( คำสั่งเริ่มต้น ) ( สีสรร ) ( ข้อความ ) ( รูปภาพ ) ( การเชื่อมโยง ) ( รายการ ) ( ตาราง ) ( เฟรม ) ( ฟอร์ม ) ( มัลติมีเดีย )
การใส่รูปภาพลงในเว็บเพจ

เมื่อเริ่ม เข้าไป ยังโฮมเพจ ของ เว็บไซต์ แต่ละแห่ง บนอินเตอร์เน็ต
สิ่งแรก ที่มัก เป็นที่ ติดตา ของผู้ ใช้ บริการ ก็คือ การที่ แต่ละ โฮมเพจ จะมี รูปภาพ สวย ๆ แสดง ออกมา มีการ จัดรูปภาพ และข้อความ ที่เป็น ระเบียบ ทำให้อ่าน ง่าย เข้าใจ เนื้อหา ที่ต้องการ ได้อย่าง รวดเร็ว
ก่อนที่ เราจะ มารู้ ถึงคำสั่ง ในการ ใส่รูปภาพ ลงใน เว็บเพจ นั้น
เราต้อง มารู้ จัก เกี่ยวกับ รูปภาพ ที่เรา จะนำมา ใส่ ใน เวบเพจ เสียก่อน รูปภาพ ที่จะ นำมา ใช้ใส่ ลง ในเวบเพจ นั้น ส่วนมาก มีนามสกุล เป็น GIF และ JPG
ไฟล์รูปภาพ แบบ GIF ย่อมาจาก Graphics Interchange Format เป็นไฟล์
ชนิดบิตแมป (Bitmap) เป็นเทคนิค การเก็บภาพ โดยให้ จุดสี(pixel) ต่าง ๆ เรียง ต่อกัน จนเกิด เป็นภาพ ไฟล์ GIF นี้ ส่วนใหญ่ จะนิยม ใช้กับ ภาพถ่าย และภาพการ์ตูน แสดงผลเป็น ภาพนิ่ง แต่ใน ปัจจุบันมี โปรแกรม สำหรับทำ หน้าที่ รวบรวม ภาพ GIF หลาย ๆ ภาพ เข้าเป็น ไฟล์เดียวกัน เมื่อนำ ภาพมา แสดง ทำให้เกิด เป็นภาพ เคลื่อนไหวขึ้น
ไฟล์รูปแบบ JPG ย่อมาจาก Joint Photographic Expert Group
เป็นไฟล์ใน รูปแบบ ที่ผ่าน กระบวน การบีบย่อย ข้อมูล มาก่อน มีการ นำเอา ข้อมูล ส่วนที่ ไม่สำคัญ ออกไป แล้วทำการ บีบอัด ข้อมูล ในอัตรา ส่วน 10:1 โดยขนาด ของไฟล์ ที่เรา นำมา ใช้งาน นั้น อาจมีขนาด เหลือเพียง 10 - 30 % ของขนาดไฟล์ ก่อนจะมีการ บีบ ย่อ ข้อมูล ขนาดของ การบีบ ข้อมูล มีได้ 3 ระดับ (High, Middle, Low Compression) ไฟล์ที่ มีการ บีบย่อ ข้อมูล มากที่สุด จะได้ ไฟล์ที่มีขนาด เล็กที่สุด แต่คุณภาพ ก็ลดลง ตาม ไปด้วย หากต้องการ ภาพที่มี คุณภาพดี ที่สุด ขนาดของ ไฟล์ก็จะ ใหญ่ ที่สุดเช่นกัน
การใส่รูปลงในเว็บเพจ
รูปแบบ <IMG ALIGN=align-type BORDER=n HEIGHT=n WIDTH=n HSPACE=n VSPACE=n SRC=address ALT=text>
ลักษณะ ALIGN=align-type(ตำแหน่ง) เป็นการ กำหนด ตำแหน่ง รูปภาพ ถ้าภาพไม่ ใหญ่ ข้อความ นั้นจะ อยู่ ที่ตำแหน่ง ส่วนล่าง ของภาพ ทางขวา มือเสมอ เราสามารถ กำหนดได้ โดยใช้คำต่าง ๆ เหล่านี้
LEFT    = วางภาพที่ตำแหน่งทางซ้าย
RIGHT  = วางภาพที่ตำแหน่งทางขวา
TOP      = วางภาพ ที่ตำแหน่ง ด้านบน
MIDDLE = วางภาพ ที่ตำแหน่ง กึ่งกลาง
BOTTOM= วางภาพ ที่ตำแหน่ง ด้านล่าง
BORDER=n เป็นการ กำหนด กรอบให้ รูปภาพ n มีค่ามาก กรอบจะ มีความหนา มากขึ้น
HEIGH=n เป็นการ กำหนด ความสูง ของภาพ
WIDTH=n เป็นการ กำหนด ความกว้าง ของภาพ ถ้าต้องการ ให้ภาพได้ สัดส่วน ให้กำหนด เป็นเปอร์เซ็นต์ โดยไม่ จำกัด ความสูง
VSPACE=n กำหนด ระยะ ห่างบน ล่างของ ภาพ
HSPACE=n กำหนด ระยะ ห่าง ซ้าย - ขวา ของภาพ
SRC   =ใส่รูปภาพที่ต้องการลงไป
ALT  =text ใส่ข้อ ความ เพื่อเป็น คำอธิบาย รูปภาพ ที่นำมาวาง สำหรับ ผู้ใช้ อินเตอร์เน็ต แบบเท็กซ์
LOWSRC=รูปภาพความละเอียดต่ำที่ต้องการแสดงก่อน กำหนดแสดงผลภาพความละเอียดต่ำก่อนความละเอียดสูง
USEMAP=ชื่อการ MAP กำหนดการ MAP ภาพกับพื้นที่ที่ได้แบ่งไว้ก่อนแล้ว
ข้อสังเกต ALIGN ไม่สามารถ กำหนดให้ รูปภาพ ไปปรากฏยังกึ่งกลาง ของจอภาพ ได้ ถ้าต้อง การให้ อยู่ตำแหน่งดังกล่าว ให้ใช้คำสั่ง<CENTER>...<CENTER>

กลับไปที่สารบัญ การแสดงภาพฉากหลัง
รูปแบบ
คำอธิบาย
BACKGROUND="picture"
กำหนด แอตทริบิวต์ BACKGROUND="picture...ในคำสั่งของ <BODY>
ตัวอย่าง<BODY BACKGROUND="picture" hot.gif">

กลับไปที่สารบัญ การกำหนดภาพที่จะแบ่งพื้นที่
รูปแบบ
คำอธิบาย
<MAP>.....</MAP>
เริ่มต้นและจบส่วนของภาพที่จะแบ่งพื้นที่เพื่อการเชื่อมโยงไปเอกสารอื่น คำสั่ง <MAP NAME="name"> และจบลงด้วย</MAP>

กลับไปที่สารบัญ การกำหนดพื้นที่ของภาพที่จะ link
รูปแบบ
คำอธิบาย
<AREA SHAPE=... COORDS=....>
กำหนดพื้นที่ของภาพที่จะ link ถัดจากคำสั่ง <MAP>
ตัวอย่าง HTML and CSS Reference Design Guide Tools Site map

กลับไปที่สารบัญ

1