Seminar Class
เรื่อง สาหร่าย : ความหวังใหม่ในทศวรรษหน้า ภาควิชาชีววิทยา
( Algae : The ways of usage in the next decade ) คณะวิทยาศาสตร์
โดย นางสาวคมคณิต วรไพบูลย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


บทย่อเรื่อง
( Summary )

สาหร่ายเป็นพืชชั้นต่ำที่ไม่มีระบบท่อลำเลียง มีโครงสร้างง่าย ๆ ประกอบด้วยเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ ส่วนใหญ่สร้าง
อาหารโดยการสังเคราะห์ด้วยแสงเหมือนพืชชั้นสูง ประมาณกันว่า 50% ของการสังเคราะห์ด้วยแสงบนโลกได้มาจาก
สาหร่าย ( John, 1985 อ้างตาม ทวี, 2540 ) ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ทางนิเวศวิทยาอย่างมากประการหนึ่ง และเนื่องจาก
สาหร่ายมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน จึงนิยมนำมาเป็นตัวอย่างเพื่อศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์อีกด้วยสาหร่ายมีความหลากหลาย
มากกว่า 200,000 ชนิดบนโลก แต่มีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ เพียง 10 - 20 ชนิดเท่านั้น ( John,1985
อ้างตาม ทวี, 2540 ) เป็นที่คาดหมายว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการนำสาหร่ายมาใช้ประโยชน์กันมากยิ่งขึ้น มนุษย์มีการใช้
ประโยชน์จากสาหร่ายทางด้านการเกษตรกรรมและด้านอาหารมานานแล้ว ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจาก
สาหร่ายเป็นรูปอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ( health food supplement ) เป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมีการวิจัย
ประโยชน์*างยาจากสาหร่าย เพื่อนำมาพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมในอนาคตอีกด้วย และในปัจจุบันมีการสกัดสารคอลลอยด์
( colliod ) จากสาหร่ายทะเลนำมาประยุกต์ใช้ในวงการอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ( พิชาญ, 2526 ) เช่น agar, carrageenin,
alginic acid และ agarose ( อักษร, 2532 ) นอกจากนี้ยังมีการใช้ประโยชน์จากเถ้าของสาหร่าย ( Chapman, 1970 )
และจากไดอะตอมไมท์ ( diatomite ) อีกด้วย ( Dawes, 1981 )ในแต่ละปี ประเทศไทยต้องขาดดุลการค้าจากการนำเข้า
ผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ประเทศไทยก็มีทรัพยากรเพียงพอที่จะผลิตได้ แต่ยังขาดการพัฒนาความรู้ทาง
ด้านนี้อีกมาก ดังนั้นหากมีการศึกษาวิจัยที่เหมาะสม ก็จะเป็นประโยชน์ในการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่อไป


ไปหน้าที่ผ่านมา |back to main page |ไปหน้าต่อไป

1