การทำลายพุทธศาสนา คือการล้มล้าง
สถาบันพระมหากษัตริย์

 

 

พระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่ทรง พระปรีชา ตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา คือ ศูนย์รวมแห่งความสามัคคีของชนในชาติ วัดเป็นที่อบรมบ่มนิสัยให้กับประชาชน โดยมีพระภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนา ถ่ายทอดศีลธรรมเป็นหลักประจำใจ แก่กุลบุตรกุลธิดา ให้เป็นประชาชนที่ดีของประเทศ ชายไทยที่ได้เข้ารับการศึกษา อบรมบ่มนิสัยด้วยการบวชเรียน ศึกษาพระธรรมวินัย ประพฤติปฏิบัติสมาธิจิต กลาย เป็นหัวหน้าครอบครัว ผู้นำและ นักรบผู้กล้าผู้รักษาแผ่นดินไทย ให้ยั่งยืนสถาพร มีเอกราช ทำให้ยากในการเข้ายึดครองของต่างชาติต่างศาสนาสืบมา ทั้งสามสถาบันจึงผูกพันแน่นเหนียวเป็นหนึ่งเดียวกัน และนี่แหละคือความสัมพันธ์อันเปรียบเสมือนจิตวิญญาณของชนชาติไทย สิ่งที่เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการเรียกเก็บ "ส่วยพระเจ้า ร้อยละสิบ" จะเป็นไปไม่ได้เลย หากไม่ทำลายพระพุทธศาสนา อันเป็นฐานรากของการปกครอง ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ของประเทศที่มีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

ความสำคัญของพระพุทธศาสนานั้น มีความสำคัญต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตย์เป็นอย่างยิ่ง ประเทศที่ต้องสูญเสียสถาบันพระมหากษัตริย์ จากการทำลายพระพุทธศาสนาโดยการกระทำของคริสเตียนโรมันคาทอลิค เพื่อให้พุทธบริษัทและประชาชนไทยพึงระวัง ต้องขอเรียนต่อท่านผู้อ่านไว้ล่วงหน้าว่า นี่ไม่ใช่เป็นการสร้างกระแส ให้เกิดความเกลียดชังคริสต์ศาสนา แต่นี่คือประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริง เป็นความจริง ที่ไม่อาจบิดเบือน สามารถอ้างอิงเทียบเคียงได้ทุกชาติ และที่เหนืออื่นใดประเทศไทยเรามีองค์พระมหากษัตริย์อันทรงพระมหากรุณาธิคุณยิ่ง เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย โดยเฉพาะเนื่องจากพฤติกรรมลักษณะเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนา มหาเถรสมาคม พระเถรานุเถระ และองค์กรปกครองคณะสงฆ์ไทยในขณะนี้ (พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๔๒) เป็นลักษณะเดียวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศเวียตนาม เพื่อนบ้านของเราในอดีตเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งครั้งหนึ่งประเทศเวียตนาม เป็นประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่เมื่อพระพุทธศาสนาถูกถอดออกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ อักษรภาษาเขียนของเวียตนามก็สูญหายไป สถาบันกษัตริย์ถูกโค่นล้ม ประเทศที่สวยงามสงบกลายเป็นสนามรบ บ้านแตกสาแหรกขาดกระสานซ่านเซ็น ประชาชนในชาติต้องฆ่าฟันกันเองล้มตายเป็นล้านๆ คน เพื่อผลประโยชน์ของใครกันแน่ ลองมาพิจารณาดูเป็นบทเรียน ว่าแท้จริงแล้วมีสาเหตุและความเป็นมาอย่างไร ?


(หน้าปก - - - สารบัญ - - - อ่านต่อ)

1