การแผ่อิทธิพลสร้างเครือข่าย
ยึดพื้นที่ทางสมองประชาชน

 

การกลืนศาสนา ไม่ใช่เรื่องที่กระทำได้ง่ายๆ ต้องใช้ความอดทน และใช้เวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเลือกสรรตัวบุคคล ต้องรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากประชาชนไทยส่วนใหญ่ ขณะนั้นเกือบ ๑๐๐% นับถือพุทธศาสนา และยังมีกฎหมายคอมมิวนิสต์ ไว้สำหรับลงโทษ ผู้ที่ทำลายพุทธศาสนาอีกด้วย ดังนั้นการทำงาน จึงต้องรอบคอบ เป็นพันเท่า ดังนั้นเป้าหมายหลัก ในชั้นแรกคือ กระทรวงศึกษาธิการ อันมีกรมวิชาการ และกรมการฝึกหัดครู ซึ่งจะเป็นตัวจักรสำคัญ ในการเผยแพร่พุทธศาสนา แนวคริสเตียน ได้อย่างครอบคลุมทั่วประเทศ ในอนาคต

การวางแผนงานกลืนศาสนา ได้ถูกแบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน คือ

๑. จริงในเท็จ คือ การถอดถอนหลักสูตร ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาในกระทรวง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการศึกษาออกไป เพื่อให้เกิดการปรับปรุง หลักสูตรการศึกษา ในภายหน้า เพราะได้วิเคราะห์ไว้แล้วว่า จะต้องได้รับการต่อต้าน จากชาวพุทธที่ไม่เห็นด้วย

แต่เป้าหมายที่แท้จริง คือ การขยายเครือข่าย อำนาจบารมี ในกระทรวงศึกษาธิการ โดยการวางตัวบุคคล ที่จะสานต่อแผนงานไว้ ในตำแหน่งสำคัญ เพื่อประสานงาน ในอนาคตต่อไป

๒. เกาะติดซึมลึก เมื่อเป็นไปตาม ๑. ให้ส่งบุคลากรที่ได้จัดวางไว้พร้อมแล้วนั้น เข้าศึกษาโครงสร้าง การศึกษาทุกระดับ เพื่อร่างแผนการศึกษา ให้เอื้อประโยชน์ตามแผนการ

๓. ยาพิษชุบน้ำผึ้ง ใช้บุคลากรที่ได้สร้างไว้นั้น ควบคุมการดำเนินการ สนับสนุน สร้างภาพและสถานการณ์ เพื่อนำคำสอนของพระพุทธศาสนา แนวคริสเตียน (สัทธรรมปฏิรูป) ใช้เป็นหลักสูตร บังคับเผยแพร่ ในสถานศึกษา ทั้งประเทศ ให้บรรลุตามเป้าประสงค์ ยึดครองพื้นที่ทางสมอง ตามที่ระบุไว้ ในคำสั่งวาติกัน ๒ นั่นเอง

                           แผนปฏิบัติการขั้นที่ ๑ "จริงในเท็จ"                            

นายบุญสม มาร์ตินในปี พ.ศ.๒๕๒๐ สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย ได้ใช้ระบบการเมืองระหว่างประเทศ (ความลับทางทหาร กรณีการว่าจ้างคนไทย ไปรบในลาว ไทยการ์ด) โดยให้ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมนันท์ แต่งตั้ง นายบุญสม มาร์ติน ซึ่งเป็นคริสเตียน เป็นรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษา ด้านศาสนาใหม่ โดยถอดวิชาศีลธรรม ออกจากหลักสูตร บังคับทุกระดับชั้น ยกเลิกการบังคับ การสวดมนต์เช้า ก่อนเรียน (ดูโครงสร้างการศึกษา ภาคผนวก) เพื่อกำจัดการเจริญเติบโต ของพระพุทธศาสนา กลืนขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันดี ของประเทศชาติ พร้อมทั้งกัดเซาะ ทำลายคุณธรรมพื้นฐาน ของสังคมไทย เป็น ผลให้เยาวชนไทย ไม่ได้รับการศึกษาวิชาศีลธรรม และพระพุทธศาสนา มาตราบเท่าทุกวันนี้ และเยาวชนในขณะนั้น ปัจจุบันกลายเป็นผู้ใหญ่ ที่ต้องรับผิดชอบบ้านเมือง (ปัจจุบันประเทศชาติ จึงมีบุคคลประเภทไร้ศีลธรรม ขาดความละอายต่อบาป เป็นจำนวนมากมาย) ทุกขั้นตอนล้วนแล้ว แต่เป็นการวางแผน อย่างแยบยลที่สุด พร้อมกันนั้น ยังมีการปูพื้นฐานบุคลากร ในกระทรวงศึกษาฯ ไว้รองรับชุดทำงานต่อเนื่อง ตามนโยบายของวาติกัน ได้อย่างมากมาย จวบจนปัจจุบัน (๒๕๔๒) ซึ่งขณะนี้ บุคลากรเหล่านั้น ก็ล้วนแล้วแต่อยู่ในตำแหน่ง บริหารระดับสูง ของทุกกรมกอง ในกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งสิ้น

วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๓ รัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ออกประกาศอภัยโทษ เรียกว่า ประกาศ ๖๖/๒๓ ให้ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เข้ามาเป็น ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย โดยไม่มีความผิด ทำให้สมาชิกของ มูลนิธิโกมลคีมทอง สามารถกลับเข้าสู่ ประเทศไทยได้ ทั้งนี้รวมถึง พระราชวรมุนี (ป.อ. ปยุตโต) ก็กลับสู่ประเทศไทย ด้วยเช่นกัน

ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่า คริสต์ศาสนา ในประเทศไทย เปิดฉากโจมตีบุคลากร ในองค์กรปกครอง คณะสงฆ์ไทย รวมไปถึงการปลอมปนคำสอน ดูหมิ่น เหยียดหยาม พระธรรมคำสั่งสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างเป็นรูปธรรม  เป็นลักษณะ "มิชชั่น" แต่ก็ถูกต่อต้านและตอบโต้ อย่างรุนแรง จากพุทธศาสนิกชน จึงเปลี่ยนแผนใหม่ โดยเลือกเอา พระราชวรมุนี (ป.อ. ปยุตโต) ซึ่งเป็นสมาชิกอาวุโส ของมูลนิธิโกมลคีมทอง ออกมาเป็น ผู้ดำเนินการ โดยใช้หนังสือ "พุทธธรรม" เป็นเครื่องมือ พร้อมกับสมาชิกมูลนิธิฯ ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ในหนังสือ "พุทธธรรม" ร่วมกับบุคลากร ในกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้วางตัวไว้แล้วนั้น ร่วมกันผลักดัน ดำเนินการเผยแพร่ และส่งเสริม พระราชวรมุนี (ป.อ.ปยุตโต) ให้เป็นที่ยอมรับ แก่นักวิชาการ โดยกลุ่ม BOSTON จะให้การสนับสนุน ทางด้านการเมือง อย่างใกล้ชิด ภายใต้การควบคุม ของ สภาคริสตจักรฯ โดยมีเป้าหมาย ทำลายรากฐาน พระพุทธศาสนา อันเป็นหลักแห่งสังคมประชาชาติให้ได้

                                  สรุปภารกิจ แผนขั้นที่ ๑                                  

ได้ผลตามเป้าประสงค์ และเป็นบททดสอบว่า สามารถใช้การเมืองเป็นแกนนำ ในการปฏิบัติภารกิจ ได้ผลอย่างดีมาก ทำให้สามารถ ถอดหลักสูตรศีลธรรม ออกไปได้ พร้อมกับสามารถวางระเบิดเวลา สร้างปมปัญหา ให้เกิดการเรียกร้อง จากพุทธศาสนิกชน เพื่อแก้ไข หรือปรับปรุงหลักสูตร การศึกษาพุทธศาสนาใหม่ อันจะเป็นการเปิดทาง ให้บุคลากรที่เตรียมไว้ สามารถแทรกตัว เข้าในองค์กรการศึกษา ได้อย่างง่ายดาย ไร้ข้อพิรุธ

                   แผนปฏิบัติการขั้นที่ ๒ "เกาะติดซึมลึก"                     

แผนงาน "จริงในเท็จ" สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ตามที่ได้วางไว้ มีการต่อต้าน คัดค้าน ทั้งทางคณะสงฆ์ไทย และครูบาอาจารย์ ผู้สอนวิชาศีลธรรมเอง ปรากฏในเอกสารรายงาน "การพัฒนาหลักสูตรสังคมศึกษา ในส่วนที่ว่าด้วยพุทธศาสนา" ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ ๒๕๒๔ หน้า ๑๐

"หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช ๒๕๒๑ ได้นำไปใช้ครบ ๑ รอบ ปรากฏว่า มีผู้ห่วงใยต่อประเทศชาติ ศาสนา ทั้งในรูปขององค์กร และบุคลากรต่างๆ ให้ข้อสังเกตุว่า หลักสูตรใหม่ เน้นเรื่องศีลธรรม และจริยศึกษาน้อยเกินไป จนถึงกับกล่าวว่า ไม่สอนพุทธศาสนาแล้วหรืออย่างไร?

ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้มอบหมายให้กรมการศาสนา เชิญผู้แทนของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ มาประชุมหารือ เพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไข"

ดร.ธนู แสวงศักดิ์ดร.ธนู แสวงศักดิ์ อธิบดีกรมการศาสนา จึงจัดประชุมขึ้นเรียกว่า "การประชุมหารือ เกี่ยวกับหลักสูตร พระพุทธศาสนา ครั้งที่ ๑/๒๕๒๔" โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ๒๖ คน มีผู้น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ พระราชวรมุนี (ป.อ.ปยุตฺโต)

ผลการประชุมได้ให้ ดร.ธนู แสวงศักดิ์ อธิบดีกรมการศาสนา นายสิริ เพชรไชย ผู้อำนวยการกองศาสนศึกษา จัดพิมพ์หนังสือ ส่งเสริมเผยแพร่พุทธจริยธรรม (โปรดสังเกตุคำว่า "พุทธจริยธรรม") เพื่อเป็นคู่มือในการพัฒนาจริยศึกษา ในโรงเรียนทั่วประเทศ มีจำนวน ๔ เล่ม คือ

๑. คำอธิบายหลักจริยธรรมสำหรับชั้นมัธยมศึกษา
๒. พุทธธรรม
๓. การจัดจริยศึกษาในโรงเรียน
๔. ตอบปัญหาทางพุทธศาสนา
๕. หลักการปลูกฝังศีลธรรมและจริยธรรมแก่นักเรียน

หนังสือ "พุทธธรรม" นี้ กรมการศาสนาได้มอบให้ พระราชวรมุนี (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นผู้เรียบ เรียง โดยได้มีการตรวจสอบ ความถูกต้องของข้อความ ในต้นฉบับ เปรียบเทียบกับ พระไตรปิฎกเถรวาท โดยท่านอธิบดีกรมการศาสนา และผู้กล่าวนามข้างต้น ซึ่งนับว่า เป็นฉบับที่ถูกต้อง ตามหลักพุทธศาสนา มีทั้งหมด ๒๐๖ หน้า โดยหนังสือ "พุทธธรรม" จะใช้เป็น คู่มือครูสอนจริยธรรม ในโรงเรียน และหน่วยเผยแพร่ศีลธรรม และเป็นหนังสืออ่านประกอบ การศึกษาด้านศีลธรรม ของนักเรียนนักศึกษา และประชาชน ผู้สนใจทั่วประเทศ

หนังสือพุทธธรรมด้วยความถูกต้องของ "พุทธธรรม" ฉบับพิมพ์โดยกรมการศาสนานี้เอง ทำให้ฉบับนี้ ไม่มีการอ้างอิง ถึงในการพิมพ์ครั้งต่อๆ มาทั้งสิ้น เพราะไม่มีการปลอมปน อาจเป็นเพราะ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) กลัวว่า หากมีผู้นำฉบับนี้มาเทียบเคียง กับฉบับใหม่ จะมีข้อความที่ขัดแย้งกันเอง ไม่เพียงไม่อ้างอิงนั้นเท่านั้น พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ยังเผยแพร่ข้อความว่า "...หนังสือพุทธธรรม ที่กรมการศาสนาจัดพิมพ์นี้ มีข้อความไม่ถูกต้อง และเป็นการถือวิสาสะจัดพิมพ์เองโดยไม่บอกกล่าว ต่อเจ้าของลิขสิทธิ์" ??? (ปรากฏตามคำนำ การพิมพ์หนังสือ พุทธธรรม ครั้งที่ ๕ (๒๐๖ หน้า) ลงนามโดย พระราชวรมุนี (ป.อ.ปยุตฺโต) ๒๒ ก.ค.๒๖) จึงนับเป็นเรื่องแปลกประหลาด เรื่องหนึ่ง และไม่ปรากฏว่า มีการอ้างอิงหนังสือ "พุทธธรรม" ๒๐๖ หน้า ซึ่งจัดพิมพ์ในปี ๒๕๒๖ ณ ที่ใดอีกเลย (ยิ่งไปกว่านั้น ในการพิมพ์ ๒๐๖ หน้า ซึ่งไม่มีการปลอมปนนั้น มีการพิมพ์เกินกว่า ๑๐ ครั้ง เช่นที่นำมาแสดงนี้ ก็ไม่มีการอ้างถึง ในฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๗ โดยมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ มูลนิธิพุทธธรรม พิมพ์ พ.ศ.๒๕๔๑ จึงไม่ปรากฏข้อความอ้างอิง ในการพิมพ์ทั้ง ๖ ครั้งที่ผ่านมาข้างต้นนั้น ทั้งนี้เนื่องจาก ได้มีการเพิ่มเติมข้อความ อันมิใช่เป็นหลัก แห่งพระพุทธศาสนา เข้าไปอย่างมากมาย คือจากเดิม ๒๐๖ หน้า กลายเป็น ๑๑๔๕ หน้า ซึ่งมิได้มีการตรวจทาน ความถูกต้อง โดยผู้รู้ทางพุทธศาสนา หรือหน่วยงานทางราชการ แต่อย่างใด และสิ่งที่มีพิรุธอย่างยิ่ง ก็คือ ได้ระบุเพียงว่า การพิมพ์ฉบับเดิมที่มีเพียง ๒๐๖ หน้านั้น มีเพียง ๒ ครั้งเท่านั้น คือ พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๑๔ และ พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๒๘ นี่คือสิ่งที่พึงสังเกตไว้ ก่อนที่จะเข้าสู่รายละเอียด การปลอมปนพระพุทธศาสนา ให้เป็นสัทธรรมปฏิรูป อันเป็นเหตุให้ไม่มีการอ้างถึง การพิมพ์ฉบับที่ถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย ของพุทธศาสนาไว้เลย

ในการประชุมวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๒๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องประชุมกรมการศาสนา (ชั้น ๒) เรื่อง "รายงานการปรึกษาหารือ เกี่ยวกับหลักสูตร พระพุทธศาสนา ครั้งที่ ๑/๒๕๒๔ " ที่น่าสนใจคือ นายธนู แสวงศักดิ์ อธิบดีกรมการศาสนา เป็นประธานการประชุม พระราชวรมุนี (ป.อ.ปยุตฺโต) ที่ปรึกษา นายพงษ์เชษฐ์ จิระชุณห์ สภาความมั่นคงแห่งชาติ นายปรีชา วรรณขจร แทนอธิบดี กรมประมวลข่าวกลาง สิ่งที่น่าจะสังวรณ์ สำหรับในคำกล่าวเตือน ของที่ประชุม คือ

นายพงษ์เชษฐ์ จิระชุณห์ สภาความมั่นคงแห่งชาติ เสนอว่า "ผมขออนุญาต แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับพุทธศาสนา ที่จะมีผลกระทบ ต่อความมั่นคงของชาติ ในด้านสังคมจิตวิทยา คือการที่ประชาชน ไม่รู้ไม่เข้าใจ เกี่ยวกับพุทธศาสนา เป็นช่องทาง ให้เกิดการแทรกแซง โดยอาศัยลัทธิศาสนาอื่น อย่างเช่นการแอบอ้าง เข้าไปเผยแพร่ลัทธิศาสนา แล้วยุยงพวกชาวเขา.... อีกอย่างหนึ่ง การที่ประชาชนในสังคม มีการศึกษาสูงอย่างเดียวนั้น ไม่เป็นการเพียงพอ ถ้าขาดศีลธรรม ก็จะเป็นอันตราย คือมีแต่ความรู้ แต่ไม่มีความยับยั้งชั่งใจ ก็จะก่อให้เกิดความวุ่นวาย ทางสังคมได้ การที่เรามีการส่งเสริม ให้มีการจัดหลักสูตรทางพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ แก่คนในชาติ จะช่วยให้รักษา ความมั่นคงของชาติอยู่ได้ ดังนั้นในแง่ของความมั่นคงแล้ว ผมคิดว่า การจัดให้มีหลักสูตร ทางด้านศาสนาพุทธ เพื่อให้เยาวชนของชาติ ได้ศึกษา เป็นสิ่งที่ควรแก่การกระทำ เป็นอย่างยิ่ง อันจะก่อให้เกิดความมั่นคง แก่ประเทศชาติสืบไป"

นายปราโมทย์ สัตยากร สภาความมั่นคงแห่งชาติ เสนอว่า "ในทัศนะของความมั่นคงของชาติ ที่จะจัดหลักสูตรพุทธศาสนา อย่างแท้จริงนั้น ไม่ใช่สิ่งที่เราจะมาถกเถียงกัน ว่าควรหรือไม่ควร แต่เป็นสิ่งที่ต้องกระทำ เป็นอย่างยิ่ง เพราะว่า นโยบายความมั่นคงของชาติ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ กำหนดไว้ชัดเจนว่า เป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาฯ ที่จะต้องทำ

อนึ่งในปัจจุบัน ได้มีการนำเอาลัทธิศาสนาอื่น เข้ามาปลอมปน แอบอ้าง บังหน้า หาผลประโยชน์"

      อธิบดีกรมการศาสนายืนยัน มีการปลอมปนคำของพุทธศาสนา ในหลักสูตรการสอนวิชาศีลธรรม       

ในวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๕ ศ.ดร.ธนู แสวงศักดิ์ อธิบดีกรมการศาสนา ได้ให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับเรื่อง "หลักสูตร พระพุทธศาสนา" ว่า หนังสือศีลธรรม

" ในหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ (๒๕๒๕) ถ้ากล่าวโดยส่วนรวมแล้ว เรื่องของ พระพุทธศาสนา ไม่ว่าระดับประถม มัธยมตอนต้น ตอนปลาย มีปรากฏให้เรียน เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และถ้าจะใช้ความสังเกต สักเล็กน้อย จะเห็นว่าคำว่า พระพุทธศาสนา ก็ดี คำว่า ศีลธรรมก็ดี ไม่ค่อยจะมีใช้ แต่จะมีคำว่า จริยธรรม คุณธรรม ค่านิยม ลักษณะนิสัย ฯลฯ ไม่ใช่คำในพุทธศาสนา เป็นคำซึ่งแปลมาจาก ภาษาต่างประเทศ มาใช้แทน จึงดูขัดกับหลักการใหญ่ ที่ว่าหนังสือหน้าที่พลเมือง คนไทยมีพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ แต่หลักสูตร ที่ให้นักเรียนเรียน ไม่มีคำทางพุทธศาสนา เข้าไปใช้ อีกไม่นานเกินรอ เยาวชนไทย จะไม่มีความรู้ ทางพุทธศาสนาเพียงพอ และนั่นหมายถึง ความไม่มั่นคงของ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เพราะพระพุทธศาสนา เป็นสถาบันที่เป็น รากฐานสำคัญของชาติ คือคนไทยทั้งปวง จะอยู่ร่วมกันได้อย่าง ร่มเย็นเป็นสุข แต่ถ้าคนไทย ไม่เห็นความสำคัญ ของพุทธศาสนา ก็เรียกว่า ล้มลงแล้วทั้ง ๒ สถาบัน..."

                                สรุปภารกิจ แผนขั้นที่ ๒                              

ดังได้กล่าวไปแล้วว่า นี้เป็นแผน "เกาะติดซึมลึก" ดังนั้นการประชุม เพื่อปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา เพื่อนำเอาพุทธศาสนา กลับเข้ามาให้นักเรียน ได้เรียนนั้น จึงเป็นไปตามแผน ที่ได้วางไว้ พระราชวรมุนี (ป.อ.ปยุตโต) บุคลากรที่ได้จัดวางตัวไว้แล้วนั้น สามารถแทรกเข้าสู่ที่ประชุม และยิ่งไปกว่านั้น สามารถที่นำเอาหนังสือ "พุทธธรรม" ที่ขบวนการล้มพุทธ ต้องการปลอมปน ในอนาคต มาใช้เป็นคู่มือครูในการสอนพุทธศาสนาได้สำเร็จ

               แผนปฏิบัติการขั้นที่ ๓ "ยาพิษชุบน้ำผึ้ง"               

ในปี ๒๕๒๕ ซึ่งประเทศมหาอำนาจ ประสานงานกับองค์การคริสเตียนฯ เริ่มโครงการ Change Human Mankind Project โดยแยกการทำงาน ออกเป็น ๒ กลุ่ม คือกลุ่มที่ ๑ เรียกว่า "กลุ่ม BOSTON ทำหน้าที่กลืนเศรษฐกิจ การเมือง ส่วนกลุ่มที่ ๒ ทำหน้าที่กลืนด้านศาสนา กลุ่มที่ ๑ จะสนับสนุนกลุ่มที่ ๒ ทางด้านการเมือง ในการออกกฎหมาย เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มที่ ๒ และทั้งนี้กลุ่มที่ ๒ จะต้องมีหน้าที่นำเสนอ แนวทางสร้างความเชื่อ ทั้งนี้ต้องเอื้อประโยชน์ ให้กลุ่มที่ ๑ พร้อมกันไปด้วย โดยทั้งสองกลุ่ม ใช้รหัสร่วมคือ "เสรีภาพ และ สิทธิมนุษยชน" ในการเคลื่อนไหว ในด้านการเงิน บุคลากรและแผนงาน การวิเคราะห์ จะได้รับการสนับสนุนเต็มที่

สถาบันเทววิทยาแห่งประเทศไทย (คริสเตียน) วิทยาลัยพระคริสตธรรม จังหวัดเชียงใหม่ ได้มอบหมายให้ นาย ส.ศิวรักษ์ ไปเป็นวิทยากรสัมมนาในวัน นักบุญซิลแคลร์ ทอมสัน (แหล่งเดียวกันกับ ที่ออกหนังสือแอบอ้าง และปลอมปนพระสัทธรรม ในพุทธศาสนา ชื่อ "คริสตธรรม - พุทธธรรม" ตามที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว ตั้งแต่ต้น) ในหัวข้อ "ศาสนากับการพัฒนา" และจัดตั้ง คณะกรรมการศาสนา เพื่อการพัฒนา (ศพพ.) อันมีจุดมุ่งหมาย ในการปรับปรุงพระธรรมวินัย และองค์กรของ พุทธศาสนาเสียใหม่ ให้รองรับกับสถานการณ์ ในอนาคต ซึ่งโครงการดังกล่าว ได้วางไว้เรียบร้อย สำหรับอนาคตพุทธศาสนา ในประเทศไทย ซึ่ง ศพพ. นี้มีพระภิกษุสงฆ์ ในพุทธศาสนาเข้าไปร่วมกับองค์กร ที่จัดตั้งของคริสเตียนนี้ด้วย เช่น พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), พระศรีปริยัติโมลี, พระไพศาล วิสาโล, นายประเวศ วะสี และอีกหลายๆ คน ที่มีอุดมการณ์วิบัติ ที่ทำให้รัฐธรรมนูญ ในประเทศไทยปัจจุบัน ไม่มีพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ และรัฐจะต้องสนับสนุน ศาสนาอื่นด้วย ซึ่งแต่ก่อนมาไม่เคยมี พร้อมกันนั้น จะต้องออกกฎหมาย เปลี่ยนแปลงระบบ การปกครองคณะสงฆ์ไทย (มหาเถรสมาคม) กฎหมายอุปถัมภ์และคุ้มครองฯ มีการสร้างสถานการณ์ ทำลายคณะสงฆ์ และพระราชาคณะ ทุกรูปแบบ อันสร้างความแตกแยก ในพุทธศาสนาอยู่ในเวลานี้ (๒๕๔๒) ซึ่งสิ่งน่าสังเกตุก็คือ ภายหลังมีการจัดตั้ง ศพพ. ขึ้น พุทธศาสนาได้ถูกโจมตีทุกรูปแบบ พระภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนา ที่ได้รับการยอมรับนับถือศรัทธา จากประชาชน ถูกกล่าวโทษจับสึก หนังสือพิมพ์หลายฉบับ เริ่มโจมตี และลงข่าวบุคลากร ในพุทธศาสนาอย่างจาบจ้วง เสียหาย ตลอดเรื่อยมา และทวีความรุนแรง ขึ้นเรื่อยๆ จึงเจือสมกับการให้สัมภาษณ์ ของนาย ส.ศิวรักษ์ (อ้างไปแล้วแต่ต้น) ว่า มูลนิธิโกมลคีมทอง ได้รับการสนับสนุน จากองค์กรคริสเตียน นี่คือการเปลี่ยนแผนงาน และการเริ่มดำเนินการ ทางด้านพุทธศาสนา อย่างเป็นรูปธรรม สิ่งที่น่าสังเกต เป็นอย่างยิ่งก็คือ ในปีเดียวกันนั้น (๒๕๒๕) เป็นปีที่ประเทศมหาอำนาจ เริ่มใช้แผน Change Human Mankind Project โดยเป็นนโยบายของ สันตปาปา ได้จัดตั้งรางวัล "สันติภาพ" (ปรากฏตาม คำแถลงของ Mr. A. Badran รองผู้อำนวยการใหญ่ Unesco วันที่ ๒๐ ธ.ค.๒๕๓๗) ซึ่งช่วงเวลาปี ๒๕๒๕ นั้น พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ก็ได้รับ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย) ด้วย

ปี ๒๕๒๕ เป็นระยะเดียวกับที่มีการโจมตีพุทธศาสนาโดยกลุ่มศาสนาคริสเตียนนั้น ได้มีการปลอมปน คำสอนของคริสเตียน ลงในหนังสือ "พุทธธรรม" ด้วยการปรับแปลงนั้น ทำให้มีความหนาถึง ๑๑๔๕ หน้า ซึ่งเดิมมีเพียง เนื้อหา ๒๐๖ หน้าเท่านั้น และได้ทำการพิมพ์ ออกสู่สาธารณะ แต่เน้นหนักในด้านสถาบันศึกษา โดยเฉพาะวิทยาลัยครู โดยมีบริวารของ นายบุญสม มาร์ติน อดีต รมว. ศึกษาธิการ ซึ่งเป็นคริสเตียน เป็นผู้ประสานงาน

ที่สำคัญและน่าสนใจ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลสำหรับท่านผู้อ่าน สามารถนำไปค้นคว้าหาความจริงได้ ก็คือ พ.ศ.๒๕๒๗ สันตปาปา จอนห์ ปอลล์ ที่ ๒ ประมุขแห่งคริสต์ศาสนาคาทอลิค ได้เดินทางมายังประเทศไทย ผู้ที่ถูกกำหนดโดยเฉพาะเจาะจง ให้เป็น ล่ามฝ่ายสงฆ์ คือ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)

ปีต่อมา ๒๕๒๘ พระอุดรคณาภิรักษ์ (กิตฺติวุฑฺโฒ ภิกขุ) ผู้อำนวยการจิตตภาวันวิทยาลัย จ.ชลบุรี ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ ทางด้านอภิธรรม อย่างหาตัวจับได้ยากยิ่ง ในประเทศไทยยุคนั้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องเกี่ยวกับ การปฏิบัติทางจิต (สมาธิจิต) เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชน ได้ถูกแจ้งข้อหาว่า ปฏิบัติผิดพระธรรมวินัย มีหนังสือพิมพ์มติชน เป็นแกนนำ ได้เสนอข่าวโจมตี จนเป็นที่เสื่อมเสียในวงการ เป็นการทำลายภาพพจน์ ของพระพุทธศาสนาโดยองค์รวม (โดยเน้นหนักเกี่ยวเนื่องด้วย เรื่องการเงิน หรือกรณี ปรับอาบัติปาราชิก พระภิกษุในพุทธศาสนา ซึ่งใช้กรณีนี้ เป็นเครื่องมือทำลายคณะสงฆ์ไทย ตลอดมา) เป็นข่าวเผยแพร่ไปทั่วโลก ซึ่งต่อมา ได้มีการทำลายพระภิกษุสงฆ์ ในพุทธศาสนา ซึ่งสั่งสอนการปฏิบัติ ทางสมาธิจิตทุกองค์ ที่เป็นที่ศรัทธา ของประชาชนตลอดมา อย่างต่อเนื่อง นี่คือผลงาน การทำลายพุทธศาสนา เจตนาจะให้มีการ สึกพระราชาคณะ ชั้นผู้ใหญ่ ในพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการทำลายชื่อเสียง และภาพพจน์ในพุทธศาสนา แต่ปรากฏว่า ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากมิได้มีความผิดแต่อย่างใด (ตรวจสอบข้อมูลได้ ที่หอสมุดแห่งชาติ) เรื่องก็เงียบหายไป นสพ. ดังกล่าวนั้น ก็มิได้ขอขมาลาโทษ ต่อพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งตนและพรรคพวก นำความเสียหายมาให้ นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่เป็นไปตามขั้นตอน และ Time Table ของแผนงาน เป็นการทดสอบปฏิกริยา ของประชาชน ที่เป็นพุทธศาสนิกชน อันเป็นประชาชนส่วนใหญ่ ของประเทศ ทั้งยังเป็นการทดสอบอำนาจพลัง ของสื่อมวลชน ในการยึดครองพื้นที่ทางสมอง ซึ่งจำเป็นต้องใช้ ในอนาคตอีกด้วย

ใน พ.ศ.๒๕๒๘ สำนักพิมพ์สุขภาพใจ ได้ขอจัดพิมพ์ "พุทธธรรม" โดยระบุว่าเป็นการพิมพ์ครั้งที่ ๒ (เฉพาะครั้งนี้เท่านั้น ที่มีการอ้างอิงถึง ในหนังสือพุทธธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ.๒๕๔๑)

ในปี ๒๕๒๙ บุคคลร่วมในการดำเนินการพิมพ์ครั้งที่ ๓ (๑๑๔๕ หน้า) ซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มสำคัญ เพราะเป็นกลุ่มที่มีบทบาท ในการร่วมจัดทำหนังสือ "พุทธธรรม" และทำความเสื่อมเสียภาพพจน์ ต่อคณะสงฆ์ และพุทธศาสนาทั้งประเทศ ทั้งโดยตรง แเละโดยรวม ซึ่งจะเริ่มจากจุดนี้ เป็นหลัก คือ

๑. นายระวี ภาวิไล
๒. นายวรเดช อมรวรพิพัฒน์ ปัจจุบันคือ อนุกรรมการร่าง พรบ.สงฆ์ฉบับใหม่
๓. นายณรงค์ หอมจันทร์
๔. พ.ต.ทองขาว พ่วงรอดพันธ์ (เริ่มจัดรายการ "ธรรมร่วมสมัย" ๒๕๔๐)
๕. นายทรงวิทย์ แก้วศรี
๖. มูลนิธิพุทธธรรม

รับรางวัล Unescoมูลนิธิพุทธธรรม มีหน้าที่ดำเนินการสนับสนุน จัดพิมพ์เผยแพร่งานประพันธ์ ของพระศรีวิสุทธิโมลีเท่านั้น เริ่มมีการพิมพ์อย่างเป็นรูปธรรม เมื่อได้เลื่อนตำแหน่ง พระราชาคณะ เป็น พระเทพเวที และดำเนินการสนับสนุน การดำเนินงาน ทุกรูปแบบ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน และบุคคลที่ทำการแปล หนังสือ "พุทธธรรม" เป็นภาษาอังกฤษ คือ Mr. Bruce Evans กรรมการมูลนิธิ ซึ่งประชาชนทั่วไป ล้วนคิดว่า พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) เขียนเป็นภาษาอังกฤษเอง จึงไม่เป็นความจริง เพราะการรับรางวัล UNESCO Prize for Peace Education เมื่อ ๒๐ ธ.ค.๒๕๓๗ แต่ตามที่ปรากฏเป็นหลักฐานนั้น Mr.Bruce Evans แปลหนังสือในปี ๒๕๓๘ จึงเป็นคำถามว่า แล้วผู้ใดเป็นคนแปล เป็นภาษาอังกฤษ สำหรับส่งไปให้กับกรรมการ Unesco แสดงว่า ต้องมีบุคคลอื่น ดำเนินการร่วมแปลให้ (ข้อมูลตรงนี้ จึงมีคำถามว่า ใครคนนั้น คือผู้แปล...???) เนื่องจากว่า โดยธรรมชาติของการเขียนหนังสือ หรือวิทยานิพนธ์ ผู้มีประสบการณ์ จะทราบดีว่า คนเอเซียนั้น การใช้ภาษาอังกฤษ แม้ว่าจะเก่งกาจสักปานใด ก็เก่งแบบเอเซีย ภาษาที่ใช้นั้น ความลุ่มลึก จะไม่เหมือนกับเจ้าของภาษาเอง ยิ่งเป็นการเขียน โดยคนเอเซียเองด้วยแล้ว โอกาสที่จะให้ฝรั่งอ่านรู้เรื่อง สักเล่มหนึ่ง เป็นเรื่องยากมาก ผู้ที่ทำวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอก ในมหาวิทยาลัย ต่างประเทศ (อเมริกา) จะทราบได้เป็นอย่างดีว่า โหดแค่ไหน จึงไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดา จึงเป็นจุดสังเกตว่า รางวัลดังกล่าว ต้องมีที่มาที่ไป ไม่ใช่เรื่องปกติ ที่ควรเป็น ที่กล่าวนี้ ไม่ใช่หมายถึงดูถูก ภูมิปัญญาของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) แต่เป็นเรื่องของ ข้อแท้จริง ที่เป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนังสือที่เขียนนั้น เป็นแนวปรัชญาทางศาสนา ภาษาที่ใช้ ยิ่งต้องยากกว่าปกติ เพราะเป็นศัพท์เทคนิคทั้งสิ้น ฉะนั้นโดยประสบการณ์ เรื่องรางวัล UNESCO ต้องมีบางอย่างแอบแฝง อย่างแน่นอนว่า ใครแท้ที่เขียนภาษาอังกฤษ ในเอกสารนั้น (จากการวิคราะห์ ทางด้านภาษาศาสตร์โดยเฉพาะ)

สิ่งที่ต้องพิจารณาถึงเหตุผล ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ตามสามัญสำนึก และข้อแท้จริงก็คือ รางวัล UNESCO Prize for Peace Education ชื่อก็บอกอยู่ชัดๆ ว่าเป็นรางวัล ทางด้านการศึกษาโดยเฉพาะ แต่พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ไม่ได้เป็นอาจารย์สอน   ในมหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษาใดเลย นับแต่ปี ๒๕๑๙ ไม่เข้าข่ายคุณสมบัติที่ว่า "ต้องเป็นบุคคล ที่ดำเนินกิจกรรม ในการส่งเสริมการศึกษา..."   เพราะองค์การ UNESCO เป็นองค์กรเกี่ยวกับ ด้านการศึกษา และเมื่อไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว ก็ไม่อาจส่งชื่อเสนอได้ ดังนั้น หากต้องการให้พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้รับรางวัลนี้ จะต้องสร้างภาพของคุณสมบัติ ขึ้นมาให้ตรงตามที่ UNESCO กำหนดให้ได้ เมืองไทยซะอย่าง ทำอะไรไม่ยาก ลองพิจาณาดูด้วยเหตุผล ว่าเป็นไปได้หรือไม่ คือ

ในขณะที่มีการเผยแพร่หนังสือ "พุทธธรรม" ออกไปสู่สาธารณชนนั้น ได้มีการมอบปริญญา ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ได้ปริญญาโดยไม่ต้องเรียน) จากมหาวิทยาลัย อย่างต่อเนื่อง ดังนี้

ปี ๒๕๒๙ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มอบปรัชญาศิลปศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (นายเสรี พงษ์พิศ คริสเตียน ผู้สอนศาสนาปรัชญา เป็นผู้ดำเนินการ)

ปี ๒๕๒๙ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้มอบศึกษาศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาหลักสูตรและการสอน)

ปี ๒๕๓๐ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มอบปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาศึกษาศาสตร์ การสอน)

ปี ๒๕๓๑ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ได้มอบปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

ปี ๒๕๓๑ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มอบปริญญาภาษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาวิชา ภาษาศาสตร์)

ปี ๒๕๓๓ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒม์ ได้มอบการศึกษาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญา การศึกษา)

ปี ๒๕๓๖ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มอบปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

ปี ๒๕๓๗ มหาวิทยาลัยสงขลา ได้มอบศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

ประเด็นสำคัญก็คือว่า พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ไม่ได้เป็นอาจารย์สอนหนังสือ ประจำที่ใดเลย ภายหลัง พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นต้นมา และตลอดมา เพียงคุณสมบัติที่จะรับปริญญา ด้านการสอน ก็ไม่เข้าข่ายพิจารณาให้ปริญญาแล้ว นี่คือคำถามว่า หากไม่ใช่เป็นการสร้างภาพ เตรียมพร้อมเพื่อเสนอชื่อ รับรางวัล UNESCO แล้วจะให้เหตุผลอย่างไร ??? แสดงให้เห็นถึงความสุขุม รอบคอบ และมั่นคง ในการรอคอยของผู้วางแผนงานนี้ เป็นอย่างยิ่ง ที่มีความปราถนาสูงสุด ที่วางตัวบุคลากร ในพุทธศาสนา เพื่อการกลืนพุทธศาสนา ตามเป้าประสงค์ ในอนาคตต่อไป

สิ่งซึ่งแสดงให้เห็นความผิดปกติอีกอย่างหนึ่งก็คือ การแต่งตั้งเลื่อนสมณศักดิ์ ในระดับพระราชาคณะนั้น มิได้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ การพิจารณาของคณะสงฆ์ไทย ซึ่งมีหลักเกณฑ์ว่า

๑. ต้องเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปริยัติธรรม สำหรับภิกษุสามเณรเรียนบาลี ภายในวัดของตน

๒. ภิกษุสามเณรผู้ได้เข้าศึกษานั้น สอบได้เปรียญธรรมมากรูป

๓. ก่อสร้างศาสนวัตถุสำหรับพุทธศาสนา โบสถ์ วิหาร หรือโรงเรียน

แต่ไม่ปรากฏว่านับแต่ปี ๒๕๒๔ ตราบจนปี ๒๕๓๘ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) ไม่เข้าคุณสมบัติข้อใด อันอาจอ้างเป็นกรณี ที่สามารถให้เป็นข้อกำหนด ให้คณะสงฆ์เลื่อนชั้น พระราชาคณะ เป็นชั้นเทพ และชั้นธรรมได้เลย จากสถานการณ์ และพยานแวดล้อม จึงเชื่อได้ว่า เป็นไปได้ที่อาจมีการใช้อำนาจ หรืออิทธิพลบางประการ จากภายนอก บีบคั้นคณะสงฆ์ผู้พิจารณา เสนอเลื่อนสมณศักดิ์ให้ จำเป็นจำใจ ต้องดำเนินการเสนอ เลื่อนชั้นพระราชาคณะ ให้กับพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เพื่อเป็นการสร้างภาพ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะต้องนำไปใช้เป็นเครื่องมือ ใช้เป็นบุคลากร แกนหลักของขบวนการ ด้านศาสนา ในอนาคตนั่นเอง

               คำถามที่ต้องหาคำตอบ ในกรณีกรมการฝึกหัดครูและกรมวิชาการ               

นายนิเชต สุนทรพิทักษ์ปี พ.ศ.๒๕๓๗ นายนิเชต สุนทรพิทักษ์ ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของ นายบุญสม มาร์ติน และเป็นผู้รับผิดชอบ การปฏิบัติงาน ยกร่างหลักสูตร และสื่อการเรียน ระดับมัธยมศึกษา (คำสั่งที่ วท.๒๘๕/๒๕๒๐ อันต่อเนื่องมาจาก รัฐมนตรีคนเก่า) ความใกล้ชิด ระหว่างบุคคลทั้งสอง เห็นได้จากหนังสือ ๑๐๐ ปี การฝึกหัดครูไทย จัดทำโดยนายนิเชตฯ ได้ยกย่อง นายบุญสม ให้เป็นถึง บิดา ในขณะที่ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ผู้มีคุณูปการแก่การศึกษาไทย เป็นอย่างยิ่ง กลับถูกกล่าวถึง เพียงเป็นผู้ส่งเสริม เท่านั้น นายนิเชตฯ เป็นผู้ดำเนินการเสนอชื่อ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ให้ได้รับรางวัล "สันติภาพ" UNESCO (นายบรรหาร ศิลปอาชา แต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิก ในปี ๒๕๓๘ หลังปลดเกษียณราชการ แห่งเดียวกับ นายสมพร เทพสิทธา นายกสมาคมยุวพุทธิกสมาคม แห่งประเทศไทย ซึ่งมีบทบาทอย่างยิ่ง ในการทำลายภาพลักษณ์ ของพระพุทธศาสนา ในปี ๒๕๔๒ กรณีวัดพระธรรมกาย) และเอกสารที่นำเสนอต่อ UNESCO นั้นก็คือ หนังสือ "พุทธธรรม" ซึ่งเป็นเรื่องแปลกอย่างยิ่ง เมื่อปรากฏข้อมูลทางการว่า "ยังแปลเป็นภาษาอังกฤษ ไม่เสร็จ" (ชีวิตและงาน ผู้ทรงคุณวุฒิ ทางวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๓๘ หน้า ๔๓) จึงเป็นคำถาม ที่เกิดขึ้นว่า เหตุใดจึงได้รับรางวัล? หนังสือพุทธธรรม ที่ส่งไปเพื่อรับรางวัลนั้น เป็นฉบับไหน? และใครแปล? พุทธหรือคริสต์??

ก่อนที่จะกล่าวถึงหนังสือ "พุทธธรรม" ต่อไป เพื่อความกระจ่าง และอาจเป็นกุญแจ ในการไขปัญหาหลายๆ อย่างได้ โดยท่านผู้อ่านเอง จึงขอลงลึกไปในข้อมูล เฉพาะของนายนิเชต ในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับขบวนการนี้ อันปรากฏตามหลักฐานสาธารณะ มีว่า นายนิเชต เป็นกรรมการของ มูลนิธิภูมิปัญญาไทย ซึ่งมี นายประเวศ วะสี เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง เช่นเดียวกับ มูลนิธิโกมลคีมทอง (ซึ่งมีอุดมการณ์ ทำลายสถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จนเจ้าหน้าที่ทลายทิ้งไป ในปี ๒๕๑๙ อันมี นาย ส.ศิวลักษณ์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง มูลนิธิโกมลคีมทอง ด้วยเช่นกัน...ดูภาคผนวก) และมูลนิธิภูมิปัญญาไทย ร่วมกับ มูลนิธิโกมลคีมทอง ได้จัดสัมมนา โจมตีมหาเถรสมาคม พระพุทธศาสนา วัฒนธรรมและประเพณีไทย โดยยกกรณีธรรมกาย เป็นข้ออ้างในการสัมมนา ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพฯ เมื่อต้นปี ๒๕๔๒ อีกด้วย นี่คือความเชื่อมโยงกัน ของมูลนิธิทั้งสอง และตัวบุคลากร


(หน้าปก - - - สารบัญ - - - อ่านต่อ)

1