ชมรมหัวใจไร้สาร | ปัญหายาเสพติด | ป้องกันและแก้ไข | 10วิธี ไร้สาร | เวทีเยาวชน | หน้าแรก
การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด | มาตรการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ | บทบาทเยาวชนในการป้องกันและแก้ไข (ถาม-ตอบ)| การแจ้งข่าว | สงสัยเพื่อนติดยาแนะนำอย่างไร | เพื่อนติดยาแล้วทำอย่างไร
การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด
 
การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในประเทศไทย มีหลักการสำคัญ 2 ประการ คือ
1. การลดอุปทาน หรือ ลดปริมาณยาเสพติด (Supply Reduction)
2. การลดอุปสงค์ หรือ ลดความต้องการใช้ยาเสพติด (Demand Reduction)
 
การลดอุปทาน   การดำเนินงานลดปริมาณยาเสพติด ใช้มาตรการ ดังนี้
มาตรการควบคุมพืชเสพติด
การควบคุมพืชเสพติดในพื้นที่ปลูกฝิ่น ดำเนินการโดยใช้วิธีพัฒนาชนบทแบบผสมผสานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต  ของกลุ่มประชากรเป้าหมายที่ลักลอบปลูกฝิ่น ควบคู่ไปกับการตัดฟันทำลายฝิ่นที่มีการลักลอบปลูก การป้องปรามไม่ให้มีการ ปลูกพืชเสพติดโดยให้การศึกษา เผยแพร่ประชาสัมพันธ์และปฏิบัติการทางจิตวิทยา
สร้างเงื่อนไขกดดันกลุ่มประชากรเป้าหมาย ส่วนการควบคุมพื้นที่ปลูกกัญชา    ใช้วิธีการปราบปรามด้วยการตัดฟันทำลายไร่กัญชา ปราบปรามนายทุน และปฏิบัติการทางจิตวิทยากดดันป้องปรามผู้ลักลอบปลูกกัญชา

2

มาตรการปราบปราม
ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มุ่งเน้นปราบปรามการผลิตเฮโรอีน ยาบ้า ด้วยการสกัดกั้นจับกุมการนำเข้าสารเคมี จับกุมทำลายแหล่งผลิตและขยายผลไปถึงนายทุนที่อยู่เบื้องหลัง นอกจากนั้นยังดำเนินการปราบปรามกลุ่มการค้าและลำเลียง ลักลอบขนยาเสพติดข้ามมาจากชายแดนเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด ได้มุ่งเน้นขยายงาน สืบสวนจับกุมผู้จำหน่ายยาเสพติด นอกจากนี้ ยังได้มีการริบทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับคดียาเสพติด ควบคู่กันไปด้วย การลดอุปสงค์ การดำเนินงานลดความต้องการใช้ยาเสพติด ใช้มาตรการ ดังนี้
2
มาตรการป้องกันยาเสพติด
เป็นการให้การศึกษา ข่าวสาร ความรู้ และข้อมูลในเรื่องของยาเสพติดอย่าง ถูกต้องด้วยวิธีการต่างๆ ไปสู่ประชาชน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันมิให้ประชาชนหันไปใช้ยาเสพติด ขณะเดียวกันก็ดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดของตัวยา รวมทั้งปรับปรุงสภาพแวดล้อมมิให้มีส่วนผลักดันให้เกิดปัญหายาเสพติด ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

1. ใช้กระบวนการทางการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน เพื่อ ให้ความรู้ ปลูกฝังความรู้สึกนึกคิดและ พฤติกรรมในการต่อต้านยาเสพติด

2. พัฒนาเนื้อหา กลยุทธ์ เทคโนโลยีในการให้การศึกษา การเผยแพร่ และการผลิตสื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ การรับรู้ ขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มเป้าหมาย โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

3. นำวิธีการป้องปรามมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดในกลุ่มเสี่ยง

4. จัดให้มีกิจกรรมทางเลือกที่เหมาะสม เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม โดยปลูกฝังนิสัย การไม่ใช้ยาเสพติด

5. ระดมทรัพยากรและความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนให้เข้ามามีส่วน ร่วมในการป้องกันยาเสพติดอย่างเป็น ระบบ

6. สร้างแนวร่วมการป้องกันการใช้ยาเสพติดอย่างเป็นรูปธรรมในทุก ระดับ โดยให้สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา และองค์กรประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันยาเสพติด

7. สร้างเสริมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตโดยปราศจาก การใช้ยาเสพติด จัดทำระบบข้อมูลข่าวสารและวิชาการเกี่ยวกับการป้องกันยาเสพติด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงาน และการประสานงาน

8. ศึกษาวิจัยและติดตามประสิทธิผลเพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกัน ยาเสพติดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพ ปัญหา

2

มาตรการบำบัดรักษา

การบำบัดรักษายาเสพติดเป็นมาตรการหลักอย่างหนึ่งในการแก้ ปัญหายาเสพติด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ติดยาเสพติด หยุดเสพยาให้นานที่สุดจนสามารถเลิกได้โดย เด็ดขาดเพื่อลดความเดือดร้อนของสังคม ลดการแพร่ระบาดของยาเสพติด และเพื่อให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติ เนื่องจากการติดยาเสพติดเป็นการป่วยทั้งทางกายและจิตใจ ดังนั้น การบำบัดรักษานอกจากจะถอนพิษยาเพื่อรักษาอาการทางร่างกายแล้ว ยังจะต้องมีการฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการบำบัด ฟื้นคืนจากอาการป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ และสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมปกติได้โดยไม่หวนกลับไปใช้ยาเสพติดอีก ซึ่งการถอนพิษยาอาจทำได้โดย ใช้ยาทดแทน ใช้ยาระงับอาการ หรือใช้วิธีหักดิบ เป็นต้น ส่วนการฟื้นฟูสมรรถภาพ อาจทำได้โดย ใช้แบบมาตรฐาน ชุมชนบำบัด ครอบครัวบำบัด และศาสนบำบัด เป็นต้น
บทบาทเยาวชนในการป้องกันและแก้ไข (ถาม-ตอบ)
2

เยาวชนอย่างพวกเรา จะทำอะไรได้บ้าง....

อย่างแรก เราก็ต้องไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม แค่นี้เราก็ป้องกันตัวเองจากยาเสพติดได้แล้ว

 

แต่ว่า เพื่อนๆ ของเราล่ะ จะบอกเค้ายังไงดี .....

หากใช้เพียงแค่การบอกกล่าว ตักเตือน อาจจะไม่พอ เราก็ต้องพาเพื่อนเรา ไปทำกิจกรรมอย่างอื่น ที่ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เช่น เล่นกีฬา เล่นอินเตอร์เน็ต (แบบผม) และอื่นๆ

 

ถ้าหากบังเอิญไปพบแหล่งยาเสพติดล่ะ จะทำไงล่ะ พวกเค้าไม่ใช่เพื่อนเราด้วย....

เราก็อย่าไปยุ่งกะเค้าโดยตรง (อันตราย) เราก็แจ้งข่าวไปที่

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เลขที่5 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 245-9414, 245-941, หรือ 247-0901-19 ต่อ 256, 279 โทรสาร 246-8526 หรือ ตู้ ปณ. 123 ปณจ. สามเสนใน กรุงเทพฯ 10400

2

แล้วถ้าเรายังไม่ทันได้เจอเพื่อนเรา แต่เค้าไปติดยาเสียก่อนล่ะ ทำไงดี....

ก็แย่น่ะสิ .... คงต้องปรึกษาผู้ใหญ่แล้วล่ะ หรือไปปรึกษากับ

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เลขที่5 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 245-9414, 245-941, หรือ 247-0901-19 ต่อ 256, 279 โทรสาร 246-8526 หรือ ตู้ ปณ. 123 ปณจ. สามเสนใน กรุงเทพฯ 10400

2

สงสัยเพื่อนติดยาล่ะ ทำยังไงดี...

ไม่ต้องสงสัยแล้ว.... ปรึกษาผู้ใหญ่(ปปส.)ได้เลย

2

แล้วถ้าอยากแสดงความคิดเห็น อยากขอความเห็น หรืออยากเล่าประสบการณ์ เกี่ยวกับยาเสพติดล่ะ.....

ก็ไปที่นี่เลย " เวทีเยาวชน "

2
1