(--[Main]-*-[Links]-*-[Search]-*-[Pager]-*-[Contact]-*-[E-mail]--) |
|||||||||||||
หัวกระสุนปืนพกกับขีปนวิทยาของบาดแผล โดย ด๊อก ฮาลิเดย์ คงจะต้องยอมรับว่าวัตถุประสงค์หลักของการที่คนเราครอบครองอาวุธปืนประเภทปืนพกนั้น ก็เพื่อใช้ป้องกันชีวิตทรัพย์สินของตนและครอบครัว จุดสำคัญสุดท้ายคือ เมื่อต้องใช้อาวุธแล้ว หัวกระสุนจะต้องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถหยุดยั้งผู้ที่เป็นภัยคุกคามลงได้ทันที ลักษณะการทำงานของหัวกระสุนเมื่อกระทบร่างกายมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่มีผลต่ออำนาจการหยุดยั้งของกระสุนโดยตรง โดยเฉพาะในกรณีของกระสุนปืนพก ซึ่งมีขีดจำกัดอยู่ในตัวในด้านน้ำหนัก หัวกระสุนและความเร็วของหัวกระสุน เรื่องดังกล่าวนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษา เพื่อที่จะได้ทราบถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องแนวความคิด ของผู้ที่อยู่ในวงการ ซึ่งปัจจุบันแบ่งออกเป็นสองค่ายตลอดจนทราบถึงแนวความคิดของแต่ละค่ายในการเลือกใช้กระสุน ที่มีประสิทธิภาพสูง ดังนั้นในวันนี้จึงขอนำเรื่องราวของหัวกระสุนกับการทำงานของมันเมื่อกระทบเป้าหมายจริง หรือที่เรียกว่า ขีปนวิทยาของบาดแผล (Wound Ballistics)มาเล่าสู่กันฟัง สักเล็กน้อย ก่อนอื่นคงต้องขอเตือนว่าวิชาขีปนวิทยาของบาดแผลนี้ มิใช่เรื่องที่น่าสุนทรีย์เท่าใดนัก ผู้เขียนจำได้ว่าเมื่อครั้งไปศึกษาอยู่ในต่างประเทศ บังเอิญวิชานี้เรียนในชั่วโมงหลังเที่ยง การบรรยายของอาจารย์เห็นภาพพจน์ดีเหลือเกิน จนเกิดความพะอืดพะอมกันทั่วหน้า จดเล็คเช่อร์ไปต้องกลั้นใจกันไปเพื่อพยายามรักษาอาหารมื้อกลางวันให้คงอยู่ในท้องไว้ เมื่อหัวกระสุนเจาะเข้าร่างกายจะตัดเนื้อเยื่อให้ฉีกขาดเป็นช่อง ตามแนวการวิ่งของหัวกระสุน เรียกว่าโพรงถาวร (Permanent Cavity) ในขณะเดียวกันหัวกระสุนจะเบียดให้เนื้อเยื่อโดยรอบมีความเร็วในแนวตั้งฉากกับแนวเคลื่อนที่ของกระสุน ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อเคลื่อนที่เกิดโพรงที่เกิดขึ้นนี้ว่า โรงไม่ถาวร (Temporary Cavity) ในภาพเป็นผลที่เกิดจากการยิงด้วยกระสุน .38 สเปเชียล +P หัวกระสุนหนัก 110 เกรน -------------------------------------------- เกิดอะไรขึ้นเมื่อกระสุนเจาะเข้าในเนื้อมนุษย์ เมื่อหัวกระสุนเจาะเข้าสู่ร่างกายจะตัดเนื้อเยื่อให้ฉีกขาดเป็นช่องตามแนวการวิ่งของหัวกระสุน บริเวณช่องหรือโพรงนี้เนื้อเยื่อจะฉีกขาดจากกันถาวร เรียกว่าโพรงถาวร (Permanent Cavity) - (คำว่าถาวรในที่นี้หมายถึงในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์นั้น เพราะหากผู้ถูกยิงรอดชีวิตและได้รับการรักษาดูแลจากแพทย์แล้วโดยส่วนรวม โรงถาวรนี้ก็สามารถรักษาให้หายเชื่อมต่อกันสนิทใหม่ได้) ยิ่งหัวกระสุนมีขนาดใหญ่ พื้นที่หน้าตัดมาก หรือเป็นหัวกระสุนขนาดเล็กแต่บานขยายขึ้นมาจนมีพื้นที่หน้าตัดมาก หน้าตัดของช่องที่หัวกระสุนทำลายเนื้อเยื่อเข้าไปก็จะมีขนาดใหญ่ ทำให้โพรงถาวร มีปริมาตรมาก ขณะที่หัวกระสุนวิ่งไปนั้น หัวกระสุนจะเบียดให้เนื้อเยื่อโดยรอบมีความเร็วในแนวตั้งฉาก ในกรณีหัวกระสุนมีความเร็วสูงมากเช่นกระสุนปืนไรเฟิล จะเกิดคลื่นกระแทก Shock Wave ในเนื้อเยื่อด้วยความเร็วในแนวตั้งฉากกับแนวเคลื่อนที่ของกระสุน จะทำให้เนื้อเยื่อเคลื่อนที่ เกิดโพรงที่ขยายตัวออกไป (Cavitation) หากเนื้อเยื่อโดยรอบมีความยืดหยุ่นเพียงพอ ก็จะขยายตัวได้โดยไม่ฉีกขาด โพรงที่เกิดขึ้นจะยุบตัวกลับด้วยความเร็ว อาจกระแทกแล้วขยายตัวเกิดโพรง ที่ยุบ-ขยาย สลับกันหลายครั้งภายในเสี้ยวเวลา หนึ่งในพันวินาที เนื้อเยื่อรอบโพรงดังกล่าวนี้ไม่ฉีกขาด จึงเรียกโพรงที่เกิดขึ้นนี้ว่า โพรงไม่ถาวร (Temporary Cavity) หัวกระสุนเมื่อวิ่งอยู่ในอากาศอาจมี อาการควง (Yaw) อยู่เล็กน้อย เมื่อกระทบเนื้อเยื่อซึ่งมีความหนาแน่นสูงกว่า อากาศประมาณ 800 เท่า มุมควงอาจจะเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นหากกระสุน มีการอาการควงอยู่เล็กน้อยก่อนกระทบเป้าหมาย เมื่อกระทบเป้าหมายมุมควงอาจเพิ่มขึ้นสูงถึง 50 100 องศารอบแกนหัวกระสุน หัวกระสุนจึงเคลื่อนที่ไปในลักษณะการคว้าน ทำให้โพรงถาวร ที่เกิดขึ้นมีขนาดใหญ่กว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวกระสุนเป็นอย่างมาก แม้ว่าหัวกระสุนจะเป็นชนิดหุ้มเปลือกแข็งก็ตาม ในปัจจุบันการศึกษาอาการที่หัวกระสุนเจาะเนื้อเยื่อมักใช้วิธียิงหัวกระสุนเข้าใน วัสดุจำลองเนื้อเยื่อ ซึ่งวัสดุมาตรฐานที่ใช้กัน คือ วุ้นพิเศษชนิดหนึ่งเรียกว่า 10% Ballistic Gelatin เป็นส่วนผสมของเนื้อวุ้น 10% โดยน้ำหนัก ส่วนที่เหลือเป็นน้ำวุ้นชนิดนี้จะมีความหนาแน่นและลักษณะการต้านทานหัวกระสุนเหมือนกับเนื้อของมนุษย์ แต่มีลักษณะใสทำให้ตรวจวัดช่องโพรงถาวร ที่เกิดจากทางเดินของหัวกระสุนได้ง่าย และอาจใช้กล้องถ่ายภาพยนต์ความเร็วสูงตรวจวัดช่องโพรงไม่ถาวรได้อีกด้วยขอพักไว้เท่านี้ก่อนครับ ก่อนที่จะกล่าวถึงทฤษฎีที่ใช้อธิบายถึงกลไก ในการที่หัวกระสุนปืนพก ทำให้มนุษย์หมดสภาพการต่อสู้คงจะต้องขอกล่าวถึงความเป็นมา ของการศึกษาด้านขีปนวิทยาของบาดแผลจากกระสุนปืนพกสักเล็กน้อย เพราะในวงการปืนปัจจุบันมีการโต้เถียงด้านแนวความคิดกันอยู่ และการจะเล่าสู่กันฟังในเรื่องนี้ต่อไป จะต้องอ้างอิงถึงการศึกษาของนักวิชาการหลายท่าน ในที่นี้จึงสมควรกล่าวถึง ตัวละคร ที่สำคัญ ให้ครบเสียก่อน การศึกษาด้านขีปนวิทยาของบาดแผลจากกระสุนปืนพก การจะกล่าวถึงความเป็นมาของการศึกษา ด้านขีปนวิทยาของบาดแผลจากกระสุนปืนพกในครั้งนี้ คงจะเน้นความเป็นมาในส่วนที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ทั้งนี้เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมีผลต่อแนวความคิดในการพัฒนาปืน และกระสุนของสหรัฐอเมริกาโดยตรง และความที่ตลาดปืนพกในสหรัฐเป็นตลาดใหญ่มาก แนวโน้มใดที่เกิดขึ้นในสหรัฐ จะเป็นแนวโน้มที่กำหนดรูปแบบของปืนและกระสุนในตลาดโลกโดยปริยาย การศึกษาที่มีผลต่อแนวความคิดและทฤษฎีในปัจจุบัน เกิดจากเหตุการณ์ในช่วงต่อ ปลายศตวรรษที่ 19 กับต้นศตวรรษที่ 20 นี้ กล่าวคือ ในปี 1891 กองทักบกสหรัฐ จัดซื้อปืนพก .45 โค้ลท์ซิงเกิ้ลแอ็คชั่นอาร์มี่ ซึ่งใช้กระสุน .45 ลองโค้ลท์ เป็นรุ่นสุดท้าย จากนั้นก็หันมาเลือกใช้ ปืนพก .38 โค้ลท์ดับเบิ้ลแอ็คชั่นอาร์มี่ รุ่นปี 1894 ซึ่งใช้กระสุน .38 โค้ลท์ เป็นปืนพกประจำกายทหาร ในปี 1898 สหรัฐอเมริกาทำสงครามชนะประเทศสเปน และบังคับซื้อประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นอาณานิคมของสเปนไว้ ช่วงเวลาระหว่างปี 1899 1901 ชาวฟิลิปปินส์ลุกขึ้นต่อต้นสหรัฐจนกระทั่ง นาย Emilio Aguinaldo ผู้นำชาวฟิลิปปินส์ ถูกจับกุมใน มีนาคม 1901 การต่อต้นอย่างเป็นทางการจึงยุติลง แต่ผู้นำกลุ่มย่อย ๆ ยังคงทำการรบกับกำลังทหารสหรัฐต่อมา ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับปืนพกนั้น เกิดกับกำลังทหารสหรัฐที่ยึดครองเกาะมินดาเนา ต้องทำการรบกับนักรบชาวโมโร ซึ่งมีปรัชญา ในการรบแบบพลีชีพ ทำลายขวัญของทหารสหรัฐฯ โดยเลือกโอกาสจู่โจมเข้าตัดศีรษะทหารในขณะนอนหลับอยู่ในค่าย หรือสังหารทหารที่ออกมาเที่ยวเตร่ ในเมืองนอกเวลาปฏิบัติหน้าที่ ลักษณะการจู่โจมเช่นนี้ทำให้ทหารสหรัฐจำเป็นต้องใช้ปืนพกป้องกันตัว แต่ปรากฎว่าปืนพกประจำกายขนาด .38 ของทหารสหรัฐ ไม่สามารถหยุดยั้งนักรบพลีชีพ จูราเมนทาโดส์ ที่ใช้กริช และมีดดาบ บารอง เป็นอาวุธได้ กองทักบกสหรัฐจึงต้องกลับมา ทบทวนแบบของปืนพกประจำกายทหารใหม่ ในปี 1904 ร้อยเอก ทอมป์สัน นายทหารสรรพาวุธกับ พันตรี ลาการ์ด แพทย์ทหารสหรัฐ ได้ทำการทดลองหาประสิทธิภาพของกระสุนปืนพกขนาดต่าง ๆ โดยการทดลอง ยิงศพมนุษย์ ที่ได้มาจากวิทยาลัยแพทย์ และยิงวัวเป็น ๆ ในโรงฆ่าสัตว์ที่ชิคาโก (จากการสืบค้น ประวัติของ พลจัตว่า จอห์น ที ทอมป์สัน ผู้ประดิษฐ์ปืนกลมือทอมป์สันอันเลื่อชื่อ พบว่าในปี 1904 ท่านน่าจะมียศทหารสูงกว่าร้อยเอก เพราะท่านสำเร็จการศึกษาจากดรงเรียนนายร้อยเวร พอยท์ ปี 1882 และในระหว่างสงครามกับประเทศสเปน ปี 1898 ท่านปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้านายทหารสรรพาวุธในสมรภูมิคิวบา โดยมียศเป็นพันโทแล้ว ส่วนนายแพทย์ ลาการ์ดนั้น บางแหล่งกล่าวว่าท่านมียศทหารเป็นพันเอก ในปี 1904) สรุปผลว่า ผู้ทดลองมีความเห็นว่าหัวกระสุนที่มีขนาดใหญ่ ประมาณ .45 นิ้ว มีน้ำหนักมาก เคลื่อนที่ด้วยความเร็วไม่สูง ให้ประสิทธิภาพในการหยุดยั้งบุคคลได้สูงกว่าหัวกระสุนขนาดเล็ก น้ำหนักเขาแต่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง อันเป็นผลสรุปที่เป็นจุดกำเนิดของกระสุน .45 เอซีพี หัวกระสุนหนัก 230 เกรน สิ่งที่ต้องระลึกไว้ คือ การศึกษาของทอมป์สัน ลาการ์ด เป็นการศึกษากระสุนสำหรับปืนพกทางทหารซึ่งตาม อนุสัญญากรุงเฮก ปี 1899 ห้ามใช้กระสุนที่ขยายตัวหรือบานออกในร่างกาย กระสุนของปืนพกออโต้เมติกที่ศึกษาจึงเน้นหัวกระสุนหุ้มเปลือกแข็ง การจะกว่างว่าสมัยนั้นยังไม่มีการพัฒนาด้านวิทยาการเพียงพอที่จะเห็นความสำคัญของหัวกระสุน ที่ขยายตัวเมื่อกระทบเป้าก็คงไม่ถูกนัก เพราะในปี 1897 1898 กองทัพอังกฤษผลิตกระสุน ดัม ดัม ใช้ในการปราบปรามชาวอาฟกัน โดยตัดปลายเปลือกทองแดงที่หุ้มหัวกระสุนปืนเล็กยาว .303 เพื่อให้กระสุน่าขยายตัวในลักษณะกระสุนซอฟพอยท์ ช่วยระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการศึกษาและวิจัยในวงการทหารมาเป็นลำดับ แต่ข้อมูลไม่เปิดเผยมาสู่วงการปืน ภาคพลเรือน เท่าที่ควร กระสุนที่ใช้ในวงการตำรวจเป็นกระสุนพื้น ๆ เช่น กระสุนตะกั่วหัวมนหนัก 158 เกรนสำหรับปืนพก .38 สเปเชียล หรือ กระสุนหัวมนหุ้มเปลือกแข็งหนัก 230 เกรนสำหรับปืนพก .45 เอซีพี เป็นต้น ล่วงมาถึงทศวรรษ 1960 ลี จูราส ผู้ก่อตั้งบริษัท ซูเปอร์ เวล จึงได้เสนอแนวความคิดที่ว่าหัวกระสุนหัวรูน้ำหนักเบา ความเร็วสูงน่าจะมีประสิทธิภาพมาก ทำให้มีการเปลี่ยนแนวความคิดในเรื่องของการเลือกกระสุน กระสุนที่ได้รับความนิยม ได้แก่กระสุนที่ได้รับความนิยม ได้แก่กระสุนน้ำหนักเบา ความเร็วสูง ความดันสูงกว่ามาตรฐาน ประเภท +P สำหรับปืนพก .38 สเปเชียล หรือกระสุนหัวรู หนัก 90 เกรน สำหรับปืนพก 9 มม. พาราเบลลั่ม จนมาเกิดเรื่องที่กระตุ้นให้มีความตื่นตัวในเรื่องของประสิทธิภาพ หัวกระสุนปืนพกครั้งใหญ่ในปัจจุบันนั่นคือ ในปี 1986 ในเมือง ไมอามี่ มลรัฐฟลอริด้า เจ้าหน้าที่ เอฟบีไอ เข้าจับกุมผู้ต้องหาปล้นธนาคารชื่อ แพล็ท แล้วเกิดการยิงต่อสู้กัน เจ้าหน้าที่ เอฟบีไอ นายหนึ่งยิงนายแพล็ทด้วยกระสุน 9 มม. พราราเบลลัม ชนิด วินเชสเตอร์ ซิลเวอร์ทิป น้ำหนักหัวกระสุน 115 เกรน เป็นการยิงจากด้านข้าง กระสุนเจาะทะลุแขนเข้าสู่ลำตัวหัวกระสุนบานออกตามที่ได้รับการออกแบบไว้ แต่มีอำนาจการเจาะไม่เพียงพอ ตุงอยู่ในปอดข้างขวา เจาะเข้าไม่ถึงหวัดใจหรือเส้นโลหิตสำคัญในช่องอก หลังจากถูกยิงแล้วนายแพล็ทยังสมารถสังหารเจ้าหน้าที่ เอฟบีไอ ได้สองคนรวมถึงผู้ที่ยิงนายแพล็ทด้วย และยังทำให้เจ้าหน้าที่บาดเจ็บอีก 5 คน จากเหตุการณ์นั้น คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านอาวุธของเอฟบีไอ ได้รับมอบหมายให้ พิจารณาอาวุธปืนพกออโต้เมติกใหม่ โดยมีการเชิญผู้ชำนาญจากหน่วยงานภายนอก มาสัมนา เชิงปฏิบัติการด้านขีปนวิทยา ของบาดแผล (Wound Ballistic Workshop) ที่โรงเรียนเอฟบีไอ ระหว่าง 15-17 กันยายน 1987 ผู้ชำนาญเหล่านี้ได้แก่ -โรเบิร์ต แอ็ดกินส์ (สถาบันนิติเวชวิทยา เซาท์เวสเทอร์น) -นายแพทย์ วินเซนท์ ดิไมโอ (แพทย์ใหญ่ประจำแขวงบีซาเคาน์ที่) -พันเอก นายแทพย์ มาร์ติน แฟคเลอร์ (ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการขีปนวิทยาบาดแผล ) สถาบันวิจัยทหารเล็ทเทอร์แมน -สแตน ก็อดดาร์ด (หัวหน้าส่วนวิจัยขีปนวิทยาห้องปฏิบัติการบาร์เทล โคลัมบัส) -นายแพทย์ ดักลาส ลินด์เซ (ศาสตราจารย์ ด้านศัลยกรรม มหาวิทยาลัยอาริโซนา) -เอเวิน มาร์แชล (จ่านายสิบตำรวจ กรมตำรวจดีทรอยท์) -ด็อกเตอร์ แครอล พีเตอร์ส (สถาบันอวกาศ มหาวิทยาลัยเทนเนสซี) -นายแพทย์ โอไบรแอน สมิท (คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทนเนสซี) ผลสรุปจากการสัมมนาครั้งนั้นมีดังนี้ -กระสุนปืนพกไม่ว่า ชนิดใด ไม่สามารถให้การหยุดยั้งอย่างทันทีได้ด้วยความแน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์ เว้นแต่จะยิงถูกระบบประสาทส่วนกลาง การหยุดยั้งให้ผู้ถูกยิงหมดสภาพการต่อสู้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของผู้ถูกยิง อีกทั้งปริมาณยาเสพติด แอลกอฮอล์ หรือ ฮอร์โมนแอดรินาลิน ในโลหิตของผู้ถูกยิงก็มีผลเป็นอย่างมาก ผู้ร่วมสัมมนาสรุปว่าแม้หัวใจจะถูกทำลายโดยสิ้นเชิง ผู้ถูกยิงยังมีปริมาณออกซิเจนในสมองมาก เพียงพอที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ต่อไปได้อีกเป็นเวลา 10 ถึง 15 วินาที -โพรงไม่ถาวรที่เกิดจากหัวกระสุน และพลังงานจลน์ของหัวกระสุน ไม่มีผลในการทำให้เกิดความบาดเจ็บ อวัยวะจะถูกทำลายต่อเมื่อถูกหัวกระสุนกระทบเท่านั้น หัวกระสุนจึงจำเป็นต้องมีอำนาจทะลุทะลวงเจาะลึกเข้าไปถึงอวัยวะสำคัญ ค่าดัชนีการหยุดยั้งสัมพัทธ์ Relative Incapacitation Index (Rll) ซึ่งมักใช้เปรียบเทียบสมรรถนะของกระสุนในขณะนั้นไม่ใช่ค่าที่วัดอำนาจการหยุดยั้งที่ดีเพระาเป็นค่าที่ได้จากการเปรียบเทียบขนาดของโพรงไม่ถาวร -ปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งใช้ในการพิจารณาประสิทธิภาพของกระสุน คือ ความลึกของการเจาะทะลวง หากกระสุนสองแบบเจาะทะลุได้ลึกเท่ากัน กระสุนที่มีขนาดใหญ่กว่าจะทำลายเนื้อเยื่อได้ปริมาณมากกว่าทำให้เกิดการเสียโลหิตมากกว่า (การเสียโลหิตเป็นกลไกหลักในการหยุดยั้ง) การที่กระสุนจะทะลุทะลวง เสื้อฟ้า แขน กล้ามเนื้อ ไขมัน ฯลฯ ได้อย่างแน่นอน หักวกระสุนต้องมีอำนาจทะลุทะลวงเนื้อเยื่ออ่อนได้เป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 10 ถึง 12 นิ้ว (25 ถึง 30 เซนติเมตร) ผู้เชี่ยวชาญที่สัมมนาเห็นพ้องกันว่าอำนาจการเจาะเนื้อเยื่อของหัวกระสุนขึ้นอยู่กันน้ำหนักหัวกระสุนกับรูปแบบของหัวกระสุน มากกว่าความเร็วของหัวกระสุน (ข้อนี้ ผู้เขียนได้พลิกตำราเพื่อหาคำอธิบายแล้ว พบว่าเหตุผล คือ การเจาะเนื้อเยื่อมีลักษณะคล้ายการเจาะของเหลว ซึ่งแรงต้านที่เนื้อเยื่อกระทำต่อหัวกระสุน มาจากลักษณะการไหล ของของเหลวที่มีความหนืด ยิ่งหัวกระสุนมีความเร็วสูง แรงต้านก็จะยิ่งมีมาก จึงทำให้ความเร็วมีผลต่อการเจาะทะลวงไม่มาก ต่างกับการเจาะวัสดุของแข็งทั่วไปซึ่งแรงต้านไม่ได้เพิ่มขึ้นตามความเร็วของหัวกระสุน) นอกจากนั้นการที่หัวกระสุนจะเจาะทะลวงมากเกินไปจนทะลุออกไปโดยประชาชนผู้บริสุทธิ์หลังเป้าหมายนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยากเว้นแต่ในกรณีหัวกระสุนหุ้มเปลือกแข็ง full metal jacket (FMJ) -ผู้เชี่ยวชาญไม่อาจสรุปได้ว่ากระสุน .45 เอซีพี มีประสิทธิภาพเด่นชัดเหนือกระสุน 9 มม. พาราเบลลัม ผู้เชี่ยวชาญสามท่านเลือก .45 เอซีพี อีกสี่ท่านกล่าวว่าหากมีการเจาะลึกเท่ากัน กระสุนทั้งสองแบบจะให้ผลในการหยุดยั้งไม่แตกต่างกัน ส่วนอีกหนึ่งท่านเลือกกระสุน 9 มม. พาราเบลลั่ม ได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพขึ้นไปอีก -จากการที่กระสุนปืนพกไม่สามารถหยุดยั้งได้ผลอย่างแน่นอน เจ้าหน้าที่ควรทำการยิงจนกว่าจะแน่ใจว่าผู้ถูกยิงหมดสภาพที่จะเป็นภัยคุกคาม ดังนั้นปืนพกจึงควรบรรจุกระสุนได้จำนวนมากขึ้น -แม้ว่าการขยายตัวบานออกของกระสุนจะเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ แต่ไม่ควรเลือกกระสุนที่ต้องอาศัยการบานขยายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ -ความรู้สึกของเจ้าหน้าที่ที่มีต่อปืนพกของตนมีผลเป็นอย่างมาก หากเจ้าหน้าที่วางใจและมั่นใจในประสิทธิภาพของอาวุธปืนและกระสุนของตน เจ้าหน้าที่ผู้นั้นมักจะใช้ปืนของตนได้ดี จากผลการการสัมมนาทำให้ เอฟบีไอ เปลี่ยนกระสุน 9 มม. พาราเบลลั่ม จากกระสุน 9 มม. พาราเบลลั่ม จากกระสุน ซิลเวอร์ทิป น้ำหนักหัวกระสุน 115 เกรน มาใช้กระสุน หัวรูหุ้มเปลือกแข็ง Jacketed Hollow Point (JHP) น้ำหนักหัวกระสุน 147 เกรน ความเร็วต่ำกว่าเสียง (950-990 ฟุตต่อวินาที) แทนเพื่อให้มีอำนาจการเจาะลึกเพิ่มมากขึ้น และ เอฟบีไอ เริ่มให้ความสนใจกับกระสุน 10 มิลลิเมตร ซึ่งต่อมาก็ถูกกระสุน .40 S&W เข้าแย่งชิงความนิยมในวงการปืนไปตามที่ทราบกันอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าจะได้มีการสรุปผลการสัมมนาไป เรียบร้อยแล้วแต่ผู้เชี่ยวชาญบางท่านก็ยังไม่ได้เห็นพ้องกับข้อสรุปนั้นที่เดียวจึงทำให้วงการปืนของสหรัฐเรียกได้ว่า แบ่งเป็นสองค่ายความคิดเห็น ค่ายหนึ่งคือผู้ที่เชื่อตามแนวความคิดของ เอเวิน มาร์แชล หนึ่งในแปดผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมการสัมมนาของ เอฟบีไอ มาร์แชล ร่วมกับ เอ็ดวิน ซานาว อดีตนายตำรวจผู้เป็นนักเขียนบทความลงพิมพ์ในนิตยสารปืนที่สำคัญของสหรัฐ ได้ร่วมกันเขียนหนังสือขึ้นสองเล่ม คือ Handgun Stopping Power และ Street Stoppers จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Paladin Press โดยนำข้อมูลสถิติผลการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ตำรวจสหรัฐที่ยิงคนร้าย คัดเอาเฉพาะกรณีที่ยิงด้วยกระสุนนัดเดียวเข้าสู่บริเวณลำตัว และมีหลักฐานครบสมบูรณ์อาทิ บันทึกการชันสูตรพลิกศพ,รูปถ่ายของหัวกระสุนที่ผ่าออกมาได้ ฯลฯ นำมาประมลหาประสิทธิภาพในการหยุดยั้งของกระสุนชนิดนั้น เช่น กระสุนปืนรีวอลเวอร์ .357 แม็กนั่มของบริษัทเฟดเดอรัล ชนิดหัวรูหุ้มเปลือกแข็ง น้ำหนักหัวกระสุน 125 เกรน มีรายงานว่าใช้ในการยิงคนร้าย รวม 523 ราย สามารถหยุดยั้งคนร้ายได้ทันที 502 ราย แสดงว่ากระสุนชนิดนี้มีประสิทธิภาพ 96% (สิ่งที่น่าคิด คือ กระสุนแต่ละชนิดมีสถิติการใช้งานเป็นตัวเลขสูงมาก แม้แต่กระสุนที่ออกมาสู่ตลาดได้ไม่นาน อย่างเช่น กระสุน .40 S&W แบบหัวรู XTP หนัก 180 เกรน ของบริษัท 1996 ดังนั้น หากท่านมีความจำเป็นต้องสวนกระแสไปเช่ารถยนต์ขับในสหรัฐอเมริกาแล้ว ถูกตำรวจเรียกให้หยุดรถ จงรีบนำรถเข้าจอด ดับเครื่องยนต์ยกมอืวางบนพวงมาลัยในตำแหน่งที่มองเห็นได้ง่าย แล้วนั่งนิ่ง ๆ อย่าได้เคลื่อไหวอย่างรวดเร็วเป็นอันขาด มิฉะนั้นท่านอาจจะได้รับเกียรติให้เป็นค่าสถิติในหนังสือเล่มต่อไปของ มาร์แชล และ ซานาว) มาร์แชล และ ซานาว ได้ใช้ผลการศึกษาสถิติจากการใช้งานจริง นำมาพัฒนาวิธีประเมินประสิทธิภาพของกระสุนที่ยังไม่มีรายงานการใช้งานของตำรวจ โดยยิงกระสุนแบบใหม่ นั้นเข้าในแท่งวุ้น 10% Ballistic Gelatin เช่นเดียวกันแล้วใช้สูตร ในการคำนวน ซึ่งนำค่าที่วัดได้จากผลการยิงสี่ประการ คือ ความลึกที่ เจาะได้ ,เส้นผ่าศูนย์กลาง ของหัวกระสุนที่ผ่าออก มาจากแท่งวุ้น,ปริมาตรของโพรงถาวร,และปริมาตรของโพรงไม่ถาวร นำมาคำนวนหาประสิทธิภาพของการะสุนชนิดใหม่ได้ สูตรคำนวนนี้ใช้หลักการของวิชาสถิติ โดยจะให้น้ำหนัก ความสำคัญกับค่า ปริมาตรของโพรงไม่ถาวรค่อนข้างมาก และให้น้ำหนักความสคัญกับค่าความลึกที่เจาะได้ค่อนข้างน้อย ผลการศึกษาของ มาร์แชล และซานาว พบว่าเมื่อกระสุนชนิดใหม่นั้นมีการใช้งานโดยตำรวจ จนรวบรวมเป็นสถิติได้แล้ว ประสิทธิภาพที่ได้คำนวนไว้ก่อน มีค่าใกล้เคียงกับประสิทธิภาพจากสถิติการใช้งานจริงมากแสดงว่าสูตรคำนวนให้ผลใกล้เคียงความเป็นจริง จากการประเมินประสิทธิภาพของกระสุนด้วยสถุติการใช้งานจริงตามแนวความคิดของมาร์แชล และซานาวกระสุนหัวรูที่มีน้ำหนักหัวกระสุนน้อย แต่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง มักจะมีประสิทธิภาพในการหยุดยั้งได้ดีกว่ากระสุนหัวรูที่มีน้ำหนักหัวกระสุนมากแต่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำกว่า ตัวอย่างเช่นค่าประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้ (คัดลอกมาจาก Web Page ของ Dale Towert บนอินเตอร์เน็ต ที่ http://www.incose.com/stop/street1.htm) กระสุนปืนรีวอลเวอร์ .38 สเปเชียล Cor-Bon+P+ หัวรู JHP หนัก 115 เกรน ความเร็วต้น 1250 ฟุตต่อวินาที มีประสิทธิภาพการหยุดยั้ง 83% ในขณะที่กระสุน Winchester +P หัวรูตะกั่ว LHP หนัก 158 เกรนความเร็วต้น 890 ฟุตต่อวินาที มีประสิทธิภาพ การหยุดยั้ง 78% กระสุนปืนออโต้เมติก 9 มม. พาราเบลลั่ม Cor-Bon หัวรู JHP หนัก 115 เกรน ความเร็วต้น 1350 ฟุตต่อวินาที มีประสิทธิภาพ การหยุดยั้ง 91% ใน ขณะที่กระสุน Winchester หัวรู Black Talon แบบ JHP หนัก 147 เกรน ความเร็วต้น 990 ฟุตต่อวินาทีมีประสิทธิภาพการหยุดยั้ง 77% ส่วนกระสุนปืน ออโต้เมติก .45 เอซีพี มีแนวโน้มกลับกัน เช่นกระสุน Remington หัวรู Golden Sabre แบบ JHP หนัก 230 เกรน ความเร็วต้น 875 ฟุตต่อวินาทีมีประสิทธิภาพการหยุดยั้ง 93% ในขณะที่ กระสุน Remington หัว Golden Sabre แบบ JHP หนัก 185 เกรน ความเร็วต้น 1015 ฟุตต่อวินาที มีประสิทธิภาพการหยุดยั้ง 89% อีกค่ายหนึ่งในวงการปืนสหรัฐ คือผู้ที่เชื่อตามแนวความคิดของ นายแพทย์ มาร์ติน แฟคเลอร์ หนึ่งในแปดผู้เชี่ยวชาญที่เข้ารร่วมการสัมมนาของ เอฟบีโอ เช่นเดียวกัน แฟคเลอร์เป็นนักวิชาการ ที่ศึกษาขีปนวิทยาของบาดแผลโดยอาศัยหลักทางฟิสิกส์หลักการแพทย์ และการทดลองในห้องปฏิบัติการโดยใช้วัสดุจำลอง เช่น สุกรที่ฆ่าใหม่ และ 10% Ballistic Gelatin ร่วมกับ การจำลองทางคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบจำลองที่ แฟคเลอร์พัฒนาร่วมกับนักขีปนวิทยาของบาดแผล ดันแคน แม็คเฟียร์สัน (ผู้เป็นหนึ่งในทีมงานที่พัฒนาสมการและวิธีการควบคุมวิถีของยานอวกาศ เมอร์คิวรี่ในการเริ่มบุกเบิกอวการศเมื่อปี 1959) แฟคเลอร์ยืนยันผลสรุปจากการสัมมนาของ เอฟบีไอ ที่ว่าความลึกการเจาะทะลวง เป็นปัจจัยสำคัญในการหยุดยั้ง และโพรงไม่ถาวรที่เกิดจากกระสุนให้ผลต่อการหยุดยั้ง และโพรงไม่ถาวรที่เกิดจากกระสุนให้ผลต่อการหยุดยั้งน้ำมากดังนั้นผู้ที่มีแนวความคิดในค่ายนี้จึงนิยมกระสุนหัวรูที่มีน้ำหนักมาก โดยคำนึงถึงความเร็วของหัวกระสุนเป็นอันดังรอง ภรรยาของผู้เขียนได้ค้นหาบทความของ แฟคเลอร์ที่ตีพิมพ์ในวารสาร International Defense Review ฉบับ มี.ค. 1987 และ พ.ค. 1988 มาให้ดู บทความทั้งสองมีสิ่งที่น่าสนใจอยู่หลายประการเช่น แฟคเลอร์ อธิบายปรากกฎการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อกระสุนเจาะเข้าร่างกายไว้ว่า การยึดตัวเกิดโพรงไม่ถาวร Cavitation ในวัสดุจำลองเนื้อเยื่อนั้นจะมีขนาดใหญ่จนดูน่ากลัวแต่เนื้อเยื้อจริงของร่างกายโดยส่วนใหญ่จะอ่อนตัวและมีความยืดหยุ่น จากการศึกษาสัตว์ที่มีชีวิต พบว่าเนื้อเยื่อสามารถรับพลักงงานจากหัวกระสุน แล้วขยายตัวเกิดโพรงไม่ถาวรได้โดยไม่มีการฉีกขาดเสียหายเกิดขึ้น เนื้อเยื่อที่ยืดหยุ่นได้เช่น ลำไส้, ปอด, กล้ามเนื้อ สามารถ ขยายตัวได้มากโดยไม่เกิดความเสียหาย ต่างจากเนื้อเยื่อที่ไม่ยืดหยุ่น ทนต่อการถูกผลักให้เคลื่อนที่ได้ดี แต่จะได้รับความเสียหายหากผนังเส้นโลหิตบางส่วนถูกหัวกระสุนตัดขาด การเสียโลหิตจากรูกระสุนเป็นกลไกการหยุดยั้งอย่างเดียวที่ให้ผลแน่นอนสำหรับปืนพก นอกเนหือจากการยิงถูกสมองหรือไขสันหลัง ในกรณีกระสุนปืนพกที่มีน้ำหนักหัวกระสุนเบา เช่น ต่ำกว่า 120 เกรน สำหรับกระสุนขนาด .38 ข้อบกพร่องหลักคือการมีอำนาจเจาะทะลวงน้อยเกิดไป เจาะไม่ถึงเส้นโลหิตขนาดใหญ่ในร่างกาย เช่น เส้นโลหิตแดงใหญ่เอออต้า กับเส้นโลหิตดำใหญ่ วีนา คาวา ซึ่งอยู่ด้านหลังของช่องท้อง มีระยะห่างเฉลี่ยจากด้านหน้าของท้องประมาณ 15 เซนติเมตร อีกประการที่น่าสนใจคือ ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการช่วยป้องกันมิให้กระสุนทะลุทะลวง ผ่านคนร้ายไปเป็นอันตรายต่อผู้อื่นด้านหลังได้มาก แพทย์ผู้ชันสูตรพลิกศพมักพบว่าหัวกระสุนตุงอยู่ใต้ผิวหนังด้านหลัง ณ จุดที่กระสุนควรจะทะลุออกไป ทำให้ แฟคเลอร์ศึกษาลักษณะการต้านทานของผิวหนัง พบว่าผิวหนังจะมีผลในการต้านการเจาะของหัวกระสุนได้ใกล้เคียงกับเนื้อเยื่อหนาประมาณ 10 เซนติเมตร เป็นระยะนิรภัยที่ช่วยลดความวิตกว่ากระสุนจะมีการทะลุทะลวงมากเกินไปได้ และที่น่าสนใจมาก ก็คือข้อแนะนำของ แฟคเลอร์สำหรับเจ้าหน้าที่รักษากฎหมายที่ต้องการทดสอบประสิทธิภาพของกระสุนเองโดยไม่ต้องยุ่งยากไปเที่ยวหาห้องปฏิบัติการทางขีปนวิทยา คือ จากการศึกษาลักษณะที่หัวกระสุนบานขยายเมื่อยิงเข้าในวัสดุชนิดต่าง ๆ พบว่า วัสดุประเภท ดินเหนียว ดินน้ำมัน หรือยางก้อน Duct-Seal ที่ช่างแอร์ใช้อุดช่องแอร์ นั้นให้ผลไม่สมจริง หัวกระสุนจะมีการบานขยายเกิดจริงมากวัสดุที่ให้ผลใกล้เคียง 10% Ballistic Gelatin มาตรฐานมากที่สุดคือน้ำเปล่า ดังนั้นวิธีทดสอบการบานของหัวกระสุนอย่างง่ายก็คือนำกล่องนมสี่เหลี่ยมชนิดกระดาษแข็งเคลือบไขบรรจุน้ำเต็มแล้ววางเรียงกัน ยิงกระสุนที่ต้องการทดสอบให้วิ่งทะลุน้ำในกล่องนมเหล่านั้น จะได้ทั้งระยะการเจาะกับเก็บหัวกระสุนมาตรวจสอบการบานขยายได้ด้วยแต่ระยะการเจาะทะลุทะลวงในน้ำนั้นจะมีค่ามากเป็นประมาณสองเท่าของระยะการเจาะจริง จึงต้องเผื่อจำนวนกล่องนมเอาไว้ และหารผลการเจาะในน้ำด้วยสอง ข้อแนะนำเบื้องต้นของ แฟคเลอร์ ก็คือควรใช้กระสุนที่หัวกระสุนบานขยายได้เส้นผ่าศูนย์กลางเป็น 1.5 ถึง 1.8 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเดิม หากหัวกระสุนขยายเป็นมากกว่า 2 เท่าของเส็นผ่าศูนย์กลางเดิมหรือหัวกระสุนหดสั้นจนมีความยาวน้อยกว่าเส้นผ่าศูนย์กลาง ให้พึงระวังเพราะแสดงว่าหัวกระสุนนั้นจะมีอำนาจการเจาะน้อยเกินไป การบานขยายมากเกินไป มีผลร้ายมากกว่าการบานขยายน้อยไปเพราะหัวกระสุนปืนพกไม่สามารถทำลายอวัยวะที่มันเจาะเข้าไปไม่ถึง ส่วน ดันแคน แม็คเฟียร์สัน นักขีปนวิทยา ของบาดแผลที่มีแนวความคิดทำนองเดียวกัน ได้กล่าวถึงการประมาณประสิทธิภาพของกระสุนปืนพกไว้ในหนังสือ Bullet Penetration : Modeling the Dynamics and the Incapacitation Resulting from Wound Trauma ซึ่งจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Ballistic Publications ว่าจากการพิจารณาผลการทดลองของ ทอมป์สัน-ลาการ์ด พบว่าการจะยิงวัวให้ล้มทันที โดยใช้ปืนพกยิงเข้าบริเวณที่ไม่ผ่านอวัยวะสำคัญนั้น จะต้องทำลายเนื้อเยื่อในโพรงถาวรให้ได้ปริมาณ 220 กรัม หากคำนวนเคร่า ๆ เทียบบัญญัติไตรยางค์จากวันหนัก 450 กิโลกรัม ลงมาเป็นมนุษย์หนัก 75-90 กิโลกรัม จะต้องทำลายเนื้อเยื่อให้ได้ปริมาณ 40 กรัม โดยที่อันที่จริงแล้ว กระสุน .45 เอซีพี หัวมน ซึ่งได้รับการคัดเลือกในครั้งนั้นให้ผลในการทำลายเนื้อเยื่อได้เพียง 26.8 กรัม แม็คเฟียร์สัน จึงประมาณเคร่า ๆ ต่อไปว่าตัวเลขผลในการทำลายเนื้อเยื่อประมาณ 30-40 กรัมน่าจะเพียงพอแก่การหยุดยั้งได้ และเมื่อพิจารณาผลของกระสุนขนาดต่าง ๆ เทียบกัน จะได้ตัวเลขประมาณเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย ดังนี้
สรุปได้ว่ากระสุนหัวรูคุณภาพดี ในขนาดยอดนิยมทั้งสาม ล้วนแต่มีอำนาจหยุดยั้งอยู่ในระดับที่เพียงพอแล้ว ครับ ก็ได้กล่าวถึงแนวความคิดของแต่ละฝ่ายมาแล้ว ใครจะชอบแนวความคิดใดก็คงพิจารณาเลือกกันได้เอง ข้อที่น่าคิดอย่างหนึ่งคือข้อมูลตัวเลขต่าง ๆ นั้นเป็นของสหรัฐฯ ซึ่งลักษณะสรีระของคนร้ายอาจแตกต่างจากคนร้ายบ้านเราบ้าง หากจะคิดเฉลี่ยเอว่าคนไทยมีขนาดร่างกายเล็กกว่าคนอเมริกันแล้ว ค่าประสิทธิภาพการหยุดยั้งตามแนวความคิดของ มาร์แชล และ ซานาวก็น่าจะมีค่าสูงขึ้นหากเอามาใช้กันคนร้ายเมืองไทย และค่าการเจาะทะลวงขั้นต่ำตามแนวความคิดของ แฟคเลอร์ก็น่าจะมีค่าน้อยกว่า ค่า 10 ถึง 12 นิ้ว ที่สรุปไว้ในรายงานผลการสัมมนาของ เอฟบีไอ เรื่องของขีปนวิทยาของบาดแผลกับกระสุนปืนพกยังไม่หมดสมบูรณ์ เรื่องที่น่าสนใจยังมีอีก เช่นเรื่องแนวความคิดของนักออกแบบหัวกระสุนในปัจจุบันว่าใช้วิธีอะไรจึงจะทำให้หัวกระสุนบานออก ได้อย่างแน่นอนในกรณีกระทบเป้าด้วยความเร็วต่ำ เป็นต้นเรื่องเหล่านี้ผู้เขียนจะขอไปค้นคว้ามาเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อๆ ไป ขอขอบคุณ Guns world Thailand ที่ได้อนุญาตให้นำบทความมาจัดทำ website นี้ |
|||||||||||||
(--[Main]-*-[Links]-*-[Search]-*-[Pager]-*-[Contact]-*-[E-mail]--) |