การวิเคราะห์หนังสือของ
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) |
พระพุทธศาสนานั้น มีความสำคัญ และแตกต่างกับศาสนาอื่นในโลก ตรงคำว่า ปัญญา และ วิมุตติ (การหลุดพ้น จากกิเลสอาสวะทั้งปวง) ผมจึงมุ่งตรง ไปเปิดดูในส่วนนี้ในหน้า ๒๕๙ ของหนังสือ "พุทธธรรม" และก็จริง ดั่งที่นึกไว้ละครับ ความหมายของคำทั้งสอง ได้ถูกเปลี่ยนแปลง ปลอมปนจริงๆ ด้วย ปรากฏเป็นข้อความนี้แทน "กรุณา ที่เป็นพลังแผ่ ปรีชาญาณออกไปให้ได้ วิชชา และถึงวิมุตติด้วย" (คำว่า กรุณา ที่เป็นพลังนี้ ไม่เคยปรากฏในทาง พระพุทธศาสนาพุทธ) และการได้วิชชานั้น ย่อมมาจากการ มีฐานของการได้ ญาณ เมื่อมีความสามารถ เข้าออกฌานได้ชำนาญ ซึ่งเรียกว่า วสี แล้วนั่นแหละ จึงจะได้ ญาณ ปัญญา และต่อไปก็จะถึง วิชชา นี่คือขั้นตอนของ วิชชา ไม่ปรากฏมี พลังกรุณา" ในการปฏิบัติ ถึงขั้นวิมุตติ แต่อย่างใด ในศาสนาพุทธ ซึ่งที่ผมกล่าวนี้ สามารถยืนยัน ได้จากพระไตรปิฎก (บาลี สฬา. สํ . ๑๘/๒๙๘ /๔๔๐) ได้กล่าวถึง วิชชา ไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลาย ที่ไม่เคยฟังมาก่อน " คงกระจ่างกันนะครับว่า ในพระไตรปิฎกบาลีเถรวาท ไม่มีคำว่า พลังกรุณา เพราะว่าไม่ใช่คำของพุทธ แต่เป็นคำของคริสเตียน มาจากคำว่า พระกรุณา (Charity) และคำว่า ปรีชาญาณ ก็มาจากคำว่า พระพรแห่งปรีชาญาณ" (The Gift Of Wisdom) ซึ่งมีระบุไว้ ในคัมภีร์ไบเบิล ในความหมาย ปรีชาญาณ คือ ความสามารถเข้าใจ สิ่งที่พระเจ้ากระทำ (ยรม.๙/๑๑ ฮชย.๑๔/๑๐) จึงเป็นข้อความ และความหมาย อันมาจากคริสต์ศาสนา ซึ่งปลอมปน เข้ามาในหนังสือ "พุทธธรรม" โดยการเขียนของ พระภิกษุไทย ในศาสนาพุทธ ชั้นราชาคณะ นามว่า พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) และที่พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เขียนเช่นนั้น ก็เพราะว่า ความหมายของคำว่า "วิมุตติ" นั้น ท่านได้ปรับเปลี่ยน ปลอมปน พระสัทธรรมใหม่ ปรากฏในหนังสือ ปรีดิธรรม รวมธรรมทัศน์ของ พระมหาเถระ ต่อปรีดี พนมยงค์ พิมพ์เผยแพร่โดย คณะกรรมการดำเนินงานโครงการฉลอง ๑๐๐ ปีชาตกาล ปรีดี พนมยงค์ ๒๕๒๙ โดยนาย ส.ศิวรักษ์ และ นายพิภพ ธงไชย หน้า ๕๙ - ๖๐ ว่า "ทำงานเพื่ออิสระภาพของสังคม หรือจะเรียกว่า ปลดปล่อยสังคม นำสังคมไปสู่ความอยู่ดี สงบสุข ไร้การเบียดเบียน ปลอดพ้นจากความเบียดเบียน ก็คือ "ความเป็นอิสระภาพ"...จะเรียกว่า "อิสระภาพ" หรือ "วิมุตติ" ก็ได้ ......" และที่ย้ำชัดไปกว่านั้น ในความหมายคำว่า "อิสระภาพ" ซึ่งท่านผู้อ่าน จะพบอยู่ทั่วไป ในหนังสือ "พุทธธรรม" และถ้าอ่านในหนังสือดังกล่าว ก็จะเข้าใจว่า "อิสรภาพ" อาจหมายถึง "นิพพาน" ตามที่พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ต้องการหรือเขียน ให้เข้าใจยังงั้น แต่เปล่าครับ จากหลักฐานข้อแท้จริงนั้น ปรากฏว่า ไม่ได้หมายถึง นิพพาน แม้แต่น้อย คำอธิบายคำว่า อิสระภาพ อยู่ในหนังสือ "สถานการณ์พุทธศาสนา พลิกหายนะ เป็นพัฒนา" จัดพิมพ์เผยแพร่โดย ฝ่ายเผยแพร่ กองศาสนศึกษา กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๓๖ จำนวน ๓๕๐๐๐ เล่ม (งบประมาณรัฐ = ประชาชน) หน้า ๒๐๑ ว่า "ความไม่เสมอภาคแห่งโอกาส ในการได้รับการศึกษา เป็นปัญหาสำคัญ ที่มีมาในสังคมของเรา เป็นเวลานานแล้ว.... เพราะการศึกษา ทำให้เกิดปัญญา ซึ่งเป็นแกนนำ ในการพัฒนามนุษย์ เป็น "องค์ธรรม" ที่จะนำมนุษย์ไปสู่ "อิสรภาพ" และสันติสุข ....รู้สึกว่า พูดกันมามากแล้ว เรื่องการขยายการศึกษา โดยเฉพาะ การขยายโอกาส ทางการศึกษา แต่มีปัญหาว่า ขยายอย่างไร ถึงจะดี...." นี่คือความหมายของคำว่า อิสรภาพ ของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เพราะเป็นความหมายของ การเล่าเรียน ระดับธรรมดาทางโลกนี่เอง เน้นความรู้ หรือความฉลาดที่สมองจดจำได้ แต่ในพุทธวจนะนั้น ความหมายของ วิมุตติ คือความหลุดพ้น สิ้นไปจากกิเลสอาสวะ จะทำได้ ก็ด้วยการปฏิบัติ "สมาธิจิต" จนได้ถึงระดับ "ฌาน" อันนำไปสู่ "ญาณ" แล้วจึงจะเข้าถึงระดับ ปัญญา และปัญญาตัวนี้แหละ ที่เรียกว่า "ปัญญาวิมุตติ ไม่ใช่ได้มาจาก การเรียนหนังสือ ท่องตำราเอาเอง อย่างที่กล่าว พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ยังย้ำอีกว่า วิมุตติ คือความเป็น อิสรภาพ และคือ วิสุทธิ ปรากฏในหนังสือ "การศึกษาสากลบนพื้นฐาน แห่งภูมิปัญญาไทย" พระเทพเวที (ป.อ.ปยุตฺโต) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ พ.ศ.๒๕๓๒ แล้วจะหมายความว่า เป็นเจตนาบิดเบือน ให้พุทธพจน์ เป็นสัทธรรมปฏิรูปหรือไม่? นำพิสูจน์ทราบ การบิดเบือน ปลอมปนนี้ พิสูจน์ได้ชัดจากความหมาย และที่มา คำถามจึงมีว่า ทำไม ? จึงมีการบิดเบือน ปลอมปนพระสัทธรรม คำสอน ในพุทธศาสนาเช่นนี้ และเขียน "พุทธธรรม" เพื่อประโยชน์ของศาสนาใด |