This
Page |
|
Related
Topic |
|
Interesting
Link |
|
เชิญ
ติชม เสนอแนะ สอบถามครับ |
"ยานี้
กัดกระเพาะ
มีผลเสียถ้า
ใช้ติดต่อกัน
เป็นเวลานาน" |
สเตียรอยด์ - Steroids |
Last update : 13/02/43
|
จากข่าวสารที่ออกมาส่วนใหญ่ที่ได้รับรู้กัน
ทำให้ ยากลุ่มที่เรียกว่า
สเตียรอยด์
ถูกมองเหมือนเป็นยาที่มีพิษ
อันตรายมาก
ผมจึงขอให้รวมรวมข้อมูลไว้
ณ ที่นี้
เพื่อให้ท่านได้รู้จักกับยาตัวนี้ในแง่มุมทั้ง
2 ด้าน
- สเตียรอยด์
เป็นชื่อเรียกของกลุ่มฮอร์โมนที่ถูกสร้างจากต่อมหมวกไต
ซึ่งที่ต่อมนี้จะสร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน
( ฮอร์โมนชาย ) ด้วย
- สเตียรอยด์
ถูกสร้างขึ้นจากสารตั้งต้นที่เรียกว่า
คอเลสเตอรอล Cholesterol (
จะเห็นว่า คอเลสเตอรอล
ไม่ได้มีข้อเสียมากอย่างที่คิด
)
- สเตียรอยด์ที่ถูกสร้างขึ้น
มีหลักๆ 2 ชนิด คือ Cortisol และ
Aldosterone
- Cortisol ถูกสร้างวันละประมาณ
20 -30 มิลลิกรัม
ถูกหลั่งออกมาเป็นจังหวะไม่สม่ำเสมอ
โดยสูงสุดตอนตื่นนอน
และต่ำสุดตอนนอน เรียกว่า
Diurnal Pattern นอกจากนี้
ภาวะที่ร่างกายมีความเครียด
กดดันทั้งทางกายและจิตใจ
เช่น มีบาดแผล
ได้รับการผ่าตัด
ออกกำลังกาย
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
เป็นไข้ วิตกกังวล
ซึมเศร้า เป็นต้น
ร่างกายจะหลั่ง Cortisol
มากขึ้นเพื่อควบคุมความกดดันเหล่านี้
ดังนั้นสเตียรอยด์จึงมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก
เชื่อว่าถ้าไม่มีสเตียรอยด์เลย
สามารถถึงตายได้ทีเดียว
จะขอสรุปสั้นๆถึงผลของ
สเตียรอยด์ต่อร่างกายดังนี้
- มีผลต่อเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
โปรตีน ไขมัน
- ผลต่อความสมดุลของเกลือแร่
อิเล็กโทรไลต์ และน้ำ
- ฤทธิ์บรรเทาการอักเสบ
- ฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน
- ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
- ผลต่อเลือด
- ผลต่อการเจริญเติบโต
การแบ่งเซลล์
กล้ามเนื้อ กระดูก
จากต้นแบบ Cortisol
มนุษย์เราได้พัฒนาความแรงของ
Cortisol เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
และมีฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับโรคบางอย่างที่ต้องการมากขึ้น
Hydrocortisone |
Prednisolone |
Triamcinolone |
Fluocinolone |
Betamethasone |
Clobetasol |
Desoximetasone |
Prednicarbate |
Mometasone |
Beclomethasone |
Budesonide |
Dexamethasone |
ถ้าสังเกตจากชื่อยาจะเห็นว่า
มักลงท้ายด้วย -one หรือ -ol
เสมอ ยกเว้นบางตัว
ดังนั้นจึงพอใช้เป็นข้อสังเกตว่ายาตัวไหนเป็นสเตียรอยด์หรือไม่
ประโยชน์
|
โทษ
|
-
ทดแทนภาวะขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
-
ข้ออักเสบ
เฉพาะที่รุนแรง ควบคุมไม่ได้ด้วยยามาตรฐาน
โดยให้ยาด้วยวิธีรับประทาน
หรือ
ฉีดเข้าข้อโดยตรง
-
หัวใจอักเสบรูมาติก
-
โรคไต
บางชนิด เช่น
Glomerulonephritis, Nephrotic syndrome ,etc.
-
โรคเกี่ยวกับคอลลาเจนบางชนิด
เช่น
Polymyositis, Polyarteritis nodusa, systemic lupus
erythematosus (SLE)
-
โรคภูมิแพ้
ที่รุนแรง ควบคุมด้วยยามาตรฐานแล้วไม่ได้ผล
เช่น หอบ หืด
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
โดยส่วนใหญ่ใช้ในรูปการพ่น
สเปรย์
แต่ในรายรุนแรงก็จะให้กิน
หรือ ฉีด
-
โรคตา
ในรูปหยอด หรือป้ายตา
เช่น
โรคเส้นประสาทตาอักเสบ
-
โรคผิวหนัง
ให้ในรูปยาทาเฉพาะที่
ได้แก่
โรคภูมิแพ้ในรูปแบบต่างๆ
-
โรคทางเดินอาหารบางชนิด
ที่ไม่ใช่โรคแผลในกระเพาะอาหาร
ได้แก่ Ulcerative colitis , Crohn's disease
-
โรคตับบางชนิด
เช่น Subacute Hepatic Necrosis, Chronic active
Hepatitis,
ตับอักเสบจากแอลกอฮอล์
และตับแข็งในสตรีที่ไม่ดื่มสุรา
-
โรคมะเร็ง
ในโรค
Lymphoblastic Leukemia มะเร็งเต้านม
-
ป้องกันอาเจียนในผู้ที่ได้รับยาต้านมะเร็ง
-
ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง
-
โรคโลหิตจางบางชนิด
ได้แก่
Immunohemolytic anemia
-
การปลูกถ่ายอวัยวะ
เพื่อให้เกิดการยอมรับอวัยวะผู้อื่นดีขึ้น
-
อื่นๆ
อีกหลายอย่าง
|
- ยามีฤทธิ์กดการทำงานของต่อมหมวกไต
ห้ามหยุดยาอย่างทันที
หลังจากใช้เป็นระยะเวลานาน
- เกิดลักษณะของผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์นานๆ
ที่เรียกว่า Cushing's Syndrome
คือ มีอาการบวม
ท้องลาย สิว
ผิวเข้มขึ้น
ความดันโลหิตสูง
อ่อนแรง เพลีย
ขนขึ้นตามตัว ฯลฯ
- ติดเชื้อง่ายขึ้น
เพราะยากดระบบภูมิคุ้มกันที่คอยต่อต้านเชื้อโรค
- กดการเจริญเติบโตในเด็ก
- เกิดความดันโลหิตสูง
ระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ผิวหนังบาง ลีบ
- เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ
ภาวะกระดูกพรุน
- ความดันในลูกตาเพิ่มทำให้เป็นต้อหิน
- เลนส์กระจกตาขุ่น
เกิดต้อกระจก
- ภาวะไขมันในเลือดสูง
- ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
- อารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงง่าย
- คลื่นไส้
อาเจียน เบื่ออาหาร
ทางเดินอาหารระคายเคือง
เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- เกิดเชื้อราในช่องปากง่ายขึ้น
- ถ้าใช้ยามานาน
แล้วหยุดยาทันทีเกิดอาการถอนยา
ทำให้เบื่ออาหาร
คลื่นไส้ อาเจียน
อ่อนล้า ปวดศรีษะ
มีไข้ ปวดข้อ
ปวดกล้ามเนื้อ
น้ำหนักตัวลดลง
ความดันโลหิตต่ภ
- รบกวนผลการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ
เช่น
กดผลการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง
- อื่นๆ
ได้แก่
แผลหายช้า
เกิดห้อเลือด
ฟกช้ำง่าย
มีไขมันสะสมมากที่ตับ
ตับอ่อนอักเสบ
มีขนขึ้นมาก
ประจำเดือนผิดปกติ
หรืออาจไม่มีประจำเดือน
ลดความรู้สึกทางเพศในผู้ชาย
|
สเตียรอยด์
จะมีประโยชน์ต่อการรักษาโรคมากมาย
มีทั้งใช้ในลักษณะว่า
- จำเป็นต้องใช้
เป็นอันดับแรก ได้แก่ Nephrotic
Syndrome, การแพ้ยา , SLE เป้นต้น
- ใช้เมื่อรักษาด้วยยาอื่นๆเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้นจึงจำเป็นต้องใช้สเตียรอยด์
ได้แก่ หอบ, ภูมิแพ้,
โรคข้อรูมาตอยด์ เป็นต้น
โทษของยามักเกิดจากการ
- ใช้ยาผิดขนาด
- ใช้โดยไม่จำเป็นต้องใช้
- ใช้ต่อเนื่องกันยาวนาน
- รับประทานเวลาท้องว่าง
- ทายา
เป็นบริเวณกว้างมากๆเป็นเวลานานๆ
ตัวยาถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้
- หยอดตาติดต่อกันนานๆ
ทำให้ความดันในลูกตาเพิ่มขึ้น
เพิ่มโอกาสการเป็นต้อหิน
และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเลนส์ตา
กลายเป็นต้อกระจก
ดังนั้น
ถ้าท่านจำเป็นต้องใช้สเตียรอยด์
ก็ขอให้ถามแพทย์
เภสัชกรที่จ่ายยาให้ท่านว่า
- จำเป็นต้องใช้นานแค่ไหน
?
- เหตุผลที่ต้องใช้คืออะไร?
- มีความจำเป็นเป็นอันดับแรกเพราะไม่มียาอื่นรักษาหรือไม่
?
ถ้าตอบไม่ได้
ก็ควรหาที่ปรึกษาใหม่ครับ
|