ระบบภูมิคุ้มกัน - Immune System |
Last Update : 13/02/43
|
แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
ภูมิคุ้มกันแบบไม่เฉพาะเจาะจงที่มีโดยธรรมชาติ
( Native immunity หรือ Natural resistance )
ไม่จำเป็นที่ต้องถูกกระตุ้นเป็นพิเศษ
มีกำลังทำลายไม่สูง
ป้องกันได้กับจุลชีพที่ไม่มีอันตรายมากนัก
และกำจัดจุลชีพได้ในบริมาณหนึ่ง
เปลี่ยนแปลงไปตามอายุ
พันธุกรรม ระดับฮอร์โมน
และสภาวะทางโภชนาการของแต่ละคน
แบ่งย่อยตามกลไกการทำงานได้ดังนี้
1.การป้องกันทางกายวิภาค ( Anatomical
barrier ) ด่านที่สำคัญคือ
- ผิวหนัง
เชื้อจะถูกกั้นให้อยู่บริเวณด้านนอกของร่างกายบริเวณผิวหนัง
ถ้าอยู่เช่นนั้นไปเรื่อย
เชื้อก็จะตาย
เพราะอยู่ในสภาพที่แห้งขาดความชุ่มชื้น
การหลุดลอกออกของผิวหนัง
จะช่วยกำจัดเชื้อที่เกาะอยู่ออกไป
- เยื่อบุผิว
( Mucous Membrane )
จะมีเยื่อเมือกช่วยดักจับจุลินทรีย์ไว้
และลำเลียงต่อขึ้นไปทางหลอดลม
หรือโพรงจมูก
โดยอาศัยการทำงานของขนเล็ก
( Cilia ) บริเวณทางเดินหายใจ
ทำงานคล้ายไม้กวาด
ทำให้เชื้อมีการเคลื่อนที่ไปในทางเดียวกันในอัตราความเร็วประมาณ
10-20 มม./นาที
ต่อมาจะเกิดอาการไอจาม
หรือขับเป็นเสมหะ
ทำให้เชื้อหลุดออกไป
หรือไม่ก็ถูกกลืนลงไปกระเพาะอาหาร
และขับออกกับอุจจาระ
- การปัสสาวะ
ความแรงของการปัสสาวะสามารถเป็นตัวผลักดันเชื้อโรคออกไปได้
ดังนั้นผู้ที่อั้นปัสสาวะเป็นประจำ
ทานน้ำน้อย ต่อมลูกหมากโต
ท่อปัสสาวะตีบคด
เป็นสาเหตุให้ปัสสาวะไม่พุ่ง
ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น
2.สารเคมีในร่างกาย ( Chemical Factor )
- สารที่ขับออกมาจากต่อมไขมัน
ได้แก่ Lactic acid, Caproic acid, Caprylic acid
มีฤทธิ์ต่อต้านแบคทีเรีย
กรดไขมันบางชนิดป้องกันเชื้อราได้
(
ยกเว้นเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด
ที่กรดไขมันบางชนิดช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อ
)
- ความเป็นกรดในช่องคลอด
ทำให้ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ
แต่เหมาะกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
- ความเป็นกรด - ด่าง
ของช่องปาก
และกระเพาะอาหาร
กล่าวคือ
น้ำลายมีฤทธิ์เป็นด่าง
และกรดในกระเพาะอาหาร
จะช่วยกรองเชื้อจุลินทรีย์ได้ส่วนหนึ่ง
- Normal Flora หมายถึง
เชื้อจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่กับร่างกายตามปกติซึ่งไม่ก่อโรค
จะช่วยควบคุมปริมาณซึ่งกันและกันไม่ให้มีการเจริญของเชื้อใดมากเกินไป
ดังนั้นเมื่อพูดถึงแง่นี้
การที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มียาฆ่าเชื้อเป็นประจำ
ไม่ว่าจะเป็นในรูปสบู่
แชมพู แป้ง
หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ (
ซึ่งมีโฆษณาในสื่อต่างๆเป็นประจำ
)
จะรบกวนการปกป้องโดยธรรมชาติ
เนื่องจาก Normal Flora
จะถูกฆ่าไปด้วย
เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ผิวหนัง
3.การสะกดกลืนกิน ( Phagocytosis ) โดย
เม็ดเลือดขาว
จะทำหน้าที่จับเชื้อจุลินทรีย์กิน
เมื่อกินจนเต็มที่แล้วก็จะย่อยสลายตัวเองและเชื้อจุลินทรีย์ให้ตายไปพร้อมๆกันกลายเป็นหนอง
4.ระบบคอมพลีเมนต์ ( Complement System )
เป็นระบบที่ซับซ้อนมาก
เป็นกลุ่มของสารโปรตีนในน้ำเลือดมากกว่า
20 ชนิด มีผลทำให้เซลล์ตาย
แตกสลาย
5.อินเตอร์เฟอรอน ( Interferon )
เป็นกลุ่มของโปรตีนเช่นเดียวกัน
มีความสำคัญในการขัดขวางการแบ่งตัวของไวรัส
จัดเป็นสารที่มีอนาคตทางการแพทย์มากในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัส
และมะเร็ง
แต่ยังต้องค้นคว้าอีกนาน
เพื่อลดผลข้างเคียงในการนำมาใช้ทางยา
ภูมิคุ้มกันแบบเฉพาะเจาะจง
( Specific Acquired Immunity )
มีอำนาจทำลายสูง
และเฉพาะเจาะจงกับเชื้อจุลินทรีย์แต่ละชนิด
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ
การฉีดวัคซีน
ซึ่งจะมีวัคซีนของแต่ละโรค
วัคซีนจะไปกระตุ้นให้เกิดการสร้าง
Antibody ต่อโรคนั้นๆ
และจะถูกจดจำไปตลอดชีวิต
เมื่อร่างกายได้รับเชื้อชนิดนั้นๆอีก
Antibody
จะถูกสร้างขึ้นมาอย่างมากมายเพื่อทำลายเชื้อจุลินทรีย์ชนิดนั้นอย่างรวดเร็ว
การเกิดภูมิคุ้มกันชนิดนี้
อาศัยเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า
Lymphocyte
Antibody
ที่ถูกสร้างขึ้นจะมีความเฉพาะเจาะจงมากต่อเชื้อจุลินทรีย์นั้นๆ
ซึ่งสารที่กระตุ้นให้เกิดการสร้าง
Antibody เรียกว่า แอนตี้เจน ( Antigen )
โรคที่เกี่ยวข้องกับ
ระบบภูมิคุ้มกัน
- โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง
( Autoimmune disease )
มีโรคประเภทนี้มากมาย
แต่ที่เป็นที่รู้จักกันมากคือ
- SLE ( Systemic Lupus Erythematosus
- Rheumatoid arthritis
- Psoriasis
-
- โรคภูมิแพ้
- ภาวะบกพร่องของภูมิต้านทาน (
Immunodeficiency Disease )
|