โฮมเพจเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณของ
|
|
การสถาปนาโรงเรียนกฎหมายของพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นการวางรากฐานการศึกษาวิชานิติศาสตร์ในประเทศไทยจนเป็นปึกแผ่นมาถึงทุกวันนี้ รวมทั้งการประสาทความรู้วิชากฎหมายด้วยพระองค์เองและทรงนิพนธ์ตำรากฎหมายอีกเป็นจำนวนมาก ตลอดจนการกู้เกียรติศักดิ์ของตุลาการจากสภาพที่ตกต่ำสุดจนขึ้นสู่จุดสูงสุดด้วยการขอพระราชทานเงินเดือนผู้พิพากษาให้เพียงพอและเหมาะสมต่อการดำรงอยู่ได้ตามสมควรกับตำแหน่งหน้าที่และการให้ความสำคัญต่อความซื่อสัตย์สุจริตและความสามารถในเชิงงานของผู้พิพากษานั้น ทำให้กล่าวได้ว่าการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลไทยประสบความสำเร็จอย่างงดงาม สิ่งที่ยืนยันความจริงเรื่องนี้ได้ดีคือ คำกล่าวของนาย Walter A. Graham นักเขียนชาวอังกฤษที่ว่า
ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 5 คือเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมตามที่ทรงกราบบังคมทูลลาเอาไว้ ขณะนั้นโรงเรียนกฎหมายมีสภาเนติบัณฑิตเป็นผู้บริหารกิจการ ทั้งนี้เพื่อแบ่งเบาพระภารกิจของเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม กรรมการในสภาเนติบัณฑิตส่วนใหญ่เป็นเนติบัณฑิตซึ่งเป็นลูกศิษย์ของกรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ดังนั้นเมื่อผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งแทนไม่ใช่เนติบัณฑิตหรือเป็นอาจารย์ของพวกเนติบัณฑิต จึงมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับเรื่องโรงเรียนกฎหมายไม่มากก็น้อย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม จึงมีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2454 ว่า
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชหัตถเลขาที่ 19/199 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม ร.ศ.130 (พ.ศ.2454) เพื่อมีพระบรมราชานุญาต และทรงมีพระราชดำริให้ปรึกษาเสนาบดีกระทรวงกลาโหมเกี่ยวกับการจัดการโรงเรียนกฎหมายให้เป็นโรงเรียนระดับอุดมศึกษา หลังจากนั้นจึงได้ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศให้โรงเรียนกฎหมายเป็นโรงเรียนหลวงในสังกัดกระทรวงยุติธรรมเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2454 ซึ่งมีความดังนี้
การดูแลจัดการโรงเรียนกฎหมายโดยสภาเนติบัณฑิตจึงเป็นอันสิ้นสุดลง เพราะโรงเรียนกฎหมายได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นโรงเรียนหลวงในสังกัดกระทรวงยุติธรรมโดยมีเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้รับผิดชอบ โรงเรียนกฎหมายในสมัยที่เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้กำหนดข้อบังคับและระเบียบการต่าง ๆ นั้น แตกต่างจากสมัยก่อน เช่นกำหนดคุณสมบัติของนักเรียนกฎหมายว่าจะต้องสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมชั้นที่ 2 (มัธยมปีที่ 6)หรือเทียบเท่า กล่าวคือกระทรวงยุติธรรมได้มีประกาศลงวันที่ 11 สิงหาคม ร.ศ.130(พ.ศ.2454) กำหนดให้มีการสอบวิชาชั้นต้นแก่นักเรียนกฎหมายที่ยังสอบไม่ผ่านวิชาชั้นต้น วิชาที่จะสอบนั้นเทียบเท่าวิชาที่เรียนในชั้นมัธยมชั้นที่ 2 และเมื่อสอบวิชาชั้นต้นได้แล้วให้ยกนักเรียนเหล่านี้เป็นนักเรียนชั้นอุดมศึกษา ทั้งนี้เป็นไปตามความในพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร เว้นแต่นักเรียนคนใดที่สำเร็จการศึกษาซึ่งพอจะเทียบเท่าวิชาในชั้นมัธยมชั้นที่ 2 มาแล้ว ก็ให้เป็นนักเรียนชั้นอุดมศึกษาได้โดยไม่ต้องสอบวิชาชั้นต้น การสอนในโรงเรียนกฎหมายแบ่งเป็น 4 เทอม ใน 1 สมัยการศึกษาหลักสูตร 1 ปี และจัดโรงเรียนกฎหมายเป็นโรงเรียนระดับอุดมศึกษา เดิมโรงเรียนกฎหมายเปิดสอนอยู่ที่ตึกสัสดีหลังกลาง แต่ในระหว่างที่ตึกสัสดีถูกรื้อเพื่อสร้างใหม่ โรงเรียนกฎหมายจึงได้ย้ายไปเรียนที่ถาวรวัตถุหน้าวัดมหาธาตุ ซึ่งปัจจุบันคือกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร แล้วต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่เรือนไม้ระหว่างศาลสถิตย์ยุติธรรม กับตึกสัสดี เมื่อตึกใหม่สร้างเสร็จได้ใช้เป็นที่ทำการศาลอาญาและโรงเรียนกฎหมาย |