This
Page |
|
Related
Topic |
|
Other
Web |
|
เชิญ
ติชม สอบถาม เสนอแนะ |
|
|
|
ยาทากันแดดประเภท
Physical
เหมาะกับผู้ที่ผิวแพ้ง่าย
|
โดยทั่วไปการทายากันแดดให้ได้ผลเต็มที่
จะต้องทาก่อนครีมอื่นๆทุกอย่าง
|
ในการทายากันแดด
ควรที่จะทาให้เป็น
แนวทางเดียวกัน
ทิศทางเดียวกัน
ไม่ควรทาย้อนไปย้อนมา
หรือวนเป็นวงกลม
จะทำให้การกระจายตัวของเนื้อยาไม่สม่ำเสมอ
|
ยาทากันแดดถือเป็นยาหลักที่ต้องใช้ใน
การรักษาโรคผิวหนัง
หลายๆชนิด
รวมทั้งเป็นการป้องกัน
และชลอความเสื่อมของผิวหนังที่ได้ผล
|
ยาทากันแดดถือเป็นครีมหลักที่ควรนึกถึง
ตัวแรกในการใช้
บำรุงรักษาผิวพรรณ
ส่วน AHA
, Retinol , Vit C , Vit E , อื่นๆ
ถือเป็นตัวรอง
|
|
ท่านทราบหรือไม่ว่ารังสีหรือที่เราเรียกว่าแสงแดfที่ส่องมายังโลกนั้นมีคุณสมบัติอย่างไร
?
รังสีจากดวงอาทิตย์แบ่งได้เป็นหลายชนิดตามช่วงหรือความยาวคลื่นได้ดังนี้
ชนิดรังสี |
% ที่ตกถึงผิวโลก |
ช่วงคลื่น (wavelength) |
UV-A |
4.9% |
320-400 nm |
UV-B |
0.1% |
290-320 nm |
Visible-light |
39.0% |
400-800 nm |
Infrared |
56.0% |
>800 nm |
ประโยชน์ที่ได้จากแสงแดดที่มีต่อผิวหนังคือ
ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างวิตามิน
D
ช่วยให้ผิวหนังสร้างเม็ดสีที่ผิว
และทำให้ผิวหนังหนาขึ้นอีกด้วย
ในระยะสั้นอาจเกิดอาการแดดเผา
ส่วนในผู้ที่ถูกแสงแดดเป็นประจำ
อาจมีผลทำให้เกิดโรคผิวหนังชนิดต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดฝ้าแดดและมะเร็งที่ผิวหนัง
ผิวหนังของคนเราก็สามารถแบ่งได้เช่นกัน
ดังนั้นการที่เราจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดชนิดใดควรทราบก่อนว่าผิวหนังของเราจัดอยู่ในชนิดใด
ชนิดของผิวหนังของคนเราและค่า
SPF ที่ควรเลือกใช้
ชนิดของผิวหนัง |
สีผิว (ในร่มผ้า)
|
ลักษณะผิวเมื่อถูกแดด |
ค่า SPF ที่แนะนำ |
1 |
ขาว White
|
ผิวไหม้เกรียมง่ายเสมอ
ไม่ดำคล้ำ
ไม่มีสี ผิวเข้ม |
15-30 |
2 |
ขาว White
|
ผิวไหม้เกรียมง่ายเสมอ
ดำคล้ำจางๆ
ไม่มีสีผิวเข้ม |
15-30 |
3 |
ขาว White
|
ผิวมีโอกาสไหม้เกรียมน้อย
ดำคล้ำเล็กน้อย
มีสีผิวเข้มเป็นสีน้ำตาลอ่อน |
15-30 |
4 |
น้ำตาลอ่อน Light Brown
|
ผิวมีโอกาสไหม้เกรียมน้อย
ดำคล้ำพอประมาณ
มีสีผิวเข้มเป็นสีน้ำตาล |
10-15 |
5 |
น้ำตาล Brown
|
ผิวเกือบไม่มีการไม้มีการดำคล้ำ
มากและมีผิวสีเข้มที่ออกจะเป็นสีน้ำตาลดำ |
10-15 |
6 |
น้ำตาลดำ
- ดำDark
brown or
Black
|
ผิวไม่มีโอกาสไหม้เกรียมเลย
แต่ดำคล้ำมาก
มีสีดำเข้มมาก |
6-10 |
ความรู้ทั่วไปเกียวกับผลิตภัณฑ์กันแดด
ผลิตภัณฑ์กันแดด
เป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งมีสารกันแดด
( Sunscreen agent )
มีส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการป้องกันอันตรายซึ่งอาจได้รับจากแสงแดดซึ่งมีรังสีอัลตร้าไวโอเลต
A (UVA),
รังสีอัลตร้าไวโอเลต
B (UVB) และ Visible Light
เนื่องจากผลิตภัณฑ์กันแดดในบางกรณีมีวัตถุประสงค์เพื่อจะธำรงผลกระทบบางอย่างของแสงแดดต่อผิวหนังไว้เพื่อความพึงพอใจ
นั่นคือ
แสงแดดทำให้ผิวที่ขาวกลายเป็นผิวสีเข้ม
(Tan) จึงเกิดการแบ่งผลิตภัณฑ์เป็น
2 ชนิด คือ
- ผลิตภัณฑ์ Sun Tan
คือผลิตภัณฑ์ตากแดดแล้วสีผิวเข้มขึ้นโดยไม่เกิดอันตราย
- ผลิตภัณฑ์ Sunscreen
คือผลิตภัณฑ์ที่ปกป้องอันตรายและลดความเข้มของสีผิวจากแสงแดด
สารกันแดด
ซึ่งใช้ในผลิตภัณฑ์กันแแดดมี
2 ประเภทด้วยกันคือ
- สารกันแดดประเภท
Chemical
เป็นสารที่ใช้ดูดซับแสงอัลตร้าไวโอเลตก่อนจะถึงผิวหนัง
- สารกันแดดประเภท
Physical
เป็นสารที่ทึบแสงซึ่งทั้งดูดซับและสะท้องแสงอัลตร้าไวโอเลตออกไปจากผิวหนัง
-
สารกันแดดประเภท Physical
ได้แก่
-
Titanium.Dioxide,
Zinc Oxide
-
สารกันแดดประเภท Chemical
มีหลายประเภท
แบ่งเป็นกลุ่มๆดังนี้
- PABA
หรือ Paraaminobenzoic acid
ปัจจุบันไม่ใช้แล้ว
เพราะคาดว่ามีฤทธิ์ระคายเคือง
และอาจเป็นสาเหตุของมะเร็งซะเอง
- PABA ester
พัฒนามาจากกลุ่ม PABA
เพื่อกำจัดฤทธิ์อันไม่พึงประสงค์
โดยที่ประสิทธิภาพเหมือนเดิม
สารที่ใช้คือ Padimate-O
- BENZOPHENONE
ได้แก่ Oxybenzone
, Sulisobenzone
- CINNAMATES
: Octylmethyl Cinnamate ,
Cinoxate
- Salicylates
: Homomenthyl Salicylate
ประสิทธิภาพของสารกันแดด
- spf
ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดควรจะต้องมีการประเมินประสิทธิภาพก่อนการจำหน่ายในท้องตลาด
วิธีการประเมินโดยทั่วไป
จะทำการวัดค่า Sun Protecting Factor (SPF)
ซึ่งหมายถึงอัตราส่วนระหว่างปริมาณพลังงานรังสี
UV
ซึ่งทำให้ผิวหนังคนเราเกิดอาการแดงน้อยที่สุดโดยที่ผิวหนังที่ได้รับรังสีนั้นทาครีมป้องกันแแดเรียบร้อยแล้ว
หารด้วยปริมาณพลังงานของรังสี
UV ซึ่งทำให้ผิวหนังที่ไม่ได้ทาครีมป้องกันแสงแดด
เกิดอาการแดงขึ้น
การประเมินค่า SPF
อาจประเมินเป็นอัตราส่วนของระยะเวลาที่ผิวหนังได้รับแสงแดดก็ได้
เช่น SPF = 10
แสดงว่าผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดนั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันผิวหนังจากแสงแดดได้นานเป็น
10 เท่า
เมื่อเปรียบเทียบกับผิวหนังที่ไม่ได้ทาผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด
ดังนั้นการตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์
SPF เท่าใดควรพิจารณาปัจจัยหลายอย่าง
คือ
- ชนิดของผิวหนังของผู้ใช้
/
มีโรคผิวหนัง
- ปริมาณรังสีในแต่ละพื้นที่
/ ฤดูกาล
- ชนิดของสารกันแดด
ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารป้องกันทั้งรังสี
UV-A และ UV-B
- ความปลอดภัยในการใช้สารกันแดด
- ความติดทนนาน
เพราะประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์กันแดดจะลดลงโดยเฉพาะเมื่อถูกน้ำ
ควรใช้ผลิตำณฑ์ที่เป็น
Water Resistant หรือ Water Proof
จะช่วยให้การติดทนดียิ่งขึ้น
แต่อาจเหนอะหนะบ้าง
- ใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดให้เหมาะกับการแต่งหน้า
กล่าวคือ
ผลิตภัณฑ์กันแดดประเภท
Chemical
ควรทาก่อนครีมชนิดอื่นๆ
ผลิตภัณฑ์กันแดดประเภท
Physical เช่น Titanium Dioxide, Zinc
Oxide
จะทาก่อนหรือหลังครีมชนิดอื่นๆก็ได้.
|