ท่านควรแจ้งแก่แพทย์
เภสัชกร
หรือทันตแพทย์ที่ท่านกำลังปรึกษาอยู่ถึงสิ่งต่อไปนี้
ประวัติการแพ้ยา
อาหาร
หรือผลข้างเคียงของยาที่ท่านเคยประสบ |
มีประโยชน์ในการเลือกยาที่เหมาะสม |
ถ้าท่านกำลังอยู่ในช่วงของการควบคุมอาหารเพื่อรักษาโรคบางอย่าง
เช่น กำลังจำกัดเกลือ,
น้ำตาล, หรือ
แอลกอฮอล์ |
ยาหลายอย่างอยู่ในรูปของเกลือโซเดียม
หรือยาน้ำส่วนใหญ่มักมีแอลกอฮอล์
หรือน้ำตาลอยู่ด้วย |
ถ้าท่านตั้งครรภ์
หรือมีความต้องการจะตั้งครรภ์
|
มียามากมายมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก
และยาบางชนิดเช่นยาแก้สิวบางตัว
มีฤทธิ์สะสมอีกนานหลังจากเลิกทานและยังคงมีผลเสียถ้าเกิดการตั้งครรภ์ภายใน
3 เดือนหลังจากหยุดยา |
ถ้าท่านให้นมบุตร |
ยาส่วนใหญ่ถูกขับออกทางน้ำนมด้วย |
ยาทุกชนิดที่ท่านกำลังใช้อยู่ในขณะนั้นรวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารเสริมทุกชนิด |
การรับประทานยาหลายชนิดปนกัน
สามารถมีผลกันและกัน
ซึ่งเป็นไปได้ว่า
อาจจะเพิ่มผลการรักษา
เพิ่มพิษของยา
ลดการรักษา เพิ่มผลข้างเคียง |
โรคประจำตัวที่ท่านเป็นอยู่ |
ยาเกือบทุกชนิดมีข้อห้ามใช้
แม้แต่ยาง่าย เช่น
ยาลดไข้แก้ปวดพาราเซตามอล
ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับ
หรือ
ยาแก้หวัดดีคอลเจน
หรือทิฟฟี่ห้ามใช้กับผู้ป่วยโรคหัวใจ
ความดันโลหิตสูง
โรคตับ ธัยรอยด์
เบาหวาน เป็นต้น |
- เก็บให้ห่างมือเด็ก
- ควรเก็บยาในภาชนะบรรจุเดิม
- เก็บให้ห่างจากความร้อน
และแสงแดด
- ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ
และที่ชื้นอื่นๆ
- ควรนำสำลีที่ยัดมาในขวดยาออกทิ้งไป
เนื่องจากสำลีเป็นตัวดึงความชื้นเข้าสู่ขวดยาได้
- ไม่ควรแช่ยาในช่องแช่แข็ง
- ไม่ควรเก็บยาในตู้เย็น
นอกจากยาที่จำเป็นเช่น
ยาแก้อักเสบที่ต้องผสมน้ำก่อนใช้
- ไม่ควรเก็บยาในรถยนต์
- ควรทิ้งยาที่หมดอายุแล้วทันที
- ในการทิ้งยา
ต้องแน่ใจว่ายาได้ถูกทิ้งอย่างเหมาะสม
เพื่อป้องกันเด็กไปรื้อค้นมาเล่น
การใช้ยาเพื่อให้ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ
และหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ
- รับประทานยาหรือใช้ยาตามที่กำหนด
ไม่ทานเพิ่มหรือลดขนาดยาเอง
ยาบางชนิดมีพิษมาก
การเพิ่มยาเองเพียงเล็กน้อย
อาจทำให้เกิดผลเสียบางอย่างที่รุนแรง
เช่น
ยาโรคหัวใจดิจิตาลิส
ยาขยายหลอดลมธีโอฟิลลิน
เป็นต้น
- ใช้ยาให้ถูกเวลา
ไม่ถี่หรือห่างกันเกินไปในแต่ละมื้อ
ถ้าท่านมีกิจวัตรประจำวัน
หรือมีวิธีการดำเนินชีวิตที่ผิดแปลกไป
ควรปรึกษาแพทย์
หรือเภสัชกร เช่น
ยาที่ระบุว่าให้ทาน
4 ครั้งต่อวัน
หลังอาหาร
แต่ท่านทานอาหารวันละ
2 มื้อ
ท่านจะต้องทำอย่างไร
?
หรือถ้าท่านต้องทำงานเป็นกะ
ท่านจะต้องทำอย่างไร
?
- ยาบางชนิดไม่ต้องทานต่อเนื่องกัน
หยุดยาได้เมื่ออาการหาย
หรือยาบางชนิดต้องรับประทานติดต่อกันระยะเวลาหนึ่ง
หรือ
บางชนิดต้องรับประทานไปตลอดชีวิต
- ท่านไม่ควรเก็บยาหลายชนิดไว้ในภาชนะเดียวกัน
เพราะอาจเกิดความสับปสนได้
- ไม่ควรทานยาในที่มืด
ควรอ่านฉลากยาทุกครั้งก่อนใช้ยา
ดูรายละเอียดได้ที่
รูปแบบและวิธีบริหารยา
- ไม่ควรให้ยาที่ท่านใช้ให้ผู้อื่นใช้
หรือไม่ควรใช้ยาของผู้อื่นโดยที่ท่านคิดว่าเป็นอาการเดียวกัน
นอกจากท่านมั่นใจจริงๆ
เนื่องจากยาหลายๆชนิด
ได้ถูกเลือกให้เหมาะสมกับสภาพอาการรวมทั้งสภาพร่างกายของท่านหรือของเจ้าของยา
มิฉะนั้นอาจเกิดผลข้างเคียงหรือพิษจากยาที่ท่านคาดไม่ถึง
- เมื่อท่านต้องใช้ยาอื่นๆเพิ่มเติมในระหว่างที่ท่านอยูในระหว่างใช้ยาอยู่
ท่านควรปรึกษาแพทย์
เภสัชกรก่อนทุกครั้ง
เพราะการใช้ยามากชนิด
อาจเกิดปฏิกิริยาต่อกัน
ทำให้เพิ่มผลการรักษา
หรือ เพิ่มผลข้างเคียง
หรือเพิ่มพิษของยาก็ได้
- ถ้าท่านต้องเข้ารับการผ่าตัด
ทำฟัน
ควรแจ้งแก่แพทย์ผู้รักษา
หรือวิสัญญีแพทย์
เกี่ยวกับยาที่ท่านกำลังใช้อยู่
ปัจจุบันยังไม่มียาใดเลยที่ให้แต่ประโยชน์ด้านเดียว
แต่จะมีผลข้างเคียงหรือพิษของยาด้วยเสมอ
ดังนั้นเมื่อท่านได้รับยาจากแพทย์
หรือ เภสัชกร
ท่านจึงควรสอบถามให้ชัดเจนว่า
ยานั้นๆมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง
และผลข้างเคียงแบบไหนที่อยุ่ในระดับที่ไม่อันตราย
แบบไหนที่เมื่อปรากฏจะต้องรีบหยุดยาทันทีโดยไม่รีรอ
หลังจากที่ท่านได้รับยาจากแพทย์
หรือเภสัชกร
ท่านควรรักษาสิทธิของท่านในการทราบชื่อยาทางการค้า
และชื่อยาทั่วไปทุกครั้ง
ยาที่ท่านจะต้องใช้รักษาโรคเรื้อรังซึ่งต้องทานติดต่อกันไป
ท่านควรมีประจำตัวไว้ตลอดเวลาอย่าให้ขาด
โดยเฉพาะเวลาเดินทาง
เพราะยาบางชนิดถ้าหยุดยาอย่างกะทันหัน
จะทำให้เกิดอาการกำเริมได้อย่างทันทีทันใด
ถ้าท่านมีข้อสงสัยเรื่องยาควรปรึกษาผู้ที่จ่ายให้ท่านทันที
หรือ เมล์มาที่ผมก็ได้ครับ
( ถ้าไม่รับด่วยนัก )
|