บทที่ 1
โครงสร้างและองค์ประกอบของระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นทีเซอร์ฟเวอร์
(Windows NT Server Architecture)

    วินโดวส์เอ็นทีจัดเป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง ราคาถูก จัดการง่าย ทำให้หน่วยงานต่างๆนำเอาไปใช้อย่างแพร่หลาย วินโดวส์เอ็นทีถูกออกแบบมาโดยมีคุณสมบัติเด่นดังนี้

    โครงสร้างของระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นที แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆคือ User Mode กับ Kernel Mode ดังรูป
โดยที่ระบบย่อย(Sub-system) ใน Kernel Mode สามารถเข้าใช้ทรัพยากรต่างๆได้ไม่จำกัด ในขณะที่ระบบย่อยใน User Mode จะเข้าถึงทรัพยากรได้จำกัด

Hardware Abstraction Layer หรือ HAL เป็นสิ่งที่เชื่อมระบบปฏิบัติการเข้ากับ ฮาร์ดแวร์ ของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง ทำให้วินโดวส์เอ็นทีสามารถทำงานได้บน เครื่องคอมพิวเตอร์หลายชนิด ได้แก่ อินเทล486, อินเทลเพนเที่ยม, RISC(Reduced Instruction Set Computer) หรือ MIPS

Object Manager เป็นระบบย่อยที่จัดการเกี่ยวกับอ๊อบเจ็คต่างๆ เนื่องจาก วินโดวส์เอ็นที จะมองทรัพยากรต่างๆในระบบเป็นอ๊อบเจ็ค การสร้าง,การใช้,ทำลาย จะผ่านระบบย่อยส่วนนี้ ตัวอย่างของอ๊อบเจ็คที่เด่นชัดได้แก่ ไดเร็คทอรี่, แฟ้มข้อมูล, โปรเซส(Process), เทรด(Thread)

Security Reference Monitor หรือ SRM ใช้ในการรักษาความปลอดภัยภายในระบบ โดยมีระดับความปลอดภัยเท่ากับ ซีทู(C2) ตามมาตรฐานความปลอดภัยของสหรัฐอเมริกา วิธีการของระบบความปลอดภัยแบบนี้จะทำการกำหนดให้ทรัพยากรต่างๆในระบบจะมีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยเก็บไว้ ซึ่งบอกถึงการอนุญาตให้ใช้งานได้แก่ผู้ใช้ต่างๆ ข้อมูลเหล่านี้เรียกว่า Access Control List(ACL) ก่อนที่ผู้ใช้จะสามารถใช้ทรัพยากรนั้นได้ จะต้องผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยโดย SRM เสียก่อน

Process Manager ใช้ในการบริหารโปรเซสและเทรด โดยที่โปรเซสหนึ่งๆของโปรแกรมที่ทำงานบนวินโดวส์เอ็นทีนั้น สามารถมีเทรดที่ทำงานขนานกันไปได้มากกว่าหนึ่งเทรด(Multi-Thread) สิ่งที่ Process Manager จะรับผิดชอบได้แก่ การสร้างโปรเซสขึ้นเมื่อมีการร้องขอ หรือการทำลายเมื่อใช้งานเสร็จสิ้น

Virtual Memory Manager หรือ VMM ใช้ในการบริหารหน่วยความจำเสมือน โดยนำเอาพื้นที่ในจานแม่เหล็กมาทำเป็นหน่วยความจำ แล้ว VMM จะเป็นผู้ที่สลับชิ้นส่วนของหน่วยความจำที่อยู่ในจานแม่เหล็กกับหน่วยความจำหลัก วัตถุประสงค์ของ VMM เพื่อให้โปรแกรมสามารถมีขนาดใหญ่กว่าหน่วยความจำที่มีอยู่จริงของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ หลักการทำงานของ VMM เป็นดังรูป

Local Procedure Call หรือ LPC เป็นระบบย่อยของระบบ Environment ซึ่งได้แก่ DOS/Win16, OS/2, POSIX ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการสำหรับ โปรแกรมลูกข่ายที่อยู่ในเครื่องเดียวกันเรียกใช้งาน เพื่อจำลองระบบการทำงานแบบ Client/Server ถึงแม้ว่าจะอยู่บนเครื่องเดียวกัน

Remote Procedure Call หรือ RPC มีลักษณะการทำงานคล้ายกับ LPC มาก เพียงแต่มีความแตกต่างกันที่ เครื่องลูกข่ายจะเรียกใช้บริการผ่านเครือข่ายไปยังเครื่องเซอร์ฟเวอร์ที่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์คนละเครื่องกัน

I/O Manager รับผิดชอบกระบวนการอ่าน/เขียนข้อมูลของระบบ ซึ่งจะทำงานโดยติดต่อกับไดร์เวอร์ของอุปกรณ์ต่าง โครงสร้างการทำงานจะเรียกใช้ต่อกันเป็นทอดๆดังรูป

ลักษณะเช่นนี้ทำให้การเปลี่ยนอุปกรณ์ สามารถทำได้ง่าย โดยไม่กระทบกับโปรแกรมส่วนบนที่ไม่เกี่ยวข้อง

Environmental Sub-system เป็นระบบย่อยที่ประกอบด้วยระบบหลายๆระบบ เมื่อมาประกอบกันแล้วทำให้วินโดวส์เอ็นทีสามารถรองรับการทำงานของโปรแกรมที่มาจากระบบปฏิบัติการหลายๆแบบ ได้แก่ DOS, Win16, Win32, OS/2, POSIX (POSIX คือมาตรฐานการทำงานแบบยูนิกซ์) โดยที่ Environmental Sub-system จะจำลองสภาพแวดล้อมของระบบปฏิบัติการสำหรับโปรแกรมที่มาจากระบบปฏิบัติการต่างๆ จัดให้อยู่ใน Address Space ที่ต่างกันและทำงานโดยไม่รบกวนกัน ซึ่งมีประโยชน์ในกรณีที่โปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งหยุดทำงานก็จะไม่ทำให้ระบบทั้งระบบหยุดทำงาน


BACK  Chapter 1/ Chapter 2 /Chapter 3 / Chapter 4 / Chapter 5 / Chapter 6 / Chapter 7 / Chapter 8 / Chapter 9  NEXT
Chapter 10 / Chapter 11 / Reference
1