ศาสดาธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) |
|
สิ่งที่พระพุทธศาสนาเหนือกว่าศาสนาอื่นอยู่ตรงที่มีแนวทางให้ปฏิบัติถึง "นิพพาน" อันเป็นการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งเรียกว่า "วัฏฏสงสาร" ซึ่งผู้ที่จะบรรลุได้นั้น จะกระทำได้โดยวิถีทางเดียวคือการปฏิบัติเท่านั้น ซึ่งศาสนา อื่นไม่มี แน่นอนที่สุด หากว่าจะทำลายพระพุทธศาสนาให้ได้นั้นต้องทำลายความหมายของ "นิพพาน" ให้ได้ โดย ๑.โจมตีการปฏิบัติสมาธิจิต อันเป็นวิถีทางเดียวที่จะให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงหนทางแห่งการพ้นทุกข์ หมดกิเลศ อาสวะ มีพระนิพพานเป็นที่สุด ให้เกิดความสับสนและไม่ปฏิบัติสมาธิจิต ซึ่งจะเห็นได้จากการออกหนังสือ "กรณีธรรมกาย" โจมตีว่า "สมาธิเป็นยาเสพติด การปฏิบัติทางสมาธิจิต เป็นอันตราย ต่อการพัฒนา เป็นอันตรายเหมือนคนเสพยา" เป็นต้น ทำให้ผู้คนหวาดกลัวต่อการปฏิบัติสมาธิ ทั้งนี้โดยอาศัยการสร้างภาพ โดยขบวนการล้มพุทธ ซึ่งแทรกตัวอยู่ในสื่อสารมวลชนช่วยกันทำลาย ซึ่งหากสำเร็จแน่นอนที่สุด จะไม่มีผู้ใดปฏิบัติตามพุทธองค์ทรงกำหนดชัดว่า สมาธิคือแนวทางปฏิบัติไปสู่พระนิพพาน และมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพระพุทธศาสนา ซึ่งหากพระพุทธศาสนาปราศจากหลักวิธีการทำสมาธิจิตแล้ว พระพุทธศาสนาก็จะไร้คุณค่าโดยสิ้นเชิง ๒.ทำลายพระไตรปิฎกบาลีเถรวาท โดยการทำให้คลาดเคลื่อนความ หมายเสียใหม่ ให้พระพุทธพจน์คลาดเคลื่อนผิดเพี้ยนไปจากเดิม เพื่อให้สอดรับกับ แนวการสอนของตน ซึ่งจะต้องสามารถมีคำอธิบายได้ว่า "นิพพาน" ไม่ต้องปฏิบัติสมาธิก็สามารถบรรลุได้ ทั้งนี้ เพื่อเหยียบย่ำ "นิพพาน" ให้ต่ำกว่า "ความตายคือการกลับไปสู่พระเจ้าอันเรียกว่า "อุตมภาวะ" (Aschatology) โรมา 12:4-10" โดยใช้คำว่า "อนัตตา" เป็นหลักในการทำลายคำว่า "นิพพาน" ของพระพุทธศาสนา ความอหังการและความเชื่อมั่นในองค์กร บุคลากร และขบวนการล้มพุทธ ที่ทรงอิทธิพล ทั้งทางธุรกิจ และทางการเมือง ที่องค์กรนอกศาสนาได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้นนั้นว่า มีพลังพอที่จะกดให้พุทธบริษัทชาวไทย สยบยอมหวาดกลัว และหลงเชื่อในภาพพจน์ได้ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อกลืนพระพุทธศาสนานั้น ทำให้พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) กล้าที่จะจาบจ้วง และหักล้างพุทธพจน์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในส่วนที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศานาในส่วนของนิพพาน อย่างไม่เกรงกลัวต่อผู้ใดในแผ่นดิน ดังแสดงความคิดเห็นปรากฏเป็นหลักฐานในหนังสือ "พุทธธรรม" ฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งที่ ๗ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๔๑ หน้า ๓๔๓ ความว่า "ถ้าไปยึดนิพพานเป็นอัตตา ก็จะได้ภาพที่บิดเบือนของนิพพาน ซึ่งเคลือบด้วยตัณหาของตน ซึ่งไม่ใช่นิพพานตัวจริง คือยังไม่ถึงนิพพานนั่นเอง....." จากข้อความการนำเสนอของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ดังกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่าเป็นการย้ำเน้นความหมายของ "นิพพาน" จะเป็น "อัตตา" ไม่ได้ นั่นหมายถึงต้องเป็น "อนัตตา" เท่านั้น ซึ่งขัดต่อพุทธพจน์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันปรากฏในพระไตรปิฎกบาลีเถรวาทโดยแจ้งชัด คำถามก็คือว่า พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นใคร เป็นพระพุทธเจ้าหรือเปล่า? เป็นพระอรหันต์หรือเปล่า? เป็นใครกันแน่? เป็น "ไวรัสศาสนา" หรือเปล่า? ทำไมจึงกล้าจาบจ้วง บิดเบือน และหักล้างพุทธพจน์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกทั้งเน้นย้ำ "อนัตตา" รวมไปถึงการโจมตีผู้ที่เชื่อ หรือสอนว่า "นิพพาน เป็น อัตตา" อย่างรุนแรงเพราะอะไร? ท่านผู้อ่านสงสัยไหมครับว่า ทำไมผมจึงตั้งคำถาม เช่นนี้ นั่นก็เพราะว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดา แต่เป็นการตั้งศาสนาใหม่เลยทีเดียว โดยมีพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นศาสดาในศาสนาใหม่ ผมกล่าวเกินความจริงไปหรือเปล่า? ไม่ครับ นี่คือความจริง เพราะพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) กำหนดความหมาย "นิพพานเป็นอนัตตา" จึงได้ทำให้คลาดเคลื่อนจากแก้ไขหัวใจของพระพระพุทธศาสนา อันเป็นพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นที่สถิตย์แห่งพุทธพจน์และพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเดิมปรากฏในพระไตรปิฎกบาลี เถรวาท สุตฺต.สํ. สฬายตนวคฺโค ๑๘/๕/๓ ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา" (รูปา ภิกฺขเว ทุกขา ยํ ทุกขํ ตทนตฺตา ยทนตฺตา ตํ เนตํ มม เนโสหมสฺมิ น เมโส อตฺตาติ เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญาย ทฏจพฺพํ ฯ สทฺทา คนฺธา รสา โผฏจพฺพา ธมฺมา ทุกฺขา ยํ ทุกฺขํ ตทนตฺตา ยทนตฺตา ตํ เนตํ มม เนโสหมสฺมิ น เมโส อตฺตาติ เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญาย ทฏจพฺพํ ฯ เอวํ ปสฺสํ ฯเปฯ นปารํ อิตฺถตฺตายาติ ปชานาตีติ ฯ ปญฺจมํ ฯ) ความหมายของพระพุทธพจน์นี้คือ รูป เสียงกลิ่น รส สัมผัส นั้น ทำให้เกิดเป็นทุกข์ อันเป็นวังวนของวัฏฏสงสาร จึงมีสภาพเป็น "อนัตตา" แต่ "นิพพาน" นั้นหลุดพ้นจากสภาพแห่ง รูป เสียง กลิ่น รส กิเลศ อาวสวะ ไม่มีการเกิดแก่เจ็บตาย พ้นจากวัฏฏะสงสารโดยสิ้นเชิง จึงมีสภาพเป็นสุข เที่ยงแท้ และมิใช่มีสภาพเป็น "อนัตตา" อย่างแน่นอนไม่ว่าโดยอรรถหรือพยัญชนะอันนำมาแสดงนี้ แต่พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ได้กล่าวโจมตีวิธีปฏิบัติสมาธิจิต ไว้ในทุกบทความ ข้อเขียน และเทศนา ปาฐก ทุกสถานที่ ว่าเป็นสมาธิเป็น ยาเสพติด เป็นอันตราย ไม่ใช่หนทางบรรลุนิพพาน ดังนั้น เมื่อพระพุทธพจน์ของพุทธองค์ทรงสั่งสอนในพระไตรปิฎกว่า หากจะเข้าถึงนิพพานได้ต้องปฏิบัติสมาธิจิต ก็ขัดกันกับหลักศาสนาใหม่ที่พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ตั้งขึ้นมาโดยตนเองเป็นศาสดา จึงต้องทำให้คลาด เคลื่อนพระไตรปิฎกเสียใหม่ โดยหักล้างพระพุทธพจน์ ปรากฏในพระไตรปิฎกฉบับมหิดล เห็นไหมครับว่า "นิพพาน" ของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ก็คือ "อนัตตา" เมื่อ รูป เวทนา กิเลศ ทั้งหลาย เป็น "อนัตตา" เสียแล้วเช่นนี้ การเข้าถึงนิพพานของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ซึ่งไม่ต้องลำบากไปนั่งปฏิบัติ สมาธิจิตให้เมื่อย (เพราะพระธรรมปิฎก ตั้งแต่เกิดก็ไม่เคยปฏิบัติทางจิตในสำนักใดเลย) นี่แหละคือที่มาของการสร้างกระแสสั่งสอนว่า "นิพพาน เป็น อนัตตา" ฉะนั้นก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติอะไร เพราะสิ่งที่เป็นทุกข์ก็เป็นอนัตตา ซึ่งพระธรรมปิฎกว่า เป็นนิพพานอยู่แล้ว ทั้งนี้เพราะเจตนาต้องการบิดเบือนพุทธพจน์ให้เข้ากันได้กับคริสต์เตียน ดังปรากฏเป็นหลักฐานในคำสอนของคริสเตียนซึ่งได้ได้กล่าวแนวทางเกี่ยวกับ "อนัตตา" ไว้ว่า "อนัตตา" นี้ เช่นเดียวกับการถูกตรึงบนไม้กางเขนอันเป็นหัวใจในชีวิตของพระเยซู เมื่อไม่มีการตรึงที่กางเขน การคืนพระชนม์ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าเราไม่สลัดทิ้งความเป็นตัวตนของเราเสีย ความเต็มบริบูรณ์ของชีวิตใหม่ของ เราก็เกิดขึ้นไม่ได้ นี่คือการเปลี่ยน แปลงจากมนุษย์เก่ามาเป็นมนุษย์ใหม่ตามคำสอนของเปาโล ตามอุดมคติของคริสต์ศาสนา คือเป็นชีวิตใหม่ซึ่งชีวิตเก่าได้ถูกตรึงแล้ว" (บาทหลวง โดนาลด์ เด สแวเรอร์วิทยาลัยพระคริสตธรรม สภาคริสจักร ณ ประเทศไทย จ.เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๑๖ ) นี่คือความหมายใหม่ "อนัตตา" หากท่านผู้อ่านได้ติดตามมาแต่ต้นคงทราบดีว่า พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) จะเป็นผู้ชี้นำให้เห็นว่า "นิพพาน" นั้นเป็น "อนัตตา" เมื่อพิจารณาตามหลักวิชาการ และตรรกวิทยาจะเห็นได้เป็นอย่างดีว่า เมื่อสังขารเป็นอนัตตา เทียบกับ นิพพานเป็นอนัตตา นั่นก็คือ สังขารคือนิพพาน ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สภาพของนิพพานจึงต่ำกว่าอุตมภาวะ ของคริสเตียน นอกจากจะเป็นการขัดกับพุทธพจน์โดยแจ้งชัดดังได้อธิบายแล้วนั้น ยังทำลายหัวใจของพระพุทธศาสนาโดยการเปลี่ยนพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกให้เห็นว่า "นิพพาน" ก็คือ การถูกตรึงไม้กางเขนของพระเจ้า ยิ่งไปกว่านั้น พระพุทธศาสนามีแค่นิพพานคือแค่พระเยซูถูกตรึงไม้กางเขนเท่านั้น ก็ถือว่าสูงที่สุดของพุทธศาสนา แต่คริสต์ศาสนากลับมีอุตมภาวะ ซี่งสูงยิ่งกว่านิพพานเสียอีกด้วยซ้ำ นี่คือการทำลายพระพุทธศาสนาอย่างถอนรากถอนโคน โดยสมบูรณ์แบบ ทั้งนี้ก็เพราะว่าพุทธบริษัทย่อมอาศัยพระไตรปิฎกเป็นหลักปฏิบัติ และยึดถือรับรองว่าถูกต้อง แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไประยะหนึ่ง เมื่อมีการอ้างอิงทางวิชาการศาสนาขึ้นมาแล้ว หากมีผู้ยกพระไตรปิฎก CD-ROM ที่ได้พยามสร้างภาพขึ้นว่าถูกต้องที่สุดโดยพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) นี้ ก็จะได้ข้อความว่า "นิพพานของพระพุทธศาสนาต่ำกว่า "อุตมภาวะ" ของคริสต์เตียน" ดังนั้นเราจึงได้เห็นการใช้อิทธิพล ข้าราชการของรัฐ อำนาจมืด และสื่อมวลชนทุกๆ ด้าน โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องและความรู้สึกของพุทธศาสนิกชนในประเทศไทย เพราะนี่คือการล้มพระพุทธศาสนาทั้งศาสนา จึงมีคำถามว่านี่คือการทำลายและเหยียบย่ำพระพุทธศาสนา ใช่หรือไม่ ? หากท่านผู้อ่านได้พิจารณาจากเหตุผลหลักฐาน ก็จะรู้ถึงเจตนาของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ในการแก้ความหมายของคำว่า "นิพพาน เป็น อนัตตา" โดยปราศจากข้อสงสัยว่า เป็นการเปลี่ยนศาสนาทั้งศาสนาตามคำสั่งของ VATICANCOUNCIL 2 ข้อ 7:15 ที่ว่า "ภารกิจของงานเผยแพร่แบบมิชชั่น ไม่จำกัดอยู่ที่การเปลี่ยนใจบุคคลทีละคนให้มานับถือคริสต์ศาสนาต่อไปแล้ว แต่ภารกิจในบัดนี้คือ การเปลี่ยนศาสนาทั้งศาสนาให้มาเป็นคริสต์ศาสนา" เหตุและปัจจัยทำให้พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) จงใจที่จะหักล้างพุทธพจน์ ด้วยจุดประสงค์ให้ข้อความในพระไตรปิฎก (ฉบับสัทธรรมปฏิรูป) ที่ตนเองสร้างขึ้นนั้น สอดคล้องรองรับกับถ้อยคำที่ตนเองสอนอันเป็นแนวทางของคริสเตียน ตามหลักฐานนี้ และไม่มีสิทธิปฏิเสธใดๆ ในการทำให้คลาด เคลื่อนพระพุทธวัจนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันตรัสไว้ดีแล้ว ทั้งสิ้น ในเมื่อพระสัมมาพุทธเจ้า บรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา ผู้เป็นโลกวิทู ตรัสรู้ดีตรัสรู้ชอบพระพุทธองค์ทรงมีพุทธพจน์ถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ กับพระโมคคัลลานะ มหาอัครสาวกเบื้องขวา ณ โฆสิตาราม เมืองโกสัมพี ปรากฏในพระไตรปิฎกบาลีเถรวาท ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๔๒/๑๐๐ ว่า "ตถาคต เป็นผู้มีการแสดงธรรมบริสุทธิ์ ดีอยู่เสมอ จึงปริญญาว่า เราเป็นผู้มีการแสดงธรรมบริสุทธิ์ การแสดงธรรมของเราบริสุทธิ์ขาวผ่องไม่เศร้าหมองเลย" จากที่กล่าวมานี้คือสิ่งที่ปรากฏชัดเป็นหลักฐาน และการสร้างพระไตรปิฎกฉบับมหาวิทยาลัยมหิดลนี้ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ยืนยันต่อสื่อมวลชนว่า "เป็นผู้ตรวจสอบอย่างแน่นอนไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ แม้เพียงน้อยนิด" เป็นการสร้างภาพ สร้างความเชื่อถือให้เกิดกับผู้ที่ไม่ทราบในข้อแท้จริง แม้กระนั้นก็ยังใช้อิทธิพลของนักการเมือง มาสร้างกระแสมวลชน โดยนายอำนวย สุวรรณคีรี หนึ่งในขบวนการที่ให้การสนับสนุนทุกรูปแบบ รับรองว่า พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ถูกต้องในการชี้นำว่า "นิพพานเป็นอนัตตา" ถึงขนาดยื่นกระทู้ญัตติด่วนสู้สภาผู้แทนราษฏรว่า "ผู้ใดที่สั่งสอนว่า นิพพานเป็นอัตตา คือผู้ที่ทำลายพระพุทธศาสนา" ซึ่งเป็นประเด็นที่สร้างความแตกแยกสำหรับพุทธศาสนิกชน ทำความเสื่อมเสียแก่องค์กรปกครองคณะสงฆ์ พระภิกษุสงฆ์ พระเถรานุเถระ พระพุทธศาสนา ทำให้เกิดการเสื่อมศรัทธาเกิดขึ้น ในเหล่าพุทธศาสนิกชนในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง รวมไปถึงการฟ้อง ร้องพระราชาคณะ ขนาดเจ้าหน้า ที่ตำรวจออกหมายจับ เป็นเรื่องที่น่าสลดใจต่อชาวพุทธทั่วโลกเป็นอย่างยิ่ง ก็ล้วนใช้ข้อมูลจาก พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) และขบวนการล้มพุทธทั้งสิ้น ซึ่ง ข้อมูลทางวิชาการ และการนำเสนอของพระธรรมปิฎกล้วนแล้วแต่เป็นการจาบจ้วง หักล้างพระพุทธพจน์ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสไว้ดีแล้วให้วิปริตผิดไป ซึ่งการ กระทำของกลุ่มบุคคลและองค์กรต่างศาสนา นักการเมืองบางคน เป็นการทำลายพระพุทธศาสนา อันเป็นสถาบันแห่งความมั่นคงของชาติโดยเจตนา และมีแผนการณ์ที่วางไว้ โดยไม่อาจปฏิเสธทั้งหลักฐาน และพฤติกรรม ดังนั้นการที่พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เผยแพร่คำสั่งสอนของตนซึ่งขัดต่อพระพุทวจนะปรากฏต่อสาธารณชนนั้น จึงทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยต้องคิดกันให้ลึกซึ้งว่า ระหว่างพระสัทธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันปรากฏในพระไตรปิฎกบาลีเถรวาท กับข้อความของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ซึ่งไม่เคยแม้จะปฏิบัติสมาธิจิตเลยในชีวิต ถามว่าท่านผู้อ่านและพุทธศาสนิกชนจะเชื่อถือศรัทธาในคำสั่งสอนของใคร? หากเลือกเชื่อคำสั่งสอนของพระธรรมปิฎก ที่หักล้างพระพุทธพจน์ ก็หมายความว่า พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) คือศาสดาองค์ใหม่ ใช่หรือไม่? เพราะคำสอนนั้น ไม่ใช่คำสอนอันปรากฏในประไตรปิฎกด้วยประการทั้งปวง (ด้วยเหตุผลนี้กระมังที่ทำให้ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ทำตนเป็นไวรัสศาสนา ปลอมแปลงพระไตรปิฎกเถรวาท) และนี่คือคำถามที่ต้องตอบ และก็นี่อีกเช่นกันที่ผมต้องเขียนหนังสือนี้ซึ่งเปรียบ เสมือนวัคซีนเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับพุทธบริษัท ที่มีไว้สำหรับป้องกันและปราบไวรัสศาสนา ที่อาจจะเกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับกรณีพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) และขบวนการล้มพุทธนี้ในอนาคตก็ได้ ก็อยากจะถามต่อไปว่า เจตนาเขียนหนังสือ "พุทธธรรม" เพื่อทำให้คลาดเคลื่อนพระสัทธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้วิปริต ทำไม? เพื่ออะไร? และหากผมไม่นำมาตีแผ่เปิดเผยวิเคราะห์ สภาพพระพุทธศาสนา พระธรรมวินัยจะถูกทำลายด้วยมนุษย์จำพวกไวรัสศาสนานี้ไปอีกเท่าไร? และนี่คือวิถีทางสุจริตอันพุทธศาสนิกชนย่อมพึงกระทำ เพื่อป้องกันสถาบันพระพุทธศาสนา อันเป็นสถาบันแห่งความมั่นคงของชาติอันวิญญูชนพึงกระทำโดยอาศัยอำนาจบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย |