Seminar Class
ไลเคนส์ : พืชบ่งชี้สภาพมลภาวะของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในอากาศ ภาควิชาชีววิทยา
The Study of Lichen as Biomonitor of Sulphur Dioxide Air Pollution คณะวิทยาศาสตร์
โดย นางสาวขวัญเดือน รัตนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น


บทย่อเรื่อง
( summary )

มลพิษที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆโดยการเพิ่มขึ้นของมลพิษนี้พบว่า จะส่งผลกระทบ
ต่อไลเคนส์ในบริเวณนั้นๆได้ เนื่องจากทัลลัสของไลเคนส์นั้นไม่มีชั้นผิวที่จะเคลือบหรือป้องกันตัวมันเอง
จากมลสารต่างๆ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหินหรือน้ำมันเชื้อเพลิง จึงไปมีผล
ทำให้กระบวนการสังเคราะห์แสงและกระบวนการหายใจของเซลล์สาหร่ายลดลงและท้ายที่สุดก็จะทำให้
ไลเคนส์ตาย ( Hawksworth and Rose,1979 )ต่อมาได้มีการนำไลเคนส์ไปวัดปริมาณของก๊าซซัลเฟอร์
ไดออกไซด์ในพื้นที่ที่ได้รับมลพิษต่างๆกัน โดยในปี1970 Hawksworth ได้ทำการศึกษาถึงปริมาณของ
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในประเทศอังกฤษและเวลส์โดยพบว่าในบริเวณที่มีปริมาณของซัลเฟอร์ไดออกไซด์
มากกว่า 170 (g/m3 จะพบไลเคนส์ Pleurococcus viridis ซึ่งเป็นไลเคนส์แบบ Crustose และใน
บริเวณที่อากาศบริสุทธิ์จะพบไลเคนส์ Lobaria pulmonaria ซึ่งเป็นไลเคนส์แบบ Fruticose และยังพบว่า
ลักษณะการเกาะติดของไลเคนส์กับเปลือกไม้ในที่ที่มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์สูงจะเกาะติดอยู่บริเวณโคนของ
ลำต้น ส่วนที่อยู่ในบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์จะพบที่ส่วนบนของลำต้นหรือบริเวณกิ่งไม้ ต่อมาในปี 1981 Rose และ
Hawksworth ได้สำรวจไลเคนส์ในลอนดอน พบว่าสำรวจพบไลเคนส์อีกครั้ง ภายหลังจากที่พบว่ามีไลเคนส์
เหลืออยู่น้อยมากหรือไม่มีเหลืออยู่เลย เมื่อครั้งที่ลอนดอนเกิดสภาวะมลพิษทางอากาศอย่างรุนแรง ดังนั้น
จำนวนชนิดของไลเคนส์*ี่เพิ่มมากขึ้นนี้ จึงบ่งชี้ว่าสภาพอากาศในลอนดอนดีขึ้น


ไปหน้าที่ผ่านมา |back to main page |ไปหน้าต่อไป

1