Seminar Class
เรื่อง โครงสร้างและสังคมพืชป่าพรุ ภาควิชาชีววิทยา
Structure and Community of Peat Swamp Forest คณะวิทยาศาสตร์
โดย นางสาว ธิดารัชต์ ตกแต่ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น


บทย่อเรื่อง
(Summary)

ป่าพรุ เป็นป่าผลัดใบชนิดหนึ่งซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือเป็นป่าที่เกิดในที่ลุ่มต่ำ มีน้ำจืดแช่ขังตลอดปีและมีดินอินทรีย์
( organic soil ) ที่เป็นซากพืชที่ไม่ย่อยสลาย ( peat ) ทับถมกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดเป็นลักษณะเฉพาะของป่าพรุ(ธวัชชัย
และ ชวลิต ,2528)ประเทศทยเคยมีป่าพรุกระจัดกระจายตามชายฝั่งภาคตะวันออกและภาคใต้ แต่ในปัจจุบันป่าพรุที่เห็นเป็น
ป่าผืนใหญ่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวคือ ป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส (ธวัชชัย, 2538) ป่าพรุเป็นป่าที่มีคุณค่าทั้งในด้านความ
หลากหลายทางชีวภาพ เอื้อประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่คน สัตว์ในพื้นที่โดยรอบ พรรณไม้ในป่าพรุมีลักษณะพิเศษ
คือ การมีพูพอน รากค้ำยัน และมีรากหายใจ ซึ่งเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่อาศัยอยู่และยังมีพรรณไม้หลายชนิด
ที่เป็นพืชเศรษฐกิจ เช่นเป็นไม้ก่อสร้าง ได้แก่ไม้ตังหน ทองบึ้ง อ้ายบ่าว เป็นต้น หรือเป็นอาหารของชาวบ้านเช่น หลุมพี สาคู
ผักกูด ตลอดจนการพึ่งพาป่าในรูปแบบต่าง ๆ มาเป็นระยะเวลายาวนานถึงแม้มีการศึกษาวิจัยป่าพรุมาเป็นเวลากว่า 10 ปี แล้ว
แต่ความรู้ความเข้าใจของประชาชนที่มีต่อป่าพรุยังน้อยมาก เป็นเหตุให้มีการเข้าไปพัฒนาอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และมีการบุกรุก
จับจองพื้นที่เพื่อการเกษตร ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของป่าอย่างรวดเร็ว และบางแห่งป่าไม่สามารถฟื้นตัวเป็นป่าพรุดังเดิมได้
จึงควรมีการศึกษาวิจัย ให้ความรู้แก่ประชาชน และมีการจัดการอนุรักษ์ป่าพรุ ให้คงสภาพสมบูรณ์ตลอดไป


ไปหน้าที่ผ่านมา|back to main page |ไปหน้าต่อไป

1