จักรวรรดินิยมกับความเป็นชาติของคนไทย อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์เดช พุ่มคชา ดำเนินรายการ |
Download ต้นฉบับ | |
ประเทศต่างๆ ในโลกนี้ และประเทศไทย อุปสรรคการพัฒนา ก็คือ การศึกษาเพื่อพัฒนาทวยราษฎร์คนเล็กคนน้อยเป็นค่าเศษเสี้ยวในการศึกษา การศึกษาผูกขาดอยู่ในกลุ่มคนชั้นสูง สยามสมาคม เป็นเวทีของคนที่สนใจใฝ่รู้ ที่บอกว่า สังคมไทยและสังคมเทศมีอะไรที่แตกต่างกัน อะไรเป็นของเราเอง อะไรเป็นของเทศ อย่างไรก็ตามการถกเถียงดังกล่าวก็ยังอยู่ในระบบ อีกด้านก็คือ หนังสือสังคมศาสตร์ปริทรรศน์ ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปเป็น ยุวชนสยาม และหลักจากนั้นเราก็พบว่าขบวนการคนหนุ่มสาว เริ่มตั้งคำถามกับห้องเรียน หลังการนองเลือดครั้งสุดท้าย ก็ได้เกิด NGO ภาคประชาชน ครูโกมล คีมทอง และขบวนการ NGO ไทยก็เริ่มเติบโตขึ้นทีละเล็กละน้อย แต่คนด้อยโอกาส ที่ต้องเสียสละ เริ่มตั้งขบวนการของตนเอง กลุ่มสำคัญก็คือ สมัชชาคนจน ซึ่งเกิดจากการไม่คิดเงียบ ของคนบางกลุ่ม และคนที่ออกมาทำ และคนที่ซื่อสัตย์ต่อความคิดยังกล่าวจะปรากฎขึ้น ณ ที่นี้ ในช่วงที่มีโทรทัศน์เข้ามาในประเทศใหม่ หนังสือ โพรเกส ได้ลงบทความว่า "โทรทัศน์จะมีประโยชน์ด้านการศึกษาในการพัฒนา และโทรทัศน์ก็จะเป็นโทษมหันต์เช่นกัน" คนที่เขียนเรื่องนี้ก็คือ ศ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลไพรซ์ ภาคประชาชน) . ทำไมเราจึงคัดค้านเรื่องธนาคารพัฒนาเอเซีย ซึ่งบอกว่า ความยากจนจะลดน้อยลง คำตอบก็คือ ข้ออ้างนั้นเป็นเท็จ เพราะจากประสบการณ์ การขยายตัวทางเศรษฐกิจทำลายประเทศไทย ทำคนรวยให้รวยยิ่งขึ้น คนจนยิ่งจนลง ระบบทุนขยาย การค้าขยาย ประชาธิปไตยจะเติบโต ประชาธิปไตยกับเศรษฐกิจการตลาด เป็นศัตรูกัน ทุนนิยม เป็นระบบที่การค้าอยู่ในคนจำนวนน้อย การบริหารจะเป็นอย่างเผด็จการ ไม่โปร่งใส่ เป็นวิธีเดียวกับจักรวรรดินิยม สตรีอินเดีย " จักรวรรดินิยม การพัฒนา โลกาภิวัตน์ เป็นไวพจน์กันแต่กัน " ฝรั่งที่ล่าอาณานิคม ให้ยอมรับว่า คนผิวขาวเท่านั้นที่มีสิทธิในการปกครอง เพราะคนพื้นเมืองไม่มีความสามารถ เพราะแก่งแข่ง คนผู้ดีจากยุโรปเท่านั้นที่เสียสละ และมีความรับผิดชอบ จะได้นำการศึกษาและเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้คนพื้นเมืองมีการศึกษาและศิวิไลซ์ แม้ไทยไม่ใช่อาณานิคม แต่สนธิสัญญาเบาริ่ง ยังยอมรับว่าเราไม่ศิวิไลซ์ ขณะนั้น เจ้านายไทยก็ยังใช้ชื่อฝรั่ง คนอังกฤษ คนในอาณานิคม ถือเป็นคนเป็นสัญชาติอังกฤษโดยนิตินัย อังกฤษสร้างระบบข้าราชการพลเรือนในอินเดียขึ้น คนที่ได้ศึกษาจะได้รับชื่อย่อของระบบท้ายชื่อ ก็ถือว่าดีกว่าคนพื้นเมือง รัชกาลที่ 5 เสร็จประพาสต่างประเทศ เพื่อชนชั้นปกครองจะได้ศึกษาระบบการปกครองของฝรั่ง ปีที่เสด็จอินเดีย ก็ได้รับอิทธิพลจากอังกฤษมาเต็มที่ และสร้างกองทัพมาปราบกบฎในอีสาน และกบฎที่แพร่ กองทัพไทยตอนนั้นมีไว้สำหรับปราบประชาชนพลเมือง ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ถึง ปัจจุบัน แม้ปัจจุบันจะมีรัฐมนตรีเป็นพลเรือน ก็ไม่ได้หมายความว่ากองทัพจะไม่ปราบประชาชน กองทัพยังไม่เป็นไทจากการเมืองขึ้น ในกรณีอินเดีย คานธี เนหรู ไปเรียนอังกฤษ และผูกพันอังกฤษ เจ้าไทยก็เช่นกัน ไทยก็มีลาว มาลายู เป็นประเทศราชในรัชกาลที่ห้า ปัจจุบันก็ยังถือเอาคนชายอ้อปลายแขมเป็นอาณานิคมต่อคนเมืองใหญ่ ที่ผูกพันกับจักรวรรดินิยมไม่ทางตรงก็ทางอ้อม คนเหล่านี้พอใจก็การมีอำนาจราชศักดิ์แบบจักรวรรดินิยม รับเอาเครื่องแบบอย่างฝรั่งมาใช้ แม้จะไม่ ถ้าคานธีไม่ถูกสบประมาทก็คงนิยมจักรวรรดินิยม เนหรูก็เช่นกัน เนหรูเดินตามรอยเท้าของคานธี ในเรื่องการกระจายอำนาจ ที่เอาภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ ในกรุงสยาม นายปรีดี พนมยงค์ ที่นำเอารัฐธรรมนูญมาคืนให้ประชาชน และพยายามกลับไปหารากเหง้าสังคมเดิมในระบบสันธะ ในสมัยพุทธกาล และแก้ไขกฎหมายต่างๆ จนอภิมหาประเทศยอมรับประเทศสยาม และหมดความเป็นกึ่งเมืองขึ้นเสมอมา แต่เพื่อนนายปรีดี ก็ชักศึกเข้ามาแผ่จักรวรรดิอาทิตย์อุทัยเข้ามา นายปรีดีนั่นเองก็ตั้งเสรีไทย ให้ไทยกลับมาเป็นไทย แต่จอมพล ป. เอาเอาไปให้ฝรั่งเอง นอกจากนี้นายปรีดียังตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ แก่ทุกคน เมื่อเสร็จสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดีเอาอาวุธไปให้กองพลกู้ชาติให้เวียดนาม ลาว และเขมร นายปรีดี ตั้งสันนิบาตชาติเอเซียขึ้นในสงครามโลกครั้งที่ 2 สันนิบาตดังกล่าวต้องการความเป็นกลาง เพราะเห็นการณ์ไกลว่าจักรวรรดิอเมริกันจะเข้ามายิ่งใหญ่ และจีนและเป็นมหาอำนาจ ถ้าเอเซียรวมตัวกันเดินไปทางทิศทางสังคมประชาธิปไตย น่าจะเกิดสันติประชาธรรม เสียดายที่คณะทหาร ซึ่งมีผู้นำเป็นอาชญากรสงครามของสหรัฐและพรรคประชาธิปัตย์ ในปี 2490 ก็ปฏิวัตินายปรีดี สหรัฐประกาศต่อต้านจักรวรรดินิยม ทรูแมนให้ใช้คำว่า "พัฒนา" แทน คนผิวขาวไม่ต้องปกครอง แต่ให้ใช้จิตวิทยาใหม่ๆ ให้คนพวกนี้รู้สึกว่าตนเองด้อยพัฒนา สามารถเป็นพัฒนาได้ด้วยการเอาอย่างสหรัฐ ไม่ได้หมายถึงยุติธรรม ให้คนรวยประเทศสมคบต่างชาติปูยี่ปูยำคนจนในชาติ จอมพล ป. เผด็จการ เต็มตัว แต่สหรัฐก็สนับสนุน แต่เมื่อจอมพล ป. เริ่มรู้สึก สหรัฐก็ร่วมกับจอมพล ส. ปฏิวัติ จอมพล ป. การพัฒนา ได้ทำลายความเป็นไทยในทุกๆ ทาง คนให้คนชั้นบน เป็นคนหน้าไหว้หลังหลอก โกหกตอแหลอย่างหน้าด้านๆ พุทธศาสนา ก็ถูกล้างสมองว่า สันโดษ ให้ทำงานอย่างร่วมมืออย่างสนุก ไม่เอาเปรียบกัน ซึ่งละม้ายไปทางคอมมิวนิสต์ ผู้ปกครองพยายามล้างสมองคนในชาติ ก็ "เงินงานบันดาลสุข" ทศวรรษแห่งความประยศ คนจนยิ่งคนลง ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายปู้ยี่ปู้ยำคำว่าพัฒนา ปัจจุบันถูกแทนด้วยคำว่า โลกาภิวัฒน์ บรรษัทข้ามชาติ ใช้สื่อสะกดผู้คนให้เป็นเพียงผู้ใช้หรือผู้เสพ ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และนี่ไม่ใช่มหันตภัย เป็นผีห่าซาตาน ทำให้คนรู้สึกว่า ตนเองมีอะไรขาดหายไป ไม่มีใครเข้าใจเรื่องสันโดษ หรือพอมีพอได้ โลกาภิวัฒน์นี้ถูกควบคุมโดยบรรษัทข้ามชาติ ให้สื่อให้เกิดวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็น แมคโดนัลด์ กางเกงยีนส์ เนสกาแฟ โคคาโคล่า คานธี บอกว่า อังกฤษเกาะเล็กๆ ก็ยังหาทรัพยากรจากอาณานิคมทั่วโลกมาให้คนอังกฤษอยู่ดีกินดี ปัจจุบัน ถ้าให้ทุนคนมีรถ มีกินอย่างอเมริกัน ทรัพยากรธรรมชาติทั่วโลกจะเพียงพอหรือ เทคโนโลยีไม่ใส่ความสุขที่แท้ จอมปลอม มีโทษต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ คนเล็กคนน้อย ปลายอ้อปลายแขม ชาวเขา เข้ามีคุณธรรม วัฒนธรรมของเขา มีภูมิปัญญาของเขา ภาคอีสานเป็นภาคที่ถูกปู้ยี้ปู้ยำมากที่สุด เริ่มจากดงพญาไฟถูกทำลายในรัชกาลที่ 5 การปกครองย้ายกลับไปที่กรุง กรุงครอบจังหวัดต่างๆ เจ้าขุนมูลนายยิ่งใหญ่กว่าชาวไร่ชาวนาที่พึ่งตนเองมาตลอด ว่าการศึกษาที่กรุงดีกว่า แม้แต่พระ ก็ถูกส่งไปเรียนในกรุง จนเกิดธรรมกายขึ้นมา แต่พระผู้ใหญ่ก็ยังรู้สึกหลักคำสอน รักษาภูมิปัญญาพื้นบ้าน สังคมอีสานจึงยังปลอดภัยอยู่ ตัดถนนมากเท่าไหร่ ไฟฟ้าถึงไหน ที่ทางของชาวบ้านก็กลายเป็นของนายทุนมากขึ้น วิทยุโทรทัศน์ก็ทำให้คนรู้สึกด้อยมากขึ้น เขื่อนมากขึ้น เป็นผลลบกับชาวบ้านยิ่งกว่ารถไฟ และการทำลายดงพญาไฟ ชาวบ้านอีสาน ไปอยู่ที่อื่น ส่งลูกมาให้ชาวบ้าน ทำลายสังคมไทย เขื่อนสิรินธร ทำลายที่นาอย่างดี ชาวบ้านเข้ามาเก็บขยะในกรุง หลวงพ่อคูณ ต้องหาเงินมาสร้าง รพ. รร. หลวงตามหาบัว หาเงินจากคนจนมาทั้งนั้น สมสมนะแล้วหรือ หลวงพ่อนานที่สุรินทร์ สอนให้คนเลิกอบายมุข มีธนาคารข้าว ธนาคารควาย และสหกรณ์ พระคูณสุธาจารวัฒน์ที่ยโสธร สอนให้คนเลิกอบายมุข นำสมุนไพรกลับมาใช้ และแนะนำให้ใช้เบี้ย เงินตราทางเลือก ให้ชุมชนพึ่งตนเอง ความข้อนี้ต้องศึกษาให้ชัดเจนมากกว่าที่จะขัดขวาง เขื่อนปากมูล แม้ชาวบ้านจะเรียกร้อง แม้รัฐบาลชวลิตจะสนใจแต่รัฐบาลชวน กลับไม่เคยสนใจอย่างดี สมุนไพร ฟื้นฟูหมอนวด หมอยา ให้การศึกษาประชาชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เช่นที่เชียงใหม่ ฟื้นฟูภูมิปัญญาชาวบ้าน รัฐหันไปพึ่งเงินกู้ เอดีบี ขณะที่ชาวบ้านกลับไปหาพุทธธรรมคำตอบ ชนชั้นกลางที่กาญจนบุรี ที่เคยต่อสู้เรื่องท่อก๊าซ เขื่อน ชนชั้นกลางและคนชั้นล่างร่วมมือกันมากขึ้นก็จะมีหนทางต่อสู้กับจักรวรรดินิยมมากขึ้น เราควรเรียนจากธรรมชาติ หัวสมองสำคัญน้อยกว่า หัวใจ พยายามเข้าใจสังคมอันอยุติธรรม แม้การศึกษาเทคโนโลยีใหม่จะทำลายภูมิปัญญาพื้นบ้าน ถ้าเราไม่ยอมเราก็จะเกิดสันติประชาธรรม นายปรีดี นายป๋วย ท่านพุทธทาส พยายามทำ คนในชาติแม้มีลัทธิศาสนาที่ต่างกัน ถ้ายึดคุณธรรมเป็นที่ตั้งก็สามารถร่วมใจกันได้ โลกาภิวัตน์ เห็นพ้องกันว่า ทรัพยากรธรรมชาติมีไว้เพื่อทำลาย มันทำลายที่นี้ แล้วก็ย้ายไป ผู้คนมีค่าเพียงเพิ่มทุน เราต้องถามมหาอำนาจว่า ว่ามีความชอบธรรมจริงหรือ ที่ G7, G8 เอดีบี ธนาคารโลก เราไม่ต้องเกลียดชัง หาทางพูดคุย ถ้าพูดคุยไม่รู้เรื่อง ก็ปลุกระดมชาวบ้านต่อต้านมัน ทำด้วยความระมัดระวัง อย่าบันดาลโทสะ ถ้าใช้ความคำพูดที่ไม่ดี เพราะมันจะตอบโต้เราอย่างรุนแรงทุกทาง คำนึงเสมอว่า ประชาคมโลกอยู่ข้างเรา พวกเราทุกคนต้องอย่าลืมสัมผัสกับผู้ยากไร้เสมอ ถ้าเราไม่วุ่นกับความโลภ โกรธหลง เราก็จะหาแก่นของเรื่อง เป็นไทแก่ตัวได้ งานฉลองศตวรรษนายปรีดี พนมยงค์ 100ปี เราน่าชนะอาณานิคมได้ ด้วยอหิงสธรรม เราต้องหาทางทำลายโครงสร้างอันกดขี่อย่างอยุติธรรมนี้ แม้มันจะเปลี่ยนชื่อว่าเป็น การพัฒนาและโลกภิวัฒน์ก็ตามที เดช : สำนึกคนเล็กคนน้อยเกิดขึ้นแล้ว ในญี่ปุ่นก็มีเกิดขึ้นเช่นกัน เอดีบีที่มีบทบาทในการพัฒนาประเทศและโลกาภิวัฒน์ คนญี่ปุ่นรู้สึกอย่างไร การเปลี่ยนแปลงโลกที่สำคัญก็ขึ้นอยู่กับคนเล็กคนน้อยที่ไม่ยอมสยบนั่นเอง เอดีบี : ความช่วยเหลือจากเงินกู้เพื่อการพัฒนา Prof. Kaxuo Sumi มหาวิทยา นิอิกาตะ ประเทศญี่ปุ่น เดช พุ่มคชา ดำเนินรายการ ท่านเป็นบุคคลที่ลุกขึ้นคัดค้านเรื่อง การคัดค้านเขื่อนยามาด้าที่ประเทศอินเดียที่รับเงินจากญี่ปุ่นได้สำเร็จ สวัสดีทุกท่าน ขอแสดงความยินดีกับการประชุมที่สำคัญในวันนี้ เอดีบี คืออะไร เป็นธนาคารของรัฐบาล อะไรแตกต่างระหว่างธนาคารเอกชนกับเอดีบี หมายความหมายภาษีคนญี่ปุ่นได้นับมาลงทุนในเอดีบี และเอดีบียังได้ออกพันธบัตรกับธนาคารต่างๆ และเอดีบีก็ต้องจ่ายคืนให้แก่ธนาคารทั้งหลาย จึงไม่อยากทิ้งหนี้ทั้งหลาย เอดีบีให้รัฐบาลยืนเงิน ไม่ใช่ให้เอกชนยืม ให้รัฐบาลยืมไปกู้ต่ออีกที รัฐบาลจ่ายคืนเอดีบีก็ได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมา เพื่อจะเข้าไปดำเนินกิจการแทน เช่น การผลิตพืชเพื่อเงิน กรณีส่วนนี้เป็นความล้มเหลว แต่รัฐบาลเป็นหลักประกันอยู่แล้วเอกชนก็ไม่ล้มด้วย เอดีบีให้เงินยืมในระยะยาวกว่าและดอกเบี้ยต่ำกว่า ถ้ารัฐบาลไทยขอยืมเงินจากเอดีบีก็ต้องใช้คืนเช่นกัน ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลของคุณได้ยืมจากเอดีบี หนี้ก็จะสะสมและสะสมมากขึ้นๆ และมีปัญหามากขึ้น และในที่สุดก็คือภาษีที่คุณจ่ายก็ต้องเพิ่มขึ้นภายใต้คำว่า "พัฒนา" เพราะฉะนั้นจึงอยากให้เข้าใจภาพรวมทั้งหมด ความคิดเรื่องเอดีบี เริ่มจากกองทุนเพื่อการพัฒนาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จาก นายทาคิชิ นายกคนที่ 3 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นักการเมืองจะตั้งโครงการมหาเอเซียบูรพา ทำให้ญี่ปุ่นบุกพม่า ลาว และไทย ซึ่งไทยอาจมาในนามของพันธมิตร ญี่ปุ่นเข้าไปบุกในประเทศต่างๆ ในเอเซียมากมาย ฆ่าคนและทำลายทรัพยากรธรรมชาติ มากมาย ปี 2489-2482 นายทาคิชิ เป็นรองผู้ว่าการแมนจูเรีย ในปี 2484 เป็นรัฐมนตรีการค้าอุตสาหกรรมของญีปุ่น หลังสงครามเป็นอาชาญกรสงคราม แต่ไม่ได้ถูกตัดสินอย่างเด็ดขาย เพราะปี 1950 มีสงครามเกิดขึ้น และสหรัฐพยายามแอนตี้คอมมิวนิสต์ ทาคิชิกลับมามีบทบาท อำนาจในการเมืองก็กลับมาอีก ใน 5 ปี ก็กลับมาเป็นนายก เพราะได้รับสนุนจากบริษัทอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย ปี 2500 เยือนเอเซีย และเสนอตั้งเอดีบี จุดประสงค์ที่แท้จริงก็คือ เป็นมหาเอเซียบูรพาอีกครั้งในลักษณะการค้า นักการเมืองในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ยังระแวงญี่ปุ่น 2509 ความคิดของเขากลายเป็นจริง ในสมัยนายกซาโตะ ซึ่งเป็นน้องชายของทาคิชิ นี่คือภูมิหลังการสร้างเอดีบี นักการเมืองและนักเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ต้องการมหาเอเซียบูรพาทางเศรษฐกิจ ภายใต้งานของเอดีบี วิธีคิดแบบนี้ก็เริ่มมีผล แต่ตอนนี้ถูกขัดขวางด้วยวิกฤตเศรษฐกิจในเอเซีย เอดีบีพยายามปรับโครงสร้างให้เป็นหมอใน SE ต่างกันไหมระหว่างเอดีบีกับธนาคาร ถ้ารัฐขอยืมเงินเอดีบี เงินกู้จะกลับไปยังนายธนาคารญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา ผู้ที่ได้ผลประโยชน์จากโครงการเงินกู้เหล่านี้ก็คือนักลงทุนในประเทศตะวันตก ไม่ใช่ประชาชนใน เพราะฉะนั้นหนี้สินก็จะเพิ่มขึ้น ทุกครั้งที่ไทยยืมเงินมาสถานการณ์ก็จะเลวลงเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นเราควรหาทางที่จะพิจารณากิจกรรมเอดีบี ให้เอดีบีเปลี่ยนกิจกรรม ควรมาพิจารณาว่าเอดีบีควรเป็นอะไรกันแน่ ความล้มละลายรูปแบบการยืมเงินของรัฐบาล เอดีบีให้รัฐยืม เอดีบีต้องได้เงินคืนให้คนที่ซื้อหุ้น พันธบัตรของ เอดีบี โครงการต้องทำกำไรได้ กำไรก็ต้องเป็นของเอดีบี ไม่ใช่ เช่น สามเหลี่ยมอินโด มาเลย์ ไทย โครงการพัฒนาลุ่มน้ำโขง เต็มไปด้วยโครงการการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งโครงการเรื่องนี้เป็นประโยชน์ต่อที่ปรึกษา นักก่อสร้าง อเมริกัน ญี่ปุ่น ยุโรป เวลาที่จะวางแผนโครงการขนาดใหญ่ เอดีบีจะสั่งให้ใช้ที่ปรึกษามาจากประเทศเหล่านี้ และประเทศเหล่านี้ก็เข้ามาบอกประเทศผู้กู้ว่าเธอล้าหลัง เช่น โครงการเหมืองฝายในประเทศไทย เป็นระบบที่ดีอยู่แล้ว แต่ธนาคารโลก และเอเดบีบอกว่าล้าหลัง .ต้องทำเขื่อนและระบบชลประทาน เกิดอะไรกับเหมืองฝายเหล่านี้ คือได้น้ำน้อยลง และเกิดการตื้นเขินของเหมืองฝาย ใครเป็นคนรับผิดชอบผลเหล่านี้ เอดีบีก็ยังได้เงิน หลังจากจบโครงการ ชาวบ้านต้องทนทุกข์กับการทำลายสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น เอดีบีได้เงินมีความสุข ผลร้ายตกอยู่กับประชาชน สิ่งที่เอดีบีทำอาจเป็นการทำลายโครงการสิ่งแวดล้อมด้วยซ้ำไป เช่นเขื่อนน้ำโจน เอดีบีอยากให้ทำ แต่ประชาชนไทยต่อต้านและชนะ ขบวนการประชาชนจำเป็นต่อการต่อต้านโครงการโง่ๆ และผลการทำลายล้างเหล่านี้ ดังนั้นเราต้องกลับมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่า แบบจำลองที่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้คนอีกครั้งหนึ่ง อีกอย่างก็คือ การปฏิวัติเขียว ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของดิน และช่องว่างการเจริญเติบโตคนรวยคนจนในชนบท ความเสื่อมโทรมคุณภาน้ำ ดิน ผลผลิตตกต่ำลงเรื่อยๆ เอดีบีนั้นปฏิเสธที่จะรับรู้โครงการปฏิวัติเขียวนี้ และบอกว่าไม่เกี่ยวข้องในสิ่งที่เกิด เอดีบีสนับสนุนการค้า ผลิตอาหารขายเป็นเงินสด ไม่ใช่ส่งเสริมการผลิตอาหารเพื่อกินอิ่ม สนับสนุนเพื่อคนรวยในเมือง การประมงก็เช่นกัน เป็นการประมงเพื่อส่งกุ้งไปญี่ปุ่น ไม่ใช่สนับสนุนคนจน จึงถือเป็นตัวทำลายอย่างมากของคนท้องถิ่น เพราะฉะนั้นเราต้องเปลี่ยนรูปแบบเหล่านี้ เอดีบีบอกเสมอว่า จุดประสงค์สำคัญที่สุด เด่นที่สุดของเอดีบีก็คือ การเร่งความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญเติบโตนี้เป็นของใคร ในนามการพัฒนาเศรษฐกิจนี้ ได้ทำลายทรัพยากรที่มีค่าไป มีนายธนาคารและนักการค้าเพียงส่วนน้อยที่ได้รับประโยชน์ ในขณะที่คนจนสูญเสียการดำรงชีวิตของตนเองไป เอดีบียึดมั่นความเชื่อเกี่ยวกับ ทิงเกิลดาวน์ ถ้าเอดีบีได้ผลประโยชน์จนล้น ผลประโยชน์ก็จะหล่นไปหาคนจนเอง แต่ผลประโยชน์จากโครงการเอดีบี ผลประโยชน์กลับสู่คนส่วนน้อย และทำให้เกิดผู้ลี้ภัยในการพัฒนาทั่วไป อย่างไรก็ตามที่ประเทศไทยอาจยังไม่เกิดผลเลวร้ายมากนัก เอดีบีพูดเรื่องบรรเทาการยากจน และการรักษาสิ่งแวดล้อม เอดีบีมีข้อแนะนำด้านสิ่งแวดล้อมเต็มไปหมด แต่ไม่เคยนำแผนเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ ไม่เคยเอาไปใช้จริงในทางปฏิบัติเป็นแค่โฆษณาชวนเชื่อ เอดีบี พูดถึงการมีส่วนร่วมประชาชน แต่ผมประหลาดใจมาก เพราะประธานเอดีบีปฏิเสธที่จะมาร่วมในการประชุมของประชาชน เพราะนี่คือโอกาสที่ดีที่เอดีบีจะได้พูดคุยกับคนที่ท้องถิ่น ประธานเอดีบีกลัว NGO ประชาชนในท้องถิ่น ดังนั้นผมจึงเข้าใจว่าประธานเอดีบียุ่งเกินไปที่จะมาร่วม และเค้ามีเวลาเสมอกับนายธนาคารกับมาเฟียพลังน้ำ ฯลฯ แต่เค้ากลัวที่จะพบพวกเราที่มาสัมมนาในครั้งนี้ ดังนั้นอยากถามว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนคืออะไร เป็นแค่คำโฆษณาหรือเปล่า ??? เอดีบี มีข้อเสนอเรื่องการฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เอดีบีแนะนำเรื่องการปรับโครงสร้างต่างๆ ให้แก่ผู้กู้ ถ้าเราปรึกษาหมอว่าคนไข้อาการหนึ่งขึ้น ผมก็ไม่เข้าใจว่าคนไข้ที่ป่วยหนักนั้นจะฟื้นด้วยเอดีบีหรือธนาคารโลก เช่น โครงการเร่งรัดกระทันหัน เช่น ขึ้นภาษี หรือการศึกษา และการสาธารณะสุข ให้ตัดงบประมาณสวัสดิการเหล่านี้ และเกิดเป็นปัญหาทางสังคมขึ้นอีก โดยเฉพาะเรื่องการโอนกิจการให้ประชาชน ซึ่งจะมีนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาซื้อ ประเทศเอเซียส่วนใหญ่ต้องยอมอยู่ใต้อำนาจประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุนต่างๆ จะเกิดอะไรขึ้นในนโยบายการส่งเสริมการส่งออก เอดีบีส่งเสริมเรื่องนี้เสมอ ซึ่งนโยบายนี้ทำให้เมินเฉยต่อความต้องการอาหารของประชาชนท้องถิ่น ผู้คนในประเทศพัฒนาทั้งหลายเอดีบีถือว่ามีอาหารเพียงพอแล้ว วิธีคิดเอดีบีประหลาด เพราะในประเทศกำลังพัฒนานั้นประชาชนมีปัญหาความอดอยาก หิวโหย แต่ต้องมาผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกมากขึ้น ส่งออกมาก ราคาสินค้าก็ตกต่ำลง ประเทศเหล่านี้ก็ตายลงไปเรื่อยๆ นั่นเอง นโยบายความยากจน เอดีบีบอกเสมอ บอกว่าเราส่งเสริมที่จะบรรเทาความยากจนให้ออกจากโลก แต่ความเป็นจริง ในปี 2538 ในมะนิลา ในการประชุมของเอดีบี ผมได้ตั้งคำถามต่อเอดีบีว่า ตั้งแต่ 2529 มีคนกี่คนที่ถูกย้ายจากแผ่นดินบรรพบุรุษจากโครงการของเอดีบี เค้ามีที่อยู่ที่ทำกินใหม่ไหม๊ รองประธานคนนั้นไม่เคยตอบผม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผมถามคำถามนี้กับเอดีบีทุกครั้ง นอกจากนี้ผมได้พูดคุยกับผู้อำนายการหน่วยงานประกันสังคม เอดีบีความทำวิจัยว่ามีคนถูกโยกย้ายในโครงการเอดีบี ความสุขหรือไม่กับโครงการเอดีบี งานเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งถ้าเอดีบีสนใจความยากจน เพราะผู้ลี้ภัยเหล่านี้เกิดขึ้นจากโครงการเอดีบี เอดีบีควรสนใจความเป็นอยู่ของเค้า แต่เอดีบีกลับไม่แคร์ผู้ลี้ภัยเหล่านี้เลย หลังจากเวทีประชาชนครั้งนี้ น่าเสียดายที่ประธานเอดีบีไม่มีพบพวกเรา ทำให้เสียโอกาสในการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เป็นเรื่องที่จะต้องหาโอกาสไปถามเอดีบีต่อคำถามของถาม เพราะถามหลายครั้งแล้ว ถ้าตอบไม่ได้ก็ไม่น่าจะใช้คำพูดสวยๆ เหล่านั้น ผมว่าไม่ต้องมีคำสวยๆ อีกแล้ว ขอบคุณ |
||