การวิเคราะห์หนังสือของ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)
ปกปิดความจริงในพระพุทธวจนะชั้นสูงสุดในพระไตรปิฎก

p16-98.jpg (7745 bytes)

 

เรื่องของนิพพาน ยังไม่จบเพียงเท่านั้น พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ยังปิดบังพระสัทธรรม คำสั่งสอน ในพระพุทธศาสนา อันเป็นส่วนสำคัญที่สุด นั่นคือเรื่อง เกี่ยวกับ "นิพพาน" ซึ่งจัดเป็นสุดยอด ของศาสนาพุทธ อันไม่มีศาสนา หรือศาสดาใดอาจมี หรือพึงมีที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ ด้านการศาสนา หากจะอ้างว่าเนื่องจาก ในชีวิตของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ไม่เคยประพฤติปฏิบัติ ทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน หรือสมถกรรมฐานในสำนักใดๆ มาเลย ก็ลอกพระไตรปิฎก มาใส่เสียเลย ก็คงจะไม่มีใครว่า แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น ข้อความที่เขียนออกมา เผยแพร่แก่ประชาชน ให้ได้รับรู้นั้น เพื่อปรับเปลี่ยน ปิดบัง พระไตรปิฎกบาลี อันใช้เป็นหลักของเถรวาท เสียใหม่ ให้เป็น สัทธรรมปฏิรูป โดยแท้ หากเปรียบพระพุทธศาสนา เป็นพระเจดีย์ นิพพาน ก็คือยอดพระเจดีย์ เมื่อทำลายยอดพระเจดีย์ คือความหมาย ของนิพพาน เสียแล้ว พระพุทธศาสนา จะเหลือคุณค่าตรงไหน ข้อความที่อ้าง ปรากฏใน " พุทธธรรม"หน้า ๓๘๓ ความว่า

"ถ้าไปยึดนิพพานเป็น "อัตตา" ก็จะได้ภาพที่บิดเบือน ของนิพพาน ซึ่งเคลือบด้วยตัณหาของตน ซึ่งไม่ใช่นิพพานตัวจริง คือยังไม่ถึงนิพพานนั่นเอง"..... "สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง สังขตธรรมทั้งปวง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติ เป็นอนัตตา วินิจฉัยมีอยู่ดังนี้"

ยิ่งไปกว่านั้น ยังเจตนาใส่หมายเหตุ ที่มาของข้อความนี้ว่า วินยฺ ๘/๘๒๖/๒๒๔ ตรงนี้เรียกว่า เจตนาให้ผู้อ่าน ที่ไม่รู้พระไตรปิฎก เชื่อและคิดตาม ว่ามีหลักฐานแน่นหนา แต่เปล่าเลย ความจริงพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) เจตนาซ่อนคำว่า ปริวารวัคค์ ซึ่งเป็นคัมภีร์ ที่อยู่ในชั้น ๒ เรียกว่า ชั้นสุตตานุโลม (พวกอรรถกถา) นี่คือความไม่บริสุทธิ์ใจ และเป็นที่มาของข้อพิพาท ในชาวพุทธไทย เรื่อง นิพพานเป็นอัตตา หรือ นิพพานเป็นอนัตตา มาจากข้อความตรงนี้ และนอกจากที่อ้างไว้นี้แล้ว ก็ไม่มีที่อื่นอีกเลย แต่ที่กล่าวว่าถึง อัตตา เป็นพุทธพจน์ชั้นสุตตะ (ชั้นที่๑) นั้นมีอยู่มากมาย หลายพันแห่ง ในพระไตรปิฎก แต่เหตุใด จึงไม่นำมาเขียน เช่น ทรงมีพุทธพจน์กับ ปิโลติกะปริพาชก กับ ชาณุสโสณีพราหมณ์ (บาลี มู.ม.๑๒/๓๓๘/๓๓๐)

"พระสมณโคดมย่อมให้บรรพชาแก่บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นบวชแล้ว ในธรรมวินัย เป็นผู้หลีกออกสู่ที่สงัด ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีอัตตา ส่งไปในสมาธิภาวนา อยู่เป็นปกติ ไม่นานเลย ก็ทำให้แจ้งได้ ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ (นิพพาน)...ด้วยปัญญายิ่งเอง เข้าถึงสุขแห่งพรหมจรรย์นั้นแลอยู่" (บาลี มหา.ที. ๑๐/๑๑๘ /๙๓) (บาลี มหาวาร สํ. ๑๙/๒๐๕/ ๗๑๒-๓) ว่า

"อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ตามเห็นซึ่ง กายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ... มีสติ.... เป็นผู้ตามเห็นซึ่งธรรมในธรรม ฯลฯ

อานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า มี อัตตา เป็นเกาะ มี อัตตา เป็นสรณะ (ที่พึ่ง) ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง"

และนี่คือที่มาของพุทธพจน์ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน ทั้งยังทรงมีพุทธพจน์ยืนยัน ความมีสภาพของนิพพานไว้แจ้งชัด ปรากฏในพระไตรปิฎก เถรวาท (บาลี สี.ที. ๙/๒๗๗ - ๒๘๓/๓๔๓) ว่า

" คือ อายตนะ หนึ่ง ซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ ไม่มีที่สิ้นสุด แต่มีทางปฏิบัติเข้ามาถึง ได้โดยรอบ นั้นมีอยู่ "

พร้อมกันนั้น พระพุทธองค์ยังทรงมีพุทธวจนะ ยืนยันถึง วิธีการเข้าถึงนิพพาน ไว้ชัดแจ้ง ปรากฏใน (บาลี มหาสีหนาทสูตร มู.ม. ๑๒/๑๔๙/๑๗๐) ว่า

"......สารีบุตร เราย่อมรู้จักนิพพาน รู้จักทางไปนิพพาน และข้อปฏิบัติ ที่ทำให้บุคคลไปนิพพาน และรู้จักตัวบุคคล ผู้ปฏิบัติดีแล้วอย่างใด จึงทำให้แจ้ง ได้ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ในธรรมอันตนเห็นแล้ว เข้าถึงแล้วแลอยู่"

พระพุทธองค์ยังทรงแสดงให้พุทธบริษัทได้รับรู้ว่า สภาพของนิพพานเป็นอมตะ สามารถอยู่ได้ ในขณะมีชีวิตอยู่ ดังปรากฏใน (บาลี จูฬโคปาลสูตร มู. ม. ๑๒/๔๒๑/๓๙๑) ว่า

"ทั้งโลกนี้แลโลกอื่น ตถาคตผู้ทราบดีอยู่ ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว ทั้งที่มารไปถึง และที่มฤตยูไปไม่ถึง ตถาคตผู้รู้ชัดเข้าใจชัด ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว เพราะความรู้ในโลกทั้งปวง ประตูนครแห่งความไม่ตาย ตถาคตเปิดโล่งไว้แล้ว เพื่อสัตว์ทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงมากด้วยความปราโมทย์ ปรารถนาถึงนิพพานอันเป็นแดนเกษมเถิด.."

และได้ตรัสกับ วัสสการพราหมณ์ ที่เวฬุวัน เมืองราชคฤห์ ดังปรากฏในพระไตรปิฎก บาลีเถรวาท (บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๔๕/๓๕) ว่า

"...เราแล เป็นผู้ทำให้แจ้งได้ซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ อันสิ้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแล อยู่ในวิหารธรรมนั้น ในภพอันเป็นปัจจุบันนี้ ดังนี้ "

ข้อความที่ผมยกมาเป็นตัวอย่างจากพระไตรปิฎกเหล่านี้ล้วนเป็นพุทธวจนะจัดอยู่ในชั้นที่ ๑ สุตตะ สูงสุดไม่ต้องเคลือบแคลงสงสัยหรือตีความใดๆ ยืนยันอย่างแท้จริงถึงความมี อัตตา อันปรากฏมากกว่าพันแห่ง ในพระไตรปิฎก แต่ท่านผู้อ่านเชื่อหรือไม่ ว่า ท่านจะไม่ได้พบ ข้อความเหล่านี้ ในหนังสือ พุทธธรรม ซึ่งเขียนโดย พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ทั้งสิ้น ไม่เพียงแต่ไม่กล่าวถึง ยังคัดค้าน และโจมตี ปิดบัง จาบจ้วง บิดเบือน พระสัทธรรมคำสั่งสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยตรงอีกด้วย หากไม่เรียกว่า เป็นเจตนา เขียนพระไตรปิฎกขึ้นใหม่ ให้เป็น สัทธรรมปฏิรูป ก็ไม่ทราบว่า จะให้เรียกว่าอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชื่อต่างๆ ในฐานะเป็น อายตนะหนึ่ง มีปรากฏในพระไตรปิฎก (๑๘/๗๒๐-๑๕๑/๔๕๐-๔๕๒) ได้ระบุว่า นิพพานเป็นอายตนะ ถึง ๓๐ แห่ง เช่น

ปารํ = เป็นฝั่ง หมายความว่า เวลานี้สัตว์ทั้งหลาย ยังลอยคอ อยู่ในทะเลทุกข์ แต่เมื่อใด บรรลุถึงนิพพาน เมื่อนั้นก็พ้นทุกข์ ถึงฝั่งอันปลอดภัย พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า (๑๒/๑๒๓/๔๖๐)

" ปารํ จ โว ภิกฺขเว เทเสสฺสามิ ปารคามิญฺจ มคฺคํ ตํ สุณาถ"

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงฝั่ง (ข้างโน้น) แลหนทางไปสู่ฝั่งแก่เธอทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น"

ทีปํ = เป็นเกาะ ธรรมดาเกาะในทะเล เมื่อเรืออัปปาง คนว่ายน้ำเข้าถึงเกาะแล้ว ย่อมปลอดภัย ดุจดังการบรรลุ ถึงนิพพานแล้ว ย่อมปราศจากทุกข์

เลณํ = เป็นถ้ำ คือที่หลบภัยอันมั่นคง

ตาณํ = เป็นเครื่องมือป้องกัน เป็นเขื่อนป้องกันภัยคือทุกข์

อนฺตํ = เป็นที่สุดแห่งทุกข์ทั้งปวง

สรณํ = เป็นที่พึ่ง เมื่อถึงนิพพานแล้ว ก็ถึงที่พึ่งอันปลอดภัยจากทุกข์ทั้งปวง

และในพระไตรปิฎกยังกล่าวถึงว่า นิพพานเป็นอัตตา (อมตํ = เป็น อมตะ ไม่ตาย) คงอยู่ตลอดกาล ปรากฏเป็นไวพจน์ อยู่มากมาย เช่น

สจฺจํ = เป็นความจริง

นิปุณํ = เป็นธรรมชาติอันละเอียด

สุทุทฺทสํ = เห็นได้ยากยิ่ง

ธุวํ = เป็นสภาพยั่งยืน

สนฺตํ = เป็นสภาพสงบ

ปณีตํ = เป็นสภาพประณีต

สิวํ = เป็นความสุขเยือกเย็น

เขมํ = เกษม ปลอดภัย

ตณฺหกฺขยํ = สิ้นความอยาก

อจฺฉริยํ = เป็นธรราชาติน่าอัศจรรย์

วิราคํ = ปราศจากราคะ

สุทธิ = เป็นความบริสุทธิ์

พระธรรมปิฎกได้กล่าวไว้ในหน้า ๒๑๒ ว่า "ถ้ามีอัตตา กรรมก็ไม่มี เพราะอัตตา ไม่เป็นไปตามเหตุปัจจัย" (นิพพาน ก็ไม่เป็นไปตามเหตุปัจจัย เช่นกัน ดังนั้นนิพพาน จึงเป็นอัตตา ในความหมาย ที่พระธรรมปิฎกอ้างนี้)

                     ถ้าไม่มีโลกุตรภูมิ ก็ไม่มีทางหนีจากโลกิยภูมิ                   

มีพระพุทธพจน์อีกตอนหนึ่ง ในพระไตรปิฎกคัมภีร์ อุทาน ขุททกนิกาย (๒๕/๑๖๐/๒๐๗) ว่า

"อตฺถิ ภิกฺขเว อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ ฯ โน เจ ตํ ภิกฺขเว อภวิสฺส อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ ฯ นิยิธ ชาตสฺส ภูตสฺส กตสฺส สงฺขตสฺส นิสฺสรณํ ปญฺญาเยถ ฯ ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว อตฺถิ อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ ฯ ตสฺมา ชาตสฺส ภูตสฺส กตสฺส สงฺขตสฺส นิสฺสรณํ ปญฺญายตีติ"

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่มีเกิด ไม่มีกลับกลาย ไม่มีผู้สร้างไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง มีอยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่กลับกลาย ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งนั้น จักไม่มีไซร้ การสลัดออกเสียซึ่งธรรมชาติ ที่มีเกิด มีกลับกลาย มีผู้สร้าง มีปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมมีไม่ได้

แต่ภิกษุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติที่ ไม่เกิด ไม่กลับกลาย ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง มีอยู่ การสลัดออกเสียซึ่งธรรมชาติ มีเกิด มีกลับกลาย มีผู้สร้าง มีปัจจัยปรุงแต่ง จึงมีได้"

การชี้แนะจากข้อเขียนของ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ทำให้เกิดความไขว้เขว ต่อความหมายของ คำว่า นิพพาน ให้เหมือนกับความหมายของ คริสต์ศาสนา ซึ่งได้อธิบายไว้ชัด ในหนังสือ การศึกษาเพื่อสันติภาพ มูลนิธิพุทธธรรม ๒๕๓๘ หน้า ๕ ว่า สันติภาพ ก็คือ สันติ สันติ แปลว่า ความสงบ สันติและความสงบนี้ เป็นชื่อหนึ่งของ "พระนิพพาน" และการขยายความ คำว่า "สันติภาพ" ของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ไปปรากฏในหนังสือ "การศึกษาทางเลือกสู่วิวัฒน์ หรือวิบัติ ในโลกยุคไร้พรหมแดน หน้า๔๔-๔๕ พิมพ์โดยโรงพิมพ์คุรุสภา ๒๕๔๑ ว่า

" การจัดตั้งระบบสังคมที่ดี เป็นการกีดกั้น ไม่ให้มีเหตุปัจจัย ฝ่ายที่จะมากระตุ้น หรือยั่วยุให้เกิดการสูญเสีย หรือทำลายสันติภาพ และพร้อมกันนั้น ก็สร้างปัจจัย เอื้อต่อการเกิดขึ้นของ "สันติภาพ"

ดังนั้นเมื่อระบบและโครงสร้างสังคม ไม่เอื้อต่อจิตใจที่ดี ที่จะโน้มไปในทาง สันติ การสร้าง สันติภาพ ก็เป็นไปได้ยาก...."

หากท่านอ่านอีกครั้งจะเข้าใจว่า เป็นเรื่องของการเมือง เรื่องของสังคมศาสตร์ เสียมากกว่า เรื่องของการปฏิบัติ ทางสมาธิจิต ให้หลุดพ้นจาก วัฏฏสงสาร คือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย อันมีพระนิพพาน เป็นที่สุด อ่านยังไง ก็ไม่ได้ความอย่างนั้น เป็นเรื่องของทางโลกทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับ "นิพพาน" และเมื่อพิจารณา ส่วนของประโยคที่ว่า "โครงสร้างสังคม ไม่เอื้อต่อจิตใจที่ดี ที่จะโน้มเอียง ไปในทางสันติ นั้น พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ความหมายคำว่า สันติ ว่าคือ นิพพาน นั้น ต้องการจะชี้นำให้ผู้อ่าน หรือผู้ที่ศึกษาในพุทธศาสนาเข้าใจว่า นิพพาน ไม่ได้มาจากการปฏิบัติ อย่างนั้นหรือ? "นิพพาน" ในความหมายของ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เน้นย้ำเรื่องสังคม ประเทศ สรุปคือ เรื่องทางโลก (โลกิยะ ภายนอก) ซึ่งตรงข้ามกันกับ หลักพระพุทธศาสนา ซึ่งเน้นภายใน เป็นการตัดกิเลสตัณหา (โลกุตร) ฉะนั้น หากจะหมายความ เชื่อไปตาม พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ก็ต้องถามกันหน่อยละว่า การลงนามสันติภาพ สงบศึก เพื่อให้สังคมสงบสุข เลิกเป็นเมืองขึ้น นั้นหมายถึงการลงนาม ที่เรียกว่า พระนิพพาน ด้วยหรือเปล่า นี่เป็นความพยายาม จะยกย่องรางวัล สันติภาพ ของ UNESCO ที่ตนเองได้รับนั้น เหมือนกับผู้ที่ได้บรรลุนิพพาน พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ทราบหรือไม่ว่า รางวัลสันติภาพ ที่ UNESCO มอบให้นั้น เป็นความหมายเฉพาะ ของชาวคริสเตียน ซึ่งระบุอยู่ในคัมภีร์ไบเบิล อสย.7/14-16 อมส.9/11;มค5/1-5 ยสม.23/1-5 และเขาตั้งตาม พระสันตปาปา จอนด์ปอนด์ที่ ๒ ประมุขแห่งคริสเตียน ซึ่งประธาน ยูเนสโก ก็ประกาศชัดในวันแจกรางวัล ให้กับ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) เองด้วยซ้ำ

                                            นำพิสูจน์ทราบ                                         

นิพพาน เป็น เป้าหมายสูงสุด ของพุทธบริษัทในพุทธศาสนา ซึ่งศาสนาอื่นไม่มี และเมื่อแปรเปลี่ยนความหมาย อันได้บัญญัติได้ ในพระไตรปิฎกแล้ว พระพุทธศาสนาก็ผิดรูปแบบไปจากเดิม ลักษณะของการเขียน ทางวิชาการนั้น จะต้องให้ประโยชน์ ทางความคิดแก่ผู้อ่าน ในเชิงวิเคราะห์ ต้องแสดงข้อมูล ให้กระจ่าง และต้องใช้ข้อมูล ที่แน่นอน ไม่ใช่ไปนำข้อมูล ที่อยู่ในระดับ ที่ต่ำกว่า (ชั้นสุตตานุโลม = ชั้น๔) มาอ้างอิง ในขณะที่ข้อมูล ที่แน่นอนมั่นคง (ชั้นสุตตะ = สูงสุด) มียืนยันอยู่ชัดแจ้ง กลับไม่ยอมกล่าวถึง แม้แต่น้อย จึงเป็นคำถามว่า การปิดบังความจริงเช่นนี้ ศาสนาใดได้ประโยชน์


(หน้าปก - - - สารบัญ - - - อ่านต่อ)

1