Seminar Class
เรื่อง การศึกษาสารสกัดจากไพลและข่าเพื่อใช้ทากันยุง ภาควิชาชีววิทยา
Studies of Extract from Plai and Galanga as a Mosquito-repellantคณะวิทยาศาสตร์
โดย นางสาวเนตรดาว เพียกแก้ว มหาวิทยาลัยขอนแก่น


บทย่อเรื่อง
(Summary)

ประเทศไทยมีภูมิอากาศร้อนชื้น ฝนตกชุก สภาพโดยทั่วไปมียุงชุกชุม ยุงที่พบมากและก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในประเทศไทย
ได้แก่ ยุงลาย ยุงก้นปล่อง ยุงรำคาญ ยุง Mansonia เป็นต้น (สุภรณ์, 2526) ยุงเป็นตัวนำโรคหลายชนิดมาสู่คน การป้องกัน
ไม่ให้ยุงกัดนับว่าเป็นการป้องกันตนเองจากโรคต่าง ๆ เหล่านั้นวิธีหนึ่ง การใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติที่ยุงไม่ชอบ คือเมื่อยุง
ได้กลิ่นแล้วจะบินหนี นำมาผลิตเป็นยาทากันยุง ยาทากันยุงมีค่าเท่ากับน้ำหอมชนิดหนึ่งและมีคุณสมบัติป้องกันยุงกัดได้ดี
อีกด้วย (ประคอง, 2521b) แต่อย่างไรก็ตามสารเคมีเหล่านั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อคนบางกลุ่มได้ (Zadikoff, 1979)
พืชสมุนไพรวงศ์ Zingiberaceae เป็นพืชที่มีกลิ่นที่เกิดจากต่อมน้ำมันหอมระเหยที่มีอยู่ในทุกส่วนของพืชโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในลำต้นใต้ดินหรือเหง้า (พวงเพ็ญ, 2539) มีผู้ทำการศึกษาสารสกัดจำพวกน้ำมันหอมระเหยจากพืชวงศ์ ดังกล่าว
นำมาใช้ทาป้องกันยุงกัด พืชที่ใช้ในการศึกษา คือ ไพล Zingiber cassumnar และข่า Alpinia galangaสารสกัดที่ได้
จากเหง้าไพลประกอบด้วย Terpinen-4-ol( และ (-pinene Limonene (-cymene Terpinolene เป็นต้น
(ศูนย์สนเทศการเกษตรและสหกรณ์, 2528) ส่วนสารสกัดที่ได้จากเหง้าข่าประกอบด้วย Terpinen-4-ol( และ
(-Cymene Limonene (-Cymene (-Terpineol เป็นต้น (Janssen, 1985) โดยปี 2521 ประคอง ศึกษาสารสกัดจาก
ไพลใช้ทากันยุง และต่อมาปี 2532 กิตติพันธ์ ศึกษาสารสกัดจากข่าใช้ทากันยุง โดยการศึกษามีความคล้ายคลึงกัน
คือ ทำการทดลองหาประสิทธิภาพระยะเวลาป้องกันยุง กัดในห้องทดลองแล้วทำการทดลองในภาคสนามพบว่าสารสกัดจาก
ไพลและข่า มีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัดได้ดี โดยให้ระยะเวลาป้องกันยุงกัดได้พอ ๆ กับผลิตภัณฑ์ ป้องกันยุงกัด
จากสารเคมี จึงสามารถใช้แทนกันได้ การศึกษาสารสกัดจากสมุนไพรใช้ทากันยุง เป็นความพยายามที่จะใช้พืชที่มีอยู่มากมาย
ในประเทศมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใช้ทากันยุง เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพและได้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจอีกด้วย


ไปหน้าที่ผ่านมา|back to main page |ไปหน้าต่อไป

1