ชมรมหัวใจไร้สาร | ปัญหายาเสพติด | ป้องกันและแก้ไข | 10วิธี ไร้สาร | เวทีเยาวชน | หน้าแรก
สถานการณ์ยาเสพติด | สาเหตุของการติดสิ่งเสพย์ติด
สถานการณ์ยาเสพติด
 
ปัจจุบันสถานการณ์ยาเสพติดของประเทศไทย มีปัญหาใน 3 ลักษณะ คือ การผลิต การค้า/ลำเลียง และการแพร่ระบาด

สถานการณ์การผลิตยาเสพติด

ประเทศไทยประสบกับปัญหาการผลิตยาเสพติดที่สำคัญ 4 ชนิด คือ ปัญหาการผลิต ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา และแอมเฟตามีน

สถานการณ์การผลิตฝิ่น : จากการที่ไทยได้ดำเนินการควบคุมการผลิตฝิ่น ส่งผลให้พื้นที่การผลิตฝิ่นในประเทศไทยมีแนวโน้ม ลดลงทุกปี จนอยู่ในภาวะที่สามารถควบคุมการขยายตัวของปัญหาดังกล่าวได้

สถานการณ์การผลิตเฮโรอีน : การลักลอบตั้งแหล่งผลิตเฮโรอีนในประเทศมีแนวโน้มลดจำนวนลงทุกปี เนื่องจากการลดลง ของผลผลิตฝิ่นภายในประเทศและการปราบปรามของเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง

สถานการณ์การผลิตกัญชา : การลักลอบผลิตกัญชาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือลดความสำคัญลงไปยังภาคอื่นๆ แทน และผลผลิตกัญชามีจำนวนลดลงเนื่องจากการปราบปรามตัดฟันทำลายอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

สถานการณ์การผลิตแอมเฟตามีน : เป็นปัญหาที่มีแนวโน้ม ขยายตัวรุนแรงมากขึ้น โดยจะมีทั้งผลิตหัวเชื้อแอมเฟตามีน และผลิตแอมเฟตามีนอัดเม็ด เพื่อบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก พื้นที่ที่มีการลักลอบตั้งแหล่งผลิตแอมเฟตามีน ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดในภาคกลางที่กระจายอยู่รอบๆ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ

2

สถานการณ์การค้ายาเสพติด

ปัญหาการค้ายาเสพติดมีความหมาย รวม 3 ลักษณะปัญหา คือ ปัญหาการนำเข้ายาเสพติดจากต่างประเทศ ปัญหากลุ่มหรือขบวนการค้ายาเสพติด และปัญหาการลักลอบนำยาเสพติดออกนอกประเทศ

ปัญหาการนำเข้ายาเสพติดจากต่างประเทศ : เข้าสู่ประเทศไทยยังมีการลักลอบนำยาเสพติดเข้าสู่ประเทศไทยมากเช่นเดียวกับ ปีก่อนๆ โดยเข้ามาทางประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยโดยเฉพาะทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศ

ปัญหากลุ่มการค้าหรือขบวนการค้ายาเสพติด : ขบวนการค้ายาเสพติด ยังคงมีความเคลื่อนไหวอย่างมาก ตามสัดส่วน ของการเพิ่มขึ้นของปริมาณยาเสพติดจากต่างประเทศ

ขบวนการค้ายาเสพติดที่ถูกกำหนดเป็นนโยบายสำคัญของการปราบปรามยาเสพติดของไทยในปี 2527 คือ ขบวนการค้าแอมเฟตามีน ซึ่งถือเป็นกลุ่มการค้ายาเสพติดประเภทเดียวที่มีการจำหน่ายให้ประชากรในประเทศไทยตรง แม้จะมีการปราบปรามแหล่งผลิตได้เป็นจำนวนมาก แต่ก็ทำให้หยุดชะงัก การขยายตัวของการบริโภคแอมเฟตามีนได้ เพียงระยะสั้น หลังจากนั้นก็จะมีกลุ่มผู้ค้าแอมเฟตามีนรายใหม่เข้ามาทดแทนอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การค้าแอมเฟตามีนยังกลาย เป็นการค้าแบบครบวงจรที่ครอบคลุมทั้งในด้านการผลิต การค้า และการจำหน่ายไปยังตลาดมากขึ้นในทุกภาคของประเทศ สภาพการณ์ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ปัญหากลุ่มการค้าแอมเฟตามีนจะเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นสำรหับประเทศไทย ในอนาคต

ปัญหาการลักลอบนำยาเสพติดออกนอกประเทศ : เส้นทางการลักลอบส่งยาเสพติดออกจากประเทศไทย ยังคงเป็นที่นิยมของ กลุ่มการค้ายาเสพติดต่างประเทศอยู่มาก ทั้งนี้เป็นเพราะความสะดวกของเส้นทางการคมนาคมในประเทศ เช่น เส้นทางการส่งออกทางท่าอากาศยานกรุงเทพ โดยลักลอบส่งออกยาเสพติดทั้งทางด้านคลังสินค้า และส่งออกโดยบุคคล ผู้โดยสารเครื่องบิน นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางการลักลอบส่งออกยาสพติดทางท่าเรือคลองเตย และการส่งออกยาเสพติดทางภาคใต้ ผ่านไปยังประเทศมาเลเซียทั้งทางบกและน้ำ เป็นต้น

2

สถานการณ์การแพร่ระบาด

ปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดในประเทศไทยปรากฎรุนแรงมากขึ้น ทั้งในด้านจำนวนประชากรและประเภทของยาเสพติด ที่ใช้เสพ

ประชากร ชุมชนทั่วประเทศเป็นพื้นที่ที่มีปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ มีสัดส่วนของพื้นที่ ที่มีปัญหามากที่สุด ส่วนภาคกลางและภาคเหนือมีสัดส่วนรองลงมา

ประเภทของตัวยา กัญชา มีการแพร่ระบาดในทุกภาค เฮโรอีน แพร่ระบาดในกลุ่มประชากรต่าง ๆ และยาเสพติดที่แพร่ระบาด อย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือ สารระเหยและแอมเฟตามีน ซึ่งมีการแพร่ระบาดมากที่สุดในทุกภาค

2
2
สาเหตุของการติดสิ่งเสพย์ติด
 
สาเหตุของการติดสิ่งเสพย์ติดมีอยู่มากมายหลายสาเหตุ โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ครอบครัวหรือผู้ปกครอง โรงเรียน หรือ สถานศึกษา สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และสังคม ปัญหาจากทางร่างกายและจิตใจของคนผู้นั้น ปัญหาทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งเราพอสรุปสาเหตุของการติดสิ่งเสพย์ติดเป็นข้อๆ ได้ดังต่อไปนี้
2

1. สาเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

1.1 อยากทดลอง

เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นนิสัยของคนโดยทั่วไป และโดยที่ไม่คิดว่าตนจะติดสิ่งเสพย์ติดนี้ได้ จึงไปทำการ ทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น ในการทดลองใช้ครั้งแรกๆ อาจมีความรู้สึกดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้ายังไม่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น ก็อาจประมาทไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นอีก จนใจที่สุดก็ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น หรือถ้าไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติด บางชนิด เช่น เฮโรอีน แม้จะเสพเพียงครั้งเดียว ก็อาจทำให้ติดได้

1.2 ความคึกคะนอง

คนบางคนมีความคึกคะนอง ชอบพูดอวดเก่งเป็นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมีนิสัยดังกล่าว คนพวกนี้อาจแสดง ความเก่งกล้าของตนในกลุ่มเพื่อนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพย์ติดชนิดต่างๆ เพราะเห็นแก่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และให้เพื่อนฝูงยอมรับว่าตนเก่ง โดยมิได้คำนึง ถึงผลเสียหายหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังแต่อย่างไร ในที่สุด จนเองก็กลายเป็นคนติดสิ่งเสพย์ติดนั้น

1.3 การชักชวนของคนอื่น

อาจเกิดจากการเชื่อตามคำชักชวนโฆษณาของผู้ขายสินค้าที่เป็นสิ่งเสพย์ติดบางชนิด เช่น ยากระตุ้นประสาทต่างๆ ยาขยัน ยาม้า ยาบ้า เป็นต้น โดยผู้ขายโฆษณาสรรพคุณของสิ่งเสพย์ติดนั้นว่ามีคุณภาพดีสารพัดอย่างเช่น ทำให้มีกำลังวังชา ทำให้มีจิตใจแจ่มใส ทำให้มีสุขภาพดี ทำให้มีสติปัญญาดี สามารถรักษาโรคได้บางชนิด เป็นต้น ผู้ที่เชื่อคำชักชวนโฆษณาดังกล่าวจึงไปซื้อตามคำชักชวนของเพื่อนฝูง ซึ่งโดยมากเป็นพวกที่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นอยู่แล้ว ด้วยความเกรงใจเพื่อน หรือเชื่อเพื่อน หรือต้องการแสดงว่าตัวเป็นพวกเดียวกับเพื่อน จึงใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น

 

2. สาเหตุที่เกิดจากการถูกหลอกลวง

ปัจจุบันนี้มีผู้ขายสินค้าประเภทอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มบางรายใช้สิ่งเสพย์ติดผสมลงในสินค้าที่ขาย เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้านั้นไปรับประทานเกิดการติด อยากมาซื้อไปรับประทานอีก ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ซื้ออาหารนั้นมารับประทาน จะไม่รู้สึกว่าตนเองเกิดการติดสิ่งเสพย์ติดขึ้นแล้ว รู้แต่เพียงว่าอยากรับประทานอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มที่ซื้อจากร้านนั้นๆ กว่าจะทราบก็ต่อเมื่อตนเองรู้สึกผิดสังเกตต่อความต้องการ จะซื้ออาหารจากร้านนั้นมารับประทาน หรือต่อเมื่อ มีอาการเสพย์ติดรุนแรง และมีสุขภาพเสื่อมลง

 

3. สาเหตุที่เกิดจากความเจ็บป่วย

3.1 การเจ็บป่วยทางกาย

คนที่มีอาการเจ็บป่วยทางกายเกิดขึ้นเพราะสาเหตุต่างๆ เช่นได้รับบาดเจ็บรุนแรง เป็นแผลเรื้อรัง มีความเจ็บปวดอยู่ เป็นประจำ เป็นโรคประจำตัวบางอย่าง เป็นต้น ทำให้ได้รับทุกข์ทรมานมาก หรือเป็นประจำ จึงพยายามแสวงหาวิธี ที่จะช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากความทุกข์ทรมานนั้นซึ่งวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่ายคือ การรับประทานยาที่มีฤทธิ์ระงับ อาการเจ็บปวดนั้นได้ ซึ่งไม่ใช่เป็นการรักษาที่เป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย เพียงแต่ระงับอาการเจ็บปวดให้หมดไป หรือลดน้อยลงได้ชั่วขณะ เมื่อฤทธิ์ยาหมดไปก็จะกลับเจ็บปวดใหม่ ผู้ป่วยก็จะใช้ยานั้นอีก เมื่อทำเช่นนี้ไปนานๆ เกิดอาการติดยานั้นขึ้น

3.2 การเจ็บป่วยทางจิต

ผู้ที่มีจิตใจไม่เป็นปกติเช่น มีความวิตก กังวล เครียด มีความผิดหวังในชีวิต มีความเศร้าสลดเสียใจ เป็นต้น ทำให้สภาวะจิตใจไม่เป็นปกติจนเกิดการป่วยทางจิตขึ้น จึงพยายามหายาหรือสิ่งเสพย์ติดที่มีฤทธิ์สามารถคลาย ความเครียดจากทางจิตได้ชั่วขณะหนึ่งมารับประทาน แต่ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุเมื่อยาหมดฤทธิ์ จิตใจก็จะกลับ เครียดอีก และผู้ป่วยก็จะเสพสิ่งเสพย์ติด ถ้าทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้ผู้นั้นติดยาเสพย์ติดในที่สุด

3.3 การปฏิบัติไม่ถูกต้องในการใช้ยา

การไปซื้อยามารับประทานเองโดยไม่ทราบสรรพคุณยาที่แท้จริง ขนาดยาที่ควรรับประทาน การรับประทานยาเกิน จำนวนกว่าที่แพทย์ได้สั่งไว้ การรับประทานยาบางชนิดมากเกินขนาด หรือรับประทานติดต่อกันนานๆ บางครั้งอาจมี อาการถึงตายได้ หรือบางครั้งทำให้เกิดการเสพติดยานั้นได้

2

4. สาเหตุอื่นๆ

4.1 การอยู่ใกล้ชิดกับแหล่งสิ่งเสพย์ติด

การอยู่ใกล้แหล่งขายหรือใกล้แหล่งผลิต หรือ เป็นผู้ขายหรือผู้ผลิตเอง จึงทำให้มีโอกาสติดสิ่งเสพย์ติดให้โทษนั้น มากกว่าคนทั่วไป

4.2 การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดสิ่งเสพย์ติด

เมื่อมีเพื่อนสนิทหรือพี่น้องที่ติดสิ่งเสพย์ติดอยู่ ผู้นั้นย่อมได้เห็นวิธีการเสพ ของผู้ที่อยู่ใกล้ชิด รวมทั้งเห็นพฤติกรรม ต่างๆ ของเขาด้วย และยังอาจได้รับคำแนะนำหรือชักชวนจากผู้เสพด้วย จึงมีโอกาสติดได้

4.3 สภาพแวดล้อมทางสังคม

คนบางคนอยู่ในสภาพที่มีปัญหา เช่น ว่างงาน ยากจน ค่าใช้จ่ายเพิ่มโดยมีรายได้ลดลง หรือคงที่ มีหนี้สินมาก ฯลฯ เมื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้ก็หันไปใช้สิ่งเสพย์ติด ช่วยผ่อนคลายความรู้สึกในความทุกข์ยากต่างเหล่านี้ แม้จะรู้ว่าเป็นชั่วครู่ชั่วยามก็ตาม เช่น กลุ้มใจที่เป็นหนี้คนอื่นก็ไปกินเหล้าหรือสูบกัญชาให้เมาเพื่อที่จะได้ลืม เรื่องหนี้สิน บางคนต้องการรายได้เพิ่มขึ้นโดยพยายามทำงานให้หนักและมากขึ้นทั้งๆ ที่ร่างกายอ่อนเพลียมาก จึงรับประทานยากระตุ้นประสาทเพื่อให้สามารถทำงานต่อไปได้ เป็นต้น ถ้าทำอยู่เป็นประจำทำให้ติดิ่งเสพย์ติด นั้นได้

4.4 การเลียนแบบ

การที่ไปเห็นผู้ที่ตนสนิทสนมรักใคร่เหรือเพื่อนเสพสิ่งเสพย์ติด จึงเห็นว่าเป็นสิ่งน่าลอง เป็นสิ่งโก้เก๋ เป็นสิ่งแสดง ความเป็นพวกเดียวกัน จึงไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นจนติด

4.5 การประชดชีวิต

คนบางคนมีความผิดหวังในชีวิตตนเอง ผิดหวังในชีวิตครอบครัว หรือผิดหวังในชีวิตสังคม เพื่อเป็นการประชดตนเองหรือคนอื่น จึงไปใช้สิ่งเสพย์ติดจนติด ทั้งๆ ที่ทราบว่าเป็นสิ่งไม่ดี ก็ตาม

 
 
1