งานเขียนชิ้นนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับองค์การการค้าโลก
(WTO) ที่ถูกก่อตั้งขึ้นในปี
1995
การมองเพื่อทำความเข้าใจความในตัว
WTO นั้นเราจำเป็น
จะต้องเข้าใจถึงความเป็นมา
จุดมุ่งหมาย และ
หลักการขององค์การดังกล่าว
โดยเฉพาะในเรื่อง ของความเป็นมา
การทำความเข้าใจ WTO
โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับ GATT
(General Agreements on Trade and Tariffs)
นั้นเป็นส่งที่เป็นไปไม่ได้
งานเขียนนี้เป็นการอธิบาย WTO
ในแง่ของ
มุมมองทางประวัติศาสตร์
โดยการอธิบายความเป็นจริงที่เกิดขึ้นว่ามีการพัฒนาไปอย่างไร
งานเขียนนี้คงไม่มีประโยชน์มากนัก
สำหรับผู้ที่เชี่ยวชาญเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประทศ
โดยเฉพาะเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ
(International Political Economy) แต่
คงมีประโยชน์บ้างสำหรับการทำความรู้จัก
และ เข้าใจ WTO อย่างง่าย ๆ
สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน
อะไรคือองค์การการค้าโลก ??
องค์การการค้าโลก (WTO)
เป็นองค์การระหว่างประเทศแห่งเดียว
ที่จัดการกับเรื่องกฎระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศ
หัวใจ ขององค์การการค้าโลกคือ
ข้อตกลง
ที่เกิดจากประเทศคู่ค้าต่างๆ
ข้อตกลงเหล่านี้
เป็นกฎพื้นฐานทางกฎหมาย
สำหรับการค้าระหว่างประเทศ
และ เป็นสัญญา
ที่มีข้อผูกมัดรัฐบาลประเทศต่าง
ๆ
ให้ดำเนินตามกรอบของกฎเกณฑ์ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม
ถึงแม้กฎเกณฑ์ดังกล่าว
จะลงนามโดยรัฐบาล แต่
จุดมุ่งหมายของกฎเกณฑ์คือการช่วยให้ผู้ผลิต
ผู้ส่งออก และ ผู้นำ
เข้าดำเนินธุรกิจไปได้อย่างราบรื่น
จุดมุ่งหมายขององค์การการค้าโลก
จุดมุ่งหมายขององค์การการค้าโลกประกอบไปด้วย
3 ประการ คือ
1.การทำให้การค้าเป็นไปโดยราบรื่นมากที่สุด
จุดมุ่งหมายนี้หมายถึงการพยายามยกเลิกอุปสรรคทางการค้าต่างๆให้หมดไป
ซึ่งในเวลาเดียวกันจะเป็นการทำให้แน่ใจว่าเอกชน
บริษัทห้างร้าน และ
รัฐบาลตระหนักว่า มีกฎระเบียบ
ในการค้าระหว่างประเทศอยู่
ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจว่า
จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน
ในเรื่องของนโยบาย
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
กฎระเบียบต่างๆจะทำให้
การค้าระหว่างประเทศเป็นไปอย่างโปร่งใส
และ คาดเดาได้
2.การให้องค์การการค้าโลกทำหน้าที่เปรียบเสมือนเวทีสำหรับการเจรจาทางการค้า
และ เป็นสถานที่
ของการเจรจาโต้เถียงเพื่อให้ได้มาซึ่ง
ข้อตกลงทางการค้าดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
3.องค์การการค้าโลกยังทำหน้าที่ในการสลายข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศที่เกิดจากการขัดกันของผลประโยชน์
ซึ่งองค์การการค้าโลกจะยึด
หลักกฎหมายในการตัดสินความขัดแย้ง
องค์การการค้าโลกถูกตั้งขึ้นเมื่อ
1 มกราคม 1995 แต่
ก่อนหน้านั้นระบบการค้าระหว่างประเทศ
ได้ถูกตั้งมาตั้ง แต่ ปี 1948
ในชื่อของ GATT General Agreement on Tariff and Trade ตัวของ
GATT
เป็นเพียงความตกลงทางการค้าซึ่งพัฒนามาจากรอบของการเจรจา
โดยครั้งสุดท้ายมีชื่อว่า Uruguay Round
ซึ่งกินเวลาตั้ง แต่ 1986-1994
ซึ่งในปีต่อมานั่นเองที่มีการก่อตั้งองค์การการค้าโลก
หลักการการค้าระหว่างประเทศ
ข้อตกลงภายใต้ WTO เป็นสิ่งที่ยาว
และ มีความซับซ้อน
เนื่องมาจากเป็นเรื่อง
ทางกฎหมายซึ่งครอบคลุมกิจกรรมต่าง
ๆ มากมาย เช่น เกษตรกรรม สิ่งทอ
เสื้อผ้า ธนาคาร
การติดต่อสื่อสาร ฯลฯ แต่
เมื่อเรามองถึงเรื่องของหลักการภายไต้ข้อตกลงดังกล่าวแล้วสามารถกล่าวได้เป็นห้าข้อดังนี้
1.Trade without Discrimination
ประกอบไปด้วยหลักการย่อย 2
หลักการคือ
1.1 Most-favoured-nation (MFN) ภายไต้ข้อตกลงของ
WTO ประเทศต่าง ๆ ไม่สามารถ
เลือกกระทำอย่างแตกต่างกัน
ระหว่างประเทศคู่ค้า
การให้ข้อกำหนดพิเศษทางการค้ากับประเทศ
หนึ่งหมายถึง ประเทศอื่น ๆ
ที่เป็นสมาชิก WTO
ย่อมได้สิทธิ์ในข้อกำหนดพิเศษเหล่านั้นด้วย
โดย MFN
มีความสำคัญมากโดยจากเห็นได้จากการที่เรื่องของ
MFN เป็นข้อกำหนดข้อแรกใน GATT และ
มีความสำคัญในระดับแรก ๆ ใน General
Agreement on Trade in Service (GATS) และ Agreement on
Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights (TRIPS)
ถึงแม้ว่าหลักการนี้
จะถูกใช้แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย
ในความตกลงทั้งสาม แต่
เรื่องของ MFN
เป็นหลักกการสำคัญที่ WTO
โดยรวมยึดปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม
หลักการดังกล่าวก็มีข้อยกเว้น
อย่างเช่น
ประเทศในถูมิภาคเดียวกัน
สามารถตั้งข้อกำหนดทางการค้า
ที่ใช้เฉพาะประเทศในภูมิภาคเดียวกันโดยท
ี่ไม่รวมถึงประเทศนอกกลุ่มได้
หรือ
การที่ประเทศสามารถตั้งข้อจำกัดทางการค้าต่อประเทศหนึ่งประเทศใด
โดยเฉพาะ หากประเทศนั้น
ถูกพิจารณาว่าก่อให้เกิดการค้าที่ไม่เป็นธรรม
เป็นต้น
1.2 Nation Treatment : Treating foreigners and
locals equally
สินค้านำเข้าหรือสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ
สมควรที่จะได้รับการปฏิบัติ
อย่างเท่าเทียมกัน อย่างน้อย
หลังจากที่สินค้าที่นำเข้าได้เข้ามาถึงตลาดภายในประเทศแล้ว
หลักการนี้
ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เรื่องของสินค้าเท่านั้น
แต่
ยังรวมไปถึงเรื่องของการบริการ
และ เรื่องของลิขสิทธิ์ และ
เครื่องหมายการค้าต่างๆ
โดยทั่วไปหลักการนี้ใช้เมื่อสินค้านั้นๆได้เข้าสู่ตลาดแล้ว
เพราะฉะนั้นการตั้งกำแพงภาษีไม่ถือว่าเป็นการผิดหลักการในข้อนี้
2. Freer trade : Gradually, through negotiation การลดอุปสรรคทางการค้าถือว่าเป็นแนวทางที่สำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการค้า
อุปสรรคทางการค้านั้นมีหลายอย่างประกอบไปด้วยกำแพงภาษี
หรือ มาตราการในการการกีดกัน
การนำเข้าเช่นการกำหนดจำนวนสินค้านำเข้า
(Quotas) ตั้ง แต่ การก่อตั้ง GATT
ขึ้นในช่วงปี 1947-1948
นั้นมีการเจรจาทั้งหมดแปดรอบการเจรจา
โดยที่ครั้งแรกนั้นเป็นการเน้นในเรื่องของการลดกำแพงภาษีในสินค้านำเข้า
โดยผลของการเจรจาในประเด็นนั้นในช่วงปลายปี
1980 อัตราภาษี ของประเทศอุตสาหกรรม
ลดลงประมาณ 6.3 % และ
ในช่วงเวลานั้นเองที่การเจรจาได้ขยายตัวไปครอบคลุมเรื่องของอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี
และ
เริ่มเข้าไปเกี่ยวข้องกับสินค้าบริการ
และ เรื่องของเอกสิทธิ์ทางปัญญา
3.Predictability through binding
บางครั้งการสัญญาว่าจะไม่ขึ้นภาษีก็มีความสำคัญมากพอๆกับการลดภาษี
เพราะการให้คำมั่นสัญญาเป็นการทำให้หน่วยธุรกิจสามารถมองเห็นลู่ทางได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
การลงทุน และ
การสร้างงานจะเกิดขึ้นภายใต้ความมีเสถียรภาพ
และ
ความสามารถคาดการได้ของสถานการณ์ที่เป็นอยู่
โดยที่ลักษณะดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นภายใต้ระบบการค้าหลายฝ่ายภายใต้
WTO
ใน WTO
เมื่อประเทศต่างๆตกลงที่จะเปิดตลาดเพื่อการนำเข้าสินค้า
และ
บริการประเทศเหล่านั้นถือว่าได้ผูกมัดตัวเอง
และ
มีความรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าว
ประเทศต่างๆสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงข้อตกลงต่างๆที่ตัวเองได้ตกลงไว้
แต่
จะทำเช่นนั้นได้ต่อเมื่อได้มีการเจรจากับคู่ค้าที่ตกลงไว้ก่อนแล้ว
ซึ่งการเจรจานี้อาจหมายถึงการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงนั้นๆ
ความสำเร็จอันหนึ่ง
ของการประชุมรอบ Uruguay
คือการเพิ่มขึ้นของปริมาณการค้าภายใต้ข้อผูกมัดหรือข้อตกลงในลักษณะนี้
The
Uruguay Round Increased Binding
Percentage of tariffs bound before and after 1986-1994 talks
|
BEFORE |
AFTER |
Developed countries |
78 |
99 |
Developing countries |
21 |
73 |
Transition economies |
73 |
98 |
4.
Promoting Fair Competition
บางครั้ง WTO
ถูกมองว่าเป็นสถาบันเพื่อการค้าเสรี
ซึ่งความคิดนี้ไม่ได้ถูกต้องเสียทีเดียว
ระบบภายใต้ WTO
นี้อนุญาตให้มีการตั้งกำแพงภาษี
และ
การกีดกันทางการค้าได้บ้างในบางสถานการณ์
ซึ่งถ้าจะพูดให้ถูกแล้วสถาบันนี้เป็นสถาบันของระบบที่เอื้อต่อการเปิดการแข่งขันทางการค้าซึ่งยึดหลักความเป็นธรรม
และ ความถูกต้อง
เรื่องการไม่กีดกันทางการค้าเป็นกฎที่ถูกสร้างมาเพื่อประกันความเท่าเทียมกันในการค้า
ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องของความเป็นธรรมนี้
เป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อน
แต่
กฎต่างๆเหล่านี้พยายามที่จะบอกว่าสิ่งใดเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมในการค้าระหว่างประเทศ
และ รัฐบาล
ของประเทศที่เสียหายสามารถตอบโต้
อย่างไรจากการค้าไม่เป็นธรรมดังกล่าว
โดยเฉพาะในแนวทางของการเก็บภาษีเพิ่มเติมให้มีจำนวนพอๆกับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการค้าที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าว
กฎระเบียบหลายๆอย่างของ WTO
เป็นการสนับสนุนการแข่งขันอย่างเป็นธรรมทั้งเรื่องของการเกษตรกรรม
ลิขสิทธิ์ทางปัญญา
การบริการเป็นต้น
ซึ่งเห็นตัวอย่างได้จาก The Agreement of
Government Procurement
ซึ่งเป็นการขยายกฎของการแข่งขันระหว่างประทศให้รัฐบาลประเทศต่างๆทั่วโลกที่ลงนามจะยึดถือปฏิบัติ
5.
Encouraging Development and Economic Reform
ในอีกทางหนึ่ง WTO
ก็ถือได้ว่าเป็นองค์การที่เน้นเรื่องของการพัฒนา
โดยที่ WTO
มองเห็นถึงความจำเป็นของประทศที่กำลังพัฒนาที่ต้องการเวลามากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วในการที่
จะทำตามข้อตกลงที่ได้ทำไป
ประเทศส่วนใหญ่ ประมาณ 2 ส่วน 3
ที่เป็นสมาชิกของ WTO
เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา และ
ประเทศกำลังพัฒนาตัวเองไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด
ตลอดช่วงเวลา 7
ปีครั้งของการประชุมรอบ Uruguay
มากกว่า 60
ประเทศของประเทศเหล่านี้ๆได้ดำเนินนโยบายเพื่อการเปิดเสรีในด้านต่างๆ
และ
ในเวลาเดียวกันประเทศกำลังพัฒนาที่มีระบบเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
สามารถที่จะมีบทบาทอย่างสำคัญ
ในการเจรจาตลอดช่วงดังกล่าวซึ่งสิ่งนี้เป็นการทำลายความคิดที่ว่า
ระบบการค้าแบบเสรีนั้น
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ใน แต่
ประเทศที่มีความเป็นอุตสาหกรรมแล้วเท่านั้น
และ
เป็นสัญญาณว่าในปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนาได้พัฒนาตัวเองมามากขึ้นจาก
แต่ ก่อนมากจน
ในอนาคตความต้องการการยกเว้นบางอย่างจากระบบการค้า
และ ข้อตกลง GATT
อาจจะเป็นสิ่งที่ควรจะถูกลดลง
ในตอนปลายของการเจรจานั้นประเทศกำลังพัฒนามีความพร้อมมากขึ้นในการยอมรับของบังคับต่าง
ๆ ที่ประเทศพัฒนาแล้ว ต้องทำตาม
อย่างไรก็ตาม
ข้อตกลงก็ได้ให้เวลาในการที่
ประเทศกำลังพัฒนา
จะปรับตัวตามข้อบังคับต่าง ๆ ของ
WTO ซึ่งเป็นการดีอย่างยิ่ง
ในการสร้างความพร้อมมากยิ่งขึ้น
ของประเทศกำลังพัฒนา "GATT"
พัฒนาการก่อนการเป็น WTO
การกำเกิดของ WTO ในวันที่ 1 มกราคม
1995
เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่
ของการค้าระหว่างประเทศหลังจากสงครามโลกครั้งที่
2 ความเป็นจริงแล้ว WTO
ไมได้เป็นความพยายามครั้งแรก
ในการตั้งองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการค้า
ITO International Trade Organization
เป็นจุดเริ่มต้นของความคิดดังกล่าว
แต่ ITO
ไม่เกิดขึ้นจริงเพราะสภาสหรัฐไม่ลงคะแนนเสียงสนับสนุนในปี
1948 ทำให้ ITO เป็นองค์การ แต่
เพีงในความคิด เท่านั้น
จากวันนั้นจนถึงปี 1994
ระบบการค้าดำเนินไปภายใต้ GATT
ซึ่งเป็นหลักกการ และ
ข้อตกลงที่ไม่มีองค์การรองรับ GATT
สร้างให้ระบบการค้าระหว่างประเทศมีความมั่นคงมากขึ้น
ตามแบบความคิดเสรีนิยมโดยผ่านรอบของการเจรจามากมาย
แต่ ในปี 1980
ระบบนี้ต้องการการปรับปรุงครั้งใหญ่ซึ่งนำไปสู่การเจรจารอบ
Uruguay และ WTO ในที่สุด
จากปี
1948-1994 GATT
ได้ให้กฎระเบียบการค้าแก่โลก
ในยุคที่ที่มีระดับ
ของการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก
GATT ดูเหมือนจะมีรากฐานที่มั่นคง
แต่
ความเป็นจริงแล้วตลอดเวลา 47 ปี GATT
เป็นเพียงข้อตกลงชั่วคราวเท่านั้น
ความตั้งใจเริ่มแรกก็คือการสร้างองค์การที่สามขึ้นเพื่อจัดการกับเรื่องของเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพิ่มเติมจาก
World Bank และ IMF
ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้ข้อตกลง Bretton
Woods
แผนการที่ตั้งไว้ในตอนนั้นคือการก่อตั้ง
ITO
ขึ้นในฐานะองค์การชำนาญพิเศษขึ้นต่อองค์การสหประชาชาติ
กฎบัตรฉบับร่างของ ITO
ที่ถูกสร้างขึ้นในตอนนั้นครอบคลุมมากกว่าเรื่องของการค้าระหว่างประเทศ
แต่ ยังรวมไปถึง กฎของการจ้างงาน
ข้อตกลงเรื่องสินค้า
ข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจ
การลงทุน และ การบริการ และ
ยิ่งกว่านั้นก่อนที่กฎบัตรจะได้รับการอนุมัติ
สมาชิก 23 ประเทศจาก 50
ประเทศตัดสินใจให้มีการเจรจาเพื่อลดกำแพงภาษีหรืออย่างน้อยก็สร้างข้อผูกมัดในการลดภาษีในอนาคต
ซึ่งในตอนนั้นเป็นช่วงที่สงครามโลกครั้งที่สองพึ่งสิ้นสุดลงใหม่ๆ
ประเทศต่างๆต้องการให้มีการเร่งการเปิดเสรีทางการค้า
และ
รีบแก้ไขผลพวงต่างๆที่ติดตามมาจากมาตราการการกีดกันทางการค้าต่างๆที่เคยเกิดขึ้นในช่วง
1930
ผลของการเจรจจาในครั้งนั้นก็คือประเทศต่างๆสามารถมีข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องของภาษีศุลกากรได้ถึง
45,000 กรณี ซึ่งมีผลกระทบต่อ 20%
ของการค้าระหว่างประเทศทั่วโลก
ประเทศ 23
ประเทศดังกล่าวยังตกลงว่าประเทศต่างๆควรที่จะยอมรับกฎระเบียบการค้า
ภายใต้กฎบัตรฉบับชั่วคราวของ
ITO
ซึ่งการยอมรับนี้ควรทำอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะรักษาข้อตกลงที่สามารถสร้างได้แล้วในการเจรจารอบแรก
ข้อตกลงต่างๆที่ได้จากการประชุมรอบแรกรวมทั้งกฎระเบียบต่างๆที่กล่าวมาเป็นจุดเร่มต้นของ
GATT
ซึ่งมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม
1948 ในขณะที่กฎบัตรฉบับถาวรของ ITO
ยังคงอยู่ในการเจรจาอยู่ และ 23
ประเทศนั้นเป็นสมาชิกก่อตั้งของ
GATT ต่อมากฎบัตรของ ITO
ได้รับการลงนามจากประเทศต่างๆในที่ประชุมสหประชาชาติในเรื่องของการค้า
และ การจ้างงานที่เมือง Havana ในปี 1948
แต่
การให้สัตยาบัณของประเทศ
ที่ร่วมลงนามกลาย
เป็นสิ่งที่เป็น ปัญหาใหญ่
โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เห็นด้วยอย่างแข็งกร้าวก็คือ
สภา Congress ของสหรัฐ ทั้ง ๆ
ที่รัฐบาลสหรัฐเป็นกำลังหลักในการก่อตั้ง
ITO ในปี 1950
รัฐบาลสหรัฐประกาศว่าไม่สามารถทำให้สภา
Congress ให้สัตยาบัณแก่ข้อตกลงที่ Havana
ได้ และ จะไม่พยายามอีกต่อไปแล้ว
สิ่งนี้ทำให้ ITO ตายไปโดยปริยาย
ถึงแม้ว่า GATT
จะเป็นสิ่งชั่วคราวที่ถูกสร้างขึ้น
แต่ GATT
เป็นเครื่องมืออย่างเดียวของประเทศต่างๆในการดูแลการค้าระหว่างประเทศจาก
1948 จนถึงการตั้ง WTO ใน 1995
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
กฎหมายการค้าพื้นฐานต่างๆยังคงเหมือนที่เคยเป็นอยู่ในช่วง
1948 ข้อตกลงต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ
การลดภาษีศุลกากร
หรือการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่าง
ๆ สำเร็จได้
โดยผ่านการเจรจาหลายฝ่ายผ่านรอบของการเจรจา
ซึ่งรอบของการเจรจาน
ี้มีส่วนอย่างมากในการพัฒนาของการเปิดเสรีทางการค้า
GATT Trade Round
YEAR |
PLACE/NAME |
Subject covered |
Countries |
1947 |
Geneva |
Tariffs |
23 |
1949 |
Anency |
Tariffs |
13 |
1951 |
Torquay |
Tariffs |
38 |
1956 |
Geneva |
Tariffs |
26 |
1960- |
Geneva |
Tariffs |
26 |
1961 |
Dillon Round |
|
|
1964- |
Geneva |
Tariffs and anti-dumping |
62 |
1967 |
Kenedy Round |
Measures |
|
1973- |
Geneva |
Tariffs and Non-Tariffs |
102 |
1979 |
Tokyo Round |
Measures, Framework agreements |
|
1986- |
Geneva |
Tariffs and Non Tariffs |
123 |
1994 |
Uruguay Round |
Measures, Rules, Services, Intellectual Properties, Dispute Settlements,
Textile Agriculture, Creation of WTO, Etc. |
|
ในยุคแรกๆของการเจรจาทางการค้าภายใต้
GATT
ประเด็นที่สำคัญเป็นเรื่องของการลดกำแพงภาษี
ซึ่งในยุคของ Kenedy Round 1967-1973 ข้อตกลง
Anti-Dumping Agreement
ได้เข้ามาเป็นประเด็นในครั้งแรก
และ ใน Tokyo Round 1979-1986
นั้นเป็นครั้งแรก
ที่มีการพูดถึงเรื่อง
การลดการกีดกันทางการค้า
ที่ไม่ได้อยู่ในรูปของกำแพงภาษี
และ มีความพยายาม
ในการที่จะปรับปรุงระบบ และ
ในการเจรจารอบ Uruguay
เป็นการประชุมที่มีเนื้อหาครอบคลุมกว้างขวางมากที่สุด
และ เป็นการนำไปสู่การก่อตั้ง WTO
The Tokyo Round
การเจรจารอบ Tokyo กินเวลาตั้ง แต่ ปี
1973-1979
โดยมีสมาชิกเข้าร่วมการเจราทั้งหมด
102 ประเทศ
การเจรจาครั้งนี้เป็นการสานต่อความพยายามอย่างต่อเนื่องในการลดกำแพงภาษี
และ สนับสนุนการค้าเสรี
ผลของการประชุมครั้งนี้ คือ
สามารลดกำแพงภาษีของสินค้า
ที่จะเข้าตลาดของประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำเก้าประเทศ
ได้ถึง 1 ใน 3
ลดภาษีศุลกากรต่อสินค้าอุตสาหกรรมได้ถึง
4.7%
ในประเด็นอื่นนั้นไม่สามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากว่าการเจรจารอบ
Tokyo นั้นประสบความสำเร็จ
เพราะการเจรจาครั้งนี้ไม่สามารถที่จะเข้าไปจัดการกับปัญหาพื้นฐานในเรื่องการค้าสินค้าเกษตร
และ ข้อตกลงต่างๆส่วนมากใน Tokyo Round
นั้นไม่สามารถถูกทำให้เป็นข้อผูกพันธ์ต่อสมาชิกทั้งหมดของ
GATT ได้ เนื่องจาก
หลายประเทศที่ลังเลใจ
ที่จะลงนาม ในเรื่องข้อตกลง
และ การจัดการในบางเรื่อง
ซึ่งประเทศที่ไม่ยอมลงนามเหล่านี้ส่วนมากคือประเทศอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตามการเจาจรรอบ Tokyo
ก็เป็นความเปลี่ยนแปลงไปของประเด็นในการเจรจาจากที่เคยเป็นมา
ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็คือ
เรื่องของการกีดกันทางการค้า
ในรูปแบบที่ ไม่ใช่การตั้งภาษี
ในบางกรณีก็เป็นการตีความข้อตกลงที่มีอยู่แล้ว
และ
บางกรณีก็เป็นการตั้งข้อตกลงใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้น
ถึงแม้ว่า
ในช่วงของการเจรจานี้ประเทศหลายประเทศจะไม่ได้ลงนามอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น
แต่
อย่างน้อยมันเป็นการเริ่มต้นของการยอมรับเรื่องดังกล่าว
ซึ่งในเวลาต่อมีไม่นานประเด็นที่ยังค้างคาอยู่ก็ได้รับการยอมรับ
และ ลงนามจากสมาชิกทั้งหมดของ GATT
ทำให้ข้อตกลงดังกล่าวมีผลต่อ
สมาชิกทุกประเทศใน GATT
The Uruguay Round
การเจรจาครั้งนี้กินเวลา 7
ปีครึ่งซึ่งยาวนานกว่ากำหนดการเดิมของการเจรจาถึงเกือบสองเท่า
ในตอนปลายของการเจรจามีประเทศที่เข้าร่วมถึง
125 ประเทศ
ประเด็นที่เจรจานั้นกว้างขวางมากกว่าครั้งใด
ครอบคลุมสินค้าเกือบทุกชนิดแม้กระทั่งเรื่องของ
การธนาคาร การติดต่อสื่อสาร
กรรมพันธุ์ และ
การรักษาโรคเอดส์
ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเจรจาที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาเลยก็ว่าได้
ในช่วงของการเจรจาดูเหมือนว่าการเจรจารอบ
Uruguay จะล้มเหลว แต่
ในตอนท้ายการเจรจาครั้งนี้นำมาสู่การปฏิรูปครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของระบบการค้าระหว่างประเทศตั้ง
แต่ GATT
ได้ถูกก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
และ
ผลของการเจรจาเห็นได้อย่างรวดเร็วเพราะเพียงสองปีเท่านั้น
ประเทศสมาชิกต่างตกลง
ในการลดการเก็บภาษีสินค้านำเข้า
ประเภทสินค้าเขตร้อน (Tropical Product)
ซึ่งส่วนมากจะส่งออกโดยประเทศที่กำลังพัฒนา
มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงกฎเกณฑ์ในการสลายข้อขัดแย้ง
และ
มีการเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ
ที่เป็นสมาชิก GATT
รายงานนโยบายการค้าอย่างสม่ำเสมอซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความโปร่งใสในการค้าระหว่างประเทศทั่งโลก
จุดเร่มต้นของการเจรจารอบ Uruguay
คือเร่มในปี 1982
โดยการประชุมรัฐมนตรีระหว่างประเทศของสมาชิก
GATT ที่กรุง Geneva
มีความเห็นร่วมกัน
ในการเปิดการเจรจารอบใหม
่โดยในขณะนั้นประเด็นความขัดแย้งเรื่องของสินค้าเกษตรยังเป็นประเด็นที่
สำคัญทำให้ความพยายาม
ในการเจรจารอบใหม่นั้น
ดูเหมือนจะไม่สัมฤทธิ์ผล แต่
สี่ปีต่อมาประเทศต่างๆได้ตกลงกันในเดือน
กันยายน ที่เมือง Punta del Este ในประเทศ
Uruguay
ให้มีการเจรจาที่ครอบคลุมเรื่องของการนโยบายการค้าให้มากที่สุด
การเจรจาครั้งนี้จะเป็นการขยายระบบการค้าระหว่างประเทศในประเด็นใหม่ๆ
ซึ่งที่เห็นชัดคือเรื่องสินค้าบริการ
และ ลิขสิทธิ์ทางปัญญา และ
การปฏิรูปการค้าในส่วนของเกษตรกรรม
และ
สินค้าเสื้อผ้าซึ่งเป็นหน่วยที่มีความขัดแย่ง
ระหว่างประเทศมาก
โดยที่การเจรจาจะกินเวลาสี่ปี
สองปีต่อมาใน
เดือนธันวาคม ปี 1988
เพื่อมีการประเมินผลการเจรจาที่ผ่านมาสองปี
รัฐมนตรีของประเทศสมาชิกพบกันอีกครั้งที่เมือง
Montreal ประเทศ แคนนาดา ซึ่ง
จุดประสงค์คือการทำให้ประเด็นของการเจรจาที่ยังค้างคาอยู่อีกสองปีข้างหน้ามีความชัดเจนมากขึ้น
แต่ การเจรจาครั้งนี้
ไม่สามารถที่จะตกลงกันได้จนกระทั้ง
เดือนเมษายน ในปีต่อมา
จากความยากลำบากต่างๆที่เกิดขึ้น
ในการเจรจาที่ Montreal ประเทศต่าง ๆ
ได้ตกลงในข้อตกลงบางอย่างในส่วนที่สามารถทำได้
เช่นเรื่องของการเปิดตลาดให้แก่สินค้าเขตร้อน
(Tropical Goods)
ซึ่งเป็นการช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนา
หรือเรื่องการลดความยุ่งยากในกระบวนการการสลายความขัดแย้งรวมไปถึงการมีการรายงานนโยบายการค้า
ของประเทศสมาชิก (Trade Policy Review)
การเจรจารอบ Uruguay มีแนวโน้ม
ที่จะจบลงเมื่อการประชุมระดับรัฐมนตีอีกครั้งที่
Brussels ในเดือนธันวาคม 1990 แต่
การเจรจา
ก็ต้องมาติดขัดในเรื่องของวิธีในการที่จะปฏิรูปการการค้าสินค้าเกษตรซึ่งทำให้การเจรจาต้องยือเยื้อออกไปอีก
การเจรจาในช่วงนี้เป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศสหรัฐ
และ สหภาพยุโรป มีความเป็นไปได้
หลายครั้งที่การเจรจาจะยุติลง
แต่
สิ่งนั้นก็ยังไม่เกิดขึ้นจนกระทั่ง
ในเดือน พฤศจิกายน 1992 สหภาพยุโรป
และ
สหรัฐอเมริกาสลายความแตกต่าง
ในเรื่องของสินค้าเกษตรได้ในข้อตกลงที่มีชื่อว่า
Blair House Accord และ ในกลางปี 1993 สหรัฐ
ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และ แคนนาดา
ประสบความสำเร็จในการเจรจาเรื่องของภาษี
และ ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
และ
ใช้เวลาจนกระทั่งในเดือนธันวาคม
ในการที่จะสลายความขัดแย้งในทุกๆประเด็น
ในเดือน เมษายน 1994
ได้มีการลงนามอย่างเป็นทางการของสมาชิก
125
ประเทศเพื่อสิ้นสุดการเจรจารอบ
Uruguay ที่เมือง Marrakesh ในประเทศ Morocco
ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดการเจรจารอบ
Uruguay
อย่างไรก็ตามความล่าช้าดังกล่าวก็ได้ให้ผลดีบางอย่างแก่ระบบ
การล่าช้านี้ทำให้การเจรจาก้าวหน้าไปได้มากกว่าที่มันสามารถเป็นได้ในปี
1990
ตัวอย่างเช่นเรื่องของภาคบริการ
ลิขสิทธิ์ทางปัญญา และ
การการตั้ง WTO
การเจรจานี้จะเป็นความเหนื่ยยาก
ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
และ
ในประเด็นเกือบทุกประเด็นก็มีความขัดแย้งอยู่มากมายจน
ไม่น่าที่จะหาทางออกร่วมกันได้
แต่ ทุกอย่างก็ออกมาด้วยดี และ
เป็นการเปิดตัวครั้งแรกของ World Trade
Organization
Key Dates
September
1986 |
Punta del
Este |
Launch |
December
1988 |
Montreal |
Ministerial
Mid-Term Review |
April
1989 |
Geneva |
Mid-Term
Review Completed |
December
1990 |
Brussel |
Closing
Ministerial Meeting Ends in Deadlocked |
December
1991 |
Geneva |
First
Draft of Final Act Completed
US and EC achieved "Blair House" |
November
1992 |
Washington |
Breakthourgh
on Agriculture |
July 1993 |
Tokyo |
Quad
Achieve Market Access
Breakthrough a G-7 summit |
December
1993 |
Geneva |
Most
Negotiation Ends (some market access talks remain) |
April
1994 |
Marrakesh |
Agreement
Signed |
January
1995 |
Geneva |
WTO
Created, Agreement Take Effects |
GATT และ
WTO
อย่างที่กล่าวมาทั้งหมด
การจะมองถึงความแตกต่างระหว่าง
GATT และ WTO
นั้นคงไม่ใช่เรื่องยาก
ในประเด็นแรกก็คือ GATT
เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างประเทศเป็น
เอกสารสำหรับการกำหนดแนวทางของการค้าระหว่างประเทศ
ในขณะที่ WTO
เป็นองค์การเป็นสถาบันที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความตกลงนี้
ดังนั้น GATT
จึงเปรียบเสมือนเป็นเนื้อหา และ
WTO เปรียบเสมือนเป็นรูปแบบ และ
ความมีตัวตนของเนื้อหานั้น
ในประเด็นที่สองก็คือ WTO และ
ข้อตกลงของการตั้ง WTO
ถือเป็นสิ่งที่ถาวร
โดยในฐานะของการเป็นองค์การระหว่างประเทศ
WTO
มีรากฐานทางกฎหมายระหว่างประเทศ
เพราะ WTO
ได้รับการให้สัตยาบัณจากประเทศสมาชิก
และ
การให้สัตยาบันนั้นเป็นการกำหนดวิธีการทำงานของ
WTO ในขณะที่ GATT
เป็นข้อตกลงชั่วคราวชั่วคราว
(Provisional) และ
ทำงานโดยใช้รอบของการเจรจาเป็นหลัก
ประเด็นที่สามก็คือ สมาชิกของ WTO
ตามกฎหมายแล้ว ถือว่าเป็นสมาชิก
(members) ในขณะที่สมาชิกของ GATT
เป็นเพียงคู่สัญญา ( contracting parties)
ประเด็นที่สี่ก็คือ GATT
จัดการเกี่ยวกับเรื่องของสินค้าเพียงอย่างเดียวในขณะที่
WTO ครอบคลุมเรื่องของการบริการ (GATS)
และ ลิขสิทธิ์ทางปัญญา (TRIPS)
ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมจาก GATT
เดิม และ
ในประเด็นสุดท้ายก็คือ
การแก้ไขข้อขัดแย้งภายใต้ WTO
นั้นทำได้ดีกว่า เร็วกว่าระบบ GATT
เดิมที่ใช้อยู่ สรุปแล้ว WTO
ที่เกิดขึ้นใหม่ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่มาเพิ่มเติมจาก
GATT เดิม แต่
เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวตน Identity
ของระบบการจัดการ
การค้าระหว่างประเทศโดยที่มีความเป็นสถาบันเข้ามาเกี่ยวข้อง
ซึ่ง GATT ได้ตายไปแล้ว และ
ได้ถูกกลืนเข้าไปใน WTO แต่
ผลพวงของการเจรจาตลอด 47
ปีในรูปของ GATT
ย่อมจะเป็นตัวกำหนดแนวทางที่สำคัญต่อไปของกิจกรรม
และ ประเด็นที่ WTO
ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องในอนาคต.
|