Seminar Class
เรื่อง การนำสัญญาณในการเคลื่อนไหวของใบ ภาควิชาชีววิทยา
Signal Transduction in Leaf Movement คณะบัณฑิตวิทยาลัย
โดย นางสาว สุคนธ์ทิพย์ เศวตนลินทล มหาวิทยาลัยขอนแก่น


บทย่อเรื่อง
( summary )

พืชสามารถเคลื่อนไหวได้ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ macroscopic movement ( เช่น ใบกางออกรับแสง
ในเวลากลางวันและหุบในเวลากลางคืน) และ microscopic movement (เช่น การปิด-เปิดของปากใบของเซลล์คุม)
อวัยวะที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในใบพืชคือ pulvinus ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ 2 กลุ่ม คือflexor cell และextensor
cell กลุ่มเซลล์ทั้งสองนี้ทำงานตรงข้ามกันและสอดคล้องกันทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของใบ (Cote, 1995) การเคลื่อนไหวนี้
เกิดจากแรงดันน้ำ ซึ่งการเคลื่อนที่ของน้ำเข้า-ออกจากเซลล์เกิดจากการเคลื่อนที่ของไอออน ไอออนที่สำคัญคือ K+, Ca2+
เซลล์ใน pulvinus ที่สูญเสีย K+ออกไปจะเหี่ยวแต่ถ้ารับ K+เข้ามาจะบวมหรือเต่ง ซึ่งการเคลื่อนที่ของ K+ระหว่าง flexor
cell และ extensor cell จะทำให้เกิดวงจรของการพับลงและกางออกของใบ การเคลื่อนที่ของ K+นี้จะผ่านทาง K+channel
Kim et al. (1992) พบว่าในที่มืด inward directed K+channel ของflexor cell จะเปิด แต่ของextensor cell จะปิด
และเมื่อมีแสง inward directed K+channel ของflexor cell จะปิด แต่ของextensor cell จะเปิด (Kim et al., 1993)
การเคลื่อนไหวของใบจะเกี่ยวข้องกับ Ca2+ ด้วย การเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับ Ca2+ จะต้องอาศัย Ins(1,4,5)P3ร่วมด้วย
กล่าวคือ Ins(1,4,5)P3 จะกระตุ้นให้มีการปลดปล่อย Ca2+จากแวคคิโอลที่อยู่ภายในเซลล์(Allen et al., 1995) ซึ่งCa2+ นี้จะ
ไปปิด K+channel ในเซลล์ในpulvinus (Cote, 1995) การศึกษาที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นการศึกษาการนำสัญญาณที่ผ่านการ
ควบคุมของ inward- directed K+ channel ส่วน outward-directed K+channel ยังมีการศึกษาน้อยมาก และวิถีการนำ
สัญญาณซึ่งอาศัยสัญญาณทางสิ่งแวดล้อมแล้วไปมีผลกระตุ้นการปิด-เปิดของ inward-directed K+ channel นี้ ยังไม่ทราบแน่ชัด


ไปหน้าที่ผ่านมา|back to main page|ไปหน้าต่อไป

* คำอธิบายคำย่อ:Ins(1,4,5)P3 , inositol 1,4,5 triphosphate 1