การวิเคราะห์หนังสือของ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)
๒. ดูหมิ่นพระพุทธโฆษาจารย์
ปราชญ์แห่งพุทธศาสนา

p12-78.jpg (8957 bytes)

 

การเหยียบย่ำพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ และพระอริยบุคคล ในพระพุทธศาสนานั้น โดยความเป็นจริงแล้ว จะไม่ใช่เป็นการกระทำ ของพุทธศาสนิกชน มักเกิดจากการกระทำ ของคนต่างศาสนา จึงเป็นที่น่าพิจารณา และน่าสงสัย ในพฤติกรรมของ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ซึ่งถูกระบุว่า เป็นผู้เขียน "พุทธธรรม" จนได้รับรางวัล UNESCO สาเหตุสำคัญคือ เป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนา ครองผ้ากาสาวพัสตร์ ของพระพุทธศาสนา แต่เหตุใดจึงเผยแพร่ข้อความ ที่ไม่ตรงตามความเป็นจริงได้ ข้อความเหยียดหยามพระอริยะ ผู้ป็นเอตทัคคะ ทางด้านพระพุทธศาสนา อันเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก คือ พระพุทธโฆษาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค อันเป็นแนวทางหลัก แห่งการปฏิบัติทางสมาธิจิต ตามหลักอภิธรรมปิฎก ของสงฆ์เถรวาท ก็ถูกเหยียดหยาม เช่นเดียวกัน ทั้งๆ ที่ท่านเป็นปราชญ์ ทางพระพุทธศาสนา ในหนังสือ "พุทธธรรม"หน้า ๑๔๐-๑๔๒ เป็นลักษณะของการดูหมิ่นว่า พระพุทธโฆษาจารย์ ไม่มีความรู้จริง เชื่อถือไม่ได้ อย่างที่กล่าวอ้างไว้ในประวัติศาสตร์ แห่งการเผยแพร่พุทธศาสนา ซึ่งชาวพุทธได้รับรู้ สืบต่อกันมา เป็นการสร้างความสับสน และเสื่อมศรัทธา ดังปรากฏข้อความว่า

"คำอธิบายปฏิจจสมุปบาท แบบข้ามภพข้ามชาติ ที่ยึดถือเป็นหลักกันอยู่ ในวงการศึกษา พระพุทธศาสนานั้น มาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งเป็นนิพนธ์ของ พระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อ พ.ศ.๙๐๐... แปลเพียงว่า วิสุทธิมรรค ท่านแต่งเป็นอิสระ อย่างเป็นผลงานท่านเอง ส่วนสัมโมหวิโนทนี เป็นอรรถกถา อธิบายความใน พระอภิธรรมปิฎก และพระพุทธโฆษาจารย์ ได้กล่าวไว้ ในอารัมภกถาว่า "ข้าพเจ้าสะสางนัยอรรถกถาเก่าๆ เรียบเรียงขึ้น"... "การอธิบายความ แห่งปฏิจจสมุปบาททำได้ยาก... อาจเป็นเพราะ พระอรรถกถาจารย์ คือ พุทธโฆษาจารย์ ไม่มีอะไรจะพูดมากนัก ในเรื่องนั้น..."

เนื่องจากในจุดสำคัญ ในการปฏิบัติทางจิตนั้น นักปฏิบัติย่อมทราบดีว่า ปฏิจจสมุปบาท จัดเป็นหนึ่งในหัวใจของ พระอภิธรรมปิฎก เป็นหลักในการปฏิบัติ พิจารณาเพื่อหลุดพ้นจาก กิเลสอาสวะ ดังนั้นจึงเป็นที่สงสัยว่า เหตุใด พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) จึงต้องเผยแพร่ข้อความ ในเชิงดูหมิ่น ในทำนองว่า "แม้พระพุทธโฆษาจารย์เอง ก็ยังไม่รู้ แล้วจะเชื่อได้ยังไง" ซึ่งจะเป็นการ สร้างความสับสน ในหมู่ชาวพุทธที่จะศึกษา หรือปฏิบัติในพระพุทธศาสนาต่อไป เนื่องจากว่า ในพระไตรปิฎกนั้น ก็บัญญัติไว้เช่นนั้น แต่เมื่อมีหนังสือ "พุทธธรรม" ชี้นำสร้างความสงสัย โดยทำลายความน่าเชื่อถือ ของพระพุทธโฆษาจารย์ และชี้นำให้เห็นว่า พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต) เก่งชำนาญ ในด้านพระพุทธศาสนา ยิ่งกว่าพระพุทธโฆษาจารย์ ปราชญ์แห่งพระพุทธศาสนา อย่างนั้นใช่หรือไม่ เพราะจริงๆ แล้ว พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต) ก็ไม่มีการชี้แจง หรือให้คำอธิบายใดๆ ในเรื่องของปฏิจจสมุปบาท ให้กระจ่างแต่อย่างใด เพียงทิ้งไว้ให้ผู้อ่าน หรือผู้ศึกษา คิดเอาเอง

ฉะนั้นหากไม่ได้เข้าใจว่า เป็นการเจตนาจาบจ้วง ดูหมิ่น หรือเหยียดหยาม พระพุทธโฆษาจารย์ แล้วจะให้คิดว่าอย่างไร หรือมีคำตอบใด ที่สามารถอธิบาย ให้กระจ่างดีไปกว่านั้น

แม้แต่การให้คำจำกัดความ ในเรื่องของการบรรลุธรรม ของพระอริยะบุคคลนั้น ก็สร้างความสับสน ให้กับผู้ค้นคว้าพุทธศาสนา หนังสือ "พุทธธรรม" หน้า ๙๑๒ ในเรื่องโสดาบัน เป็นอย่างยิ่ง สรุปความว่า

"ผู้ที่ศรัทธายึดมั่นในพระรัตนตรัย (ดูความหมาย ของพระรัตนตรัย ของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ในภาคต่อไป) และปฏิบัติตามมรรค คือ "ผู้เป็นโสดาบัน" ซึ่งจัดว่า เป็นเสขะ บุคคลที่ยังต้องศึกษาต่อไป"

และเมื่อนำเอาความหมายดังกล่าวนี้ ไปเปรียบเทียบ ในหนังสืออื่นๆ ซึ่งเขียนโดยพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ในคำจำกัดความเดียวกัน ปรากฏในหนังสือ แง่คิด ข้อสังเกต เกี่ยวกับ การปฏิรูปการศึกษา พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) หน้า ๔๐ โดยโครงการ ปฏิรูปกระบวนการศึกษา การสอน เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เอกสารพัฒนา กระบวนการเรียนรู้ อันดับ ๑ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์เผยแพร่ ๕๔,๐๐๐ โรงพิมพ์คุรุสภา (งบประมาณรัฐ = ประชาชน) ว่า

" ชุมชนต้องเอาจริงเอาจังในการศึกษา ...เมื่อศึกษาไปได้บรรลุผลสำเร็จ ในการเรียนรู้ ในการพัฒนาตนเอง ก็จะมีชื่อเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน ???

เสขะ แปลว่า ผู้ยังต้องศึกษา เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี อนาคามี ที่เรียกว่า อริยบุคคลนั้น เป็นผู้กำลังศึกษา พอจบการศึกษา ก็เป็นพระอรหันต์ ???"

การแสดงข้อความดังกล่าวนี้ เป็นการแสดงปาฐกถา ในวันสถาปนา กรมวิชาการ ณ ห้องประชุมชั้น ๒ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องนำมาอ้าง ก็เพราะว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งไม่เกี่ยวกันเลย กับเรื่องของ พระอริยบุคคล อันเป็นเรื่องของการปฏิบัติ นี่คือลักษณะ ที่ชี้ให้เห็นถึงการแทรก ปลอมปน โดยเจตนาให้สับสน กับผู้ไม่เข้าใจลึกซึ้ง หรือมิได้ปฏิบัติ ในหลักของพุทธศาสนา โดยแท้จริง

ซึ่งข้อความของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ที่นำมาอ้างนี้ ขัดแย้งอย่างเห็นได้ชัดกับพุทธพจน์ ที่ทรงชี้ถึงลักษณะ และคุณสมบัติที่แท้จริงของ "โสดาบัน" ดังที่ปรากฏใน พระไตรปิฎกบาลี เอก.อํ ๒๐/๓๐/๑๔๔ ว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏแห่งบุคคลเอก ย่อมเป็นความปรากฏ แห่งจักษุอันใหญ่หลวง เป็นความปรากฏ แห่งแสงสว่างอันใหญ่หลวง เป็นความปรากฏ แห่งความสุกใส อันใหญ่หลวง เป็นความปรากฏ แห่งอนุตตริยธรรม ๖ เป็นการทำให้แจ้ง ซึ่งปฏิสัมภิทา๔ เป็นการแทงตลอด อเนกธาตุ เป็นการแทงตลอด นานาธาตุ เป็นการทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมมีวิชชา และวิมุตติเป็นผล เป็นการทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล....."

นี่แหละครับ จะเห็นได้ว่า โสดาบันนั้น เป็นไปได้โดยการ ปฏิบัติทางจิต จึงจะรู้แจ้งแทงตลอด ในเอนกธาตุ และนานาธาตุ ฯลฯ ไม่ใช่เข้าโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย เรียนหนังสือ เรียนยังไม่จบ ก็เรียกว่า "โสดาบัน" เรียนจบไปแล้ว ก็เรียกว่า พระอรหันต์ พอรับปริญญาเป็น "บัณฑิต" ก็เรียกว่าสำเร็จเป็นพุทธะ เหมือนดังที่พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต) กล่าวไว้ใน ศิลปศาสตร์แนวพุทธ หน้า ๘๓ พิมพ์โดย มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย ๒๕๓๔ ว่า

"บัณฑิตนี้เราเรียกอีกอย่างหนึ่ง ในขั้นที่สูงว่าเป็น "พุทธะ" ในพระพุทธศาสนา คำว่า "บัณฑิต" นั้น บางครั้งเป็นศัพท์ ใช้แทนกันได้ กับคำว่า "พุทธะ"....คำว่า พุทธะ ไม่ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น"

นี่คือคำถามว่า เจตนาของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ที่กล่าวเช่นนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อจะให้เกิดผลอย่างไร ต่อผู้ฟัง ผู้อ่านและศึกษาพระพุทธศาสนาเหล่านี้ ในอนาคต หนังสือที่เผยแพร่ ข้อความอันปลอมปน ขัดต่อหลักธรรม คำสั่งสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างชนิดขาวเป็นดำ จัดพิมพ์โดย เงินงบประมาณ อันเป็นภาษีของประชาชน แต่ผลที่ได้ คือ ความล่มสลาย ของพุทธศาสนา ในอนาคต นั่นคือการทำลายความมั่นคงของชาติ โดยทำให้ขาดหลักศีลธรรม อันเป็นตัวยึดเหนี่ยวจิตใจ ของสังคมประชาชาติ


(หน้าปก - - - สารบัญ - - - อ่านต่อ)

1