การวิเคราะห์หนังสือของ
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) |
|
หลักใหญ่และหัวใจของพระพุทธศาสนา อยู่ที่เรื่องของ ปัญญา เพราะจะเป็นเครื่องมือ ในการหลุดพ้น จากวัฏฏสงสาร และปัญญาในความหมาย แห่งพระพุทธศาสนา คือ ปัญญา ที่ได้มาจาก การปฏิบัติสมาธิเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากความรู้ หรือการเรียนรู้ทางโลกใดๆ หรือจากตำรับตำรา ที่ได้เล่าเรียนกัน ในมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น ซึ่งในสมัยพุทธกาล พระทัพพมัลลบุตร ได้สำเร็จพระอรหันต์ ในขณะปลงผม บวชเป็นสามเณรวันแรก เมื่ออายุได้ ๗ ขวบ นี่คือสิ่งพิสูจน์ และยืนยันว่า ปัญญา ในพระพุทธศาสนา ต่างจาก ปัญญาทางโลก อันหมายถึง การเรียนรู้ และนำเหตุผล หรือข้อมูลเก่าๆ หรือที่คิดไตร่ตรอง จากพื้นฐานประสบการณ์เดิม มาเป็นตัวตัดสิน อาศัยความฉลาด เป็นเครื่องวัด ซึ่งมิใช่แนวทาง และความหมาย ของคำว่า ปัญญา ที่แท้จริง ในพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด ฉะนั้น การทำลายหลักสำคัญของพระพุทธศาสนาให้ได้ คือต้องมุ่งเน้น เปลี่ยนความหมาย ของคำว่า ปัญญา ในพระพุทธศาสนาให้ได้ ซึ่งแน่นอน พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) มิได้เว้น ดังปรากฏเป็นหลักฐาน ให้เห็นได้ในหนังสือ "พุทธธรรม" หน้า ๔๒๓ ความว่า " ปัญญา...ไม่ว่าใครจะมีโลกิยะปัญญา ยักเยื้องแก่กล้า แตกต่างออกไปอย่างใด ซึ่งทำให้เป็นผู้เก่งกล้าสามารถ ในการดำเนินกิจการต่างๆ ในโลก เช่น โดดเด่นในทางการเมือง รุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ เป็นนักประดิษฐ์ เชี่ยวชาญ ประยุกต์วิทยา หรือเป็นนักค้นคว้า และค้นพบทางวิทยาศาสตร์ แต่ความรู้ที่ขาดมิได้ หรือมีความจำเป็น ที่สำหรับทุกคน ในการที่จะแก้ปัญหาชีวิตของตน หรือจะดำเนินชีวิต อยู่ด้วยดี ก็คือ ปัญญาที่เป็นคุณสมบัติ ของอริยสาวก" ข้อความนี้ กล่าวถึงปัญญาของพระอริยสาวกว่า เป็นเพียงปัญญา ที่ใช้ในการดำเนินชีวิต หรือแก้ปัญหาชีวิต ซึ่งเป็นความหมาย ที่ตรงกันข้ามกับ หลักแห่งพระพุทธศาสนา ที่กล่าวถึง ปัญญาของพระอริยสาวกว่า คือการรู้แจ้ง ในวัฏฏสงสาร ซึ่งปัญญาของพระอริยะ จะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติ ด้วยสมาธิ และจะต้องได้ญาณก่อน จึงจะถึงขั้นได้ ปัญญา ดังมีพุทธพจน์ ปรากฏในพระไตรปิฎก บาลีเถรวาท (บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๓๐/๑๑๒๐) ว่า "ภิกษุทั้งหลาย จักขุ ญาณ ปัญญา (รู้แจ้ง) วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรม ที่ไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า นี้คืออิทธิบาท ฯลฯ" ในพระพุทธศาสนานั้น ปัญญา ในระดับพระอริยบุคคล มีความหมายว่า ความรู้แจ้งแห่งการพ้นทุกข์ ซึ่งมิได้เป็นเรื่องทางโลกิยะ แต่อย่างใด จึงเป็นเครื่องบ่งชี้ชัดได้เป็นอย่างดีว่า พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) มีเจตนาบิดเบือนพระสัทธรรม คำสั่งสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในส่วนความหมาย ที่เป็นหัวใจ เพราะปัญญานั้น เป็นหนึ่งในหลักของ ไตรสิกขา อันว่าด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา |