( คำสั่งเริ่มต้น ) ( สีสรร ) ( ข้อความ ) ( รูปภาพ ) ( การเชื่อมโยง ) ( รายการ ) ( ตาราง ) ( เฟรม ) ( ฟอร์ม ) ( มัลติมีเดีย )
การแทรกมัลติมีเดียบนเว็บเพจ

เสียงคลอตาม (Background Sound)
รูปแบบ
คำอธิบาย
< BGSOUND SRC="......." LOOP=n>
เป็นการใส่เสียงเพลง ทำเป็น Background ให้กับโฮมเพจ เมื่อผู้เยี่ยมชมเปิดเข้ามา มันจะทำการ โหลดเพลง ให้โดย อัตโนมัติ ใช้กับ Internet Explorer โดย
  • BGSOUND เป็นรูปแบบการใส่เสียงเพลงของ Microsoft Internet Explorer
  • SRC ใส่ ตำแหน่ง ที่อยู่ ของไฟล์เสียง เพลงที่ต้องการ
  • LOOP จำนวนรอบที่ต้องการให้เล่น ถ้าต้องการให้เล่นไปเรื่อย ๆ ให้ใส่ Infinite
ตัวอย่าง< BGSOUND SRC="sound.mid" LOOP=5>

กลับไปที่สารบัญ
เสียงแบบฝังในเอกสาร (EMBED)
รูปแบบ

คำอธิบาย
< EMBED SRC="......" HIDDEN=TRUE HIGHT=n WIDTH=n CONTROLS=COLSOLE/SMALLCONSOLE AUTOSTART=TRUE LOOP=TRUE/n>
เป็นการใส่เสียงเพลง ทำเป็น background ให้กับโฮมเพจของ Netscape Navigator โดย
  • EMBED เป็นรูปแบบการใส่เสียงเพลงของ Netscape Navigator
  • SRC ใส่ ตำแหน่ง ที่อยู่ ของไฟล์เสียง เพลงที่ต้องการ
  • HIDDEN เป็นการซ้อนปุ่มควบคุมการเล่นเพลง ถ้าไม่ต้องการก็ไม่ต้องใส่เข้าไปเลย เมื่อใส่คำสั่งนี้แล้ว คำสั่งอื่นคือ hight,width,controls ก็ไม่ต้องใส่เข้าไป
  • HIGHT เป็นการกำหนดความสูงให้กับแผงควบคุม
  • WIDTH เป็นการกำหนดความกว้างให้แผงควบคุม
  • CONTROLS กำหนดรูปแบบแผงควบคุม โดย smallconsole เป็นแบบอย่างย่อ ส่วน console เป็นเต็มรูปแบบ
  • AUTOSTART กำหนดการเล่นเพลงโดยอัตโนมัติ (TRUE) ถ้าไม่ต้องการให้ ลบทิ้งไปได้เลย
  • LOOP จำนวนรอบที่ต้องการให้เล่น ถ้าต้องการให้เล่นไปเรื่อย ๆ ให้ใส่ TRUE แต่ถ้าต้องการ กำหนดจำนวนรอบก็ใส่เป็นตัวเลขเข้าไป เมื่อไม่ต้องการไม่ให้วนให้ใส่ FALSE (ไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้ เพราะค่าปกติเป็น FALSE อยู่แล้ว)
ตัวอย่าง < EMBED SRC="sound.mid" HIGHT=60 WIDTH=144 CONTROLS=COLSOLE AUTOSTART=TRUE LOOP=TRUE>

กลับไปที่สารบัญ
เสียงแบบกำหนดตัวเชื่อม
รูปแบบ
คำอธิบาย
< A HREF="......">คำอธิบาย</A>
เป็นการใส่เพลงโดยการกำหนดตัวเชื่อม ในช่องว่าง ๆให้ใส่ตำแหน่งไฟล์เสียง ลงไป ส่วนตรง "คำอธิบาย" ให้ใส่ข้อความที่สื่อความหมายให้รู้ว่า ตัวเชื่อมนี้ เป็นไฟล์เพลง
ตัวอย่าง "เพลงแสนสนุก" < A HREF="sound.mid">ฟังเพลงกดตรงนี้จ้า</A>

กลับไปที่สารบัญ
เสียงแบบ META
รูปแบบ
คำอธิบาย
< META HTTP-EQUIV="Refresh" CONTENT="1;URL=........">
ใช้คำสั่ง meta เพื่อเป็นการโหลดไฟล์ออดิโอและ เล่นเพลงนั้น ๆ โดยอัตโนมัติ ทันทีเมื่อเว็บเพจถูกโหลดขึ้นมา ใช้ได้ทั้ง IE และ NS โดย
  • คำสั่ง <META> ใส่อยู่ระหว่าง คำสั่ง <HEAD>......</HEAD>
  • HTTP-EQUIV="Refresh" กำหนดการโหลดไฟล์เพลงโดยอัตโนมัติ
  • CONTENT="1;URL=...." เป็นการกำหนดเวลาที่จะโหลดเพลงเมื่อเว็บเพจถูกโหลดขึ้นมา โดย URL เป็นชื่อเพลงที่ต้องการให้โหลด
ตัวอย่าง     <HEAD>     <META HTTP-EQUIV="Refresh" CONTENT="1;URL=sound.mid">     </HEAD>

กลับไปที่สารบัญ
การใส่ไฟล์วีดิโอให้เว็บเพจ(IE)
รูปแบบ

ลักษณะ
< IMG DYNSRC="....." SRC="......" ALT="......" LOOP=n START=FILEOPEN/MOUSEOVER CONTROLS >
เป็นรูปแบบการใส่ไฟล์วีดิโอของ Internet Explorer โดยมีลักษณะคำสั่งดังนี้
  • DYNSRC="......" ให้ใส่ชื่อไฟล์วีดิโอลงไป เช่น video.avi
  • SRC="......" ให้ใส่ไฟล์รูปภาพ ไว้ เป็นตัวแทน ไฟล์วีดิโอนั้น ๆ เมื่อบราวเซอร์ ผู้ใช้ไม่สนันสนุน
  • ALT="......" ใส่ข้อความใด ๆ ก็ได้ลงไปเพื่อ ให้ผู้ใช้ที่ ไม่สามารถดูวีดิโอ สามารถรู้ข้อมูลได้
  • LOOP=n กำหนดจำนวนครั้งที่จะให้วีดิโอเล่น ใส่เป็นตัวเลขหรือ infinite ก็ได้
  • START=FILEOPEN/MOUSEOVER โดย fileopen เป็นการกำหนด ให้เริ่มเล่นทันที ที่ไล์วีดีโอโหลดเสร็จ (ปกติแล้ววีดิโอจะถูกเล่น ทันทีที่ดาวน์โหลดเสร็จ ดังนั้น STRAT=FILEOPEN จึงไม่ต้องใส่ก็ได้) mouseover เป็นการกำหนด ให้เล่นวีดิโอ เมื่อเอาเมาส์ไปวางบนวีดีโอนั้น ๆ
ตัวอย่าง < IMG DYNSRC="cool.avi" SRC=PICTURE.GIF ALT="ทดสอบการใช้ไฟล์วีดีโอ(IE)" LOOP="2" >
ทดสอบการใช้ไฟล์วีดีโอ(IE)

กลับไปที่สารบัญ
การใส่ไฟล์วีดิโอให้เว็บเพจ(NS)
รูปแบบ

ลักษณะ
< EMBED SRC="....." LOOP="TRUE/FALSE WIDTH=pixels HEIGHT=pixels ALIGN="....." >
เป็นรูปแบบการใส่ไฟล์วีดิโอของ Netscape Navigator จะยุ่งยากตรงที่ว่า เราต้องรู้ขนาดของไฟล์วีดิโอ ว่ามีขนาดยาวกี่พิกเซล ตามขนาดมาตรฐานแล้ว (height x width) จะมีอัตราส่วนเป็น 3:4 ขนาดมาตรฐานได้แก่ 90 x 120,
120 x 160,180 x 240 และ 240 x 320 โดยมีลักษณะคำสั่งดังนี้
  • SRC="......" ให้ใส่ชื่อไฟล์วีดิโอลงไป เช่น cool.avi
  • LOOP ถ้ากำหนดเป็น true จะทำให้วีดิโอเล่นไปเรื่อย ๆ ถ้าต้องการ ให้เล่นครั้งเดียวไม่ต้องใส่ก็ได้
  • WIDTH กำหนดขนาดความกว้างของวีดิโอ ตามมาตรฐาน
  • HEIGHT กำหนดความสูงของวีดิโอ ตามมาตรฐาน
  • ALIGN="...." เป็นการกำหนดตำแหน่ง ดังนี้ top,bottom,center,baseline,left,right,
ตัวอย่าง <EMBED SRC=cool.avi HEIGHT=90 WIDTH=120>

กลับไปที่สารบัญ
ส่วนของโปรแกรม javascript หรือ vb script (Script)
รูปแบบ
คำอธิบาย
<SCRIPT>.....</SCRIPT>
ส่วนชุดคำสั่งของโปรแกรม javascript หรือ vb script จะเริ่ม ต้นด้วย คำสั่ง <SCRIPT> และจบลงด้วย</SCRIPT> ภายในคำสั่งนี้ คือ ส่วน ที่จะทำงานตามลำดับของคำสั่ง

กลับไปที่สารบัญ
ส่วนของโปรแกรม java (Applet)
รูปแบบ
คำอธิบาย
<APPLET>.....</APPLET>
ส่วนชุดคำสั่งของโปรแกรม java จะเริ่ม ต้นด้วย คำสั่ง <APPLET CODE="ชื่อแฟ้มjavaที่ compileแล้ว"> และจบลงด้วย</APPLET> ภายในคำสั่งนี้ คือ ส่วนของการประกาศตัวแปร และกำหนดค่า

กลับไปที่สารบัญ
ส่วนของวัตถุ (Object)
รูปแบบ
คำอธิบาย
<OBJECT>.....</OBJECT>
เป็นการประกาศส่วนของวัตถุ ที่ต้องการใช้งานใน Homepage เช่น java object ที่มีนามสกุลเป็น class หรือ shockwave object ที่มีนามสกุลเป็น swf จะเริ่ม ต้นด้วย คำสั่ง <OBJECT> และจบลงด้วย</OBJECT> ภายในคำสั่งนี้ คือ ส่วนของการประกาศตัวแปร และกำหนดค่า

กลับไปที่สารบัญ
การประกาศตัวแปรใน Object หรือ Applet (Parameter)
รูปแบบ
คำอธิบาย
<PARAM NAME=.... VALUE=....>
เป็นการประกาศค่าเริ่มต้นของวัตถุ ที่ต้องการใช้งานใน Homepage โดยจะใช้ในบรรทัดถัดจากคำสั่ง Applet หรือ Object จะเริ่มต้นด้วย คำสั่ง <PARAM NAME=ชื่อของตัวแปรที่ต้องการกำหนดค่า VALUE=ค่าเริ่มต้น >

กลับไปที่สารบัญ
ส่วนของโปรแกรม script ที่ไม่ต้องการให้ทำงาน (Noscript)
รูปแบบ
คำอธิบาย
<NOSCRIPT>.....</NOSCRIPT>
ส่วนชุดคำสั่งที่ไม่ต้องการให้ทำงาน จะเริ่ม ต้นด้วย คำสั่ง <NOSCRIPT> และจบลงด้วย</NOSCRIPT> ภายในคำสั่งนี้ คือ ส่วนของคำสั่งที่ไม่ต้องการให้ทำงาน

กลับไปที่สารบัญ
การเรียก ฟังก์ชั่น script มาทำงาน เมื่อเปิดเอกสาร
รูปแบบ
คำอธิบาย
ONLOAD=ฟังก์ชันที่ต้องการให้ทำงาน
การเรียก ฟังก์ชั่น script มาทำงาน เมื่อเปิดเอกสาร ในคำสั่งของ <BODY>
ตัวอย่าง<BODY ONLOAD=testfunction()>

กลับไปที่สารบัญ
การเรียก ฟังก์ชั่น script มาทำงาน เมื่อปิดเอกสาร
รูปแบบ
คำอธิบาย
ONUNLOAD=ฟังก์ชันที่ต้องการให้ทำงาน
การเรียก ฟังก์ชั่น script มาทำงาน เมื่อปิดเอกสาร ในคำสั่งของ <BODY>
ตัวอย่าง<BODY ONUNLOAD=testfunction()>

กลับไปที่สารบัญ
การเรียก ฟังก์ชั่น script มาทำงาน เมื่อเลื่อน cursor ไปที่วัตถุ
รูปแบบ
คำอธิบาย
onMouseover="โปรแกรมที่ต้องการให้ทำงาน"
จะเรียก ฟังก์ชั่น script มาทำงาน เมื่อเลื่อน cursor เข้าไปชี้ที่วัตถุ ในคำสั่งของ HTML
ตัวอย่าง<A HREF="test.html" onMouseover="imgOn('img')">

กลับไปที่สารบัญ
การเรียก ฟังก์ชั่น script มาทำงาน เมื่อเลื่อน cursor ออกจากวัตถุ
รูปแบบ
คำอธิบาย
onMouseout="โปรแกรมที่ต้องการให้ทำงาน"
จะเรียก ฟังก์ชั่น script มาทำงาน เมื่อเลื่อน cursor ออกจากการชี้ที่วัตถุ ในคำสั่งของ HTML
ตัวอย่าง<A HREF="test.html" onMouseout="imgOff('img')">

กลับไปที่สารบัญ

การเรียก ฟังก์ชั่น script มาทำงาน เมื่อกดปุ่ม
รูปแบบ
คำอธิบาย
onClick="โปรแกรมที่ต้องการให้ทำงาน"
จะเรียก ฟังก์ชั่น script มาทำงาน เมื่อกดปุ่ม ในคำสั่งของ INPUT
ตัวอย่าง<INPUT TYPE="BOTTON" onClick="toggle('img')">
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ server.html-help.org/reference

กลับไปที่สารบัญ

1