Seminar Class
เรื่อง เรื่องของปลากราย(Notopterur chitala) ในประเทศไทย ภาควิชาชีววิทยา
Notopterus chitala in Thailand. คณะวิทยาศาสตร์
โดย นางสาวสุพัสตรา เหล็กจาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทย่อเรื่อง
( summary )

ปลากรายหรือNotopterus chitala เป็นปลาที่รู้จักและคุ้นเคยกันดี มีรูปร่างลักษณะที่จดจำง่าย
ปลาในกลุ่มเดียวกันนี้ได้แก่ ปลาตองNotopterus notopterus, Notopterus borneensis
หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันดีในชื่อปลาสะตือ (Suvatti,1967) และNotopterus blanci ที่พบในจังหวัด
หนองคาย บริเวณแม่น้ำโขงและในทะเลสาปเขมร ประเทศกัมพูชา(สืบสิน และสุภาพ,1967)ปลากราย
เป็นปลากินเนื้อ และจะวางไข่ในเดือนสิงหาคมถึงกันยายน โดยปลากรายเพศผู้จะมีพฤติกรรรมใน
การเฝ้าระวังไข่ ไข่ปรากรายเป็นไข่ประเภทไข่ติด แม่ปลาจะวางไข่คราวละ 5,000-10,000 ฟองโดย
ไข่ปลาจะแปรผันตามน้ำหนักตัว ในอดีตพบว่าปลากรายพบมากในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำในลุ่มภาค
เหนือ(Smith,1933) ปัจจุบันนี้ พบว่าปลากรายลดจำนวนลงมาก เนื่องจากปัญหาสภาพแวดล้อมที่
เปลี่ยนไป อีกทั้งความต้องการของตลาดสูงมากทั้งในตลาดปลาสวยงาม และเพื่อการบริโภค ทำให้
ปลาชนิดนี้มีราคาสูง และถ้าหากเป็นเช่นนี้ต่อไปอาจทำให้ปลากรายสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยได้ในอนาคต


back to main page|ไปหน้าต่อไป

1