Seminar Class
เรื่อง Gnetales: รอยเชื่อมต่อวิวัฒนาการของพืช ภาควิชาชีววิทยา
Gnetales: Connection to Evolution of Plants คณะวิทยาศาสตร์
โดย น.ส. รจนา โอภาสศิริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


บทย่อเรื่อง
( summary )

Gnetales เป็นพืชอันดับ (Order) หนึ่งในกลุ่ม gymnosperms ประกอบด้วย 3 genus คือ Ephedra,Welwitschia
และ Gnetum พืชกลุ่มนี้แตกต่างจาก gymnosperms อันดับอื่นๆ เนื่องจากแสดงลักษณะหลายอย่างที่เป็นลักษณะของ
angiosperms จากการวิเคราะห์ด้วย cladograms โดยใช้ลักษณะสำคัญ 58 ลักษณะ พบว่า Gnetum 37 ลักษณะ และ
Welwitschia 30 ลักษณะที่แสดงลักษณะของ angiosperms (Hickey and Taylor , 1996 ) มีการศึกษาในหลาย
ด้านเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างพืชใน Order Gnetales กับ angiosperms Trivett และ Pigg (1996) ศึกษาพบว่า
reticulate venation ของ Gnetum คล้ายกับพืชใบเลี้ยงคู่มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับพืชอื่นๆในกลุ่ม gymnosperms
และ Rodin (1966,1967อ้างตาม Trivette and Pigg, 1996) ศึกษาพบว่าใบของ Gnetum มี palisade และ spongy
layer ที่ชัดเจน และพบ laticifers ซึ่งตามปกติจะพบในพืชใบเลี้ยงคู่บางวงศ์ ( family) จากการศึกษาทางด้าน wood
anatomy ในส่วน xylem พบว่า Gnetales เป็นกลุ่มเดียวใน gymnosperms ที่พบทั้ง tracheid และ vessel Fisher
และ Ewers (1995) ศึกษา perforation ของ vessel ใน Gnetum พบ simple perforation มาก และ Carlquist (1996)
ศึกษาพบว่า tracheid และ lateral wall pit ของ vessel ใน Gnetum ไม่มี torus และ margo ซึ่งไม่พบใน angiosperms
เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางด้าน fertilization biology โดย Friedman (1990) พบว่า Ephedra nevadensis มี
double fertilization ซึ่งตามปกติจะไม่พบในพืชไม่มีดอก นอกจากการศึกษาเหล่านี้แล้วยังมีการศึกษาในด้านอื่น เช่น fossil,
DNA analysis และ pollen analysis เป็นต้น มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่า Gnetales มีความใกล้ชิดกับ angiosperms มากที่สุด
เมื่อเทียบกับพืชในกลุ่มอื่นๆ ซึ่งข้อมูลจากการศึกษาพืชในกลุ่ม Gnetales เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิวัฒนาการที่เกี่ยวข้อง
กับการกำเนิดของ angiosperms เป็นอย่างมาก


ไปหน้าที่ผ่านมา |back to main page |ไปหน้าต่อไป

เอกสารอ้างอิง ยุพา วรยศ. 2533. สัณฐานวิ*ยาของพืช. ภาควิชาชีววิ*ยา คณะวิ*ยาศาสตร์ มหาวิ*ยาลัยราม คำแหง, กรุงเ*พฯ. ศรีสุมนตร์ สีตะธนี. 2537. ปฏิบัติการชีววิ*ยา 311 317 สัณฐานวิ*ยาของพืช ตอนพืชมีระบบท่อ ลำเลียง. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. Carlquist,S. 1996. Wood Anatomy of Primitive Angiosperms: New Perspectives and Synthese. In:Flowering Plant Origin, Evolution and Phylogeny, Ed. by D.W. Taylor and L.J. Hickey. pp. 70-90. Chapman and Hall, New York. Fisher, J.B. and Ewers, F.W. 1995. Vessel Dimensions in Liana and Tree species of Gnetum (Gnetales ). American Journal of Botany 82(11): 1390-1357. Friedman, W.E. 1990. Sexual Reproduction in Ephedra nevadensis (Ephedraceae): Further Evidence of Double Fertilization in Nonflowering Seed Plant. American Journal of Botany 77(12): 1582-1598. Muhammad, A.F. and Sattler, R. 1982. Vessel Structure of Gnetum and The Origin of Angiosperms. American Journal of Botany 69(6): 1004-1021. Rodin, R.J. 1966. Leaf Structure and Evolution in American species of Gnetum. Phytomorphology 16:56-68. Rodin, R.J. 1967. Ontogeny of Foliage Leaves in Gnetum. Phytomorphology 17:118-128. Phengkai, C. 1975. Flora of Thailand II: part III. The Asrs Press, Bangkok. Trivett, M.L. and Pigg, K.B. 1996. A Survey of Reticulate Venation among Fossil and Living Land Plants.In: Flowering Plant Origin, Evolution and Phylogeny, Ed. by Taylor, D.W. and Hickey, L.J. pp. 8-31. Chapman and Hall, New York. Taylor, D.W. and Hickey, L.J. 1996. Flowering Plant Origin, Evolution and Phylogeny. Chapman and Hall, New York. 1 1