บทที่ 2
การติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นทีเซอร์ฟเวอร์
(Windows NT Server Installation)

ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นทีเซอร์ฟเวอร์ถูกออกแบบมาให้สามารถติดตั้งได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีหน่วยประมวลผลกลาง(CPU) หลายประเภท ได้แก่

ความต้องการทรัพยากร
เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นทีเซอร์ฟเวอร์ 4.0 ควรจะมีลักษณะดังนี้
 
ทรัพยากร 
ความต้องการ
จอภาพ VGA หรือ สูงกว่า
จานแม่เหล็ก ที่ว่างอย่างน้อย110 MB
CD-ROM 1 เครื่อง หรือ พื้นที่ว่างในจานแม่เหล็ก 135 MB หากไม่ต้องการ ติดตั้งผ่าน CD-ROM
การ์ดเครือข่าย 1 การ์ด หรือ มากกว่า
หน่วยความจำ อย่างน้อย 16 MB (ควรใช้ 32 MB : ตามความเห็นของผู้เรียบเรียง)
 เมาส์  1 ตัว
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นทีเซอร์ฟเวอร์ สามารถติดตั้งได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ/รุ่นต่างๆ และสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆได้มากกว่า 2,300 รายการ(Intel-based) รายการอุปกรณ์ต่างๆที่ผ่านการทดสอบของไมโครซอฟต์ สามารถดูได้จากแฟ้ม Hardware Compatibility List(HCL) ซึ่งมาพร้อมกับแผ่น CD-ROM ของระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นทีเซอร์ฟเวอร์นั้น หรือดูได้ที่เวปไซต์ของไมโครซอฟต์ http://www.microsoft.com

ระบบบัสของเครื่องคอมพิวเตอร์
ระบบบัสภายในของเครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

  1. ISA (Industrial Standard Architechture)
  2. EISA (Extended Industrial Standard Architechture)
  3. PCI (Peripheral Component Interconnect)
ระบบบัสเหล่านี้มีหน้าที่ในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์บนแผงวงจรหลัก(Main Board) กับ อุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น การ์ดจอภาพ, การ์ดเครือข่าย หรือการ์ดควบคุมจานแม่เหล็กแบบ SCSII โดยที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน(1997) มักจะมี Slot เพื่อเชื่อมต่อ 2 แบบคือ PCI และ ISA (โดยทั่วไป ช่องเสียบ PCI จะมีสีขาว ส่วน ISA จะมีสีดำ) ตัวอย่างเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แสดงระบบบัสแบบ ISA และ PCI เป็นดังรูป
ระบบจานแม่เหล็ก
จานแม่เหล็กที่ใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะถูกควบคุมโดยการ์ดควบคุม(Disk Controller) โดยทั่วไปการ์ดควบคุมจานแม่เหล็กจะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ความเร็วของ SCSI จะเริ่มตั้งแต่ 20 MegaByte/Sec ถึง 40 MB/Sec สำหรับ IDE 10-20 MB/Sec โดยทั่วไป IDE จะมีราคาต่ำกว่า SCSI นอกจากนี้ IDE Controller ยังถูกสร้างเข้าไปในแผงวงจรหลักของเครื่องทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการซื้อการ์ดควบคุมเหมือนกับการ์ดควบคุมแบบ SCSI

การเลือกใช้จานแม่เหล็กจะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน ซึ่งถ้าใช้งานเป็นเครื่องแม่ข่าย(Server) ควรใช้แบบ SCSI เนื่องจากสามารถรองรับการใช้งานในลักษณะที่ใช้ร่วมกันหลายๆผู้ใช้ในเวลาเดียวกันได้ดีกว่าแบบ IDE ถ้าเป็นเครื่องลูกข่าย(Workstation) อาจใช้แบบ IDE เนื่องจากมีราคาถูกและการใช้งานเป็นแบบใช้คนเดียว

การ์ดแบบ SCSI บางครั้งเรียกว่า Host Adaptor นอกจากมีข้อดีที่กล่าวมาแล้ว ยังสามารถต่อพ่วงอุปกรณ์หลายๆประเภทได้อีก 7 ตัวด้วยกัน(เช่น CD-ROM, Optical Disk, Scanner) การนำ SCSI มาใช้งานจะต้องนำเอาการ์ด SCSI มาเสียบในช่องว่าง(Slot)บนแผงวงจรหลัก โดยต้องตรวจสอบว่าใช้กับบัสแบบใดระหว่าง PCI หรือ ISA แล้วต่อพ่วงอุปกรณ์จากการ์ด SCSI มายังจานแม่เหล็กแบบภายใน หรือต่อพ่วงไปยังอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายนอกอื่นๆโดยใช้สายพ่วง ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกันไปเรื่อยๆดังรูป

เมื่อต่อพ่วงเสร็จแล้ว ก่อนใช้งานจะต้องกำหนดหมายเลขอุปกรณ์(SCSI ID)ให้ถูกต้อง โดยจะต้องกำหนดหมายเลขของอุปกรณ์ไม่ให้ซ้ำกัน และกำหนดอุปกรณ์ที่จะทำหน้าที่บูท(Boot)ระบบให้มี SCSI ID เท่ากับ 0 จึงจะสามารถบูทระบบปฎิบัติการที่อยู่ในอุปกรณ์นั้นขึ้นมาได้

การสนับสนุนการ์ดแบบ SCSI ของวินโดวส์เอ็นทีเซอร์ฟเวอร์
วินโดวส์เอ็นทีเซอร์ฟเวอร์นอกจากสนับสนุนจานแม่เหล็กแบบ SCSI ที่ได้กล่าวมาแล้ว วินโดวส์เอ็นทีเซอร์ฟเวอร์ยังสนับสนุนอุปกรณ์ SCSI อย่างอื่นอีก เช่น CD-ROM, Tape Drive, Removable Disk Drive ฯลฯ การเลือกการ์ดและอุปกรณ์ SCSI ให้ดูจาก Hardware Compatibility List เพื่อความสะดวกในการติดตั้ง หากอุปกรณ์ที่ใช้ไม่อยู่ในรายการ HCL การติดตั้งจำเป็นต้องนำเอาไดร์เวอร์ของอุปกรณ์นั้นมาติดตั้งเพิ่มเข้าไปซึ่งจะทำให้มีความยุ่งยากในการติดตั้ง   การ์ด SCSI นั้นมีผู้ผลิตอยู่เป็นจำนวนมากบริษัทที่มีชื่อเสียงได้แก่ COMPAQ, DEC, Hitachi, IBM, NEC, Panasonic, Sony, Adaptec

การสนับสนุนการ์ดจอภาพ
วินโดวส์เอ็นทีเซอร์ฟเวอร์สนับสนุนการ์ดจอภาพมากมาย โดยทั่วไปจอภาพที่ควรใช้จะเป็นจอภาพชนิด Video Graphic Array (VGA) แต่ถ้าการ์ดจอภาพนั้นไม่ได้อยู่ใน HCL แล้วผู้ผลิตจะให้ไดร์เวอร์มาด้วย ซึ่งเมื่อติดตั้งเข้าไปจะทำให้จอภาพทำงานได้อย่างถูกต้อง

สื่อ(Media)ที่ใช้ในการติดตั้งวินโดวส์เอ็นทีเซอร์ฟเวอร์
การติดตั้งวินโดวส์เอ็นทีเซอร์ฟเวอร์สามารถติดตั้งโดยใช้แผ่นดิสเก็ตหรือ CD-ROM โดยทั่วไปการติดตั้งจากแผ่น CD-ROM จะง่ายและรวดเร็วกว่าเนื่องจากไม่ต้องคอยถอด/ใส่แผ่นดิสเก็ตทีละแผ่น

วิธีการติดตั้งวินโดวส์เอ็นทีเซอร์ฟเวอร์
วิธีการติดตั้งวินโดวส์เอ็นทีเซอร์ฟเวอร์ทำได้ดังนี้

  1. ติดตั้งจากแผ่นดิสเก็ต
  2. ติดตั้งจาก CD-ROM และมีการสร้างแผ่นดิสเก็ตเพื่อช่วยในการติดตั้ง 3 แผ่น (Boot Disk)
  3. ติดตั้งจาก CD-ROM แต่ไม่มีการสร้าง Boot Disk โดยการใช้ Option การติดตั้ง /B
วิธีการที่ 3 อาจทำได้อีกแบบหนึ่งในกรณีที่เครื่องที่ติดตั้งไม่มี CD-ROM แต่จะต้องมีการ์ดเครือข่าย โดยการบูทระบบปฎิบัติการอื่นก่อน แล้วทำการเชื่อมต่อกับเครือข่าย เมื่อเชื่อมกับเครือข่ายได้แล้วก็ทำการก๊อปปี้ โปรแกรมติดตั้งที่อยู่ในไดเร็คทอรี่  I386 (ในเซอร์ฟเวอร์เครือข่ายที่มีอยู่แล้ว อาจเป็น NetWare, NT หรือ OS/2) เข้ามาเก็บไว้ใน Local Drive แล้วติดตั้งโดยใช้คำสั่ง WINNT /B

ขั้นตอนการติดตั้งวินโดวส์เอ็นทีเซอร์ฟเวอร์โดยย่อ

  1. บูทเครื่องโดยใช้แผ่น Windows NT Server Startup Disk (แผ่นที่ 1 จากแผ่น Setup ที่มีอยู่ 3 แผ่น) หรือ บูทเข้าสู่ DOS แล้วใช้คำสั่ง WINNT/B ก่อนใช้คำสั่งนี้ต้องเปลี่ยนไดเร็คทอรี่ปัจจุบันให้เป็นไดเร็คทอรี่ที่เก็บโปรแกรม Setup ไว้ เช่น C:\I386 หรือใน CD-ROM D:\I386 เป็นต้น ในกรณีที่เป็นการ Upgrade จาก NT 3.51 ให้บูท NT 3.51 ขึ้นมาก่อนแล้วรันคำสั่ง WINNT32 แทน
  2. เลือกตำแหน่งที่เก็บโปรแกรม Setup ของวินโดวส์เอ็นทีเซอร์ฟเวอร์
  3. เลือกพาร์ติชันของจานแม่เหล็กที่ต้องการติดตั้งระบบปฎิบัติการวินโดวส์เอ็นที และ ต้องตัดสินใจว่าต้องการระบบแฟ้มข้อมูลเป็นแบบ FAT หรือ NTFS (ในจานแม่เหล็กหนึ่งชุด เราสามารถกำหนดให้มีพาร์ติชันได้หลายๆพาร์ติชัน แต่ละพาร์ติชันอาจมีระบบปฎิบัติการที่แตกต่างกันได้ หรืออาจเป็นเพียงพาร์ติชันข้อมูลก็ได้ การแบ่งพาร์ติชันทำได้หลายวิธี เช่น ใช้คำสั่ง FDISK ใน DOS, ใช้ Disk Administrator Utility ในวินโดวส์เอ็นที, หรือแม้แต่ในขณะที่ติดตั้งวินโดวส์เอ็นทีก็สามารถจัดการพาร์ติชั่นได้)
  4. เลือกว่าจะฟอร์แมตพาร์ติชันด้วยหรือไม่
  5. กำหนดไดเร็คทอรี่/โฟลเดอร์ ที่จะเก็บไปรแกรมวินโดวส์เอ็นที
  6. ระบุชื่อหน่วยงานและชื่อผู้ใช้
  7. เลือกประเภทลิขสิทธิ์การใช้ (Licensing Mode : Per Server หรือ Per Seat)
  8. ตั้งชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์
  9. กำหนดบทบาทของเครื่องคอมพิวเตอร์ว่าทำหน้าที่ใดต่อไปนี้
    1. Stand-Alone Server
    2. Primary Domain Controller (PDC)
    3. Backup Domain Controller (BDC)
  10. ตั้งรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบ (รหัสบัญชีผู้ใช้ที่กำหนดให้เป็นผู้ดูแลระบบคือ Administrator)
  11. เลือกว่าต้องการสร้าง Emergency Repair Diskette (ERD) หรือไม่
  12. เลือกโปรแกรมที่ต้องการติดตั้ง เช่น Accessories, Communication, Games, Microsoft Exchange, Multimedia
  13. เลือกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะเชื่อมโยงกับเครือข่ายหรือไม่ ถ้าเชื่อมโยงกับเครือข่ายจะเชื่อมโยงโดยวิธีใด ระหว่าง ใช้โมเด็ม กับ ใช้การ์ดเครือข่าย(LAN Card)
  14. เลือกว่าจะติดตั้ง Internet Information Server (IIS) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ให้บริการด้านอินเตอร์เน็ตของไมโครซอฟต์ด้วยหรือไม่
  15. เลือกว่าต้องการให้ตรวจจับว่าการ์ดเครือข่ายเป็นของบริษัทใดหรือไม่ หรือต้องการระบุชนิดของการ์ดเครือข่ายเองซึ่งในกรณีนี้จะต้องมีไดร์เวอร์ของการ์ดเครือข่ายที่ใช้กับวินโดวส์เอ็นทีเตรียมพร้อมไว้ด้วย
  16. เลือกโปรโตคอลเครือข่าย(Network Protocol) ที่ต้องการติดตั้ง มีให้เลือกอยู่สามแบบ การเลือกสามารถเลือกได้มากกว่าหนึ่งแบบจากรายการดังต่อไปนี้
  17. เลือกบริการด้านเครือข่ายที่ต้องการ(Network Services)
  18. ระบุชนิดของการ์ดเครือข่าย และรายละเอียดของการ์ด ได้แก่ อินเทอร์รัป(Interrupt Request หรือ IRQ) และ IO Port Address
  19. ถ้าเลือกโปรโตคอล NWLink IPX/SPX หรือ TCP/IP จะต้องกำหนดรายละเอียดการปรับแต่งของโปรโตคอลที่เลือก
  20. ถ้าเลือกบทบาทให้เป็น PDC จะต้องกำหนดชื่อโดเมนที่จะให้ควบคุม
  21. ถ้าเลือกติดตั้ง IIS จะต้องระบุโปรแกรมและบริการ(Services)ที่ต้องการติดตั้ง
  22. กำหนด วันที่/เวลา และ Time-zone
  23. ถ้าเลือกให้สร้าง ERD โปรแกรมติดตั้งจะให้ใส่แผ่นดิสเก็ตเพื่อสร้าง Emergency Repair Diskette
ระบบแฟ้มข้อมูล FAT และ NTFS

ระบบแฟ้มข้อมูลแบบ FAT (File Allocation Table) เป็นระบบแฟ้มข้อมูลที่ใช้กันมาตั้งแต่ ระบบ ปฎิบัติการ DOS ซึ่งมีข้อจำกัดในการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลที่ยาวไม่เกิน 8.3 (ชื่อแฟ้มยาว 8 ตัวอักษร, นามสกุลยาว 3 ตัวอักษร) และในกรณีที่ใช้งานไปนานๆจะมีการกระจายของที่ว่าง(Fragmentation)ในระบบมากขึ้นทำให้การอ่าน/เขียนข้อมูลช้าลง อย่างไรก็ตามระบบแฟ้มข้อมูลแบบ FAT ก็มีข้อดีคือ สามารถติดตั้งระบบปฎิบัติการอื่นๆได้แก่ DOS, Windows 3.11, Windows for Workgroup, Windows 95, OS/2 พร้อมกันกับวินโดวส์เอ็นทีได้ ทำให้สามารถเลือกที่จะทำงานกับระบบปฎิบัติการใด้มากกว่าหนึ่งชนิดในจานแม่เหล็กชุดเดียวกัน

ระบบแฟ้มข้อมูลแบบ NTFS (NT File System) เป็นระบบแฟ้มข้อมูลที่ออกแบบมาให้ใช้สำหรับวินโดวส์เอ็นทีโดยเฉพาะ ซึ่งมีข้อดีในด้านต่างๆดังนี้

สำหรับข้อเสียของ NTFS มีดังนี้ ขณะติดตั้งวินโดวส์เอ็นทีจะมีขั้นตอนของการฟอร์แมตจานแม่เหล็กให้เป็นระบบแฟ้มข้อมูลแบบ FAT หรือ NTFS ถ้ายังไม่ต้องการฟอร์แมตให้เป็น NTFS ในขณะติดตั้ง เมื่อภายหลังต้องการเปลี่ยนเป็น NTFS สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง CONVERT ผ่าน DOS Prompt โดยมีรูปแบบของคำสั่งดังนี้     โดยที่ [drive:]         ระบุไดรว์ที่ต้องการเปลี่ยนเป็น NTFS
            /FS:NTFS     ระบุระบบแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ
หลังจาก Convert เป็นระบบ NTFS แล้วจะไม่สามารถ Convert กลับมาเป็น FAT ได้

วินโดวส์เอ็นทียังมีโปรแกรมที่ช่วยในการจัดการจานแม่เหล็กอีกโปรแกรมหนึ่งคือ Disk Administrator (ในเมนู Administrator Tools) สามารถใช้ในการจัดการแบ่งพาร์ติชัน,ฟอร์แมตจานแม่เหล็ก,กำหนด Drive Letter ฯลฯ

การกำหนดบทบาทของวินโดวส์เอ็นที
ในขณะติดตั้งวินโดวส์เอ็นที จะต้องทราบว่าเครื่องที่กำลังติดตั้งนี้จะใช้ทำหน้าที่อะไรในเครือข่าย ซึ่งมีอยู่สามประเภทที่ได้กล่าวมาแล้ว ในส่วนนี้จะกล่าวถึงบทบาทแต่ละประเภทโดยสรุป และจะได้กล่าวรายละเอียดในบทต่อไป

การตั้งชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์
ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เอ็นทีนั้นมีความยาวได้ไม่เกิน 15 ตัวอักษรและชื่อของเครื่องหนึ่งต้องไม่ซ้ำกับชื่ออีกเครื่องหนึ่งในระบบเครือข่าย การเปลี่ยนชื่อคอมพิวเตอร์ภายหลังจากติดตั้งแล้วทำได้โดยใช้ ไอคอน Network ในคอนโทรลพาเนล

การกำหนดค่าพารามิเตอร์สำหรับการ์ดเครือข่าย
สิ่งที่ต้องทราบสำหรับการ์ดเครือข่ายได้แก่ Interrupt Request Number (IRQ), I/O Port Address และ DMA Channel บริษัทที่ผลิตการ์ดเครือข่ายจะให้โปรแกรมสำหรับตรวจสอบ/กำหนดค่าเหล่านี้ได้ โปรแกรมเหล่านี้จะมาพร้อมกับการ์ดเครือข่าย ถ้าไม่มีโปรแกรมเหล่านี้เราสามารถเข้าไปที่ Web Site ของบริษัทนั้นเพื่อทำการดาว์นโหลดมาใช้ได้ ทั้งนี้ต้องทราบรุ่นของการ์ดและระบบปฎิบัติการที่ต้องการติดตั้ง (การ์ดรุ่นใหม่ๆมักจะมีคุณสมบัติแบบ Plug and Play ถ้าติดตั้งวินโดวส์ 95 ซึ่งสนับสนุน Plug and Play แล้ว วินโดวส์ 95 จะทำการย้าย IRQ และ I/O Port Address ถ้ามันพบว่ามี IRQ  "ชน" กันระหว่างอุปกรณ์) ปัจจุบันเอ็นทียังไม่สนับสนุน Plug and Play เต็มที่ ดังนั้นผู้ติดตั้งจะต้องกำหนดค่าพารามิเตอร์เหล่านี้เอง และไม่ให้ "ชน" กับอุปกรณ์อื่นๆ

โดยปกติ IRQ ของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมี 16 หมายเลข โดยที่บางหมายเลขถูกจองไว้ใช้ในอุปกรณ์มาตรฐานแล้ว รายละเอียดของ IRQ ทั้งหมดแสดงด้วยตารางต่อไปนี้
 

IRQ
Device
0
Timer
1
Keyboard
2
System
3
COM2/COM4
4
COM1/COM3
5
LPT2
6
Floppy Disk Controller
7
LPT1
8
Real-time Clock
9
System
10
-
11
-
12
-
13
Math Co-Processor
14
Hard Drive
15
Secondary Disk Controller

I/O Port Address และ  DMA Channel เป็นการระบุหน่วยความจำที่ใช้ร่วมกันระหว่าง CPU กับ การ์ดเครือข่ายเพื่อใช้ในการตรวจสอบสถานะและเป็นเป็นบัฟเฟอร์สำหรับการรับส่งข้อมูล

การเลือกใช้โปรโตคอลเครือข่าย
โปรโตคอลเครือข่ายที่วินโดวส์เอ็นทีสนับสนุนมีหลายชนิด แต่โปรโตคอลที่สำคัญมีดังนี้


BACK  Chapter 1/ Chapter 2 /Chapter 3 / Chapter 4 / Chapter 5 / Chapter 6 / Chapter 7 / Chapter 8 / Chapter 9   NEXT
Chapter 10 / Chapter 11 / Reference
1