซื้อหนังสือข้อสอบกลางของกรมไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 เล่ม ให้ซื้อธนาณัติเพิ่มขึ้นเป็น ราคา 190.- บาท (หนังสือข้อสอบกลาง ราคาเล่มละ 120.- บาท) สั่งจ่ายปลายทาง ปท.สามเสนใน ในนาม ผู้อำนวยการสวัสดิการกรมไปรษณีย์โทรเลข เช่นกัน
    3.4 ส่งแผ่นกระดาษที่มีชื่อ-ที่อยู่ของผู้สั่งซื้อ ตามข้อ 3.1 และธนาณัติ ตามข้อ 3.2 หรือข้อ 3.3 ไปยัง ตู้ ปณ.248 สามเสนใน กท.10400 และวงเล็บมุมซองด้านล่างว่า "สั่งซื้อคู่มือ"
    เมื่อกรมไปรษณีย์โทรเลขได้รับเอกสารการสั่งซื้อที่ครบถ้วนถูกต้อง แล้ว จะจัดส่งคู่มือแนะนำการสอบพร้อมใบสมัครสอบ และหรือหนังสือข้อสอบกลาง ตามยอดเงินในธนาณัติ ทั้งนี้ จดหมาย สั่งซื้อจะต้องประทับตราลงวันที่ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางภายในกำหนดวันปิดการสั่งซื้อ หากพ้นกำหนดนี้จะไม่รับพิจารณา

กรอกใบสมัคร ด้วยตัว บรรจง
    - ใบสมัครสอบ
    - บัตรประจำตัวสอบ
    - กรณีสมัครทางไปรษณีย์ แนบซองสีขาว (ซองเล็ก) สำหรับกรอกชื่อ และที่อยู่ของผู้สมัคร
    - กรณีสมัครทางไปรษณีย์ แนบซองสีขาว (ซองใหญ่) จ่าหน้าถึง ตู้ ปณ. 248 สามเสนใน กทม.10400 ให้กรอกชื่อ-นามสกุลและที่อยู่ของผู้สมัครสอบให้ชัดเจน

แนบหลักฐานการสมัครสอบ
    - รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกและแว่นตาสีดำ ถ่ายครั้งเดียวกัน ไม่เกิน 1 ปี (นับถึงวันปิดรับสมัคร) ขนาด 1 นิ้วหรือ 2 นิ้ว จำนวน 3 รูป
    - สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อของผู้สมัคร จำนวน 1 ฉบับ (ให้เขียนคำว่า รับรองสำเนาถ่ายจากต้นฉบับจริงและลงชื่อกำกับไว้ทุกแผ่นด้วย)
    - สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการ,พนักงานองค์การของรัฐ จำนวน 1 ฉบับ (ให้เขียนคำว่ารับรองสำเนาถ่ายจากต้นฉบับจริงและลงชื่อกำกับไว้ทุกแผ่นด้วย)
    - กรณีสมัครทางไปรษณีย์ ให้แนบธนาณัติค่าธรรมเนียมสอบโดย สั่งจ่ายปลายทาง ณ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข สามเสนใน กท.10400 ในนาม กรมไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 200 บาท หรือสมัครด้วยตนเองชำระเงินค่าสมัคร จำนวน 200 บาท
    - ในกรณีที่ชื่อ-นามสกุลในใบสมัครสอบไม่ตรงกับหลักฐานการสมัคร สอบ ให้ส่งสำเนาหลักฐานการแก้ไขนั้น เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล,ใบทะเบียนสมรส จำนวน 1 ฉบับ (ให้เขียนคำว่ารับรอง สำเนาถ่ายจากต้นฉบับจริงและลงชื่อกำกับไว้ทุกแผ่นด้วย)

การส่งเอกสารและหลักฐานการสมัครสอบ ประกอบด้วย
    - ใบสมัครสอบพร้อมติดรูปถ่าย
    - บัตรประจำตัวสอบพร้อมติดรูปถ่าย (ห้ามฉีกบัตรประจำตัวออกจากใบสมัครโดยเด็ดขาด)
    - หลักฐานการสมัครสอบ
    - กรณีสมัครทางไปรษณีย์ ให้แนบซองสีขาว (ซองเล็ก) สำหรับกรอกชื่อและที่อยู่ของผู้สมัครสอบ
    - กรณีสมัครทางไปรษณีย์ ให้แนบธนาณัติค่าธรรมเนียมสอบ
     กรณีสมัครทางไปรษณีย์ ให้นำเอกสารทั้งหมดบรรจุในซองสีขาว (ซองใหญ่) ซึ่งจ่าหน้าซองถึง ตู้ ปณ. 248 สามเสนใน กทม.10400 ส่งทางไปรษณีย์อย่างช้าภายในวันสุดท้ายของการรับ สมัครสอบของแต่ละหน่วยสอบ (จังหวัด) ที่สมัคร ผู้สมัครสามารถสมัครสอบจังหวัดใดก็ได้ตามสะดวก มิได้ขึ้นอยู่กับที่อยู่ ในทะเบียนบ้าน แต่นามเรียกขานยึดถือตามทะเบียนบ้านเป็นหลัก เวลาสอบต้องไปสอบ ณ สถานที่ตาม ตารางกำหนดการสอบ ที่กรมฯ จัดสอบเท่านั้น ไม่มีการสอบทางไปรษณีย์

วิธีการสอบ,เกณฑ์การตัดสินและการ ประกาศผลสอบ ประกอบด้วย
    - วิธีการสอบ เป็นการทดสอบความรู้ความเข้าใจในวิชาต่างๆ ตาม หลักสูตรการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ด้วยวิธีการสอบข้อเขียนโดยข้อสอบจะเป็นแบบ ปรนัย จำนวน 100 ข้อ ที่นำมาจากหนังสือข้อสอบกลางพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ซึ่งจัดพิมพ์โดยสวัสดิการกรมฯ เวลาในการสอบ 60 นาที
    - เกณฑ์การตัดสิน ในการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตร พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น วัดผลการสอบผ่านที่ 60% ผลคะแนนจะไม่ทราบรู้อย่างเดียวคือ ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน และการประกาศผลสอบจะมีรายชื่อเฉพาะผู้ที่สอบผ่าน
    - รายชื่อผู้สอบผ่านจะประกาศหลังวันสอบแล้วประมาณ 2 เดือน ต่อจากนั้นภายใน 1 เดือนหลังทราบผลสอบ กรมไปรษณีย์โทรเลขจะส่งใบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น ให้เฉพาะผู้ที่สอบผ่านเท่านั้น โดยส่งไปตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในกระดาษ
    - ผู้สอบสามารถตรวจผลสอบได้ดังต่อไปนี้
        1. ชมรมหรือสมาคมวิทยุสมัครเล่นในจังหวัดที่ทำการสอบ
       2. ฝ่ายกิจการวิทยุสมัครเล่น กองใบอนุญาตวิทยุคมนาคม กรมไปรษณีย์โทรเลข ถนน พหลโยธิน 8 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. 10400 โทร.(02) 271-0151-60 ต่อ 705-709 หรือ (02) 272-6948 เวลา 9.30-17.30 น.
        3. ศูนย์/สถานีตรวจสอบและเฝ้าฟังวิทยุ ที่ใกล้เคียงหรือในจังหวัดที่ทำการสอบ
       4. สำนักงานนิตยสารแฮมนิวส์ โทร.(02) 319-9140, 314-7221 เวลา 9.00-17.00 น. หรือนิตยสารแฮมนิวส์ (วางแผงทุกๆ ต้นเดือน)

การตรวจสอบประวัติ
    กรมไปรษณีย์โทรเลขจะส่งรายละเอียดประวัติผู้ได้รับประกาศนียบัตร พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ไปให้สำนักข่าวกรองแห่งชาติ และกรมตำรวจ โดยจะเสร็จสิ้นภายใน 3 เดือน
    รายละเอียดประวัติของนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นที่ส่งไปตรวจสอบ ได้แก่ 1. ชื่อ-นามสกุล 2. เพศ 3. อายุ (วดป.เกิด) 4. ชื่อ-นามสกุลมารดา 5. ชื่อ-นามสกุลบิดา 6. ที่อยู่ตามบัตรประชาชน 7. ที่อยู่ปัจจุบัน
    สำนักข่าวกรองแห่งชาติ และกรมตำรวจจะมีหนังสือตอบกรม ไปรษณีย์โทรเลข โดยแจ้งรายละเอียดรายชื่อผู้ผ่านการตรวจสอบประวัติและบุคคลที่มีประวัติว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อ ประเทศ

การขอใบอนุญาต
    ใบอนุญาตวิทยุคมนาคม ได้แก่ ใบอนุญาตพนักงานวิทยุคมนาคม (บัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น), นำเข้า, มี, ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม หรือตั้งสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการวิทยุสมัครเล่น ผู้ที่ขอใบอนุญาตจะต้องได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นแล้ว เท่านั้น และการขอใบอนุญาตได้มี 3 กรณี ได้แก่
    1. ผู้ที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานองค์การของรัฐ สามารถ ดำเนินการขอใบอนุญาตได้ทันทีโดยไม่ต้องรอผลการตรวจสอบประวัติ
    2. ผู้ขอผ่อนผันการตรวจสอบประวัติ
       - กรณีที่ประกอบอาชีพ อื่นที่ไม่ได้เป็นข้าราชการ หรือพนักงานองค์การของรัฐ ให้ นายกสมาคมฯ/ประธานชมรม/สมาคมวิทยุสมัครเล่นประจำจังหวัดที่กรมไปรษณีย์โทรเลขรับรองฐานะ เซ็นรับรองประวัติให้ หรือ ถ้าเป็นเขตกรุงเทพฯ หรือปริมณฑณติดต่อได้ที่ ศูนย์วีอาร์จราจร โทร.(02) 807-4500-27 ต่อ 409,416 หรือ สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ (RTAS) โทร.(02) 243-4066
       - กรณีที่เป็นนักเรียน ,นักศึกษา ให้ครูใหญ่, อาจารย์ใหญ่, ผู้อำนวยการ, อธิการบดี เป็นผู้เซ็นรับรองประวัติ
    3. ผู้ที่ผ่านการตรวจสอบประวัติ จากสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และกรมตำรวจ

สถานที่ติดต่อขอใบอนุญาต
     - ฝ่ายกิจการวิทยุสมัครเล่น กองใบอนุญาตวิทยุคมนาคม กรมไปรษณีย์โทรเลข ถนน พหลโยธิน 8 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. 10400 โทร.(02) 271-0151-60 ต่อ 705-709 หรือ (02) 272-6948 เวลา 9.30-17.30 น.
     - ศูนย์/สถานีตรวจสอบ และเฝ้าฟังวิทยุ ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการของกรมไปรษณีย์โทรเลขในส่วนภูมิภาค โดยติดต่อได้ในช่วงเวลา 8.30 -16.30 น.
    *** กรณีติดตั้งในรถยนต์ ต้องเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลถ้าติดไฟแนนซ์ ให้ขอใบมอบอำนาจจากบริษัทฯ ประกอบคำร้อง กรณีรถรับจ้างให้ติดต่อฝ่ายกิจการวิทยุสมัครเล่น

หลักฐานประกอบการขอใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมใบอนุญาต

กำหนดการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น home
1