การวิเคราะห์หนังสือของ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)
ทำลายความหมายของคำว่า สมาธิ

 

 

ข้อความที่ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) กล่าวถึง การปฏิบัติสมาธิ อันเป็นหลักสำคัญ ของพระพุทธศาสนานั้น เป็นลักษณะของการ ไม่ให้ความสำคัญ แต่อย่างใด ทำให้ดูประหนึ่ง เรื่องของสมาธิ เป็นการกระทำ เพียงชั่วครั้งชั่วคราว ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ในหลักพระพุทธศาสนานั้น ถือว่า ต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง ประกอบด้วยวิริยะอุตสาหะ ซึ่งเราจะพบเห็นได้ ในพระสูตรต่างๆ ที่กล่าวถึง การปฏิบัติทางสมาธิจิต ของพระอริยสาวก ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ในสายตาของ พระธรรมปิฎก กลับไม่ให้ความสำคัญ คล้ายกับเป็นถ้อยคำ ของชาวคริสเตียนอีกด้วย ซึ่งปรากฏถ้อยความ ในหน้า ๘๓๗ ดังนี้

"สมาธิ เป็นเพียงวิธีการ เพื่อเข้าถึงจุดหมาย ไม่ใช่ตัวจุดหมาย ผู้เริ่มปฏิบัติ อาจต้องปลีกตัวออกไป มีความเกี่ยวข้องกับชีวิต สังคม น้อยเป็นพิเศษ เพื่อการปฏิบัติช่วงพิเศษ ระยะเวลาหนึ่ง แล้วจึงออกมา มีบทบาทในสังคม ตามความเหมาะสมต่อไป อีกประการหนึ่ง การเจริญสมาธิ โดยทั่วไป ก็มิใช่จะต้องมา นั่งเจริญอยู่ทั้งวันทั้งคืน และวิธีปฏิบัติก็มีมากมาย เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม"

ซึ่งข้อความของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ดังกล่าวนี้ เป็นแนวทาง ปฏิบัติของคริสเตียน ปรากฏใน พระไตรปิฎก ฉบับ ชาวคริสต์ โดย บาทหลวงกีรติ บุญเจือ หน้า ๗๐-๗๓ ซึ่งว่าด้วยเรื่อง การเข้าเงียบ ดังนี้

"การเข้าเงียบ ได้แก่การใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๑ วัน เพื่อปลีกตัว ออกไปจากงานประจำ เพื่ออยู่อย่างสงบ กับพระเจ้า ในสถานที่สำหรับการนี้ โดยเฉพาะ สวดมนต์มากขึ้น อ่านหนังสือเร้าใจมากขึ้น.... คริสตชนแต่ละคน มีสิทธิเสรีภาพ ที่จะพอใจกับวิธี ที่มีผู้พบไว้แล้ว.."

จากข้อความที่ได้ขีดเส้นใต้ไว้นั้น จะเห็นได้เป็นอย่างดีว่า เหมือนกันในความหมายทุกประการ ด้วยเหตุว่า นี่คือสิ่งที่เรียกว่า "วิถีแห่งชาวคริสต์" ที่ต้องยึดถือปฏิบัติ และสั่งสอนอยู่แล้ว จึงเป็นที่น่าแปลก เป็นอย่างยิ่ง ที่พระภิกษุ ในพระพุทธศาสนา ระดับพระราชาคณะ กลับเขียนหนังสือ เพื่อสั่งสอนในแนว แห่งคริสเตียน

ก็เพราะว่า ตนเองมิได้มีความศรัทธา ในพระพุทธศาสนา แม้กระทั่ง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังถูกนำมาเหยียบย่ำ ดึงลงมาต่ำ เทียบเท่ากับ บุคคลธรรมดา ดังได้กล่าวมาแล้วแต่ต้น ซึ่งนับว่า เป็นการเหยียบย่ำ หยามหยัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งหากเป็นปกติธรรมดา แม้สื่อมวลชน ที่กล่าวถึงบุคคลระดับสูง เขาก็ไม่กระทำ หากมิใช่เป็นเจตนา ในการหมิ่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหตุใด พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ซึ่งเป็นพระภิกษุสงฆ์ ในพระพุทธศาสนา จึงกล้าทำเช่นนั้น


(หน้าปก - - - สารบัญ - - - อ่านต่อ)

1