การวิเคราะห์หนังสือของ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)
๓. ยกย่องตัวเองว่าเลิศกว่าพระอรหันต์

p13-82.jpg (6243 bytes)

 

ท่านที่อ่านหนังสือ "พุทธธรรม" จะไม่พบข้อความใด อันเป็นการยกย่อง หลักพระธรรมวินัย หรือพระพุทธพจน์ว่า เยี่ยมยอด หรือยกย่องพระอริยบุคคลใดๆ เลย แต่กลับมีข้อความที่ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เขียนออกมา ให้ผู้คนที่อ่านหนังสือนี้ เข้าใจว่า ท่านเอง เก่งกว่าพระอรหันต์เสียอีก ทั้งยังเป็นการเขียน โดยอาศัยข้อความ ของคริสเตียน อย่างแท้จริง และเพื่อจุดประสงค์ ที่จะสร้างความเชื่อใหม่ สลายศรัทธาเดิม ที่พุทธ ศาสนิกชนมีต่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยบุคคล ตามกล่าวไว้ ในพระไตรปิฎก จึงยกตนว่า เหนือกว่า พระอริยบุคคลเหล่านั้น ดังข้อความที่ปรากฏ ในหนังสือ "พุทธธรรม" หน้า ๘๕๐ ว่า

"กัลยาณมิตรนั้น ถ้าให้ดีควรได้พระพุทธเจ้า ถ้าไม่ได้ก็หาพระอรหันต์ พระอริยบุคคล ระดับรองลงมา ท่านผู้ได้ฌาน ผู้ทรงพระไตรปิฎก จนถึงท่านที่เป็นพหูสูต ลดหลั่นกันลงมา

ท่านว่า พระปุถุชนที่เป็นพหูสูต บางทีก็สอนได้ดีกว่า พระอรหันต์ ที่ไม่เป็นพหูสูตเสียอีก"

ข้อความดังกล่าวนี้ เป็นข้อความจากคริสเตียน โดยแท้จริง นอกจะเป็นการ เหยียดหยามพระอรหันต์แล้ว ยังเป็นการทำลายภาพ ความสูงส่งของพระอรหันต์ ผู้รู้แจ้งในวัฏฏสงสาร เนื่องจากบทที่ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) กล่าวถึงนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การทำสมาธิจิต การสอนกรรมฐาน ซึ่งพระอรหันต์ ย่อมชำนาญ ในการทำสมาธิอยู่แล้ว จึงสามารถบรรลุ เป็นพระอรหันต์ได้ ซึ่งข้อความเช่นนี้ ได้ยกมาจาก หนังสือศาสนาคริสต์ บทคัมภีร์ไบเบิล ส่วนพันธสัญญาเดิม หน้า ๑๒๓ เขียนโดย นายเสรี พงษ์พิศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีข้อความดังนี้ว่า

"การรู้จักบทบัญญัติโดยละเอียด ซึ่งถือว่าเป็นปรีชาญาณ คัมภีร์จารย์ มักอ้างตนว่าเป็นผู้มีปรีชาญาณ มากกว่าคนอื่นๆ

ปรีชาญาณ แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ คนฉลาด กับ คนโง่ คนหนุ่มเป็นคนโง่ แต่อาจจะเป็นคนฉลาดได้ หากหมั่นแสวงหาปรีชาญาณ

ปรีชาญาณ คือ ความสามารถเข้าใจ สิ่งที่พระเจ้ากระทำ" (ยรม.๙/๑๑ ฮชย.๑๔/๑๐)

                                            นำพิสูจน์ทราบ                                         

จากข้อความในส่วนนี้ จะชี้ชัดให้เห็นได้ว่า เป็นการลดฐานะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอริยบุคคล ซึ่งเป็นผู้หลุดพ้น จากโลกิยธรรม (กิเลส ตัณหา เรื่องทางโลก) กลายเป็นว่าคนอย่าง พระ ธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ซึ่งถูกขบวนการสร้างภาพให้ว่า เป็นผู้รู้ (ศัพท์ทางศาสนาเรียกว่า "พหูสูต") นั้นมีคุณค่า น่านับถือมากกว่า ซึ่งเป็นการกล่าวของ คริสเตียน ซึ่งเผยแพร่อุดมการณ์ หมิ่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "เป็นเพียงปกาศกของพระเจ้า" เช่นกัน

        ใช้ศัพท์และคำสอนคริสเตียนปลอมปนในพระสัทธรรม        

ในพระไตรปิฎกบาลี ซึ่งใช้เป็นหลักของสงฆ์เถรวาท มากว่า ๒๕๔๑ ปี พระสัทธรรม คำสั่งสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังคงทรงไว้ ซึ่งความทันสมัย เป็นอกาลิโก สามารถปรับใช้ ได้กับชนทุกชั้น จึงทำให้พระพุทธศาสนา ยั่งยืนมาตราบเท่าทุกวันนี้ ความเด่นในพระสัทธรรม คำสั่งสอน ของพระบรมศาสดานั้น ทำให้บุคคลในศาสนาต่างๆ พากันนำคำสั่งสอน ของพระบรมศาสดามาดัดแปลง ผสมผสาน เป็นหลักคำสอน ในศาสนาของตน โดยมิได้มีความละอาย ถึงแม้กระนั้น ความบริสุทธิ์ แห่งพระพุทธศาสนา อันปรากฏในพระไตรปิฎก ก็มิได้มีความผิดเพี้ยน แม้จะผ่านการสังคายนา และกาลเวลา ที่เนิ่นนานสักปานใดก็ตาม สมดังพุทธพจน์ ที่พระพุทธองค์ทรงยืนยันไว้ ปรากฏในพระไตรปิฎก (บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๔๒/๑๐๐) ซึ่งตรัสแก่ พระมหาโมคคัลานะ ที่โฆสิตาราม เมืองโกสัมพี ว่า

"....ตถาคตเป็นผู้ที่มี การแสดงธรรมบริสุทธิ์ ดีอยู่เสมอ จึงปฏิญญาว่า เราเป็นผู้มีการแสดงธรรมบริสุทธิ์ การแสดงธรรมของเรา บริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่เศร้าหมองเลย สาวกทั้งหลาย จึงไม่ต้องช่วยทำการ ป้องกันให้ตถาคต ในเรื่องการแสดงธรรมเลย.."

แม้จวบจนปัจจุบัน ความพยายามในการปลอมปนพระสัทธรรม คำสั่งสอน ในพระพุทธศาสนา ก็มิได้หมดไปจากศาสนาอื่น ตามที่กล่าวไปแล้วแต่ต้น ได้มีการวางแผน และกำหนดตัวบุคคล โดยมีผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง มีจุดมุ่งหมายที่จะกลืนชาติ ด้วยการทำลายพระพุทธศาสนา อันเป็นหลักชัยของชาติไทย และเป็นรากฐานของ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี โดยใช้บุคลากร ซึ่งเป็นพระภิกษุสงฆ์ ในพระพุทธศาสนา ที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยกลยุทธ์ ให้เป็นที่ยอมรับ แก่สังคม ซึ่งใช้เวลานับเป็นสิบปี กว่าจะมาถึงวันนี้ ( ๙ ก.ย. ๒๕๔๒) ที่สถานการณ์ของพุทธบริษัท ซึ่งหมายรวมไปถึง องค์กรปกครองคณะสงฆ์ไทย และสังฆมณฑล ได้ถูกโจมตี ทั้งจากภาครัฐ และภาคองค์กรต่างศาสนา รวมไปถึงสื่อมวลชน อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน พระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบ ในการตัดสินอธิกรณ์ กลับถูกจาบจ้วง ดูถูกจากขบวนการล้มพุทธ ที่จัดตั้งโดย องค์กรต่างศาสนา แม้ในสังฆมณฑลเอง ก็ยังมีพระภิกษุ ระดับพระราชาคณะบางรูป ที่ทำตนเป็น ผู้ทำลายพระพุทธศาสนาเสียเอง ปรากฏให้เห็น อย่างไม่เกรงกลัวต่อบาป หรือครุกรรม แห่งสังฆเภท การปลอมปนพระสัทธรรม คำสอน ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณชน โดยผ่านหน่วยงานของรัฐ ที่รับผิดชอบ ทางด้านการศาสนา การพยายามออกกฎหมาย เพื่อใช้บังคับพุทธบริษัท และสังฆมณฑล ล้วนแล้วแต่ เกี่ยวข้อง เป็นเรื่องเดียวกัน นี่คือสัญญาณ แห่งมหันตภัย ของพระพุทธศาสนา ในแผ่นดิน ที่เรียกว่า "ประเทศไทยเมืองพุทธ" ซึ่งขณะนี้ ก็ยังมองไม่เห็น จุดสรุป ว่าจะลงเอย ในรูปใด จึงควรที่พุทธบริษัท โดยเฉพาะ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ รวมไปถึงพระมหาเปรียญธรรม ผู้รู้ และผู้รักศรัทธา ในพระพุทธศาสนา จะต้องทำหน้าที่พิสูจน์ทราบ และป้องกันอย่างเต็มกำลัง ก่อนที่จะไม่มีทางแก้ไขในอนาคต

ในส่วนที่นับเป็นโชคดีอย่างหนึ่ง ของพระพุทธศาสนา คือความเด่นจำเพาะตัว ของพระไตรปิฎก ที่ถูกบันทึก ไว้ด้วยภาษาบาลี ฉะนั้นการปลอมปน หรือปลอมแปลง ให้เกลื่อนกลืนเป็นอย่างอื่นนั้น ทำได้ยาก สามารถนำพิสูจน์ ได้โดยง่าย เพราะทุกอรรถ และพยัญชนะ จะต้องแปลกลับไปมาได้ในความหมายเดียวกัน หากมีการผิดเพี้ยน ก็สามารถชี้ชัดไปได้เลยว่า คำหรือความหมายนั้นๆ เป็นสิ่งปลอมปนขึ้นมาใหม่ เรียกว่า สัทธรรมปฏิรูป หนังสือ "พุทธธรรม" ซึ่งได้ทำการเขียนโดย พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) จัดเป็น สัทธรรมปฏิรูป อันจักเป็นมหันตภัย ต่อพระพุทธศาสนา ต่อไปในอนาคต เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการเขียนปลอมปน โดยเปลี่ยนแปลงแนวคำสอน อันเป็นหลักสำคัญ ทางพระพุทธศาสนาใหม่ นอกจากนั้น ยังใช้ภาษาของ คริสต์ศาสนา ซึ่งใช้ในการเผยแพร่ คริสตธรรม เป็นลักษณะของ การกลืนศาสนา ข้อความดังกล่าว ปรากฏอยู่อย่างมากมาย หลายร้อยแห่ง อันปรากฏใน หนังสือ "พุทธธรรม" นี้ ซึ่งสามารถยกมา พอเป็นตัวอย่าง ให้เป็นแนวทางสำหรับ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย นำไปพิจารณา เช่น

ในหนังสือ "พุทธธรรม" หน้า ๓๘ และ ๔๐ คำว่า กระบวนการรับรู้บริสุทธิ์ ซึ่งไม่เคยปรากฏ ในพระพุทธศาสนา ผมพยายามแปลออกมาเป็นบาลีตามอักษร ได้ความว่า "ปริสุทฺธสญฺญวิถี" แต่พอไปค้นในพระไตรปิฎก คำนี้ก็ไม่มีอีก อีกคำหนึ่งคือ "กระบวนธรรมแบบเสพเสวยโลก" ก็เช่นเดียวกัน แปลกลับเป็นบาลี ก็ต้องหัวร่องอหาย ได้ความว่า โลกเวทนสทิสธมมวิถี เช่นเดียวกันละครับ เทียบในพระไตรปิฎก ไม่มีเช่นเคย ผมเองก็ไม่แน่ใจ จึงให้พระมหาเปรียญธรรม ๙ ประโยค ท่านลองแปลดูบ้าง ท่านก็บอกว่า มันไม่มีในพระไตรปิฎก จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ไปเอามาจากพระไตรปิฎกฉบับไหน เพราะเทียบใน พระไตรปิฎก ทุกภาษาแล้วไม่มี นี่คือข้อพิสูจน์ ที่สามารถระบุได้ว่า หนังสือ "พุทธธรรม" คือ "สัทธรรมปฏิรูป"

จากหนังสือ "พุทธธรรม" หน้า ๒๕๒ คำว่า "การเคลื่อนไหว ที่เป็นอิสระ ตามทางของปัญญา" เป็นคำที่คริสเตียนใช้ ในการเผยแพร่ศาสนา อยู่เป็นปกติ คำศัพท์ที่ใช้ในศาสนาคริสต์ ถูกนำมาใช้ แทรกให้เกิดความสับสน เพื่อกลืนปลอมปน ไปกับพระธรรมของ พระพุทธศาสนา ซึ่งผู้อ่านที่ไม่ทราบ หรือไม่ได้ศึกษา พุทธศาสนามาก่อน จะไม่อาจแยกแยะได้เลย นักปราชญ์ทางพุทธศาสนา หรือท่านที่เป็นเปรียญธรรม โปรดอนุเคราะห์ แปลกลับเป็นภาษาบาลี แล้วเทียบดู ในพระไตรปิฎกเถรวาท หน่อยเถิดครับว่า มีอยู่ตรงไหน พระสูตรอะไร ???

ลักษณะการใช้คำของคริสเตียน เช่นเดียวกันนี้ ปรากฏในหนังสือ "พุทธธรรม" หน้า ๗๐/๔๔ - ๗๐/๔๖ ซึ่งใช้คำว่า การทำกิจ "นักทำกิจ" เกลื่อนไปหมดทั้งหน้า คำๆ นี้เป็นคำที่ใช้สำหรับชาวคริสเตียน โดยเฉพาะพระเยซู ซึ่งเรียกว่า การทำกิจ ไม่เคยปรากฏใช้คำๆ นี้ในหนังสือ หรือตำรา ทางพระพุทธศาสนาเล่มใด ตั้งแต่มีประเทศไทย บนแผนที่โลก และปรากฏมี เฉพาะในหนังสือ "พุทธธรรม" ฉบับเพิ่มเติมใหม่ ซึ่งพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ได้บัญญัติศัพท์นี้ขึ้น และให้ความหมายไว้ว่า "การทำกิจ คือ ความไม่ประมาท เป็นคุณค่า ในระดับโลกียะ" เนื่องจากภาษา ในทางพระพุทธศาสนานั้น มีความจำเพาะในตัวเอง อย่างหนึ่ง และเป็นการป้องกัน การปลอมปนไปด้วยในตัวก็คือ ทุกคำสามารถ แปลกลับเป็นภาษาบาลีได้เสมอ แต่คำว่า การหลุดพ้นเป็นอิสระ และ การทำกิจ ไม่สามารถแปลเป็นภาษาบาลี เป็นความไม่ประมาท ตามที่ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) กล่าวอ้าง และพบเห็น แต่ในคำสั่งสอน ในคัมภีร์ของชาวคริสเตียนเท่านั้น ที่ใช้คำเช่นนี้

ก็ยังมีตัวอย่างอีกในหนังสือ "พุทธธรรม" หน้า ๒๕๓ ยังปรากฏให้เห็น คำที่ใช้ในการเผยแพร่คริสต์ศาสนาอีก คือ บำเพ็ญกิจแห่งกรุณา คำนี้ ก็ไม่มีอยู่ในศาสนาพุทธ เช่นเดียวกัน แปลเป็นภาษาบาลีเทียบแล้ว ไม่มีในพระไตรปิฎก... งงครับ ท่านที่มีความสามารถ ทางภาษาบาลี โปรดช่วยแปลทีเถอะครับ

ที่หนักไปกว่านั้นเข้าไปอีก ในหนังสือ "พุทธธรรม" หน้า ๘๓๐ ก็มีคำว่า การบำเพ็ญกิจ เพื่อพหุชน ไม่ต้องอธิบายนะครับ คงกระจ่าง ดังได้กล่าวแล้ว นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ถ้าท่านอ่านหนังสือ "พุทธธรรม" แล้วลองพิจารณา หรือแปลศัพท์ กลับเป็นภาษาบาลีดูซิครับ แล้วจะทราบว่า ทั้งอรรถและพยัญชนะ ไม่ตรงตามความหมาย ของพุทธศาสนา แต่ไปตรงกับ คัมภีร์ไบเบิล ของคริสเตียนหมด ยังงี้จะเขียนมา ให้ศาสนาไหนอ่าน ไม่ทราบได้


(หน้าปก - - - สารบัญ - - - อ่านต่อ)

1