บทความ การใช้ EDI (อีดีไอ) ในงานโลจิสติกส์ โลจิสติกส์หมายถึงอะไร ในชีวิตประจำของทุกคนและทุกวันที่เราต้องเดินทางเพื่อทำธุระส่งข้อมูล ส่งพัสดุ ให้ทันเวลาและประหยัด ล้วนแต่เป็นปัญหาโลจิสติกส์ขนาดย่อมๆ ทั้งสิ้น สำหรับธุรกิจ และ อุตสาหกรรมที่ต้องการทำการขนส่งผู้โดยสาร และสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์จำนวนมาก ไม่ว่าจะ เป็นทางบก ทางเรือ ทางอากาศ และทางอวกาศแล้ว ก็จะมีปัญหาโลจิสติกส์ที่ขนาดใหญ่ขึ้นเป็น เงาตามตัว และจำเป็นต้องมีการวางแผนที่รอบคอบและการเตรียมการให้พร้อม การมีข้อมูลที่ ถูกต้องแม่นยำและทันกาล การมีอุปกรณ์ขนส่ง สถานที่ปฏิบัติการ เครื่องมือสื่อสารที่พร้อม และบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ล้วนแต่เป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับ โลจิสติกส์ ทั้งสิ้น โลจิสติกส์ในการทหาร หมายถึง กิจกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนนำเครื่องจักร อาวุธ คนและเสบียงต่างๆ ไปยังเป้าหมายให้ทันเวลา ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการชนะสงคราม ในโลกธุรกิจโลจิสติกส์ หมายถึง กิจกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับการไหลของพัสดุภัณฑ์ (วัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิตและสินค้าสำเร็จรูป) จากจุดเริ่มต้นจนกระทั่งไปถึงที่ผู้ใช้ ความสามารถในการ เคลื่อนย้ายและกระจายสินค้า ไปยังจุดที่ต้องการสินค้าได้ทันเวลาใช้ และประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นปัจจัย ที่สำคัญยิ่งต่อความอยู่รอดและความเจริญขององค์กรและธุรกิจหลายๆ ประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจอุตสาหกรรมและธุรกิจค้าปลีก เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค การดูแลรับผิดขอบงานด้านโลจิสติกส์ จะมีตั้งแต่การวางแผนและการจัดการทั่วๆ ไปเกี่ยวกับสินค้า เช่น การบริหารคลังสินค้าทั้งหมด การ จัดระบบจราจรของรถที่เข้าออกโรงงานหรือคลังสินค้าเพื่อขนถ่ายสินค้า การนำสินค้าไปเก็บในคลัง และการเอาออกจากคลัง การควบคุมปริมาณสินค้าคงคลัง การจัดการเกี่ยวกับคำสั่งซื้อการบรรจุหีบห่อ การเลือกวิธีการขนส่ง การกระจายสินค้าออกไปทั้งในประเทศ และต่างประเทศ การวางแผนเส้นทาง การขนส่งในกรณีที่ทำการขนส่งเอง ซึ่งอาจจะรวมถึงการเลือกทำเลของคลังสินค้าที่จะเก็บสินค้า การจัดหาสินค้า และการพยากรณ์ยอดขายด้วยกิจกรรมเหล่านี้ล้วนแต่มีค่าใช้จ่ายและใช้เวลาในการ ทำให้เกิดขึ้น ดังนั้นการทำให้กิจกรรมเหล่านี้ใช้เวลาสั้น ลดการผิดพลาด เพิ่มความแม่นยำ ก็จะช่วย ให้อุตสาหกรรมของไทยมีวามสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น เพราะจะทำให้ต้นทุนการผลิตและการนำ สินค้าไปถึงมือผู้บริโภคต่ำลง และอาจจะส่งผลให้สามารถเพิ่มส่วนแบ่งของตลาดให้มากขึ้นได้ ประโยชน์ของ EDI (อีดีไอ) ในธุรกิจ EDI หรือ Electronic Data Interchange เป็นวิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอีเล็กทรอนิกส์ ระหว่างธุรกิจและธุรกิจโดยใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสาร และใช้มาตรฐานสากลในการแลกเปลี่ยน ข้อมูล ซึ่งสามารถสื่อสารคำสั่งการค้าขายและธุรกรรมอื่นๆ ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว การใช้ EDI ระหว่างธุรกิจสองธุรกิจจะต้องมีการตกลงกันก่อนว่าจะใช้ EDI ในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ และยอมรับกันทั้งสองฝ่าย โดยปกติการแลกเปลี่ยนข้อมูล EDI มักจะทำผ่านคนกลางที่เรียกว่า VAN (Value Added Netwoke) ในบางธุรกิจการสื่อสารเพื่อทำธุรกรรม EDI อาจจะไม่ทำผ่าน VAN ก็ได้ หากมีการตกลงกันก่อนเครื่องมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างคู่ค้า แต่โดยทั่วไปแล้วการใช้ EDI มัก จะต้องพึ่ง VAN เสมอ องค์การได้ประโยชน์จาการใช้ อีดีไอมักจะค้นพบว่าอีดีไอมีประโยชน์ในการ 1) เพิ่มศักยภาพในการตอบสนองต่อลูกค้า 2) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีสำหรับช่องทางการค้า 3) เพิ่มประสิทธิภาพภายในขององค์กร 4) เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในระดับนานาชาติ 5) ลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการ ตัวอย่างการใช้ EDI (อีดีไอ) ในโลจิสติกส์ การขนส่ง ## เนื่องจากปริมาณข้อมูลที่ต้องส่งระหว่างบริษัทรับจ้างส่งสินค่า บริษัทที่เป็นเจ้าของ พาหนะ รวมทั้งที่ต้องติดต่อกับบริษัทผู้ประกอบการและหน่วยราบการมีจำนวนมาก กรมศุลกากรของ ประเทศไทยจึงได้นำระบบ EDI มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานของหน่วยราชการ ทั้งใน ส่วนของการส่งสินค้าออกนอกประเทศและการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ การจัดการวัสดุ ## กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัสดุในโรงงาน เช่น การวางแผนความต้องการวัสดุ ปัจจุบันคู่ค้าที่ใช้ EDI สามารถส่งข้อมูลเกี่ยวกับแผนการผลิตและแผนการสั่งซื้อสินค้าโดยใช้ EDI ไปให้คู่ค้า เพื่อใช้ในการวางแผนต่อไป การจัดซื้อ ## การใช้ EDI ในการจัดซื้อเป็นตัวอย่างของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการ ค้าขายระหว่างธุรกิจต่อธุรกิจที่มีมาเป็นเวลานานแล้ว และคาดว่าจะคงมีต่อไปในอนาคต ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย การใช้ EDI ในอุตสาหกรรมค้าปลีกอาหารทำกันอย่างกว้างขวาง กาจัดการสินค้าคงคลัง ## การใช้ EDI มีผลต่อการลดปริมาณสินค้าคงคลังที่ต้องใช้ในการสนอง ความต้องการสินค้า การกระจายสินค้า ## ปัจจุบัน เทคโนโลยี EDI มักจะใช้ร่วมกับเทคโนโลยีรหัสแท่ง (bar code) เมื่อสินค้าถูกขายตามห้างสรรพสินค้าหรือ ซุปเปอร์มาร์เก็ตที่อยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศ การบันทึก การขายโดยผ่านเครื่องอ่านหรัสแท่งทำได้อย่างรวดเร็วดังนั้นการตัดสต๊อกสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว และการเติมสต๊อกด้วยการผลิตหรือการสั่งซื้อสินค้ามาทดแทนก็สามารถ ทำได้อย่างสะดวกด้วยคำสั่ง เพื่อทดแทนสินค้าที่ลดลงไป รวมทั้งค่าพยากรณ์การขายสามารถส่งให้ผู้ผลิตสินค้าโดยใช้ EDI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท Levi Strauss ร่วมกับ บริษัท JC Penny ในสหรัฐอเมริกาสามารถ ลดปริมาณสินค้าคงคลังได้กว่า 24% ในขณะที่เพิ่มระดับบริการให้แก่ลูกค้ากว่า 20% โดยใช้ EDI สรุป EDI มีบทบาทในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ในต่างประเทศ สำหรับไทยเนื่องจากความ จำเป็นในการค้าขายกับต่างประเทศมีมากขึ้นเรื่อยๆ จึงคาดว่าโดยภาพรวมการใช้ EDI ในการติดต่อ ค้าขายกับต่างประเทศจะมีมากขึ้นในอนาคต นอกจากการผลักดันจากภาครัฐในการใช้ EDI ที่กรม ศุลกากรแล้ว การใช้ EDI ในหมู่สถาบันการเงินก็เริ่มมีแล้ว และสำหรับอุตสาหกรรม เช่น การค้าปลีก บริษัท TOPS Supermarket เป็นบริษัทหนึ่งที่นำ EDI มาใช้ในกระบวนการรับคำสั่งซื้อ จากสาขา ซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วประเทศกว่า 40 สาขา นอกจากนั้น TOPS ยังใช้ EDI ในการสั่งสินค้าไปยัง บริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น บริษัท Nestle จาก Cyber Guide นิตยสารอินเตอร์เน็ตรายเดือน ฉบับวันที่ 28 พฤศจิกายน 2542 |