คือยาชนิดหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
ซึ่งเป็นได้ทั้งทำให้เชื้อแบคทีเรียตาย
หรือ อ่อนแรงลง
ทำให้ไม่มีแรงสู้กับภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ขอแบ่งเป็น 2
ข้อใหญ่ ดังนี้
- ทำให้เชื้อแบคทีเรียตาย
ด้วยฤทธิ์ของยาเอง
- ทำให้เชื้อแบคทีเรียอ่อนแรง
หยุดการเจริญเติบโต
หยุดการแพร่พันธุ์
ทำให้ถูกจับกิน
หรือทำลาย
โดยเม็ดเลือดขาวง่ายขึ้น
ในแง่รายละเอียดลึกๆจะไม่ขอกล่าวในที่นี้
- เพื่อกำจัด และรักษา
โรคที่เกี่ยวกับการติดเชื้อแบคทีเรีย
โดยช่วยเสริมกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ทำให้เชื้อแบคทีเรียตายเร็วขึ้น
หายจากโรคเร็วขึ้น
- เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ส่วนใหญ่จะไม่ใช้ทั่วไป
ยกเว้นกรณีจำเป็นจริงๆ
เช่น การผ่าตัด
เนื่องจากการใช้ยาโดยที่ไม่จำเป็นบ่อย
จะเพิ่มโอกาสการดื้อยามากขึ้น
- การแพ้ยา
- ผลข้างเคียง
- การรบกวนระบบนิเวศน์ของเชื้อแบคทีเรียภายในร่างกาย
เช่น
การใช้ยาแก้อักเสบที่ออกฤทธิ์กว้างบางตัว
จะไปทำลายเชื้อโรคในช่องคลอด
ลำไส้ หรือ ปาก
ทำให้เกิดตกขาวจากเชื้อรา,
ท้องเสีย,
เชื้อราขึ้นในช่องปาก
เป็นต้น
กลุ่มยา
|
ชื่อทางยา
|
PENICILLIN |
- Penicillin-V
- Ampicillin
- Amoxycillin
- Cloxacillin
- Dicloxacillin
- Ampicillin-Sulbactam
- Amoxycillin-Clavulanate
|
กลุ่มยา
|
ชื่อทางยา
|
CEPHALOSPORIN |
- Cephalexin
- Cefuoxime
axetil
- Cefaclor
- Cefamandole
- Ceftibuten
- Cefoperazole
|
กลุ่มยา
|
ชื่อทางยา
|
|
- Erythromycin
- Midecamycin
- Spiramycin
- Roxithromycin
- Clarithromycin
- Azithromycin
|
กลุ่มยา
|
ชื่อทางยา
|
TETRACYCLINE |
- Tetracycline
- Doxycycline
- Minocycline
|
กลุ่มยา
|
ชื่อทางยา
|
SULPHONAMIDE |
- Sulphadiazine
- Co-Trimoxazole
|
กลุ่มยา
|
ชื่อทางยา
|
QUINOLONE |
- Norfloxacin
- Ofloxacin
- Ciprofloxacin
- Sparfloxacin
- Trovafloxacin
|
กลุ่มยา
|
ชื่อทางยา
|
AMINOGLYCOSIDE |
- Gentamicin
- Neomycin
- Amikacin
- Streptomycin
- Netilmycin
|
การจัดแบ่งกลุ่มยามีประโยชน์อยู่
2 ข้อใหญ่ คือ
- การเลือกใช้ยา
เนื่องจากยาในกลุ่มเดียวกัน
จะมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อคล้ายกัน
แต่แรงขึ้นในตัวยาที่พัฒนาขึ้นใหม่
- การแพ้ยา
เมื่อท่านแพ้ยาตัวใดในตระกูลหนึ่ง
ท่านจะต้องหลีกเลี่ยงยาทั้งหมดในตระกูลนั้น
- ท่านควรใช้ยาแก้อักเสบเมื่อมีการติดเชื้อจากแบคทีเรียเท่านั้น
- ท่านควรใช้ยาแก้อักเสบตัวที่อ่อนที่สุดที่จะได้ผล
ไม่ควรใช้ยาแรงเกินไป
- ควรทานยาติดต่อกันจนยาหมด
เพื่อที่ว่า
เชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคจะได้ตายหมด
ไม่เหลือกลายเป็นเรื้อรัง
หรือ
พัฒนาการดื้อยาในภายหลัง
- ไม่ควรลืมทานยา
เพราะจะทำให้ระดับยาในเลือดไม่คงที่
- ไม่ควรแบ่งยาแก้อักเสบให้ผู้อื่น
- ก่อนใช้ยาแก้อักเสบ
ท่านควรปรึกษาแพทย์
เภสัชกร
ทุกครั้ง
- เข้าใจว่ายาแก้อักเสบเป็นยาวิเศษ
รักษาได้สารพัดโรค
- นำยาแก้อักเสบไปทานเพื่อรักษาโรคข้อ
กล้ามเนื้ออักเสบ
เนื่องจากฟังจากชื่อโรคมีคำว่า
"อักเสบ" อยู่ด้วย
- หยุดยาเร็วเกินไป
เพราะเชื่อว่าทานยาแก้อักเสบนานเกินไปไม่ดี
- หยุดยาเร็วเกินไป
ทำให้เชื้อตายไม่หมด
ซึ่งต่อไปก็จะเกิดการพัฒนากลายเป็นเชื้อโรคที่ดื้อยาได้
หรือ
ทำให้เกิดการเป็นเรื้อรังได้
- เชื่อว่ายาแก้อักเสบที่ยิ่งแรงก็ยิ่งดี
ยาลดการอักเสบ
หมายถึงยาที่ลดอาการ
ปวด บวม แดง ร้อน (
ซึ่งเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการอักเสบ
) ไม่ใช่ยาฆ่าเชื้อ
หรือ ยาแก้อักเสบ
ตัวอย่างของโรคประเภทนี้
คือ โรคข้อเสื่อม
โรคข้อรูมาติซั่ม
เก๊าท์ เอ็นอักเสบ
ฯลฯ
ในร้านขายยา
มักจะพบว่า
มีผู้มาขอซื้อยาแก้อักเสบ
แต่เมื่อซักไปซักมา
หลายๆรายจะบอกว่า
เป็นโรคข้ออักเสบ
เอ็นอักเสบ
เนื่องจากแพทย์บอกมา
เมื่อได้ยินคำว่าอักเสบ
จึงคิดไปว่าจะต้องทานยาแก้อักเสบ
ซึ่งถ้าไม่ซักก็มักจะได้ยาผิดไป
|