การวิเคราะห์หนังสือของ
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) |
สิ่งซึ่งไม่น่าให้อภัยเป็นอย่างยิ่ง ก็คือ การเจตนาที่จะแทรกคำสอน ของคริสต์ศาสนา ลงในความหมาย ของพระพุทธศาสนา โดยเจตนา ไม่แปลเสียดื้อๆ เพื่อให้มีความหมาย ตรงกับ คริสต์ศาสนาเสียเลย ปรากฏในหน้า ๒๗๕ มีข้อความว่า "ผู้บรรลุ อุดมธรรม ไม่ต้องการอะไรในโลกทั้งหมด ย่อมไม่เศร้าโศกเพราะความตาย" หากมองอย่างผิวเผินแล้ว จะไม่เห็นสิ่งผิดสังเกตแต่อย่างใด แต่เมื่อค้นตามที่ได้อ้างอิงไว้นั้น เป็นภาษาบาลี ปรากฏว่า คำว่า อุดมธรรม กลับกลายเป็นคำทับศัพท์ ซึ่งภาษาบาลีมีว่า อุตฺตมํ ธมฺมํ ซึ่งแปลว่า ธรรมะอันสูงสุด ก็เลยสงสัยว่า เหตุใดจึงไม่แปลให้หมดถ้อยกระทงความ เพราะทุกๆ คำในพระสูตรนี้ ก็แปลออกมา ได้จนหมด ยกเว้นคำๆ นี้คำเดียวเท่านั้น เมื่อค้นคว้าใน หนังสือคริสเตียน จึงทราบว่า เป็นเจตนาของ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ที่ไม่แปล เพื่อให้ตรงกัน กับคำว่า อุดมธรรม ของศาสนาคริสเตียน ปรากฏเป็นหลักฐาน ในหนังสือ คริสต์ศาสนา โดย เสรี พงษ์พิศ (ดูเอกสารประกอบ) และที่ยิ่งไปกว่านั้น ได้พบหลักฐาน ยืนยันเจตนาจาก หนังสืออุดมธรรม เขียนโดย พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) พ.ศ.๒๕๓๗ ให้ความหมาย ในการเกื้อกูลศาสนาอื่นไว้อีกด้วย เหนืออื่นใดก็คือ ในปลายเดือน มิ.ย.๒๕๔๒ ได้มีการรณรงค์ นำเสนอแนวทาง ร่าง พรบ.สงฆ์ฉบับใหม่ โดยพระศรีปริยัติโมลี ซึ่งได้ขึ้นแผนผัง ภาพการปกครองคณะสงฆ์ (ดูภาคผนวก) จะเห็นว่า "อุดมธรรม" ในความหมายของคริสเตียนนั้น กลับอยู่สูงกว่า พระธรรมวินัย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และคำว่า นิพพาน กลายเป็นตัวอักษรเล็กๆ อยู่ในวงเล็บ ที่เป็นคำขยายความ คำว่า "อุดมธรรม" ทั้งๆ ที่ไม่มีศัพท์ โดยอรรถ พยัญชนะ หรือไวพจน์ของคำว่า นิพพาน กับ อุดมธรรม ใช้แทนกัน ณ ที่ใดในพระไตรปิฎก ไม่ว่าเป็น ฉบับภาษาใดในโลก การนำเสนอดังกล่าว ได้กระทำอย่างต่อเนื่อง ไปพร้อมๆ กับการโจมตี องค์กรปกครองคณะสงฆ์ (มหาเถรสมาคม) ตลอดมาจวบจนปัจจุบัน (ก.ย.๔๒) โดยแสดง ออกสู่ สื่อมวลชนทุกแขนง แต่เหตุใด พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ซึ่งประกาศตัวว่า เป็นผู้ปกป้องพระพุทธศาสนา พระธรรมวินัย ไม่ออกมาคัดค้าน ต่อต้าน ทั้งๆ ที่ตนเป็นผู้คัดค้านว่า วัดพระธรรมกายบิดเบือน คำสอน ในพระไตรปิฎก กรณีสอนว่า นิพพานเป็นอัตตา (ซึ่งความจริง มีบ่งชี้ไว้ในพระไตรปิฎก) นี่คือสิ่งที่ไม่สุจริต และไม่อาจปฏิเสธ ได้ทั้งสิ้น สิ่งที่สามารถพิสูจน์ได้ชัดว่า พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) รู้ดีในความ หมายของคำว่า "อุดมธรรม" ปรากฏในหนังสือ วัฒนธรรมไทย สู่ยุคเป็นผู้นำ และเป็นผู้ให้ จัดพิมพ์เผยแพร่โดย สำนักคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ๑๐,๐๐๐ เล่ม โดยโรงพิมพ์กรมการศาสนา (งบประมาณของรัฐ = ประชาชน) หน้า ๕๒ ".... การมีจิตสำนึกในจุดมุ่งหมายสูงสุด ร่วมกันของสังคม คือ สังคมจะต้องมี สิ่งดีงามสูงสุด ที่เป็นจุดรวมใจ ให้ทุกคนฝักใฝ่ หมายมอง มุ่งไปรวม เป็นอันเดียวกัน สิ่งที่เรียกสั้นๆ ว่า "อุดมธรรม" นี้จะทำให้เกิด พลังสร้างสรรค์....เมื่อพลังสร้างสรรค์ ที่มีจุดรวม พุ่งไปข้างหน้า เกิดขึ้นแล้ว พฤติกรรมก่อปัญหาทั้งหลาย ก็ถูกละเลิก ลดน้อย หรือหายไปเอง เหมือนเด็ก ๓๐-๔๐ คน รวมกันอยู่ในห้องเดียวไม่มีอะไรทำ ไม่ช้าก็เกิดปัญหา ...ถ้ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น วัตถุส่องแสง ปรากฏขึ้นในท้องฟ้า มีใครคนหนึ่งชี้บอก ไปที่วัตถุนั้น ทุกคนในห้อง จะหยุด ลืมเลิกพฤติกรรมเหล่านั้น กิจกรรมใหม่ก็จะเกิดขึ้น รวมทั้งความร่วมแรงร่วมใจ..." นำพิสูจน์ทราบ จากที่นำมาแสดงนี้ มิใช่ความหมายในเรื่อง เกี่ยวกับ นิพพาน อันเป็น ปรมัตถธรรม อันจะได้มาจาก การปฏิบัติเท่านั้น ซึ่งมิใช่ดังที่ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) กล่าวอ้าง แต่อย่างใด คำถามจึงอยู่ที่ว่า การนำเอาคำว่า "อุดมธรรม" ของคริสเตียน มาเทียบกับ "นิพพาน" ของพุทธศาสนา ดังปรากฏใน หนังสือ "พุทธธรรม" นี้เพื่ออะไร ? หากมิใช่ลดความสำคัญ ของนิพพาน ให้ต่ำลงมา เท่ากับ อุดมธรรม ของคริสเตียน |