กิจกรรมดนตรีไทยของโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์
ได้เริ่มต้นขึ้นมาเมื่อราวปีพ.ศ.2514-2515
ได้มีการเชิญอาจารย์สุดจิตต์
ดุริยะประณีต
(ศิลปินแห่งชาติ)
ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยและคณะ
มาทำการฝึกสอน
โดยมี อาจารย์สุภมาส
ไทยพานิชและ
อาจารย์จันทิมา
มีบ่อทรัพย์
เป็นผู้ดูแล
และได้รับอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษในเวลาต่อมาตามลำดับคือ
อาจารย์นิเวศ
ฤาวิชา
อาจารย์มณฑล
คงสาหร่าย
อาจารย์ชำนิ
ศรีพระราม(อาจารย์พิเศษและนิสิตฝึกสอน)
วงดนตรีไทยโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์
ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่งใน
ปี พ.ศ. 2540
โดยดำริของท่านอธิการิณี
ซีสเตอร์ดอมินิก
กิจเจริญ
และ
ท่านอาจารย์ใหญ่
ซีสเตอร์มารีโนแอล
ผิวเกลี้ยง
ที่มีความตั้งใจจะพัฒนา
เยาวชนของชาติให้มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งทางด้านร่างกาย
สติ
ปัญญา
สังคม
และจิตใจ
ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประเทศชาติต่อไป
แนวคิดดังกล่าวจึงนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนากิจกรรมวงดนตรีไทยของโรงเรียน
โดยยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรมเป็นแนวทาง
เพื่อให้นักเรียนได้มีสุนทรียภาพทางดนตรี
อันเป็นผลดีต่อการพัฒนาจิตใจของนักเรียน
ปีพ.ศ.2540ได้มีการพัฒนาในทุกๆด้าน
ในด้านบุคลากรได้รับอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษดังนี้คือ
อาจารย์ธีรยุทธ
ตุ้มฉาย(คบ.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
เป็นอาจารย์ประจำและผู้ควบคุมวง
อาจารย์มานิดา
จั่นสุวรรณ(คบ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)เป็นอาจารย์ประจำ
อาจารย์มณฑล
คงสาหร่าย
(ศ.ศบ.สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล)
เป็นอาจารย์พิเศษ
อาจารย์สุขสันต์
พ่วงกลัด
(คบ.,คม.บ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
เป็นอาจารย์พิเศษ
อาจารย์นิรุจน์
ฤาวิชา (ศ.ศบ.สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล)
เป็นอาจารย์พิเศษ
ในด้านอุปกรณ์ได้มีการจัดซื้อและซ่อมแซมอุปกรณ์ให้เพียงพอกับนักเรียนวงดนตรีไทย
และนักเรียนกิจกรรมดนตรีไทยให้มีเครื่องดนตรีเพียงพอ
และจัดตั้งวงดนตรีไทยได้ถึง
5 รูปแบบ
คือ
วงมโหรี
วงเครื่องสาย
วงปี่พาทย์
วงขิมหมู่
วงอังกะลุง
และได้ออกแสดงในงาน
กิจกรรมของโรงเรียนและภายนอกโรงเรียนด้วย
อาทิ
งานเซนต์ฟรังไนท์
งานวันครู
งานวันแม่
งานวันพ่อ
งานไหว้ครูดนตรีของสถาบันศึกษาต่างๆ
ร่วมรายการถวายพระพรและรายการดนตรีไทย
ของสถานีโทรทัศน์ต่างๆ
ฯลฯ
|