โรคภูมิแพ้ last updated 02/10/44

Home

ยา

ผู้หญิง

เด็ก

เครื่องสำอาง

ปฐมพยาบาล

โรคทั่วไป

อื่นๆน่าสนใจ

สอบถามปัญหา

This Page
คืออะไร ?
ภูมิแพ้กับครอบครัว
ประเภทของการแพ้
กลไกการแพ้
หวัด & ภูมิแพ้ต่างกัน
การรักษา
Related Topic
ยาแก้แพ้
การหลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดการแพ้
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
การล้างจมูกด้วย NSS
ยาพ่นจมูก
รู้จักกับ Leukotriene กับยาที่เกี่ยวข้อง
ความรู้เกี่ยวกับการอักเสบ
Interesting Links


ติชม หรือสอบถามได้ที่นี่ครับ

ชื่อ
email
ติชม เรื่องที่อยากสอบถาม

คืออะไร ?

       

เป็นสภาวะที่ตอบสนองกับบางสิ่งบางอย่างที่ไม่เป็นอันตรายเกินกว่าที่ควรจะเป็นด้วยระบบภูมิคุ้มกัน เช่น

เมื่อเราถูกยุงกัด ยุงจะปล่อยน้ำลายออกมาด้วย สำหรับผู้ที่แพ้ จะเกิดอาการบวมแดงคัน อย่างมากมาย แต่ในผู้ที่ไม่มีปัญหาการแพ้ ก็เกิดอาการคันบวมแดงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จะไม่มีผู้ใดเลยที่ไม่มีอาการเลย เนื่องจากการแสดงออกของอาการเป็นการบอกให้ร่างกายรับรู้การกัดของยุง

หรือการสูดละอองเกสรดอกไม้ ในร่างกายปกติก็จะต้องมีการจาม ไอ น้ำมูกไหล เป็นปกติเพื่อกำจัดสิ่งที่สูดดมเข้าไป แต่ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ ก็จะเกิดอาการที่รุนแรงกว่า เป็นต้น

ภูมิแพ้กับครอบครัว        

พบว่า ภูมิแพ้มักมีประวัติในครอบครัวด้วย กล่าวคือ

ถ้ามีพ่อแม่เป็นภูมิแพ้ทั้ง 2 คน จะพบว่าลูกมีโอกาสเป็นมากถึง 75%

ถ้ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็น ลูกมีโอกาสเป็นประมาณ 25%

ถ้าไม่มีใครเป็น ลูกมีโอกาสเป็นประมาณ 10%

 

ประเภทของการแพ้        

ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจกับคำว่า Rhinitis ก่อนดังนี

้ คำว่า Rhinitis แปลว่า จมูกอักเสบ จะสังเกตว่าใช้คำว่าอักเสบ ซึ่งมักเข้าใจว่าเป็นการติดเชื้อ ซึ่งจริงๆไม่ใช่ เพราะการอักเสบหมายถึง อาการ บวม แดง ร้อน ซึ่งเป็นได้ทั้งการติดเชื้อ และไม่ติดเชื้อ ท่านจึงต้องเลือกใช้ยาให้ถูกไม่ใช่ฟังเพียงชื่อโรคก็จะเรียกหายาแก้อักเสบ ซึ่งที่จริงน่าจะเรียกว่ายาปฏิชีวนะมากกว่า

  • Seasonal Allergic Rhinitis หมายถึงการแพ้ทางจมูกที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลเนื่องจากเกสรดอกไม้จากพืช หรือ สมัยก่อนเรียกว่า Hay Fever

  • Perennial Rhinitis คือการแพ้ทางจมูกที่เป็นตลอดปี ได้แก่ การแพ้ที่เกิดจาก ไร, เชื้อรา, ขนสัตว์, อื่นๆ ที่มีอยู่ตลอดทั้งปี

  • Food Allergy  แพ้อาหาร อาหารที่พบบ่อยได้แก่ ไข่ , นม , ถั่ว , หอย เป็นต้น

  • Anaphylactic Shock  เป็นรูปแบบการแพ้ที่รุนแรงถึงชีวิต ได้แก่ การแพ้ยาเพนนิซิลลิน หรือแมลงกัดต่อย ตะขาบ ฯลฯ

  • Allergic Conjunctivitis  เยื่อตาอักเสบ บวม แดง

  • Contact Dermatitis รูปแบบการแพ้ทางผิวหนัง เกิดผื่นแพ้ คัน

กลไกการแพ้        

เมื่อร่างกายสัมผัสกับสารที่กระตุ้นให้เกิดการแพ้ที่เรียกว่า Allergen ในครั้งแรกจะยังไม่เกิดการแพ้ แต่ร่างกายจะสร้างสารต่อต้านที่เรียกว่า Antibody เมื่อสัมผัส Allergen หลายๆครั้ง Antibody ก็จะถูกสร้างมากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งเกิดอาการ Antibody ที่ถูกสร้างขึ้นมีหลายชนิด ชนิดที่เกี่ยวข้องกับการแพ้ มีชื่อเรียกว่า Immunoglobulin E (IgE) IgE จะมีอยู่ที่ผนังเซลล์ที่เกี่ยวกับการแพ้ที่เรียกว่า Basophil หรือ Mast Cell ซึ่งในตัว Mast Cell จะมีอวัยวะส่วนหนึ่งที่ภายในบรรจุสารที่เรียกว่า Histamine สารนี้จะถูกปล่อยออกมาเมื่อมี Allergen มาเกาะที่ IgE การปล่อย Histamine ออกมาจะไปกระตุ้นเส้นเลือดบริเวณใกล้เคียงให้เกิดการขยายตัว น้ำในเลือดซึมผ่านออกมาทำให้เกิดอาการบวม แดง ร้อน คัน ผื่น

Allergen แต่ละชนิดจะกระตุ้นให้มีการสร้าง IgE แต่ละชนิดด้วยเช่นกัน

จำนวนของ IgE ที่มีอยู่มีผลต่อความรุนแรงของการแพ้

ความแตกต่างระหว่างหวัดกับการแพ้        

ถ้าท่านมีอาการต่อไปนี้ มีความน่าจะเป็นการแพ้ คือ

ไม่มีไข้

น้ำมูก เสมหะ ใส ไม่เหนียวข้น (นอกจากว่าท่านทานยาลดน้ำมูก ซึ่งจะทำให้น้ำมูกเหนียว)

มีอาการจาม คันจมูก หู คอ (โดยเฉพาะบริเวณเพดานปาก)

มีอาการเรื้อรังต่อเนื่องยาวนานกว่าการเป็นหวัดทั่วไป ประมาณ 7-10 วันขึ้นไป

การรักษา        
  1. หัวใจสำคัญที่สุด คือ หาสาเหตุการแพ้ และหาทางหลีกเลี่ยง
  2. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการพักผ่อน ให้เพียงพอจะช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น
  3. ใช้ยาแก้แพ้ Antihistamine และใข้ยาลดบวมภายในโพรงจมูกด้วยถ้ามีอาการแน่นจมูกด้วย
  4. ถ้าอาการรุนแรงมาก พิจารณาการใช้การรักษาด้วยการทดสอบผิวหนังหาสารที่แพ้ และรับการฉีดสารที่แพ้นั้นเข้าร่างกายทีละน้อย ต้องใชเวลานานจึงเห็นผล ( ประมาณ 3-5 ปี ) เพื่อปรับให้ร่างกายเคยชิน ซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้โดยตรง

 

Post a Message in My Message Board!

ถ้าท่านชอบ web  นี้ 
ท่านที่ต้องการสอบถาม เสนอแนะ เชิญครับ mailto:vichiena@yahoo.com
ขอขอบคุณ Geocities.com ที่ให้พื้นที่ฟรีสำหรับการจัดทำ Web Site นี้
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่สำคัญ discoveryhealth | mediconsult | mayohealth | medscape.com | healthylives | สมาคมแพทย์โรคผิวหนัง USA | fda.gov | my.yahoo.com

1