โฮมเพจเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณของ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว



 

สารบัญ


โครงการชลประทาน


  • อุปสรรคและปัญหาในการดำเนินโครงการ
  • ปัญหาการจ่ายน้ำ

พื้นที่ซึ่งได้รับประโยชน์จากโครงการชลประทานที่ดำเนินการไปแล้ว คือโครงการป่าสักใต้ นั้น ตั้งแต่ทุ่งหลวงลงมาทางใต้จนถึงคลองรังสิต เดิมอาศัยทำนาด้วยน้ำฝนและน้ำจากแม่น้ำที่หลากมาตามฤดูกาลประกอบกัน โดยไม่มีการทำคันนา พื้นที่เหล่านี้มีระดับเทลาดจากเหนือลงใต้ ถ้าหากปล่อยน้ำให้พอดีสำหรับที่นาตอนเหนือ ทางที่นาตอนใต้ก็จะได้รับน้ำมากเกินไป แต่ถ้าปล่อยน้ำให้พอดีสำหรับที่นาทางตอนใต้ น้ำก็จะน้อยเกินไปสำหรับที่นาตอนเหนือ

ทางแก้ไขสำหรับข้อขัดข้องเรื่องนี้ก็คือ จะต้องทำคันนาขึ้นในบริเวณทุ่งหลวง เพื่อจะได้สามารถปรับระดับน้ำให้เหมาะสมกับทุกเขต แต่ปัญหาต่อมาก็คือใครจะเป็นผู้ลงทุนทำคันนาเหล่านี้ เนื่องจากชาวนาในบริเวณทุ่งหลวงส่วนใหญ่ เป็นเพียงผู้เช่าที่นาทำกินไม่ใช่เจ้าของ ส่วนเจ้าของที่นานั้น ก็เห็นว่าผู้ได้ประโยชน์คือชาวนาผู้เช่า จึงไม่ยอมออกเงินลงทุน และเห็นว่าถ้าผู้ทำนาไม่ได้ออกเงินเอง ก็จะไม่สนใจดูแลรักษาคันนาให้ ในเรื่องนี้ทางออกที่พอจะเป็นไปได้ก็คือทางรัฐบาลโดยกรมทดน้ำ จะเป็นผู้ทำคันนา แล้วเรียกเก็บเงินจากเจ้าของที่นาต่อไป แต่วิธีการดังกล่าวนี้ก็ไม่ได้มีการดำเนินการ

ปัญหาอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับการจ่ายน้ำก็คือ น้ำที่เก็บกักไว้นั้นมิได้มีอย่างเหลือเฟือ จึงต้องมีการจัดสรรอย่างเหมาะสม เพื่อให้ที่นาทุกเขตได้น้ำอย่างทั่วถึง ดังนั้นเจ้าพนักงานจ่ายน้ำจะต้องมีอำนาจในการที่จะกำหนดปริมาณการปล่อยน้ำ และมีอำนาจห้ามไม่ให้ชาวนาละเมิดแย่งชิงน้ำชลประทานกัน อำนาจหน้าที่เช่นนี้บางครั้งก็เข้าไปเกี่ยวข้องและกระทบกระทั่งกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครอง ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการให้เจ้าพนักงาน 2 ฝ่ายนี้ร่วมมือปรองดองกัน เพื่อให้การจ่ายน้ำให้แก่ที่นา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

พื้นที่นาที่ได้รับน้ำจากโครงการป่าสักใต้ พ.ศ.2465-2470

พ.ศ.(มิย.-พย.) พื้นที่ที่ได้รับน้ำ (ไร่) ร้อยละของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด
2465 48,795 7
2466 310,231 45
2467 408,408 59
2468 417,684 60
2469 458,177 66
2470 467,403 67

ที่มา: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, แฟ้มรัชกาลที่ 7กค.0301.1.38. L/7 เรื่องรายงานการชลประทานแห่งประเทศสยาม (พ.ศ.2471)
หมายเหตุ ปี 2465 มีเฉพาะคลองส่งน้ำสายใหญ่ แต่หลังจากนั้นมีการส่งน้ำจากคลองแยกตะวันตกและแยกใต้อีกด้วย

เปรียบเทียบความเสียหายของพืชผลระหว่างพื้นที่ในและนอกเขตชลประทาน(พ.ศ.2468 และ 2470)

พ.ศ. จังหวัด

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่)

พื้นที่เสียหาย (ไร่) สัดส่วนของพื้นที่เสียหาย (%)

การชลประทาน
(มี/ไม่มี)

2468 ธัญญบุรี 436,110 23,820 5.5 มี
ปทุมธานี 178,140 39,310 22.0 ไม่มี
นครนายก 328,130 75,800 23.0 มีเพียงส่วนน้อย
อยุธยา 1,331,780 310,750 23.3 มีเพียงส่วนน้อย
2470 ธัญญบุรี 414,400 8,000 1.9 มี
ปทุมธานี 176,970 28,650 16.2 ไม่มี
นครนายก 372,310 60,700 16.3 มีเพียงส่วนน้อย
อยุธยา 1,274,630 314,630 24.7 มีเพียงส่วนน้อย

ที่มา: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, แฟ้มรัชกาลที่ 7 กค.0301.1.38. L/7 เรื่องรายงานการชลประทานแห่งประเทศสยาม (พ.ศ.2471)

การใช้จ่ายลงทุนด้านการชลประทาน เปรียบเทียบกับจำนวนเงินคงพระคลัง (พ.ศ.2457-2468)

พ.ศ. เงินลงทุนด้านชลประทาน (บาท) เงินคงพระคลัง (บาท) สัดส่วนเงินลงทุนต่อเงินคงพระคลัง (%)
2457 349,251 29,950,296 1.17
2458 525,533 32,165,723 1.63
2459 1,151,549 41,475,004 2.78
2460 1,664,015 50,849,893 3.27
2461 2,655,382 41,955,832 6.33
2462 2,474,312 26,008,579 9.51
2463 3,884,289 7,354,299 52.82
2464 3,024,993 5,769,906 52.43
2465 2,828,011 8,586,914* 32.93
2466 162,319 - -
2467 1,993,591 - -
2468 1,753,653 - -

ที่มา: ปรับปรุงจาก Thailand, Ministry of Finance.Report of the Financial Adviser on the Budget of the Kingdom of Siam for the Year 1911-1926. และ Statistical Yearbook of the Kingdom of Siam 1923.
* นับแต่ปีพ.ศ.2465 เป็นต้นมา เนื่องจากวิกฤติการณ์ทางการคลัง ทำให้เงินคงคลังที่สามารถจะนำไปใช้จ่ายได้อย่างอิสระ ไม่มีเหลืออยู่เลย เงินคงคลังที่ปรากฏในปี 2465 เป็นเงินที่มาจากการโอนเงินส่วนหนึ่งจำนวน 20,400,000 บาทจากยอดเงินกู้ยืมต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาขาดดุลงบประมาณ

    หน้า 6   

    หน้า 8   

1