หัวข้อภายในเรื่องนี้
ข้อเท็จจริงที่ควรทราบ
สาเหตุของปัญหา
แนวทางการแก้ไข
หัวข้ออื่นที่น่าสนใจ
ความเข้าใจที่ถูกกับการอักเสบ
ยาปฏิชีวนะ
ทำไมจึงต้องทานยาให้ครบเทอม
|
อรัยสัจ 4 = ทุกข์ , สมุทัย , นิโรธ , มรรค |
- เชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค มีหลายชนิด
มีหลักๆ 3 กลุ่ม คือ ไวรัส,
รา, แบคทีเรีย
และในแต่ละกลุ่มก็มีย่อยๆอีกมากมาย
- ยาปฏิชีวนะมีผลต่อเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น
ถ้าเป็นการติดเชื้อรา
ไวรัส วัณโรค เรื้อน
โปรโตซัว พยาธิ
ยาปฏิชีวนะไม่สามารถฆ่าเชื้อเหล่านี้ได้
- ยาปฏิชีวนะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ได้แก่
- การเข้าถึงส่วนต่างๆของร่างกายไม่เท่ากัน
เช่น Amoxycillin
ไม่เหมาะจะใช้กับอาหารเป็นพิษ
ติดเชื้อในทางเดินอาหาร
หรือทางเดินปัสสาวะ หรือ
Norfloxacin
ไม่เหมาะจะใช้กับทางเดินหายใจ
แต่เหมาะกับทางเดินปัสสาวะ
เพราะยาไปออกที่ปัสสาวะมาก
เป็นต้น
- การฆ่าเชื้อ ความครอบคลุมไม่เหมือนกัน
เช่น ในกลุ่มของ Penicillin ยา Pen-V
มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อน้อยชนิดกว่ายา
Amoxycillin
- วิธีการใช้ไม่เหมือนกัน บางอย่างต้องฉีดเท่านั้น
ยาบางตัวมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อที่ดี
แต่ต้องฉีดเท่านั้น
ถ้าเอาไปรับประทาน
ก็ไม่ถูกดูดซึม
ทำให้ไม่มีผลในการรักษา
ยาที่ใช้ผิดทำนองนี้และพบบ่อย
คือ กานามัยซิน
- พบการดื้อยามากขึ้นในปัจจุบัน
กล่าวกันว่า
วันที่มียาปฏิชีวนะใหม่ออกมา
วันเดียวกันนั้นก็มีการดื้อยาเกิดขึ้นแล้ว
เป็นสถานการณ์ที่มีแต่จะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
จึงอยากขอให้ช่วยกันทานยาให้ครบเทอมกันนะครับ
- โรคๆหลายโรคที่อาการเหมือนกับการอักเสบ หรือชื่อโรคบอกว่าอักเสบ ได้แก่ ข้ออักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ ผิวหนังอักเสบ
ไม่ได้หมายความว่าเป็นการติดเชื้อ
พบบ่อยทีเดียวว่า
มาซื้อยา Ampicillin
เพื่อไปรักษาข้อเข่าอักเสบ
- ทานยาไม่ครบขนาดที่ต้องใช้ เนื่องจาก ความกลัวกินยามาก หลายชนิดเกินไป ลืม
- เลือกใช้ยาไม่ถูกชนิดกับการติดเชื้อที่เป็นอยู่
เพราะยาไม่ครอบคลุมเชื้อนั้นๆ
- ไม่ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเท่าที่ควร
ทำให้กลไกการป้องกันตัวเองแย่ลง
ยาหลายตัวทำหน้าที่ทำให้เชื้อโรคอ่อนแรงลงเท่านั้น
- เลือกยาที่ไม่มีมาตรฐาน
ทำให้ได้ยาที่มีประสิทธิภาพไม่เต็ม
100%
ซึ่งคงต้องเลือกซื้อกับร้านที่ท่านวางใจได้
- ได้รับเชื้อที่ไม่ตอบสนองต่อยา ดื้อต่อยานั้นมาก่อนแล้ว
ปัจจุบันพบมากขึ้นเรื่อยๆ
แม้แต่ในประเทศที่เจริญแล้ว
เช่น USA ก็ยังมีปัญหานี้
- ทานยาให้ถูกขนาด ไม่ลืม
เพื่อให้ระดับยาคงที่
สม่ำเสมอ
ผลการรักษาดีที่สุด
- ถ้าทานยามา 2-3 วันไม่หาย ให้สงสัยว่าเลือกใช้ยาผิดตัว หรือ เชื้อโรคนั้นดื้อยาที่กำลังใช้อยู่ ให้เปลี่ยนยาใหม่ ซึ่งในการเปลี่ยนยาควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร โดยนำยาตัวเก่าไปด้วย
หรือถ้ารู้ชื่อด้วยจะยิ่งดี
จะได้ใช้ประกอบการพิจารณา
- ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันที่ดีโดยธรรมชาติ
เพราะยาหลายชนิดที่ใช้มีผลทำให้เชื้ออ่อนแรงลงเท่านั้น
ยังคงต้องอาศัยกลไกการกำจัดเชื้อในร่างกาย
- รับประทานยาให้ครบเทอม
เพื่อลดปัญหาการดื้อยาในภายหลัง
- เมื่อจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
ไม่ควรเลือกใช้ยาที่แรงจนเกินไป
โดยหวังผลให้ได้ผลเร็ว
เพราะเป็นวิธีการใช้ยาที่ผิด
ที่ถูกควรเริ่มตามขั้นตอน
แล้วค่อยเพิ่มความแรงในภายหลัง
เมื่อยาตัวแรกใช้ไม่ได้ผลแล้ว
เช่น ทอนซิลอักเสบ
ก็ควรเริ่มที่ Pen-V หรือ Amoxycillin
หรือ Erythromycin
ไม่ใช่ไปเริ่มที่ Cefaclor หรือ
Ceftibuten หรือ Augmentin หรือ Ofloxacin
แต่ทุกอย่างก็ต้องมีข้อยกเว้น
คือ กรณีที่จำเป็นจริงๆ
หรือวิเคราะห์เชื้อโรคแล้วว่าเป็นเชื้ออะไร
ดื้อต่อยาอะไร เป็นต้น
|