การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความถี่ของลักษณะทางพันธุกรรมหมู่เลือด ABO
และตาบอดสี แดง-เขียว เช่นเดียวกับประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
สังคม การสาธารณสุข การสุขาภิบาล และสิ่งแวดล้อม ประเพณี วัฒนธรรม
วิธีการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยภาคสนามใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 1 ปี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย
ทั้งเชิงคุณภาพ และปริมาณควบคู่กัน นอกจากนี้ยังใช้การสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม
ตลอดจนการเข้าไปสังเกตการณ์ อย่างมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของหมู่บ้าน ผลการวิจัยพบว่าความถี่ของตัวนำลักษณะทางพันธุกรรม หมู่เลือด ABO สุ่มตัวอย่างจำนวน 529 คน จากเด็กนักเรียนอายุ 8-14 ปี ของชาวกะเลิง จากอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร และจากอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร คิดเป็นความถี่ของตัวนำลักษณะในประชาการ A= 0.209, B= 0.294 และ O= 0.490 การกระจายของหมู่เลือด A,B,AB และ O อยู่ในภาวะสมดุล ความถี่ของตัวนำลักษณะตาบอดสี สุ่มจากประชาการดังกล่าวจำนวน 527 คน พบตาบอดสี 2 คน จากเพศชาย 270 คน คิดเป็นความถี่ของตัวนำลักษณะตาบอดสีในประชากรเท่ากับ 0.008 บรรพบุรุษของกระเลิงเดิมมีถิ่นที่อยู่บนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เมืองมหาชัยกองแก้ว เมืองคำม่วน เมืองสุวรรณเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย เนื่องจากการสงครามในสมัย รัชกาลที่ 3 มาอยู่ที่เมืองสกลนคร ต่อมาอพยพขึ้นไปตั้งถิ่นฐานบนที่ราบ ของเทือกเขาภูพาน สภาพทั่วไปของ หมู่บ้านกระเลิงตั้งบ้านเรือนหนาแน่นในบริเวณที่สูง และมีแหล่ง น้ำอยู่ใกล้ สภาพทั่วไปทางสังคมเป็นแบบ ครอบครัวขยายสมาชิกในหมู่บ้านกระเลิงมีความสัมพันธ์และ ช่วยเหลือกันค่อนข้างสูง การสาธารณสุขยังนิยมใช้ทั้ง สถานีอนามัยตำบล และหรือการรักษาด้วยสมุนไพร และเวทย์มนต์คาถา การสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม การใช้ส้วม เริ่มนิยมกันมากแล้ว สัตว์เลี้ยงนิยมปล่อย ให้หากินตามธรรมชาติ และเลี้ยงสัตว์ไว้ใต้ถุนบ้าน เช่น เป็ด ไก่ วัว ควายและหมู น้ำบริโภคใช้วิธีขุดบ่อ น้ำตื้น และมีตุ่มใส่น้ำฝนไว้สำหรับดื่ม ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม ผู้ชายนิยมสักลายดำที่ต้นขา เอว อก และแก้ม แต่คนรุ่นปัจจุบันนิยมน้อยลง วัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น งานบุญ งานประเพณีต่างๆ ปฏิบัตเช่นเดียวกับประชาชนในชนบทอีสาน |
The main objective of this research project was to study the frequencies of genetic conductor for ABO
Blood groups and Red-Green Colourblindness as well as historical background, settlement,
general village conditions, social welfare, health hygine tradition and culture of the Ethnic
group regarded as Kraleung. Both quanlutative and quantitative approches were used in this
one year research project to collect field research data and these include field survey,
interview as well as living and taking part in various activities with Kraleung people in their villages.
Our results indicated that the frequencies of genetic conductor for ABO Blood groups, random form a total
of 529 samples (8-14 year old student) selected from kraleung in Kudbak, Sakonnakhon Province and
Kumcha-ee, Mukdaharn Province, the frequencies of A,B and O gene were 0.209, 0.294 and 0.490
respectively, while the distribution of A,B, AB and O blood groups among the population are in equilibrium.
The incidence of Red-Green Colourblindness detected was 2 out of 270 male samples. This is equivalent
to 0.008 when expressed in term of the gene frequency.
The ancestor of Kraleung people original lived in the left bank of the Makhong River above the city of
Suwannaket,Kam-Maun and Mahachai Kong-Kaew of the Democratic People Republic of Laos.
They were first immigrated into Mung Sakonnakhon of Thailand as the result of the war between Thailand and
Laos since the period of King Rama III. They have subsequently scattered in to the Phupan range.
Kraleung village generally situated on hightland but close to water resources.
Structurally, Kraleung families expand from the core family and they maintain close relationship among
themselves.
In the aspect of health care Kraleung people use services from health station as well as natural herbs
and superstitious methods. Livestock, swine chicken and duck are conventionally kept under their houses.
These animal are generallly allowed to feed naturally in the near by sites. In every house, Kraleung people
keep their drinking water in earth pots.
Kraleung men are symbolized by red and black tattoo on their wrest, chest and upper part of their legs
although there is a decreasing trend for these tradition nowaday. Apart from this, they share similar
culture practices with the majority now living in Northeasten part of Thailand.
|