แนวความคิดสังคมนิยม
ของ
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)

พระธรรมปิฎก

 

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) จัดเป็นบุคคลที่มีสมองระดับอัจฉริยะเยี่ยมยอดผู้หนึ่ง ซึ่งหากได้รับการชี้นำที่ถูกต้อง ในแนวทางสร้างสรรค์ คงเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างยิ่ง แต่เนื่องจากว่า การรับข้อมูลทางด้านจิตสำนึกนั้น ได้ถูกแทรกด้วยอุดมการณ์ อันตรงข้ามกับการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ เป็นองค์พระประมุข มาแต่แรกเริ่ม จึงนับว่า เป็นก้าวแรก ของความผิดพลาด ในความเป็นอัจฉริยะ และแนวทางอันจะสร้างประโยชน์ ให้แก่สถาบันชาติ พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ ของท่านจึงแปรเปลี่ยนไป

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เริ่มมีความสนใจในอุดมการณ์ทางการเมือง ตั้งแต่สมัย เมื่อยังเป็นสามเณร ( ๑๙ มิ.ย. ๒๕๐๑) อันเป็นแรงดลใจ จากการอ่านหนังสือของ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เรื่อง "ความเป็นอนิจจังของสังคม" เนื้อหาสาระในหนังสือนั้น ได้กลายเป็นอุดมการณ์ ที่ฝังแน่นอยู่ภายในจิตสำนึก โดยท่านได้เปิดเผย ในเวลาต่อมา ขณะมีสมณศักดิ์เป็น พระราชวรมุนี ว่า

"แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสังคม โดยเปรียบเทียบแนวคิดของ วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ กับแนวคิดในคัมภีร์ พระพุทธศาสนา กล่าววิถีวิวัฒน์ของสังคม จากสังคมที่เรียกว่า สังคมปฐมสหการ หรือบางคนเรียกว่าสังคมบุพกาล ถัดมาเป็นสังคมทาส ต่อมาเป็นสังคมศักดินา ต่อมาเป็นสังคมธนานุภาพ หรืออย่างเดี๋ยวนี้ เรียกว่า สังคมทุนนิยม แล้วลงท้ายด้วยสังคมกิจ ซึ่งสุดท้ายก็คือ บรรลุถึงสังคมอุดมคติ เป็นสังคมพระศรีอาริย์ มีพระศรีอาริยเมตไตยมาโปรด มีความเสมอภาค (สังคมนิยมคอมมูนิสต์) ก็เป็นอันว่า แนวความคิดเกี่ยวกับ วิวัฒนาการทางสังคมนั้น ในคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ในทางวิทยาศาสตร์ สังคมสมัยใหม่ก็ดี ก็รวมเป็นอันเดียวกัน คือดำเนินไปสู่สังคมอุดมคติ ดังกล่าวนั้น....." (จากหนังสือปรีดิธรรม พิมพ์โดย คณะกรรมการดำเนินงานฉลอง ๑๐๐ ปี ชาตกาล นายปรีดีพนมยงค์ โดย นาย ส.ศิวลักษ์ ประธาน และ นายพิภพ ธงไชย กรรมการ และเลขานุการ)

นี่คือที่มาของแนวความคิดทางลัทธิสังคมนิยมของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ที่ถูกฝังรากลึกในจิตใจ มาช้านาน โดยเริ่มจากความประทับใจ ในหนังสือดังกล่าว ตามหลักของจิตวิทยาแล้ว สภาพจิตที่เกิดจากความประทับใจนั้น จะถูกแปรเปลี่ยนเป็นอุดมการณ์ และจะแสดงออก ด้วยการกระทำทางสรีระ ในรูปแบบต่างๆ กันอย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่การแสวงหา แนวร่วมทางความคิด ที่คล้ายคลึงกัน (ลัทธิสังคมนิยม จัดเป็นอุดมการณ์ที่เป็นภัย และต่อต้าน สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สมัยนั้นเรียกว่า ลัทธิคอมมิวนิสต์) ในที่สุดพระธรรมปิฎก จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง กับมูลนิธิโกมลคีมทอง อันเป็นศูนย์รวม ของผู้มีอุดมการณ์ สังคมนิยม เช่นเดียวกัน

ลัทธิสังคมนิยมนี้ จะตรงกันข้ามกับ ลัทธิชาตินิยม เพราะลัทธิชาตินิยม จะปลุกสำนึกให้คนในชาติ มีความรักชาติ มีความภูมิใจ ในความเป็นชาติ และองค์ประมุข (พระมหากษัตริย์) ที่สร้างชาติ สร้างแผ่นดิน สร้างประเทศ มาตราบเท่าทุกวันนี้ สำหรับประเทศไทย คนไทยทุกคน ย่อมมีความรักชาติ โดยสายเลือด ความรักชาติรักแผ่นดิน ของคนไทย ที่สืบเนื่องกันมา ทุกยุคทุกสมัยนี้เอง ที่ทำให้ประเทศไทย เป็นเอกราชสืบมา

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้แสดงการต่อต้านความเป็นสถาบันชาตินิยม โดยเผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้เกิดความเข้าใจผิดว่า "ชาตินิยม" ขัดกับหลักพระพุทธศาสนา โดยยกข้อธรรมขึ้นมาเป็นตัวอ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ข้อความ ที่ส่อแสดงถึงความมุ่งหมาย ที่แท้จริง ซึ่งผิดต่อกฎหมายว่า ด้วยการเผยแพร่อุดมการณ์ อันเป็นภัยต่อสถาบันชาติ ปรากฏเป็นหลักฐาน ว่า

"เราไม่ต้องการจะมามัวแข่งกับเขา หรือเพื่อให้เราเหนือเขา หรืออะไรอย่างนั้น ซึ่งไม่ใช่สิ่งพึงประสงค์ อย่าง "ลัทธิชาตินิยม" ก็ใช้มานะปลุกเร้าทั้งสิ้น แต่ก้าวจากมานะเพื่อตัวขึ้นไป สู่ขั้นมานะเพื่อชาติ ทำให้ทำการทุกอย่างได้สำเร็จ เพื่อให้ชาติของตนยิ่งใหญ่

อย่างไรก็ตาม มานะแบบชาตินิยมนี้ แม้จะทำให้สร้างความสำเร็จได้ดี แต่ในที่สุดก็เป็นไปเพื่อการข่มเหงเบียดเบียนผู้อื่น เอาแต่ประโยชน์ของพวกตน ใครจะเป็นอย่างไรก็ช่าง..."

ความจริงในฐานะที่ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ซึ่งสอนให้ละวางทางโลก ก็ไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์ เรื่องอย่างนี้อยู่แล้วโดยสถานภาพ แต่กลับปรากฏว่า เอกสารดังกล่าว ได้ถูกจัดพิมพ์โดย กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้เงินงบประมาณ ของประชาชน แจกจ่ายเผยแพร่อุดมการณ์นี้ เป็นจำนวนถึง ๓๕,๐๐๐ เล่ม (ในส่วนกระทรวงศึกษาฯ จะกล่าวถึงในโอกาสต่อไป) เพื่อให้เยาวชนและประชาชน ได้ซึมซับอุดมการณ์เช่นนี้ อนาคตของชาติ จะเป็นเช่นไร และไม่เคยปรากฏเป็นหลักฐาน ณ ที่ใดในการปาฐกถาของท่านว่า ได้มีการส่งเสริม หรือสนับสนุน หรือสร้างความภูมิใจใดๆ ต่อสถาบันชาติ หรือกล่าวถึงวีรกรรมของ มหาราชไทย วีรบุรุษไทยในประวัติศาสตร์ของชาติ และไม่เคยปรากฏในทุกข้อความ ข้อเขียน หรือเทศนาใดๆ ที่จะส่งเสริมเยาวชน ให้มีความรักชาติ อันเป็นรากฐาน ของความเป็นชาติ นี่คือสิ่งที่บ่งชี้ให้เห็นถึงจิตสำนึก (ทั้งนี้ท่านผู้อ่าน ต้องเข้าใจ แยกแยะให้ถูกต้องก่อนนะครับว่า จิตสำนึกกับความฉลาดนั้น เป็นคนละเรื่องกัน เพราะจิตสำนึก เป็นเรื่องของ คุณธรรม แต่ ความฉลาด เป็นเรื่องของ ความรู้ความสามารถ)

ดังที่กล่าวว่า ลัทธิสังคมนิยม จะต้องไม่มี สถาบันศาสนา (เพราะถือว่าศาสนาคือยาเสพย์ติด) และ สถาบันพระมหากษัตริย์ และแน่นอนที่สุด ผู้ที่เลื่อมใสในลัทธินี้ จะต้องแสดงออก หรือเผยแพร่อุดมการณ์นี้ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นแรงกระตุ้น จากจิตใต้สำนึก ของผู้ที่ฝักใฝ่ในลัทธินี้ ซึ่งจะมีการแสดงออก ในเชิงปรปักษ์ กับสถาบันพระมหากษัตริย์ อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าผู้นั้น จะสามารถข่มไว้ ภายใต้จิตสำนึกของตน ได้นานสักเพียงใดเท่านั้น ด้วยลักษณะทางจิตวิทยา ดังกล่าวแล้วนั้น ทำให้ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เผยแพร่อุดมการณ์ สู่สาธารณะ ในลักษณะทำลายสถาบัน ทั้งสองนั้นไว้ว่า

"คณะสงฆ์จะโดยรู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง ก็ไปยกย่องยกยอ พระมหากษัตริย์ แม้แต่ในเรื่องบุญญาธิการ พระก็อาจไปเทศน์ ทำให้เห็น พระมหากษัตริย์ นี่ได้สร้างสมบุญบารมีมามาก มีงานทีก็พูดสรรเสริญกัน ก็ทำให้ความรู้สึกเช่นนี้ ถูกเน้นชัดขึ้นมา กลายเป็นว่า พระนี่คอยยกย่องกษัตริย์ กษัตริย์ก็พอใจ ในการสรรเสริญเยินยอ มันก็เสริมซึ่งกันและกัน..."

ในด้านของจิตวิทยา ว่าด้วยจิตใต้สำนึกของ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ผมจะไม่ขอวิจารณ์ แต่จะยกคำพูด ที่ถูกนำมาเผยแพร่ แก่สาธารณชน เพื่อให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเอง ด้วยเหตุและผลทางวิชาการ ดังนี้

"อาตมาเคยสังเกตตัวเอง เช่น เวลามีโอกาสขึ้นไปที่สูงๆ ไปในที่ๆ เป็นหน้าผา อาตมาจะก้าวไป ให้หมิ่นเหม่ที่สุด เท่าที่จะทำได้ นี่เป็นลักษณะอย่างหนึ่ง ของจิตใจ คือทดลองก้าวไปให้ถึงจุด ที่จะไปต่อไม่ได้ จึงจะหยุด"

และในการประชุม "จิตสำนึกของชาวพุทธเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในฐานะศาสนาประจำชาติ" เมื่อวันที่ ๑ ก.ย.๒๕๓๗ ซึ่ง พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ซึ่งได้รับเชิญเป็นวิทยากรได้กล่าวว่า

"อาตมา ได้รับนิมนต์ให้มาพูดเรื่องพระพุทธศาสนา ในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติไทย...   อาตมาจะต้องทำความเข้าใจ กับที่ประชุมก่อนว่า ตัวอาตมานั้น ไม่ได้มาเพื่อที่จะร่วมรณรงค์ ในครั้งนี้ และว่าที่จริง อาตมาก็ไม่ได้สนใจ เรื่องการบัญญัติพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่ เหตุผลในการที่จะบัญญัติ พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ ไว้ในรัฐธรรมนูญ ก็ไม่เห็นด้วย"

ที่กล่าวมาทั้งหมดในส่วนนี้ เป็นเพียงการชี้ถึงปูมหลัง หรือแรงดลใจจิตใต้สำนึก ตั้งแต่สมัยเด็ก ส่งผลให้เกิดการกระทำ อย่างต่อเนื่องตลอดมา ซึ่งแม้จะมีการปรับเปลี่ยนวิธีการ ไปในแนวต่างๆ แต่อุดมการณ์ยังคงเดิม


(หน้าปก - - - สารบัญ - - - อ่านต่อ)

1